อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
การส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่า 1,613.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืนและด้าย เคหะสิ่งทอ เส้นใยประดิษฐ์ และสิ่งทออื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9, 6.6, 7.6, 2.5 และ 10.2 ตามลำดับ
การผลิต
ดัชนีผลผลิต ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 การผลิตสิ่งทอฯ การผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ ลดลงร้อยละ 5.8 2.3 และ 8.7 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีการผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 และ 8.5 ตามลำดับ เป็นการเพิ่มขึ้นของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ
ดัชนีการส่งสินค้า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 การผลิตสิ่งทอ ฯ การผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ ลดลงร้อยละ 7.1 4.4 และ 10.0 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีการผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 และ 7.6 ตามลำดับ
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ของการผลิตเส้นใยสิ่งทอ ดัชนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และ 5.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่การผลิตผ้าและเครื่องแต่งกาย ดัชนีลดลง ร้อยละ 3.0 และ 4.6 ตามลำดับเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
การส่งออก
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 1,613.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 1,533.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 1,534.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยจำแนกเป็นประเภทที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1. เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 740.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 702.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 719.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยที่เสื้อผ้าสำเร็จรูปทำจากฝ้ายมีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดถึงร้อยละ 49.0 ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมด
2. ผ้าผืนและด้าย ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 457.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีมูลค่าการส่งออก 424.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 429.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
v ผ้าผืน ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 283.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีมูลค่าการส่งออก 243.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าการส่งออก 257.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
v ด้ายและด้ายเส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 174.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 172.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. เส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 104.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 101.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตลาดส่งออก
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาส 2 ปี 2548 มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 1,613.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 5.2 โดยตลาดส่งออกหลักๆ ที่สำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย มีดังนี้
สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอของไทยไปสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่า 498.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาสูงที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.9 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมดของไทย สินค้าที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืนและด้าย และ เคหะสิ่งทอ
ญี่ปุ่น ไตรมาส 2 ปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 104.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.4 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืนและด้าย ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ และเคหะสิ่งทอ
จีน ไตรมาส 2 ปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 72.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.5 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผ้าผืนและด้าย ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ และเส้นใยประดิษฐ์
การนำเข้า
การนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่าทั้งสิ้น 794.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่ไทยนำเข้าส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น เส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน และอื่นๆ (ร้อยละ 95.9) และเสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 4.1) ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามีดังนี้
-เส้นใยใช้ในการทอ มีมูลค่านำเข้า 245.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ19.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 189.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และปากีสถาน
-ด้ายทอผ้า มีมูลค่านำเข้า 123.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 121.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินโดนีเซีย
-ผ้าผืน มีมูลค่านำเข้า 367.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 326.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญคือ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น และฮ่องกง
-ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ มีมูลค่านำเข้า 26.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 21.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน และเยอรมนี
2. เสื้อผ้าสำเร็จรูปมีมูลค่านำเข้า ทั้งสิ้น 32.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ลดลงร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 36.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.1 ของการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มทั้งหมดของไทย ตลาดนำเข้าหลักคือ จีน ฮ่องกง อิตาลี และญี่ปุ่น
3. เครื่องจักรสิ่งทอ ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 นำเข้ามูลค่า 112.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่ม ขึ้นร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ลดลงร้อยละ 9.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าคือ ญี่ปุ่น เยอรมนี จีน และไต้หวัน
สรุปและแนวโน้ม
การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีการผลิตที่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การผลิตผ้าฯ และการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การส่งออกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน เป็นต้น สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จ รูป สัดส่วนประมาณร้อยละ 50.0 ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมด และในไตรมาสที่ 2 มูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8
แนวโน้มครึ่งปีหลัง คาดว่าการส่งออกสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยจะมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากคู่แข่งอย่างจีนกำลังถูกสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป กดดันให้ลดการส่งออกไปจนถึงปี 2549 โดยนำมาตรการฉุกเฉินเพื่อตอบโต้การนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (safeguard) มาใช้กับสินค้าจีน ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทยในการปรับตัวให้แข็งแกร่งมากขึ้น และสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ ได้ ทั้งนี้ผู้ประกอบการคาดว่าคำสั่งซื้อสินค้าสิ่งทอจากผู้นำเข้าในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะสินค้าที่จะต้องส่งมอบในช่วงฤดูขายปลายปี ซึ่งจะขยายตัวจากครึ่งปีแรกไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่า 1,613.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืนและด้าย เคหะสิ่งทอ เส้นใยประดิษฐ์ และสิ่งทออื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9, 6.6, 7.6, 2.5 และ 10.2 ตามลำดับ
การผลิต
ดัชนีผลผลิต ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 การผลิตสิ่งทอฯ การผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ ลดลงร้อยละ 5.8 2.3 และ 8.7 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีการผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 และ 8.5 ตามลำดับ เป็นการเพิ่มขึ้นของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ
ดัชนีการส่งสินค้า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 การผลิตสิ่งทอ ฯ การผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ ลดลงร้อยละ 7.1 4.4 และ 10.0 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีการผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 และ 7.6 ตามลำดับ
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ของการผลิตเส้นใยสิ่งทอ ดัชนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และ 5.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่การผลิตผ้าและเครื่องแต่งกาย ดัชนีลดลง ร้อยละ 3.0 และ 4.6 ตามลำดับเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
การส่งออก
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 1,613.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 1,533.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 1,534.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยจำแนกเป็นประเภทที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1. เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 740.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 702.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 719.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยที่เสื้อผ้าสำเร็จรูปทำจากฝ้ายมีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดถึงร้อยละ 49.0 ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมด
2. ผ้าผืนและด้าย ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 457.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีมูลค่าการส่งออก 424.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 429.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
v ผ้าผืน ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 283.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีมูลค่าการส่งออก 243.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าการส่งออก 257.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
v ด้ายและด้ายเส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 174.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 172.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. เส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 104.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 101.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตลาดส่งออก
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาส 2 ปี 2548 มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 1,613.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 5.2 โดยตลาดส่งออกหลักๆ ที่สำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย มีดังนี้
สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอของไทยไปสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่า 498.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาสูงที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.9 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมดของไทย สินค้าที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืนและด้าย และ เคหะสิ่งทอ
ญี่ปุ่น ไตรมาส 2 ปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 104.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.4 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืนและด้าย ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ และเคหะสิ่งทอ
จีน ไตรมาส 2 ปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 72.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.5 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผ้าผืนและด้าย ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ และเส้นใยประดิษฐ์
การนำเข้า
การนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่าทั้งสิ้น 794.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่ไทยนำเข้าส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น เส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน และอื่นๆ (ร้อยละ 95.9) และเสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 4.1) ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามีดังนี้
-เส้นใยใช้ในการทอ มีมูลค่านำเข้า 245.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ19.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 189.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และปากีสถาน
-ด้ายทอผ้า มีมูลค่านำเข้า 123.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 121.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินโดนีเซีย
-ผ้าผืน มีมูลค่านำเข้า 367.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 326.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญคือ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น และฮ่องกง
-ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ มีมูลค่านำเข้า 26.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 21.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน และเยอรมนี
2. เสื้อผ้าสำเร็จรูปมีมูลค่านำเข้า ทั้งสิ้น 32.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ลดลงร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 36.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.1 ของการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มทั้งหมดของไทย ตลาดนำเข้าหลักคือ จีน ฮ่องกง อิตาลี และญี่ปุ่น
3. เครื่องจักรสิ่งทอ ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 นำเข้ามูลค่า 112.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่ม ขึ้นร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ลดลงร้อยละ 9.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าคือ ญี่ปุ่น เยอรมนี จีน และไต้หวัน
สรุปและแนวโน้ม
การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีการผลิตที่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การผลิตผ้าฯ และการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การส่งออกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน เป็นต้น สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จ รูป สัดส่วนประมาณร้อยละ 50.0 ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมด และในไตรมาสที่ 2 มูลค่าการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8
แนวโน้มครึ่งปีหลัง คาดว่าการส่งออกสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยจะมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากคู่แข่งอย่างจีนกำลังถูกสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป กดดันให้ลดการส่งออกไปจนถึงปี 2549 โดยนำมาตรการฉุกเฉินเพื่อตอบโต้การนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (safeguard) มาใช้กับสินค้าจีน ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทยในการปรับตัวให้แข็งแกร่งมากขึ้น และสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ ได้ ทั้งนี้ผู้ประกอบการคาดว่าคำสั่งซื้อสินค้าสิ่งทอจากผู้นำเข้าในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะสินค้าที่จะต้องส่งมอบในช่วงฤดูขายปลายปี ซึ่งจะขยายตัวจากครึ่งปีแรกไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-