แท็ก
ภาคเหนือ
เดือนเมษายน 2548 เศรษฐกิจภาคเหนือปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคยังขยายตัว มูลค่าส่งออกและนำเข้าเร่งตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 อย่างไรก็ตาม การลงทุนโดยเฉพาะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเริ่มชะลอลง ด้านอุปทาน ผลผลิตพืชหลักลดลงจากภาวะความแห้งแล้ง แต่รายได้เกษตรกรจากพืชหลักเพิ่มขึ้นจากราคาที่เพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวตามการส่งออก จำนวนนักท่องเที่ยวชะลอตัวลงบ้างจากเหตุการณ์ระเบิดในจังหวัดสงขลา ทางด้านระดับราคาเร่งตัวขึ้นตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เงินฝากและเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชหลักลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.5 ตามผลผลิตของข้าวนาปรังและอ้อยโรงงานที่ลดลงร้อยละ 21.1 และร้อยละ 15.9 ตามลำดับ เนื่องจากฝนทิ้งช่วงและหมดเร็วกว่าปกติ อย่างไรก็ดี ราคาพืชสำคัญสูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.5 สามารถชดเชยผลผลิตที่ลดลงได้บ้าง โดยราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% สูงขึ้นตามราคาตลาดโลกและมาตรการของทางการ ราคาอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำตาลในตลาดโลกและผลผลิตลดลงจากภาวะแห้งแล้ง ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 จากราคาข้าวและอ้อยเป็นสำคัญ
2. ภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือขยายตัวตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยมูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.2 เป็น 160.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าส่งออกที่สำคัญคือ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตาเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 ร้อยละ 36.4 และร้อยละ 12.4 ตามลำดับ โดยเฉพาะเครื่องจักรและเครื่องจักรกลเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ตลาดส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และจีน อย่างไรก็ดีการส่งออกสินค้าประเภททรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์ลดลงร้อยละ 43.5 ต่อเนื่องจากเดือนก่อน ทางด้านผลผลิตหมวดวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนตามฤดูกาล ประกอบกับได้เร่งก่อสร้างไปแล้วเมื่อไตรมาส 1 ที่ผ่านมา
3. ภาคบริการ ภาวะท่องเที่ยวขยายตัวแต่ในอัตราที่ชะลอลงบ้าง โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติบางกลุ่มยกเลิกการเดินทาง เนื่องจากผลกระทบจากเหตุการณ์ระเบิดที่จังหวัดสงขลา แต่ยังได้รับประโยชน์จากช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประกอบกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ และนักท่องเที่ยวบางกลุ่มโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เปลี่ยนแผนการเดินทางมาท่องเที่ยวภาคเหนือ กิจกรรมภาคบริการที่สำคัญในภาคเหนือได้แก่ ยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโรงแรมและภัตตาคารสูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.4 จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 ราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมใกล้เคียงกับปีก่อน 956.5 บาทต่อห้อง
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน กิจกรรมด้านการใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวแต่ในอัตราชะลอลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยปริมาณรถยนต์จดทะเบียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 ใกล้เคียงกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 ในช่วงเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ดีปริมาณรถยนต์นั่งส่วนบุคคลชะลอตัวลง แต่สำหรับปริมาณรถยนต์เชิงพาณิชย์ยังคงขยายตัว ขณะที่ปริมาณรถจักรยานยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.5 โดยลดลงมากบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ส่วนยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทการขายส่งและขายปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 เร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน
5. การลงทุน การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน แต่มีสัญญาณชะลอตัวของการก่อสร้างภาคเอกชน ที่ได้เร่งรัดก่อสร้างในช่วงก่อนหน้านี้แล้ว ทางด้านพื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.9 จากประเภทเพื่อที่อยู่อาศัย บริการและขนส่งที่ลดลงร้อยละ 26.8 และร้อยละ 39.7 ตามลำดับ ขณะที่ประเภทอาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.9 ขยายตัวสูงบริเวณภาคเหนือตอนล่างได้แก่จังหวัด นครสวรรค์ และพิษณุโลก สำหรับค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินลดลงร้อยละ 5.1 การลงทุนเพื่อการผลิตลดลง สะท้อนจากมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบลดลงร้อยละ 8.5 และความสนใจลงทุน ตามโครงการที่ได้รับอนุมัติจาก BOI ที่ในเดือนนี้มีเพียง 1 แห่ง ส่งผลให้มูลค่าเงินลงทุนลดลงร้อยละ 98.1
6. การค้าต่างประเทศ มูลค่าการส่งออก ผ่านด่านศุลกากรต่าง ๆ ในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.3 เป็น 218.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากเดือนก่อน โดยการส่งออกผ่านด่านนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.2 เป็น 160.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา ส่วนการส่งออกผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.1 เป็น 42.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 27.5 เป็น 35.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากเดือนก่อน ส่วนการส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 เป็น 1.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น และการส่งออกไปจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว เป็น 5.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการเร่งส่งออกผลิตภัณฑ์พืชสวนประเภท ยางแผ่น ยางแท่ง น้ำยางและผลิตภัณฑ์ยาง
มูลค่าการนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 เป็น 129.3 ล้านดอลลาร์ สรอ.เร่งตัวจากเดือนก่อนหน้า ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือจำนวน 122.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 สินค้าสำคัญที่นำเข้าได้แก่ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์พลาสติกและเรซิน สำหรับการนำเข้าผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เป็น 5.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการเพิ่มขึ้นจากการนำเข้าสินค้าจากพม่า และลาว เป็นสำคัญ
ดุลการค้าในเดือนเมษายน 2548 ดุลการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเกินดุล 88.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 44.0 ที่เกินดุล 61.6 ล้านดอลลาร์ สรอ.
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนเมษายน 2548 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.4 เร่งตัวจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 โดยราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาผักและผลไม้ ผักสดแปรรูปและอื่นๆที่ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน สำหรับราคาหมวดอื่นที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เท่ากับเดือนก่อน
8. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนมีนาคม 2548 พบว่าภาคเหนือมีผู้มีงานทำ 6.5 ล้านคน หรือเท่ากับร้อยละ 98.5 ของกำลังแรงงานรวม ใกล้เคียงกับร้อยละ 98.7 ระยะเดียวกันปีก่อน ภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.7 และร้อยละ 4.8 ตามลำดับ โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรขยายตัวมากในสาขาการผลิตอุตสาหกรรม และสาขาโรงแรมและภัตตาคาร ด้านอัตราการว่างงานร้อยละ 2.0 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าร้อยละ 1.6 ระยะเดียวกันปีก่อน
ด้านผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเดือนเมษายน 2548 มีจำนวน 579,904 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่ลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ที่มีผู้ประกันตนจำนวน 580,505 คน
9. การเงิน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2548 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ มียอดเงินฝากคงค้างทั้งสิ้น 302,318 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.4 ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นที่จังหวัดลำพูน พิษณุโลก และนครสวรรค์ แต่ลดลงที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และตาก ส่วนเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 225,086 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.1 จากการให้สินเชื่อเพิ่มขึ้นแก่สหกรณ์ออมทรัพย์หลายจังหวัดเป็นสำคัญ นอกนั้นยังมีการให้สินเชื่อเพื่อขยายกิจการของธุรกิจโรงสี อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารสัตว์ โดยเพิ่มขึ้นมากบริเวณจังหวัดพิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และพิจิตร สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 74.5 สูงกว่าร้อยละ 70.9 ระยะเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคเหนือ--
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชหลักลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.5 ตามผลผลิตของข้าวนาปรังและอ้อยโรงงานที่ลดลงร้อยละ 21.1 และร้อยละ 15.9 ตามลำดับ เนื่องจากฝนทิ้งช่วงและหมดเร็วกว่าปกติ อย่างไรก็ดี ราคาพืชสำคัญสูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.5 สามารถชดเชยผลผลิตที่ลดลงได้บ้าง โดยราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้น 14-15% สูงขึ้นตามราคาตลาดโลกและมาตรการของทางการ ราคาอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำตาลในตลาดโลกและผลผลิตลดลงจากภาวะแห้งแล้ง ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 จากราคาข้าวและอ้อยเป็นสำคัญ
2. ภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือขยายตัวตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยมูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.2 เป็น 160.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าส่งออกที่สำคัญคือ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตาเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 ร้อยละ 36.4 และร้อยละ 12.4 ตามลำดับ โดยเฉพาะเครื่องจักรและเครื่องจักรกลเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ตลาดส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และจีน อย่างไรก็ดีการส่งออกสินค้าประเภททรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์ลดลงร้อยละ 43.5 ต่อเนื่องจากเดือนก่อน ทางด้านผลผลิตหมวดวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนตามฤดูกาล ประกอบกับได้เร่งก่อสร้างไปแล้วเมื่อไตรมาส 1 ที่ผ่านมา
3. ภาคบริการ ภาวะท่องเที่ยวขยายตัวแต่ในอัตราที่ชะลอลงบ้าง โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติบางกลุ่มยกเลิกการเดินทาง เนื่องจากผลกระทบจากเหตุการณ์ระเบิดที่จังหวัดสงขลา แต่ยังได้รับประโยชน์จากช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประกอบกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ และนักท่องเที่ยวบางกลุ่มโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เปลี่ยนแผนการเดินทางมาท่องเที่ยวภาคเหนือ กิจกรรมภาคบริการที่สำคัญในภาคเหนือได้แก่ ยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโรงแรมและภัตตาคารสูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.4 จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 ราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมใกล้เคียงกับปีก่อน 956.5 บาทต่อห้อง
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน กิจกรรมด้านการใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวแต่ในอัตราชะลอลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยปริมาณรถยนต์จดทะเบียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 ใกล้เคียงกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 ในช่วงเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ดีปริมาณรถยนต์นั่งส่วนบุคคลชะลอตัวลง แต่สำหรับปริมาณรถยนต์เชิงพาณิชย์ยังคงขยายตัว ขณะที่ปริมาณรถจักรยานยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.5 โดยลดลงมากบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ส่วนยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทการขายส่งและขายปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 เร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน
5. การลงทุน การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน แต่มีสัญญาณชะลอตัวของการก่อสร้างภาคเอกชน ที่ได้เร่งรัดก่อสร้างในช่วงก่อนหน้านี้แล้ว ทางด้านพื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.9 จากประเภทเพื่อที่อยู่อาศัย บริการและขนส่งที่ลดลงร้อยละ 26.8 และร้อยละ 39.7 ตามลำดับ ขณะที่ประเภทอาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.9 ขยายตัวสูงบริเวณภาคเหนือตอนล่างได้แก่จังหวัด นครสวรรค์ และพิษณุโลก สำหรับค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินลดลงร้อยละ 5.1 การลงทุนเพื่อการผลิตลดลง สะท้อนจากมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบลดลงร้อยละ 8.5 และความสนใจลงทุน ตามโครงการที่ได้รับอนุมัติจาก BOI ที่ในเดือนนี้มีเพียง 1 แห่ง ส่งผลให้มูลค่าเงินลงทุนลดลงร้อยละ 98.1
6. การค้าต่างประเทศ มูลค่าการส่งออก ผ่านด่านศุลกากรต่าง ๆ ในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.3 เป็น 218.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากเดือนก่อน โดยการส่งออกผ่านด่านนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.2 เป็น 160.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา ส่วนการส่งออกผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.1 เป็น 42.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 27.5 เป็น 35.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากเดือนก่อน ส่วนการส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 เป็น 1.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น และการส่งออกไปจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว เป็น 5.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการเร่งส่งออกผลิตภัณฑ์พืชสวนประเภท ยางแผ่น ยางแท่ง น้ำยางและผลิตภัณฑ์ยาง
มูลค่าการนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 เป็น 129.3 ล้านดอลลาร์ สรอ.เร่งตัวจากเดือนก่อนหน้า ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือจำนวน 122.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 สินค้าสำคัญที่นำเข้าได้แก่ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์พลาสติกและเรซิน สำหรับการนำเข้าผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เป็น 5.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการเพิ่มขึ้นจากการนำเข้าสินค้าจากพม่า และลาว เป็นสำคัญ
ดุลการค้าในเดือนเมษายน 2548 ดุลการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเกินดุล 88.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 44.0 ที่เกินดุล 61.6 ล้านดอลลาร์ สรอ.
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนเมษายน 2548 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.4 เร่งตัวจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 โดยราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาผักและผลไม้ ผักสดแปรรูปและอื่นๆที่ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน สำหรับราคาหมวดอื่นที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เท่ากับเดือนก่อน
8. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนมีนาคม 2548 พบว่าภาคเหนือมีผู้มีงานทำ 6.5 ล้านคน หรือเท่ากับร้อยละ 98.5 ของกำลังแรงงานรวม ใกล้เคียงกับร้อยละ 98.7 ระยะเดียวกันปีก่อน ภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.7 และร้อยละ 4.8 ตามลำดับ โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรขยายตัวมากในสาขาการผลิตอุตสาหกรรม และสาขาโรงแรมและภัตตาคาร ด้านอัตราการว่างงานร้อยละ 2.0 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าร้อยละ 1.6 ระยะเดียวกันปีก่อน
ด้านผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเดือนเมษายน 2548 มีจำนวน 579,904 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่ลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ที่มีผู้ประกันตนจำนวน 580,505 คน
9. การเงิน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2548 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ มียอดเงินฝากคงค้างทั้งสิ้น 302,318 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.4 ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นที่จังหวัดลำพูน พิษณุโลก และนครสวรรค์ แต่ลดลงที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และตาก ส่วนเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 225,086 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.1 จากการให้สินเชื่อเพิ่มขึ้นแก่สหกรณ์ออมทรัพย์หลายจังหวัดเป็นสำคัญ นอกนั้นยังมีการให้สินเชื่อเพื่อขยายกิจการของธุรกิจโรงสี อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารสัตว์ โดยเพิ่มขึ้นมากบริเวณจังหวัดพิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และพิจิตร สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 74.5 สูงกว่าร้อยละ 70.9 ระยะเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคเหนือ--