ศักยภาพทางการตลาดสูงและมีโอกาสเพิ่มมูลค่า เช่น ยางพารา ปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เป็นต้น และส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรตามระบบมาตรฐานความปลอดภัย อาหาร โดยพัฒนาระบบการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรทั้งการนำเข้าและ ส่งออกให้เป็นไปตามมาตรฐานโลก รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการเกษตรแบบยั่งยืนตาม แนวทฤษฎีใหม่ และเกษตรอินทรีย์ เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและ สภาพแวดล้อมในด้านภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ซึ่งเป็นภาคการผลิตที่มีการแข่งขันสูง รัฐบาลจะเปลี่ยนผู้ประกอบการที่ยังเป็นผู้รับจ้างผลิตและได้รับส่วนแบ่งจากผลประโยชน์ในธุรกิจเพียงส่วนน้อย ให้เป็นผู้ประกอบการที่มีความรู้ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ผลิตสินค้า ที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด โดยจะพัฒนาให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถ แข่งขันในตลาดโลกได้ในด้านการใช้วัตถุดิบภายในประเทศและเพิ่มมูลค่าสินค้า รัฐบาลจะส่งเสริม โดยเน้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและกลุ่มโอกาสใหม่ รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพกลุ่มอุตสาหกรรมที่อ่อนแอ และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายอุตสาหกรรม ตลอดจนการเพิ่มมูลค่าผลผลิตบนฐานความรู้ โดยส่งเสริมให้มีกระบวนการจัดการองค์ความรู้ในทุกระดับ ตั้งแต่วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจขนาดใหญ่ขณะเดียวกันรัฐบาลจะพัฒนาระบบสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในด้านต่าง ๆ ดังนี้(๑) พัฒนาระบบวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการผลิตและการค้า จะสนับสนุนให้มีการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทย โดยร่วมกับ ภาคเอกชนในการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม ผลักดันให้มีการจดทะเบียนลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรของคนไทยทั้งในและนอกประเทศ และให้นำทรัพย์สินทางปัญญานั้นไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้จริง(๒) พัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำหรับภาคอุตสาหกรรม ให้มีความคิดสร้างสรรค์ มีจิตสำนึกของผู้ประกอบการ มีความสามารถในการเรียนรู้ มีทักษะใน การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจในอนาคต รัฐบาลจะจัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่ตรงกับความต้องการของตลาดโดยมุ่งให้แรงงานมีคุณภาพตาม มาตรฐานสากล พร้อมที่จะเข้าสู่การแข่งขันในตลาดผู้บริโภคระดับสูง โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า แรงงานทุกคนจะต้องได้เรียนรู้จากการฝึกอบรมเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจะรณรงค์ให้ ผู้จ้างเข้าใจถึงประโยชน์ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นแรงจูงใจ(๓) กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและความเชื่อมโยงในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร แฟชั่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ และ ท่องเที่ยว และส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจอื่น ๆ เช่น พลังงาน สุขภาพ ชีวภาพ การบริการ การศึกษา การสร้างสรรค์และออกแบบ เป็นต้น(๔) สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและยกระดับภาคการผลิตและบริการในส่วนภูมิภาค โดยจะขยายโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น อุทยานวิทยาศาสตร์ หน่วยบ่มเพาะทางเทคโนโลยี เป็นต้น และ(๕) ส่งเสริมการผลิตด้วยเทคโนโลยีสะอาด ส่งเสริมพลังงานทดแทนในการผลิต ตลอดจนฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรม ส่วนภาคบริการและการท่องเที่ยวนั้น รัฐบาลจะเน้นการเพิ่มมูลค่ามากกว่าการเพิ่มปริมาณ โดยรัฐบาลจะร่วมมือกับภาคเอกชน ท้องถิ่น และชุมชน ในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านท่องเที่ยวไม่ให้เสื่อมโทรม จัดระบบรับรองมาตรฐานโรงแรมและสถานบริการ เพิ่มขีดความสามารถขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และพัฒนามาตรฐานบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ รัฐบาลจะเร่งฟื้นฟู แหล่งท่องเที่ยวที่เสื่อมโทรมหรือประสบภัยพิบัติ เช่น ชายฝั่งทะเลอันดามัน ตลอดจนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยจะเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และเชิงสุขภาพรัฐบาลจะขยายฐานภาคบริการเพื่อสร้างรายได้ใหม่ เช่น บริการสุขภาพ การศึกษา การจัดประชุมและสัมมนานานาชาติ การขนส่งทางอากาศ การถ่ายทำภาพยนตร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์ การค้าส่งค้าปลีก และการเป็นศูนย์กลางธุรกิจในภูมิภาค เป็นต้นในด้านธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รัฐบาลจะสร้างโอกาสให้แก่ ผู้ประกอบการเพื่อให้เข้าถึงแหล่งทุน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม การตลาดทั้งใน และนอกประเทศ เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยผ่านกลไกต่าง ๆ ที่ริเริ่มแล้วอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ กองทุนและธนาคารหมู่บ้าน การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน และการพัฒนา มาตรฐานและคุณภาพผลิตภัณฑ์ของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ รัฐบาลจะสร้างโอกาสการพัฒนาให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนองค์ความรู้ในด้านการขาย การตลาด ระบบบัญชี การให้ความรู้ในการปรับปรุง คุณภาพสินค้าและการผลิต รวมทั้งการช่วยเหลือจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของ ชาวบ้านและชุมชนอย่างกว้างขวาง ตลอดจนจัดตั้งศูนย์แสดงสินค้าของประเทศไทยในเมืองใหญ่ ในต่างประเทศ เพื่อสร้างตลาดและเผยแพร่ชื่อประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักรัฐบาลจะปรับเปลี่ยนระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าใหม่ ให้มี ประสิทธิภาพ คุณภาพ และทันเวลา ให้สามารถรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจเพื่อ เชื่อมโยงแหล่งผลิตจากท้องถิ่นไปสู่ตลาดในทุกระดับ ซึ่งจะลดต้นทุนในทุกขั้นตอนของการกระจายสินค้า มีระบบเชื่อมโยงการขนส่งหลายรูปแบบ ทั้งทางรถ เรือ รถไฟ และทางท่อ โดยให้ความสำคัญในการเชื่อมโยงท่าเรือแหลมฉบัง และท่าอากาศยานสากลสุวรรณภูมิ ให้เป็นประตูสู่ตลาดโลกรัฐบาลจะขยายเครือข่ายและบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้ทันสมัยและทั่วถึงทั่วประเทศในราคาที่เป็นธรรม มีความเพียงพอ สามารถรองรับการเติบโต ของเศรษฐกิจ และนำมาใช้ประโยชน์ในการเติมความรู้ให้แก่สังคม การบริหารประเทศ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในภาวะปัจจุบันที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงสูงและมีความผันผวน รัฐบาลจะดำเนินนโยบายพลังงานซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของระบบการผลิต การขนส่ง และการดำรงชีวิตของประชาชนเพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการนำเข้า พลังงาน และพัฒนาพลังงานทางเลือกที่ประเทศไทยสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น รวมทั้งพัฒนาก๊าซธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างความมั่นคงด้านพลังงานในภูมิภาค และ เพิ่มมูลค่าในประเทศโดยการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมต่อเนื่อง และ อุตสาหกรรมผลิตพลังงานชีวภาพ ส่งเสริมการใช้เอทานอลและไบโอดีเซลที่เป็นผลผลิต การเกษตรเพื่อทดแทนน้ำมันเพื่อให้การลงทุนและการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานมีประสิทธิภาพ รัฐบาลจะเพิ่มศักยภาพของรัฐวิสาหกิจ โดยการปรับปรุงการบริหารและแปรสภาพเป็นบริษัท จัดกลุ่มเพื่อการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ ตลอดจนสร้าง ความเข้มแข็งให้แก่กลไกการกำกับดูแลกิจการที่เกี่ยวข้องกับบริการโครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลจะกำกับดูแลการบริหารจัดการและพัฒนารัฐวิสาหกิจ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุด ของประชาชนผู้บริโภคในฐานะผู้รับบริการในการขจัดความยากจน การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบเศรษฐกิจ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนั้น มีความจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก รัฐบาลจะพิจารณาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมโดยยึดหลักการ ให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพและรักษาวินัยทางการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด โดยจัดทำงบประมาณที่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ ดูแลระดับเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับเหมาะสม รักษาทุนสำรองระหว่างประเทศและดุลบัญชีเดินสะพัดให้อยู่ในระดับที่เพียงพอ และสามารถคงสถานภาพของประเทศผู้ให้กู้สุทธิได้ในส่วนของตลาดเงิน รัฐบาลจะสร้างความเข้มแข็งและโปร่งใส พร้อมไปกับการสนับสนุนให้องค์กรธุรกิจและประชาชนในทุกภาคส่วนของประเทศมีโอกาสและช่องทางที่จะเข้าถึงแหล่งทุนทางการเงินต่าง ๆ ได้อย่างพอเพียง ในส่วนของตลาดทุน รัฐบาลจะ พัฒนาทั้งตลาดตราสารทุนและตลาดตราสารหนี้ ให้เป็นแหล่งระดมทุนระยะยาวสำหรับ องค์กรธุรกิจทุกขนาด นอกจากนี้รัฐบาลจะส่งเสริมการออมของประเทศ เพื่อความมั่นคงของชีวิตประชาชน และเป็นแหล่งเงินที่จะช่วยลดการพึ่งพาเงินทุนต่างประเทศในการขยายการลงทุนของประเทศในด้านการเงินระหว่างประเทศนั้น รัฐบาลจะดำเนินการต่อเนื่องในการ ผลักดันความร่วมมือทางการเงินในภูมิภาค โดยการพัฒนาตลาดตราสารหนี้เอเชีย ให้เป็นกลไกสำคัญในการระดมเงินทุนเพื่อประโยชน์ร่วมกันของภูมิภาคและประเทศไทย๔. นโยบายบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึ่งจะต้องมีความสมดุลในการใช้ การอนุรักษ์ และการทดแทนอย่างเหมาะสม เพื่อรักษาทรัพย์สินของประเทศที่มีค่านี้ให้เป็นสมบัติของคนในรุ่นต่อไป ดังนั้น รัฐบาลจะ ส่งเสริมและเร่งฟื้นฟูความสมบูรณ์ของดินและน้ำสู่ธรรมชาติ แก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรม และมลภาวะเพื่อคืนสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับคนไทย รัฐบาลจะกำหนดวิธีการบริหารจัดการทรัพยากรของรัฐและเอกชนภายใต้การมีส่วนร่วมของเอกชนและชุมชนท้องถิ่น ที่ให้มีความสมดุลของการใช้ประโยชน์ การถือครอง และการอนุรักษ์ฐานทรัพยากร ที่ดิน ป่าไม้ ลุ่มน้ำ ทรัพยากรชายฝั่ง การใช้ภูมิสารสนเทศ การปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบ การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนรัฐบาลจะดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง สนับสนุนให้ ชุมชนจัดทำฝายน้ำล้นและฝายชะลอความชุ่มชื้นหรือฝายแม้วตามแนวพระราชดำริ การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม รัฐบาลจะลงทุนเพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำอย่างเป็นระบบตามลักษณะกายภาพของลุ่มน้ำ ตั้งแต่การพัฒนาแหล่งต้นน้ำ กลางน้ำ และการกระจายการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพและ ทั่วถึง รัฐบาลจะฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรดินอย่างเต็มที่ การยุติการเผาไร่นาและทำลายหน้าดิน การลดการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร รวมทั้งการฟื้นฟูดินและป้องกันการชะล้างทำลายดินโดยการปลูกแฝกตามแนวพระราชดำริ และให้มีมาตรการป้องกันและเตือนภัยจากภัยพิบัติ ทางธรรมชาติ เช่น อุทกภัย ภัยแล้ง ธรณีพิบัติ และการเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศ และดำเนินมาตรการลดผลกระทบและความเดือดร้อนของประชาชนด้านมลภาวะ รัฐบาลจะเร่งรัดการควบคุมมลพิษจากก๊าซ ขยะ น้ำเสีย กลิ่น และเสียง ที่เกิดจากการผลิตและบริโภค โดยเร่งรัดการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากสังคมเมืองและการผลิตในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม การจัดระบบกำจัดขยะโดยวิธีที่เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำจัดขยะรัฐบาลจะส่งเสริมให้ภาคเอกชนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์ พลังงาน การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การผลิตวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ การหมุนเวียนการใช้วัตถุดิบและเทคโนโลยีที่สะอาด และการใช้หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลดการก่อมลภาวะและลดภาระของสังคม นอกจากนี้ รัฐบาลจะป้องกันการใช้ประเทศไทยเป็นประเทศปลายทางของการรับภาระจากการส่งขยะ ของเสีย และกากพิษอุตสาหกรรม๕. นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ประเทศไทยไม่สามารถ หลีกเลี่ยงการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและสังคมของโลกได้ รัฐบาลจึงต้องดำเนินนโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่จะรักษาผลประโยชน์ของประเทศไทย ในขณะเดียวกันต้องแสวงหาพันธมิตรและสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ ทั้งใน ระดับประเทศเพื่อนบ้านและในระดับภูมิภาค เพื่อร่วมกันพัฒนาและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดผลกระทบต่อประเทศไทยได้ รัฐบาลจะดำเนินนโยบายการต่างประเทศเชิงรุกที่ยึดถือหลักในการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค และจะมุ่งส่งเสริมและขยายสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับนานาประเทศ ทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยจะอาศัย การต่างประเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ รัฐบาล ด้านการส่งเสริมความสัมพันธ์ในมิติต่าง ๆ กับนานาประเทศ รัฐบาลจะสานต่อความเข้าใจอันดีและความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านให้แน่นแฟ้น และขยาย ความร่วมมือ ทั้งในระดับภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี-เจ้าพระยา- แม่โขง (ACMECS) และกรอบอนุภูมิภาคอื่น ๆ ทั้งในด้านการค้า การลงทุน การเกษตร อุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมขนส่งทางบก น้ำ และอากาศ การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รัฐบาลจะร่วมมือกับประเทศอาเซียนในการเร่งจัดตั้งประชาคมอาเซียน ให้บรรลุเป้าหมายเร็วยิ่งขึ้น และผลักดันให้กรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD) เป็นเวทีเพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเอเชีย รวมทั้งเพื่อเป็น พื้นฐานที่สำคัญในการนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมแห่งเอเชีย นอกจากนี้ รัฐบาลจะสานต่อและขยายความร่วมมืออย่างทัดเทียมกัน ในลักษณะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ กับประเทศและกลุ่มประเทศที่มีบทบาทสำคัญของโลกบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน รวมทั้งจะเสริมสร้างความยอมรับและความเชื่อมั่นของ ต่างประเทศต่อประเทศไทย ด้านความร่วมมือภายใต้กรอบพหุภาคี รัฐบาลจะยึดมั่นต่อพันธกรณีของไทยตามกฎบัตรสหประชาชาติ กฎหมายระหว่างประเทศ กรอบความร่วมมือต่าง ๆ ที่ไทย เป็นภาคีสมาชิก และข้อผูกพันระหว่างประเทศของไทย รวมทั้งจะมุ่งสานต่อการเพิ่มบทบาทของไทยภายใต้กรอบสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศ องค์การระดับภูมิภาค และ เครือข่ายระหว่างประเทศ ในการส่งเสริมและสนับสนุนสันติภาพ ความมั่นคง กระบวนการประชาธิปไตย และความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม วิชาการ และความมั่นคงของมนุษย์ การให้ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมโดยเฉพาะการฟื้นฟูบูรณะภายหลังความขัดแย้ง ตลอดจนให้ความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย และการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์การดำเนินงานและการประชุมระหว่างประเทศ รัฐบาลจะสนับสนุนให้คนไทยมีบทบาทสำคัญในเวทีสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ และให้ประเทศไทยมีบทบาทนำและมีส่วนร่วมกำหนดและสร้างกฎกติการะหว่างประเทศที่สำคัญ และในกระบวนการปฏิรูปสหประชาชาติ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาข้ามชาติที่ประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหายาเสพติด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคระบาดร้ายแรง ภัยพิบัติ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการขจัดความยากจนและการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับมิติด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รัฐบาลจะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง และมีความเชื่อมโยงกับนโยบายเศรษฐกิจภายในประเทศโดยเฉพาะการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เพื่อนำความร่วมมือระหว่างประเทศมาใช้ในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพให้แก่บุคลากรในทุกระดับให้มีความพร้อมในการเข้าสู่และเกื้อหนุนต่อการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่ และพัฒนาศักยภาพ ของไทยให้มีบทบาทนำในการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค รัฐบาลจะสานต่อการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศโดยรวม การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ ผู้ประกอบการไทยอย่างต่อเนื่อง และการดำเนินนโยบายการตลาดเชิงรุกทั้งในตลาดเดิมและตลาดใหม่ เพื่อส่งเสริมให้สินค้าและบริการของไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างแพร่หลายจาก ผู้บริโภคในต่างประเทศ รัฐบาลจะเสริมสร้างบทบาทนำที่สร้างสรรค์ของผู้แทนไทยในการเจรจาการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้กรอบพหุภาคี เพื่อเสริมอำนาจต่อรองและรักษาผลประโยชน์โดยรวมของประเทศ รวมทั้งมุ่งขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งทรัพยากร วัตถุดิบ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในต่างประเทศ เพื่อนำมาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของไทยในเวทีการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้การดำเนินนโยบายการต่างประเทศสามารถตอบสนองต่อความ ต้องการของประชาชนคนไทยได้อย่างแท้จริง รัฐบาลจะสานต่อการดำเนินงานการทูต เพื่อประชาชน โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในสังคมในภารกิจ ด้านการต่างประเทศ การเสริมสร้างและสนับสนุนชุมชนไทยในต่างประเทศให้มีบทบาทและส่วนร่วมในการปกปักรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้งจะมุ่งส่งเสริม รักษาและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประเทศ ภาคเอกชนไทย แรงงานไทย และคนไทยในต่างประเทศ ตลอดจนจะมุ่งพัฒนาระบบบริหารราชการในต่างประเทศแบบบูรณาการให้สมบูรณ์ขึ้น๖. นโยบายพัฒนากฎหมายและส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีการที่ประเทศจะมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและมีสังคมที่สงบสุข จะต้องมีพื้นฐานของกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะความโปร่งใสและปลอดความทุจริตในทุกระดับและทุกวงการทั้งภาครัฐและเอกชนรัฐบาลจะพัฒนากฎหมายทั้งระบบให้ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยยกเลิกกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ ของประชาชน ยกเลิกกฎหมายที่ไม่มีการบังคับใช้ สร้างภาระไม่จำเป็นแก่ประชาชน และ ก่อให้เกิดความยุ่งยาก ล่าช้า ซ้ำซ้อนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ และไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนากฎหมายเศรษฐกิจให้สอดรับกับการปรับ โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่เน้นการขยายโอกาสให้คนจนและคนด้อยโอกาส และการเพิ่ม ศักยภาพในการแข่งขันของประเทศให้ทันกับกระแสโลกาภิวัตน์รัฐบาลจะปรับปรุงระบบอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนอย่างเสมอภาค เป็นธรรม เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากกระบวนการยุติธรรมโดยทั่วถึงและ รวดเร็ว นอกจากนั้น จะปรับปรุงระบบการจัดการศึกษากฎหมาย การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรทางกฎหมายในภาครัฐ และการส่งเสริมให้ประชาชนได้รู้กฎหมายในชีวิตประจำวัน สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสิทธิ และ เสรีภาพพื้นฐานของตนรัฐบาลจะพัฒนาระบบราชการอย่างต่อเนื่องต่อไป ด้วยการปรับโครงสร้างราชการและนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนและตัดสินใจให้มี ประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้บทบาทและภารกิจมีความกระชับ มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับสถานการณ์ ทั้งการดูแลพื้นที่ การปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ปกติ และการปฏิบัติ ราชการตามระเบียบวาระงานพิเศษ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง รัฐบาลจะเสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบการบริหารงานแบบบูรณาการ อย่างต่อเนื่องไม่ว่าในระดับจังหวัดหรืออื่น ๆ รัฐบาลจะเน้นระบบการบริหารงานบุคคล ภาครัฐให้มีคุณธรรมและมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล จัดระบบ ค่าตอบแทนให้เป็นธรรม นอกจากนี้จะปรับปรุงระบบบริการประชาชนให้เป็นเชิงรุกมากขึ้นในรูปแบบ การให้บริการถึงตัวบุคคลผ่านระบบศูนย์บริการร่วมและระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์แบบ ยกระดับสมรรถนะของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ พัฒนารูปแบบโครงสร้างและระบบการบริหารงานใหม่ที่มีความยืดหยุ่นคล่องตัวสูง มุ่งเน้นการจัดการความรู้ และพัฒนาส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้รัฐบาลจะดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในวงราชการอย่างต่อเนื่องให้เป็นระบบราชการที่โปร่งใสและสะอาด โดยการวางระบบการ ตรวจสอบและประเมินผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม ความคุ้มค่า พัฒนากระบวนการติดตาม ตรวจสอบลงโทษผู้ทุจริตอย่างเด็ดขาด เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ปรับปรุงระบบการ จัดซื้อจัดจ้าง ตลอดจนการจ่ายเงินแผ่นดินให้เกิดความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ สนับสนุนภาคประชาชนให้มีส่วนร่วมในการรณรงค์เรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง และปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคม ให้ประชาชนร่วมกันต่อต้านการทุจริตและการประพฤติมิชอบของ เจ้าหน้าที่ของรัฐรัฐบาลจะส่งเสริมกระบวนการบริหารจัดการที่ดีในภาคเอกชน โดยเฉพาะ ระบบการตรวจสอบกิจการที่โปร่งใส และสนับสนุนให้ภาคเอกชนยึดมั่นในความรับผิดชอบ ต่อลูกค้า ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สังคม โดยการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อสร้าง ความเป็นธรรม ตลอดจนป้องกันการผูกขาดตัดตอน ทั้งทางตรงและทางอ้อมในสี่ปีต่อไปนี้ รัฐบาลจะส่งเสริมให้มีการนำศีลธรรมและคุณธรรมมาใช้เป็น แนวทางในการดำรงชีวิตและประกอบกิจการของทุกฝ่าย โดยจะขอความร่วมมือจากคณะสงฆ์และองค์กรหลักของทุกศาสนา๗. นโยบายส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคมระบอบประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริงรัฐบาลมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและพัฒนาระบอบประชาธิปไตย โดยเน้นการมีส่วนร่วมและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน การที่รัฐบาลได้รับความไว้วางใจจากประชาชนอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาทำให้เกิดมิติใหม่ของระบบการเมืองไทยที่มีรัฐบาลเข้มแข็ง แต่รัฐบาลก็ตระหนักดีว่าสังคมในระบอบประชาธิปไตยจะต้องมีการตรวจสอบการบริหารกิจการบ้านเมือง โดยมีภาคประชาชนที่เข้มแข็ง ดังนั้น รัฐบาลจะรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในรูปแบบที่เหมาะสมและหลากหลายเกี่ยวกับเรื่องสำคัญตาม รัฐธรรมนูญมาตรา ๕๙ และร่วมกับทุกฝ่ายที่จะส่งเสริมและยกระดับสิทธิมนุษยชนให้ ทัดเทียมระดับสากล รวมทั้งจัดตั้งศูนย์ติดตามคนหายและระบบพิสูจน์ศพนิรนาม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมไทยรัฐบาลจะส่งเสริมสนับสนุนการทำงานขององค์กรอิสระต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ส่งเสริมบทบาทของผู้นำชุมชน หรือปราชญ์ท้องถิ่น กระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่ส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองและสามารถตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้ และส่งเสริมองค์กรพัฒนาเอกชนที่สร้างสรรค์และกระบวนการประชาสังคม ที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทาง เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ