กรุงเทพฯ--12 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (11 ตุลาคม 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับการประชุมฉุกเฉินระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศขององค์การการประชุมอิสลาม (OIC) โดยมีรายละเอียดดังนี้
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2544 นี้ กาตาร์ในฐานะประธานปัจจุบันขององค์การการประชุม อิสลาม (OIC) ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฉุกเฉินระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศของ OIC ขึ้นเพื่อพิจารณาผลกระทบจากเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกาที่เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 และสถานการณ์ในปาเลสไตน์ โดยได้มีการเชิญประเทศสมาชิกและ ผู้สังเกตการณ์ของ OIC ทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยซึ่งมีสถานะเป็นผู้สังเกตการณ์ของ OIC เข้าร่วมการประชุมฯ ด้วย
โดยที่องค์การ OIC เป็นองค์การระหว่างประเทศของโลกมุสลิมเพียงองค์การเดียวที่มีอยู่ในขณะนี้ ที่ได้รวมเอาสมาชิกที่เป็นประเทศมุสลิมกับชุมชนชาวมุสลิมทั่วโลกไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศเห็นว่า การเข้าร่วมประชุมข้างต้นของไทยในฐานะผู้สังเกตการณ์ของ OIC จะทำให้ประเทศไทยทราบถึงจุดยืนและทิศทางนโยบายของโลกมุสลิมต่อเหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ในสหรัฐอเมริกา และทราบถึงปฏิบัติการตอบโต้ทางทหารของสหรัฐฯ และอังกฤษในอัฟกานิสถาน เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2544 ด้วย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของไทยต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้น การเข้าร่วมโดยผู้แทนระดับสูงของไทยเป็นการแสดงถึงการให้ความสำคัญของไทยต่อโลกมุสลิมและทัศนะของกลุ่มประเทศมุสลิม OIC ซึ่งมีความสำคัญและไม่สามารถมองข้ามได้
ในการนี้ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มอบหมายให้ ดร.ประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมฯดังกล่าว ในฐานะผู้แทนพิเศษ (Special Envoy) ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับนายสนั่นชาติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี ซึ่งมีเขตอาณาดูแลประเทศกาตาร์ด้วย โดยการประชุมฯ จะมีขึ้นเพียงวันเดียว อนึ่ง ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญต่อองค์การ OIC มาโดยตลอด นับแต่ได้เข้าเป็นผู้สังเกตการณ์เมื่อปี 2541 อาทิ เข้าร่วมในการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของ OIC ทั้งสามครั้งคือ เมื่อปี2542 ที่ประเทศบูร์กินาฟาโซ ในปี 2543 ที่ประเทศมาเลเซียและ เมื่อ ปี 2544 ที่ประเทศสาธารณรัฐมาลี เข้าร่วมการประชุมสุดยอดของ OIC ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ เมื่อปี 2543 นอกจากนี้ ยังเข้าร่วมในการประชุมของคณะกรรมการประจำ ด้านเศรษฐกิจและการค้าในกรอบของ OIC ที่ประเทศตุรกี ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected] จบ--
-อน-
วันนี้ (11 ตุลาคม 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับการประชุมฉุกเฉินระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศขององค์การการประชุมอิสลาม (OIC) โดยมีรายละเอียดดังนี้
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2544 นี้ กาตาร์ในฐานะประธานปัจจุบันขององค์การการประชุม อิสลาม (OIC) ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฉุกเฉินระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศของ OIC ขึ้นเพื่อพิจารณาผลกระทบจากเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกาที่เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 และสถานการณ์ในปาเลสไตน์ โดยได้มีการเชิญประเทศสมาชิกและ ผู้สังเกตการณ์ของ OIC ทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยซึ่งมีสถานะเป็นผู้สังเกตการณ์ของ OIC เข้าร่วมการประชุมฯ ด้วย
โดยที่องค์การ OIC เป็นองค์การระหว่างประเทศของโลกมุสลิมเพียงองค์การเดียวที่มีอยู่ในขณะนี้ ที่ได้รวมเอาสมาชิกที่เป็นประเทศมุสลิมกับชุมชนชาวมุสลิมทั่วโลกไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศเห็นว่า การเข้าร่วมประชุมข้างต้นของไทยในฐานะผู้สังเกตการณ์ของ OIC จะทำให้ประเทศไทยทราบถึงจุดยืนและทิศทางนโยบายของโลกมุสลิมต่อเหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ในสหรัฐอเมริกา และทราบถึงปฏิบัติการตอบโต้ทางทหารของสหรัฐฯ และอังกฤษในอัฟกานิสถาน เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2544 ด้วย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของไทยต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้น การเข้าร่วมโดยผู้แทนระดับสูงของไทยเป็นการแสดงถึงการให้ความสำคัญของไทยต่อโลกมุสลิมและทัศนะของกลุ่มประเทศมุสลิม OIC ซึ่งมีความสำคัญและไม่สามารถมองข้ามได้
ในการนี้ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มอบหมายให้ ดร.ประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมฯดังกล่าว ในฐานะผู้แทนพิเศษ (Special Envoy) ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับนายสนั่นชาติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี ซึ่งมีเขตอาณาดูแลประเทศกาตาร์ด้วย โดยการประชุมฯ จะมีขึ้นเพียงวันเดียว อนึ่ง ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญต่อองค์การ OIC มาโดยตลอด นับแต่ได้เข้าเป็นผู้สังเกตการณ์เมื่อปี 2541 อาทิ เข้าร่วมในการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของ OIC ทั้งสามครั้งคือ เมื่อปี2542 ที่ประเทศบูร์กินาฟาโซ ในปี 2543 ที่ประเทศมาเลเซียและ เมื่อ ปี 2544 ที่ประเทศสาธารณรัฐมาลี เข้าร่วมการประชุมสุดยอดของ OIC ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ เมื่อปี 2543 นอกจากนี้ ยังเข้าร่วมในการประชุมของคณะกรรมการประจำ ด้านเศรษฐกิจและการค้าในกรอบของ OIC ที่ประเทศตุรกี ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected] จบ--
-อน-