กรุงเทพฯ--16 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (15 พฤจิกายน 43) นายอุ้ม เมาลานนท์ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2543 คณะผู้แทนไทยนำโดยนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ ในฐานะตัวแทน ฯพณ นายกรัฐมนตรี ได้เข้าร่วมการประชุมการประชุมสุดยอดโลกอิสลาม ครั้งที่ 9 (9th OIC Summit) ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ในฐานะประเทศผู้สังเกตการณ์ การประชุมครั้งนี้มี H.H. Sheikh Hamad Bin Khallfa Al Thani เจ้าผู้ครองรัฐแห่งกาตาร์เป็นประธาน และได้กำหนดคำขวัญสำหรับการประชุมครั้งนี้ว่า “Peace and Development Summit “ โดยเป็นการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสระหว่างวันที่ 8-9 พฤศจิกายน 2543 การประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2543 และการประชุมระดับประมุขประเทศหรือผู้นำรัฐบาลระหว่างวันที่ 12-14 พฤศจิกายน 2543 ในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้ปรึกษาหารือเกี่ยวกับการกำหนด ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและ ศาสนกิจ และความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศอิสลาม นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมฯ มีประเด็นสำคัญสรุปได้ว่า แม้ไทยจะมิใช่ประเทศมุสลิม แต่ก็มีคนไทยนับถือศาสนาอิสลามมากเป็นลำดับสองอยู่ร่วมกันในสังคมเปิด มีอิสระเสรี มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนา พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ กิจกรรมทางศาสนา อิสลามและชุมชนชาวไทยมุสลิมอย่างแข็งขันทั้งในด้านถาวรวัตถุที่มีมัสยิดทั่วประเทศกว่า 3,000 แห่ง และด้านการยกระดับความกินดีอยู่ดีของพี่น้องชาวไทยมุสลิม ในส่วนของรัฐบาลไทยก็ได้ให้ความสำคัญต่อการทำแผนพัฒนาแห่งชาติที่สนองความต้องการของชุมชนชาวไทยมุสลิมทั่วไปอย่างต่อเนื่อง การที่ประเทศไทยได้รับสถานะเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ใน OIC ได้ช่วยเสริมสร้างโอกาสในการเร่งรัดพัฒนา ชุมชนไทยมุสลิมผ่านความร่วมมือกับประเทศสมาชิก OIC ซึ่งมีความสัมพันธ์และผลประโยชน์สอดคล้องต้องกันอยู่แล้ว
นโยบายต่างประเทศของไทยในปัญหาของโลกมุสลิม จึงมีแนวทางและจุดยืนเดียวกัน เห็นได้จากการออกเสียงสนับสนุนข้อมติสหประชาชาติในปัญหาปาเลสไตน์ที่ผ่านมา ทั้งนี้การที่ไทยได้เข้าเป็นสมาชิก OIC ในสถานะผู้สังเกตการณ์ เป็นการช่วยส่งเสริมบทบาทของชุมชนชาวไทยมุสลิมในเวทีระหว่างประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ นายสุรินทร์ฯ ยังได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ ที่ประเทศไทยเข้าเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ของ OIC ประเทศไทยได้รับประโยชน์มากมาย อาทิ การเปิดตลาดสินค้าใหม่ ๆ การสนับสนุนด้านการเมืองและการทูต ตลอดจนการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรม การส่งเสริมการท่องเที่ยว และความเข้าใจอันดีต่อนโยบายการบริหารกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
-อน-
วันนี้ (15 พฤจิกายน 43) นายอุ้ม เมาลานนท์ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2543 คณะผู้แทนไทยนำโดยนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ ในฐานะตัวแทน ฯพณ นายกรัฐมนตรี ได้เข้าร่วมการประชุมการประชุมสุดยอดโลกอิสลาม ครั้งที่ 9 (9th OIC Summit) ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ในฐานะประเทศผู้สังเกตการณ์ การประชุมครั้งนี้มี H.H. Sheikh Hamad Bin Khallfa Al Thani เจ้าผู้ครองรัฐแห่งกาตาร์เป็นประธาน และได้กำหนดคำขวัญสำหรับการประชุมครั้งนี้ว่า “Peace and Development Summit “ โดยเป็นการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสระหว่างวันที่ 8-9 พฤศจิกายน 2543 การประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2543 และการประชุมระดับประมุขประเทศหรือผู้นำรัฐบาลระหว่างวันที่ 12-14 พฤศจิกายน 2543 ในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้ปรึกษาหารือเกี่ยวกับการกำหนด ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและ ศาสนกิจ และความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศอิสลาม นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมฯ มีประเด็นสำคัญสรุปได้ว่า แม้ไทยจะมิใช่ประเทศมุสลิม แต่ก็มีคนไทยนับถือศาสนาอิสลามมากเป็นลำดับสองอยู่ร่วมกันในสังคมเปิด มีอิสระเสรี มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนา พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ กิจกรรมทางศาสนา อิสลามและชุมชนชาวไทยมุสลิมอย่างแข็งขันทั้งในด้านถาวรวัตถุที่มีมัสยิดทั่วประเทศกว่า 3,000 แห่ง และด้านการยกระดับความกินดีอยู่ดีของพี่น้องชาวไทยมุสลิม ในส่วนของรัฐบาลไทยก็ได้ให้ความสำคัญต่อการทำแผนพัฒนาแห่งชาติที่สนองความต้องการของชุมชนชาวไทยมุสลิมทั่วไปอย่างต่อเนื่อง การที่ประเทศไทยได้รับสถานะเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ใน OIC ได้ช่วยเสริมสร้างโอกาสในการเร่งรัดพัฒนา ชุมชนไทยมุสลิมผ่านความร่วมมือกับประเทศสมาชิก OIC ซึ่งมีความสัมพันธ์และผลประโยชน์สอดคล้องต้องกันอยู่แล้ว
นโยบายต่างประเทศของไทยในปัญหาของโลกมุสลิม จึงมีแนวทางและจุดยืนเดียวกัน เห็นได้จากการออกเสียงสนับสนุนข้อมติสหประชาชาติในปัญหาปาเลสไตน์ที่ผ่านมา ทั้งนี้การที่ไทยได้เข้าเป็นสมาชิก OIC ในสถานะผู้สังเกตการณ์ เป็นการช่วยส่งเสริมบทบาทของชุมชนชาวไทยมุสลิมในเวทีระหว่างประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ นายสุรินทร์ฯ ยังได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ ที่ประเทศไทยเข้าเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ของ OIC ประเทศไทยได้รับประโยชน์มากมาย อาทิ การเปิดตลาดสินค้าใหม่ ๆ การสนับสนุนด้านการเมืองและการทูต ตลอดจนการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรม การส่งเสริมการท่องเที่ยว และความเข้าใจอันดีต่อนโยบายการบริหารกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
-อน-