Trade protection and liberalization

ข่าวเศรษฐกิจ Sunday January 2, 2000 14:55 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

          1. แนวคิดการปกป้องและการเปิดเสรีทางการค้า 
แนวคิดเรื่องชาตินิยม
เป็นแนวคิดดั้งเดิมฝังอยู่พฤติกรรมของมนุษย์ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ มีความรักพวกพ้อง โดยเริ่ม จากระดับครอบครัวก่อน ให้การส่งเสริมคนในครอบครัว แล้วขยายต่อไปยังระดับหมู่บ้าน จนถึงระดับชาติ โดยพยายามส่งเสริมคนในชาติก่อน
แนวคิดลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism)
- เกิดในช่วงศตวรรษที่ 16 ถึงกลางศตวรรษที่ 18 เชื่อว่าประเทศจะมั่งคั่งและมีอำนาจใน กิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยการเพิ่มการส่งออกให้มากที่สุด และนำเข้าให้น้อยที่สุด
- แนวคิดนี้ เน้นความเป็นเจ้าของกิจการ (ownership) เป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงประสิทธิภาพ ของกิจการ และคุณภาพของสินค้าและบริการ มุ่งส่งเสริมให้ซื้อสินค้าภายในประเทศ
- การดำเนินเศรษฐกิจแบบไม่เปิดตลาด จะเห็นได้จากตัวอย่างประเทศพม่า อินเดีย และ บราซิล
แนวคิดการค้าเสรี
Adam Smith (Absolute Advantage) เป็นผู้คิดเริ่มต้น
- เชื่อว่าหน่วยผลิตหรือประเทศควรจะผลิตสินค้าที่ตนมีความได้เปรียบ
- แต่ละประเทศจะผลิตสินค้าและบริการที่ตนมีความได้เปรียบโดยขึ้นกับปัจจัย การผลิต เช่น ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ แรงงาน ที่ดิน
- เกิดการแบ่งกันผลิตระหว่างประเทศแล้วนำมาแลกเปลี่ยนกัน
- เชื่อว่าการค้าเสรี เป็นนโยบายที่นำพาให้ประเทศไปสู่ความมั่งคั่ง
David Ricardo ได้พัฒนาแนวคิดข้างต้นจนเกิดเป็นนโยบายการค้าเสรี (Free Trade Policy) มีรากฐานมาจากทฤษฎีต้นทุนเปรียบเทียบ (Theory of Comparative Costs) เห็นว่า แต่ละประเทศควรผลิตสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตได้เปรียบมากที่สุด แล้วนำสินค้า ที่ผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนสินค้าที่ประเทศอื่นมีต้นทุนการผลิตได้เปรียบ และประเทศต่างๆ ก็จะได้รับผลิตผลดีกว่าการที่ประเทศต่าง ๆ จะผลิตสินค้าที่ต้องการด้วยตนเองทุกชนิด โดยมีเงื่อนไขว่า
- แต่ละประเทศเลือกผลิตสินค้าที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูงสุด และทรัพยากรเหมาะสม
- ไม่เก็บภาษีอากร เพื่อคุ้มกัน และคุ้มครองการผลิตภายใน
- ไม่ให้สิทธิพิเศษ หรือเลือกปฏิบัติต่อสินค้าประเทศใดประเทศหนึ่ง
- ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า
นโยบายการคุ้มกัน (Protectionist Trade Policy) หลักการ
- รัฐต้องเข้าไปแทรกแซงเพื่อคุ้มครองเศรษฐกิจของประเทศ มีรากฐานมาจากลัทธิพาณิชย ์นิยม (Mercantilism) ซึ่งเชื่อว่า ทองคำ เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความมั่งคั่งให้ประเทศ จึงแสวงหาเพื่อสะสมให้ได้มากที่สุด และการที่จะได้มาต้องทำการค้าให้ได้เปรียบดุล การค้า เพื่อแลกเปลี่ยนทองคำ
- ปัจจุบัน ประเทศที่ใช้นโยบายคุ้มกัน มีการเลือกใช้หลายระดับ ลักษณะรุนแรง ปานกลาง หรือเบาบาง โดยมีเหตุผลสนับสนุนต่างๆ ดังนี้
1) ด้านเศรษฐกิจ เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรม มาตรการที่สำคัญ ได้แก่ กำแพงภาษี การ จำกัดการนำเข้า การเก็บภาษีอากร
2) ด้านสังคม เพื่อให้ประชาชนมีรายได้จากการมีงานทำ
3) ด้านการเมือง ใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายของรัฐบาล
4) นโยบายการค้าระหว่างประเทศ ประเทศต่าง ๆ ได้ให้การสนับสนุนและส่งเสริม คือ นโยบายการค้าเสรี โดยกลไกการแลกเปลี่ยนหรือการค้าต้องเสรีสูงสุดโดยจะ มีการบิดเบือนน้อยที่สุด ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การผลิตสินค้า และบริการต่างๆ จะมีประสิทธิภาพสูงสุด
- ระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศส่วนใหญ่ในโลกรวมทั้งประเทศไทย ยอมรับว่าระบบเศรษฐกิจ ระบบตลาด หรือการใช้กลไกการตลาด เป็นเครื่องกำหนดกิจกรรม จะนำความเจริญมาสู่ชาติได้ มากที่สุด
- ประเทศต่าง ๆ ที่มีการปิดกั้น หรือใช้ระบบสังคมนิยม ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการพัฒนา ประเทศจะไม่เกิดขึ้น แต่กลับเสื่อมถอยลง เช่น รัสเซีย ทั้งนี้ด้วยเหตุผลของการปิดประเทศ ได้ก่อให้เกิดผลที่สำคัญ ดังนี้
- ขาดการแข่งขัน ผู้ประกอบกิจการที่มีอำนาจในตลาดสามารถผูกขาดได้ จึงไม่จำเป็นต้อง หาทางปรับปรุงประสิทธิภาพ หรือคุณภาพของสินค้า และบริการให้ดีขึ้นเพื่อสนองต่อผู้บริโภค
- ขาดเงินทุน เนื่องจากเงินทุนในประเทศไม่เพียงพอที่จะขยายฐานการผลิต โดยเฉพาะภาวะ วิกฤติเช่นปัจจุบัน ซึ่งการลงทุนส่วนใหญ่ต้องอาศัยเงินทุนจากภายนอกการปิดกั้นตลาด เท่ากับการปิดตลาดตนเองในต่างประเทศและจะไม่มีประเทศใดยอมเปิดตลาดให้ด้วย
2. การค้าโลกยุคโลกาภิวัตน์
ผลของการเจรจาการค้ารอบอุรุกวัยทำให้เกิดการค้าโลกเสรี ทั้งการค้าสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม สิ่งทอ ทรัพย์สินทางปัญญา และสินค้าบริการ รวมทั้ง มาตรการ ลงทุนที่เกี่ยวกับการค้า เพื่อก่อให้ เกิดความคล่องตัวด้านการค้าและการ ลงทุน อันเป็นการลดอุปสรรคต่างๆ ตลอดจนทำให้การ แข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศมีความเป็นธรรมมากขึ้น
ทิศทางการค้าโลก ยุคใหม่จะเป็นการค้าเสรีที่มีการแข่งขันพร้อมกับการกีดกันการค้าอย่างรุนแรง มีการนำประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย เป็นต้น มาเป็นเครื่องมือกีดกันและมีแนวโน้มที่ จะนำมาตรการในรูปแบบใหม่ๆ มาเป็นข้ออ้างมากขึ้น รวมทั้งกลุ่มเศรษฐกิจการค้าระดับ ภูมิภาคจะมีบทบาทมากขึ้น ทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าและการลงทุนจาก ประเทศสมาชิกแตกต่างจากประเทศนอกกลุ่ม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จะส่งผลกระทบ ในรูปแบบการค้าและการลงทุนเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ได้แก่ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)
3. องค์การการค้าโลก (WTO)
WTO ได้มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 135 ประเทศ (สิงหาคม 2542) โดยไทยเป็นสมาชิกอันดับที่ 59
หลักการสำคัญ
- กำหนดให้ใช้มาตรการการค้าระหว่างประเทศโดยไม่เลือกปฏิบัติ (Non-discrimination)
- การกำหนดและบังคับใช้มาตรการทางการค้าจะต้องมีความโปร่งใส (Transparency)
- คุ้มครองผู้ผลิตภายในด้วยภาษีศุลกากรเท่านั้น (Tariff-only Protection)
- ร่วมกันทำให้การค้าระหว่างประเทศมีเสถียรภาพและความมั่นคง (Stability and Predictability in Trading Conditions)
- ส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม (Fair Competition)
- มีสิทธิใช้ข้อยกเว้นในกรณีฉุกเฉินและจำเป็น (Necessary Exceptions and Emergency Action)
- ให้มีการรวมกลุ่มทางการค้าเพื่อลดภาษีระหว่างกันได้ หากมีวัตถุประสงค์เพื่อขยาย การค้า (No Trade Blocs)
- มีกระบวนการยุติข้อพิพาททางการค้าให้คู่กรณี (Trade Dispute Settlement Mechanism)
- ให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามพันธกรณี (Special and Differential Treatment for LDCs)
ความตกลงที่สำคัญภายใต้ WTO
- พิธีสารรอบอุรุกวัยภายใต้แกตต์ 1994 เรื่อง การเปิดตลาด (Marrakesh Protocol)
- ความตกลงว่าด้วยสินค้าเกษตร (Agreement on Agriculture)
- ความตกลงว่าด้วยสิ่งทอและเสื้อผ้า (Agreement on Textiles and Clothing : ATC)
- ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures : SPS)
- ความตกลงว่าด้วยระเบียบ วิธีการออกใบอนุญาตนำเข้า (Agreement on Import Licensing Procedures)
- ความตกลงว่าด้วยการประเมินราคาเพื่อการศุลกากร (Customs Valuation)
- ความตกลงว่าด้วยการต่อต้านการทุ่มตลาด (Anti-dumping : AD)
- ความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การอุดหนุน (Agreement on Subsidies and Countervailing Measures : SCM)
- ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade- Related Aspects of Intellectual Property Rights : TRIPS)
- ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services : GATS)
- ความตกลงว่าด้วยมาตรการลงทุนที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade-Related Investment Measures : TRIMs)
- ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Agreement on Technical Barriers to Trade : TBT)
- ความตกลงว่าด้วยการตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออก (Agreement on Preshipment Inspection : PSI)
- ความตกลงว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า(Agreement on Rules of Origin)
- ความตกลงว่าด้วยมาตรการปกป้อง (Agreement on Safeguards)
- ความตกลงว่าด้วยการยุติข้อพิพาท (Dispute Settlement Understanding : DSU)
- ความตกลงหลายฝ่าย (Plurilateral Agreements) เป็นความตกลงซึ่งมีประเทศสมาชิกเพียง บางประเทศเท่านั้นเป็นภาคี ในปัจจุบันมีความตกลง ได้แก่
- ความตกลงว่าด้วยการค้าเครื่องบินพลเรือน (Agreement on Trade in Civil Aircraft)
- ความตกลงว่าด้วยการจัดซื้อโดยรัฐ (Government Procurement Agreement : GPA)
4. มาตรการกีดกันการค้า
รูปแบบและกฎเกณฑ์ทางการค้าใหม่ ๆ ที่แต่ละประเทศและกลุ่มเศรษฐกิจ ต่าง ๆ นำมาใช้ จะส่งผลต่อการค้าโลก คาดว่าจะเกิดผลดีต่อคุณภาพชีวิตของประชากรในประเทศนั้น ๆ ก็ตาม แต่ในอนาคตอาจจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะประเทศกำลัง พัฒนาบางประเทศ ที่ไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ ได้ มาตรการสำคัญ เช่น การจำกัด หรือห้ามนำเข้าโดยอ้างเหตุผลมาตรการด้านสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม แรงงาน และสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
โดยเฉพาะประเด็นสิ่งแวดล้อม จะมีบทบาทมากขึ้น เพราะประเทศพัฒนาจะนำมาเป็น ข้ออ้างกีดกันการค้า ขณะเดียวกัน กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกำลังได้รับความสนใจ จากภาคเอกชนของประเทศต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ในอนาคตทุกประเทศอาจมีการนำ มาตรการ นี้มาใช้ในการแข่งขันทางการค้าในตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการค้าสินค้าอุตสาหกรรม บางประเภท เช่น สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม ผลิตภัณฑ์ไม้ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ในสำนักงาน เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องมือสื่อสาร เป็นต้น
ปัจจุบัน มีบางประเทศได้เข้มงวดในเรื่องมาตรฐานสิ่งแวดล้อมกับอุตสาหกรรม ดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น เช่น สหภาพยุโรป สหรัฐฯ และแคนาดา ได้ตั้งเงื่อนไขมาตรฐาน สิ่งแวดล้อมกับสินค้าประเภทสิ่งทอ กระดาษและผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ และเครื่องใช้ ไฟฟ้า ขณะที่ญี่ปุ่น ตั้งเงื่อนไขในสินค้าประเภทคอมพิวเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ตั้งเงื่อนไขสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ไม้ เป็นต้น
5. แนวนโยบายของไทย
ประเทศไทย ได้ชื่อว่าเป็นประเทศเปิด และมีนโยบายเศรษฐกิจเสรีมาช้านานตั้งแต่ เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกเมื่อปี 2504 อัตราการเปิดประเทศ ได้ขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ เทียบกับมูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ที่มีสัดส่วนเพิ่มจากร้อยละ 31.46 ในปี 2504 เป็น ร้อยละ 86.23 ในปี 2541 เศรษฐกิจไทยจึงผูกโยงกับเศรษฐกิจการค้าโลกค่อนข้างมาก ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี การสื่อสารของโลกปัจจุบันมีการพัฒนา ไปอย่างรวดเร็วฉับไว ผลกระทบ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์เศรษฐกิจ การค้าโลกจึงส่งผลถึงประเทศไทยโดยทันทีและค่อนข้างมาก โดยยากที่จะหลีกเลี่ยง ดังนั้น จึงต้องมีการกำหนดทิศทางที่ชัดเจนเพื่อเป็นกรอบ หรือแนวทางในการกำหนด นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเท
ปัจจุบันได้มีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญตามมาตรา 87 แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเปิด เสรี โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบของผู้ประกอบการภายในประเทศ
การกำหนดนโยบายการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศได้คำนึงถึงผลประโยชน์ ของประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งประกอบด้วยบุคคล 4 กลุ่ม ได้แก่
* เจ้าของหรือผู้ประกอบกิจการ
* ลูกจ้างในกิจการนั้น ๆ
* ประชาชนผู้บริโภค
* ผลประโยชน์โดยรวมของประเทศ
การเปิดตลาดของไทย นอกจากได้คำนึงถึงประโยชน์ของบุคคล 4 กลุ่มแล้ว ยังได้พิจารณา ในส่วนที่ไทยมีความสามารถแข่งขันโดยจะพยายามเปิดตลาดสินค้าที่ไทยแข่งได้ เช่น ข้าว น้ำตาล ไก่แช่เย็นแช่แข็ง ทำให้รายได้จากต่างประเทศเข้ามาสู่ประเทศได้มากเป็น ประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ การจ้างงานโดยรวม
สำหรับธุรกิจที่แข่งขันไม่ได้ รัฐจะมุ่งเน้นในเรื่องการเอื้ออำนวยให้มีการนำเข้าสินค้า วัตถุดิบจากต่างประเทศ หรือชักจูงให้นักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศ มากขึ้น
เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ เพราะจะก่อให้เกิดการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน
เกิดการขยายการผลิตเพิ่มขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้าง เกิดการจ้างงานมากขึ้น
ผู้บริโภคได้รับสินค้าและบริการที่มีมาตรฐานดีขึ้น ราคาถูกลง สามารถเลือกซื้อได้ หลากหลาย เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ซึ่งจะทำให้มาตรฐานการครองชีพของ ประชาชนโดยรวมของประเทศดีขึ้น
กฎ ระเบียบ และขั้นตอนต่าง ๆ จะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรม ทางเศรษฐกิจและการค้า โดยจะแก้ไขปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบ พิธีการ ต่าง ๆ ที่ล้าสมัยให้มีความเป็นสากล และสอดคล้องกับกฎเกณฑ์การค้าระหว่าง ประเทศ เช่น เร่งปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรให้รวดเร็วกว่าเดิม และมีผลเป็น รูปธรรมมากขึ้น ลดขั้นตอนพิธีการต่าง ๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและส่งเสริม การส่งออก เปลี่ยนแปลงวิธีการประเมินราคาเพื่อการศุลกากร ฯลฯ รวมถึงการ ศึกษาประเภทธุรกิจที่จะอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาประกอบการ การเคลื่อน ย้ายบุคลากร และการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาประกอบวิชาชีพได้ในบางสาขา เพราะในอนาคตอาจมีความจำเป็นต้องนำเข้าแรงงานราคาถูกต่างชาติ เพื่อ บรรเทาภาวะขาดแคลนแรงงานในกิจการบางประเภท และเพื่อเป็นการลดต้นทุน
การดำเนินกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศจะต้องเป็นไปตามข้อตกลง และอยู่ ภายใต้กรอบกติกาขององค์การการค้าโลก
ร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเพื่อขยายความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และสนับสนุนให้มีการแข่งขันเสรีภายในภูมิภาค
การเปิดเสรีภายใต้ WTO
ประเทศสมาชิกจะต้องเปิดตลาดสินค้าและบริการ ทั้งสินค้าเกษตร
อุตสาหกรรม สินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ
การเปิดเสรีภายใต้ AFTA
ประเทศสมาชิกจะต้องลดภาษีระหว่างกันในสินค้าทุกประเภท เหลือ ร้อยละ 0-5 ภายใน 10 ปี (2536-2546) รวมทั้งการเปิดเสรีการค้าบริการ ความร่วมมือด้านทรัพย์สิน ทางปัญญา ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน (AICO) และได้มีการจัดตั้งเขตการ ลงทุนอาเซียน (AIA)
- เพิ่มศักยภาพการผลิตและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้มากขึ้น
- สำหรับอุตสาหกรรมที่ไม่มีศักยภาพในการแข่งขันก็จะได้รับผลกระทบ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
การเปิดเสรีภายใต้ APEC
เป็นการเปิดเสรีตามความสมัครใจ ขณะนี้ให้เปิดเสรี 9 สาขาก่อนในจำนวน 15 สาขา ซึ่งตรงกับข้อเสนอการเปิดเสรีของไทย 4 สาขา น่าจะเป็นประโยชน์ต่อไทย ได้แก่ ปลาและผลิตภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องมือทางการแพทย์และพลังงาน
การเปิดเสรีภายใต้ ASEM
ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากเวทีการเจรจานี้ โดยการดำเนินการตามแผนความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจ ได้แก่ แผนปฏิบัติการอำนวยความสะดวกด้านการค้า (Trade Facilitation Action Plan: TFAP) เพื่อให้การค้าระหว่างประเทศสมาชิก ASEM เป็นไปได้สะดวกขึ้น และจะเป็นประโยชน์ต่อการค้าทั้ง 2 ภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาวะวิกฤตการณ์ทางการเงินของเอเซีย ประเทศสมาชิกในเอเซียหลายประเทศ มีความจำเป็นจะต้องเร่งขยายการส่งออก การเร่งให้มีการดำเนินการตามแผน TFAP จะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา สำหรับแผนปฏิบัติการส่งเสริมการลงทุน (Investment Promotion Action Plan: IPAP) เป็นประโยชน์ในการขยายการ ลงทุนของ 2 ภูมิภาค ซึ่งขณะนี้ ภูมิภาคเอเซียต้องการให้มีการขยายการลงทุน จากยุโรปมากขึ้น
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับอนุภูมิภาค
นอกจากการรวมตัวเป็นกลุ่มเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาคต่างๆยังมีความร่วมมือใน ระดับอนุภูมิภาคในลักษณะที่เป็นมุ้งเล็กในมุ้งใหญ่ที่เริ่มมีการขยายตัวมากขึ้น ที่สำคัญ ได้แก่ ความร่วมมือต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น
- โครงการหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ พม่า-ลาว-จีน-ไทย-เวียดนาม-กัมพูชา
- โครงการความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคในอาเซียน ได้แก่ โครงการพัฒนา เขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย โครงการเศรษฐกิจ สามฝ่าย สิงคโปร์-ยะโฮร์-จังหวัดเรียว (อินโดนีเซีย) โครงการความ เจริญทางเศรษฐกิจในเอเซียตะวันออกระหว่างฟิลิปปินส์-บรูไนดารุสซาราม- มาเลเซีย-อินโดนีเซีย
(ยังมีต่อ)

แท็ก ครอบครัว   Trade  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ