สรุปภาวะการค้าไทย-อินเดียประจำเดือน ม.ค.2548

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 18, 2005 17:07 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          1. อินเดียเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 24 ของโลก โดยมีมูลค่าการนำเข้า 60,426,784,70 
เหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.64 (ม.ค.-ส.ค. 2547)
2. แหล่งผลิตสำคัญที่อินเดียนำเข้าในปี 2547 (ม.ค.-ส.ค.) ได้แก่
- จีน ร้อยละ 5.95 มูลค่า 3,592.640 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.35
- สหรัฐฯ ร้อยละ 5.63 มูลค่า 3,403.254 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.46
- เบลเยี่ยม ร้อยละ 4.73 มูลค่า 2,855.931 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.28
- สวิสเซอร์แลนด์ ร้อยละ 4.53 มูลค่า 2,739.955 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.52
- ไทยอยู่อันดับที่ 24 ร้อยละ 0.74 มูลค่า 448.552 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.85
3. อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดีย ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของเอเซียขยาย
ตัวอยู่ที่ 6.9% ในปีงบประมาณที่สิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2548 ลดจากปีก่อนหน้านี้ซึ่งเติบโตอยู่ที่ระดับ 8.5% โดย
เศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงนี้เป็นผลมาจากลมพายุฤดูฝนทำลายพื้นที่เกษตรเสียหายเป็นจำนวนมาก และในปี 2548
คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 6.5%
4. อินเดียเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 16 ของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออก 1.56 มีมูลค่าการส่งออก
122.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 125.19 (ม.ค. 2548) หรือคิดเป็นร้อยละ 9.58 ของเป้าหมาย
การส่งออก
5. สินค้าไทยส่งออกไปอินเดีย (ม.ค. 2548) 25 อันดับแรกมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 90.23 ของ
มูลค่าการส่งออกโดยรวมไปตลาดนี้ สินค้าสำคัญที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 500 มี 3 รายการ
สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 200 มี 2 รายการ และสินค้าที่มีมูลค่าลดลงเกินกว่าร้อยละ 20 มี
2 รายการ
สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปอินเดียที่มีมูลค่าการเปลี่ยนแปลงสูง ม.ค. 2548
ตลาด อันดับที่ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการ %เปลี่ยนแปลง สัดส่วน 2547 ร้อยละ 2548
ม.ค. 47 ม.ค. 48 เปลี่ยนแปลง ม.ค. ม.ค.
1. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปอินเดีย เพิ่มขึ้นสูงมากกว่าร้อยละ 500 มี 3 รายการ
(1) ยางพารา 3 1.04 10.35 9.31 894.51 3.41 8.44
(2) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ 7 0.68 5.83 5.15 755.84 6.39 4.75
(3) หลอดภาพโทรทัศน์สี 22 0.00 0.95 0.95 52,953.13 0.52 0.78
2. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปอินเดีย เพิ่มขึ้นสูงมากกว่าร้อยละ 200 มี 2 รายการ
(1) อัญมณีและเครื่องประดับ 6 1.69 5.91 4.22 248.86 3.61 4.82
(2) สายไฟฟ้า สายเคเบิล 13 0.72 2.39 1.67 232.31 1.99 1.95
3. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปอินเดีย ลดลงมากกว่าร้อยละ 20 มี 2 รายการ
(1) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ 10 5.20 3.41 -1.79 -34.48 2.98 2.78
(2) ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ 16 1.60 1.25 -0.35 -21.86 2.11 1.02
รวบรวมโดย : ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ
การค้าภายใต้ข้อตกลงเอฟทีเอกับประเทศอินเดีย
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นายราเชนทร์ พจนสุนทร เปิดเผยว่าภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรี
(FTA) ไทย - อินเดีย ที่ได้มีการเร่งลดภาษีระหว่างกันสำหรับสินค้าจำนวน 82 รายการ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน
2547 เป็นต้นมา กรมการค้าต่างประเทศได้ออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าให้กับผู้ส่งออกตั้งแต่เดือนกันยายน
2547 จนถึงถึงเดือนมกราคม 2548 จำนวน 449 ฉบับ มูลค่า 27.83 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าที่ขอหนังสือ
รับรองฯ ที่มีมูลค่ามากที่สุดได้แก่ โพลิคาร์บอเนต รองลงมาคือ หลอดภาพแคโทดเรย์ของเครื่องรับโทรทัศน์สี
อิพอกไซด์เรซิน อะลูมิเนียมเจือของอื่นๆ ทำด้วยเหล็กหรือลวดเหล็กกล้า เครื่องรับโทรทัศน์สีและเครื่องปรับอากาศ
การส่งออก-นำเข้าสินค้าตามข้อมูลสถิติของกรมศุลกากรตั้งแต่เดือนกันยายน — ธันวาคม 2547
ไทยส่งออกสินค้าในรายการสินค้าที่ได้มีการเร่งลดภาษีระหว่างกันมูลค่า 63.64 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออก
ที่มีมูลค่ามากที่สุดได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สี ร้อยละ 40 รองลงมาคือ โพลิคาร์บอเนต ร้อยละ 13 ส่วนประกอบ
เครื่องยนต์ ร้อยละ 7 รัตนชาติไม่ได้ตกแต่ง ร้อยละ 6 หลอดภาพแคโทดเรย์ ของเครื่องรับโทรทัศน์สี ร้อยละ
5 และเครื่องปรับอากาศ ร้อยละ 5 อิพอกไซด์เรซิน ร้อยละ 4 และของอื่นๆ ทำด้วยเหล็กหรือลวดเหล็กกล้า
ร้อยละ 3
ไทยนำเข้าสินค้าในรายการสินค้าที่ได้มีการเร่งลดภาษีระหว่างกันตั้งแต่เดือนกันยายน — ธันวาคม
2547 มูลค่า 16.40 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้านำเข้าที่มีมูลค่ามากที่สุดได้แก่ กระปุกเกียร์ ร้อยละ 25 รองลงมา
คือ อะลูมิเนียมออกไซด์นอกจากคอรันดัมประดิษฐ์ ร้อยละ 13 หลอดภาพแคโทดเรย์ของเครื่องรับโทรทัศน์สี
ร้อยละ 12 ส่วนประกอบเครื่องเพชรพลอยทำด้วยโลหะ ร้อยละ 8 อะลูมิเนียมเจือ ร้อยละ 7 ส่วนประกอบ
เครื่องกรอง ร้อยละ 5 และโพลิคาร์บอเนต ร้อยละ 4
โดยตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคม 2547 ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับอินเดียจำนวน
1,929 ล้านบาท
7. ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็น
เอเอฟพี / วอลล์สตรีทเจอร์นัล รายงานว่าแผนงบประมาณประจำปี 2548 ของอินเดียกำลัง มุ่ง
เน้นเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเช่น ทางหลวง เครือข่ายทางรถไฟ ท่าเรือ สนามบิน ไฟฟ้า และโทร
คมนาคม โดยหวังดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนจากต่างชาติให้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้อินเดียยังมุ่งเน้นเรื่องการเพิ่มงบ
ประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน รวมถึงแนวทางสำหรับการลงทุนต่างชาติภาคธนาคารของอินเดียอีกด้วย
ทั้งนี้เศรษฐกิจอินเดียกำลังโดดเด่น โดยคาดว่าจะขยายตัวอย่างรวดเร็วเป็นอันดับ 2 รองจากจีน
เนื่องจากเศรษฐกิจอินเดียกำลังพุ่งทะยานอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐ
หันมาให้ความสนใจที่จะสร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอินเดีย ทั้งด้านการทหารและความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจ
การค้า โดยสหรัฐฯ ยังคงรักษาตำแหน่งคู่ค้าอันดับหนึ่งของอินเดียติดต่อกันมา หลายปีแล้ว แม้ความสัมพันธ์ทางการ
เมืองยังไม่ค่อยแนบแน่นเท่าที่ควร ในขณะเดียวกันอาเซียนก็กำลังมุ่งหน้าผูกสัมพันธ์กับอินเดีย โดยผู้นำอาเซียน
ตัดสินใจให้มีการเจรจาทำความตกลงเอฟทีเอกับอินเดีย
จากรายงานของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (ไอไอเอฟ) ให้ความเห็นว่าเศรษฐกิจของอินเดีย
ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง และเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเป็นอันดับ 2 ในเอเซียรองจากจีน โดยคาด
ว่าในปี 2548 จะมีเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้าไปในอินเดียประมาณ 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ
รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นายชนะ คณารัตนดิลก เปิดเผยว่า ที่ประชุมอาเซียน เห็นพ้องว่า
อาเซียนควรจะยกเลิกการเจรจาสินค้าเร่งลดภาษีกับอินเดียไปก่อน เนื่องจากอินเดียยืนกรานไม่ลดรายการสินค้า
กำหนดแหล่งกำเนิดสินค้าเฉพาะในกรอบสินค้าเร่งลดภาษี ซึ่งท่าทีของฝ่ายไทยเห็นว่าอาเซียนควรทำตามมติที่
ประชุม เพื่อแสดงความเข้มแข็งและจุดยืนของอาเซียน อย่างไรก็ตามแม้การเจรจา ในกรอบอาเซียน-อินเดียจะ
หยุดชะงัก การเจรจาในกรอบเอฟทีเอไทย-อินเดียก็จะยังคงได้รับประโยชน์เนื่องจากอินเดียจะหันมาสนใจการ
เจรจากับไทยมากขึ้น
อินเดียเป็นตลาดเป้าหมายสำคัญอันดับ 1 ในเอเซียใต้ ซึ่งมีเป้าหมายการส่งออกสินค้าไทยไปตลาด
นี้ให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 ในปี 2548 จึงได้มีแผนกิจกรรมส่งเสริมการส่งออก ดังนี้
แผนส่งเสริมการส่งออกสินค้าไทยไปอินเดีย ปี 2548
Study Mission เพื่อศึกษาตลาด
- เมืองกัลกัตตา รัฐเบงกอล ตะวันตก เมือง Kuwahati
รัฐอัสสัม เมืองชัยปุระ รัฐราชสถาน 23-30 มกราคม 2548
- เมือง Gandhinagar รัฐกุจราฐ เมือง Bhubaneshwar รัฐโอริสา 7-13 มีนาคม 2548
- เมืองกัลกัตตา เมือง Lucknow รัฐอุตตระประเทศ เมือง Patna รัฐบิฮาร์ 8-14 มีนาคม 2548
Export Rally ผู้ผลิต ผู้ส่งออกไทยเดินทางไปเจาะตลาดอินเดียในเมืองที่มีศักยภาพ
- เมืองกัลกัตตา มีนาคม 2548
- เมือง Bhubaneshwai เมษายน 2548
การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าใน ต่างประเทศ
- World of Franchising, New Delhi (Franchisie) 17-19 มีนาคม 2548
- World of Food India, Hyderabad (Food) ธันวาคม 2548
การเข้าร่วมงาน Thailand Exhibition
- Chennai, India 8-10 กรกฎาคม 2548
- Bangalore, India 13-17 กรกฎาคม 2548
- Hyderabad, India 9-11 กันยายน 2548
- Mumbai, India พฤศจิกายน 2548
- Mumbai, India ธันวาคม 2548
ข้อเสนอแนะในการเข้าสู่ตลาด
1. ควรมีการศึกษาระบบการค้า ภาษีและลักษณะการทำธุรกิจของคนอินเดียรวมทั้งลักษณะทาง
เศรษฐกิจ การเมืองของอินเดียให้เข้าใจ เนื่องจากมีความซับซ้อน และแต่ละแคว้นมีรัฐบาลท้องถิ่นปกครองตนเอง
ภายใต้รัฐบาลกลาง ดังนั้น กฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งสำคัญที่นักธุรกิจไทยที่ต้องการทำ
ธุรกิจในอินเดียต้องศึกษา
2. โดยภาพรวมสามารถแบ่งอินเดียได้เป็น 2 ส่วน คือ เหนือและใต้ ทางเหนือจะมีความเป็นอนุรักษ์
นิยม ลักษณะนิสัยของคนทางเหนือจะแข็งกร้าวกว่าคนทางใต้ รายได้โดยเฉลี่ยก็ต่ำกว่าทางใต้ แต่จำนวนประชากร
มีมากและบางรัฐก็ได้เริ่มปรับเปลี่ยนวิถีทางดำรงชีวิต ดังนั้นการเข้าไปทำตลาด จึงควรเลือกเมืองและสินค้าที่จะ
เข้าไปให้มีความเหมาะสมรวมทั้งศึกษาช่องทางการจำหน่าย และคู่ค้าด้วย ส่วนทางใต้จะเปิดรับและคุ้นเคยกับ
ต่างชาติมากกว่าประชาชนมีรายได้สูงนิยมการจับจ่ายใช้สอย การเข้าไปทำตลาดจะยุ่งยากน้อยกว่า ทั้งสินค้าและ
บริการหลายประเภทของไทยต่างก็มีศักยภาพแต่ในขณะเดียวกันคู่แข่งก็จะมากกว่า
3. การทำธุรกิจในอินเดีย นักธุรกิจไทยควรมีความรอบครอบและอดทนติดตาม ข่าวสารการเปลี่ยน
แปลงภายในตลอดเวลา เพื่อจะได้ปรับตัวทันสถานการณ์ โดยกรมส่งเสริมการส่งออกเห็นว่าตลาดอินเดียจะเป็น
ตลาดที่สำคัญของประเทศไทยอย่างแน่นอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำการค้าภายในเขตการค้าเสรีไทย - อินเดีย
(FTA) ซึ่งนอกจากจะทำให้ปัญหาด้านภาษีลดลงแล้วยังเป็นโอกาสที่ต่างชาติจะมาใช้ไทยเป็นฐานการผลิต เพื่อการ
ส่งออกสินค้าไปยังประเทศอินเดียอีกด้วย
ที่มา: http://www.depthai.go.th
-ดท-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ