กรุงเทพ--4 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 เวลา 15.00 น. นายนิตย์ พิบูลสงคราม หัวหน้าคณะเจรจาเขตการค้าเสรีไทย — สหรัฐฯ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับการเดินทางไปสหรัฐอเมริกาเพื่อเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบ 4 ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศว่า การเจรจาดังกล่าวจะมีขึ้นที่มลรัฐ มอนแทนา ระหว่าง 11-15 กรกฎาคม 2548 เนื่องจากฝ่ายไทยได้รับเชิญจากวุฒิสมาชิก Max Baucus รองประธานคณะกรรมาธิการการคลัง และเป็นผู้สนับสนุนการจัดทำ FTA ไทย-สหรัฐฯ ในรัฐสภาสหรัฐฯ
นายนิตย์ ฯ กล่าวถึงความคืบหน้าในการเจรจาว่า “การเจรจาผ่านมา 3 รอบ ได้มีความคืบหน้าในประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ทางการค้าของไทย ได้แก่ การแก้ไขอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) ในอดีตที่ผ่านมา ไทยเจอปัญหา NTBs กับสหรัฐฯ แต่สหรัฐฯ ไม่เคยสนใจที่จะคุยกับไทยในเรื่องเหล่านี้ ได้แก่ SPS (Sanitary and Phytosanitary), TBT (Technical Barriers to Trade) ซึ่งหมายถึงอุปสรรค ในด้านกฎระเบียบทางเทคนิคและมาตรฐานสินค้า นอกจากนี้ ในอดีต ความพยายามของฝ่ายไทยที่จะส่งเสริมให้ SMEs ได้เข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ก็ไม่เคยได้รับความสนใจจากฝ่ายสหรัฐฯ การเจรจา FTA ได้ช่วยผลักดันให้หน่วยงานทั้งหมดที่เกี่ยวกับ SMEs ของสหรัฐฯ ทั้งหมดหันหน้ามาคุยกับฝ่ายไทยถึงแนวทางที่จะส่งเสริมให้เอกชนไทยได้เรียนรู้กฎระเบียบภายในของสหรัฐฯ เพื่อประโยชน์ในด้านการเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ”
สำหรับหัวข้อที่จะยกขึ้นเจรจากับฝ่ายสหรัฐฯ ประกอบด้วย
? วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเดิมเคยมีความตกลงในรูปแบบนี้แต่หมดอายุไป และสหรัฐฯ ไม่เคยสนใจต่ออายุ ความตกลงนี้จะช่วยยกระดับความสามารถและศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยให้สูงขึ้น เช่น ในสาขานาโนเทคโนโลยี พลังงานทดแทน อวกาศและภูมิสารสนเทศ ฯลฯ
? SPS จะมี Workshop on SPS และไทยจะผลักดันเรื่องการจัดตั้ง Committee on SPS เพื่อให้เป็นกลไกในการแก้ปัญหา SPS
? TBT (Technical Barriers to Trade)ในรอบ 4 ไทยจะผลักดันการมีความตกลงยอมรับมาตรฐานร่วม (Mutual Recognition Agreement :MRA) สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม และจะมี presentation ของผู้เชี่ยวชาญสหรัฐฯ ในเรื่องกฎระเบียบทางเทคนิคสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่ไทยมีศักยภาพ ได้แก่ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และ IT
? Competition ไทยเสนอให้มีโครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทาง
การค้า
? Services สหรัฐฯ รับที่จะหารือเรื่อง Professional Qualifications (ข้อกำหนดคุณสมบัติวิชาชีพ)
? Telecommunication ไทยจะอธิบายแผนแม่บทโทรคมนาคมแห่งชาติของไทย
? E-Com อยู่ในช่วงของการสอบถามข้อมูลระหว่างกัน
นายนิตย์ฯ ได้ตอบคำถามสื่อมวลชนด้วยว่า หากมีผู้ใดที่เห็นว่ามีประเด็นที่เกรงว่าไทยอาจจะเสียเปรียบหรือคณะผู้เจรรจาอาจจะไม่มีข้อมูล ก็ขอให้แจ้งให้คณะผู้เจรจาทราบ ทั้งนี้ คาดว่าการเจรจาทำความตกลง FTA ไทย-สหรัฐ ฯ มีขั้นตอนที่เกี่ยวข้องมากจึงอาจใช้เวลาในการเจรจานาน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 เวลา 15.00 น. นายนิตย์ พิบูลสงคราม หัวหน้าคณะเจรจาเขตการค้าเสรีไทย — สหรัฐฯ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับการเดินทางไปสหรัฐอเมริกาเพื่อเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบ 4 ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศว่า การเจรจาดังกล่าวจะมีขึ้นที่มลรัฐ มอนแทนา ระหว่าง 11-15 กรกฎาคม 2548 เนื่องจากฝ่ายไทยได้รับเชิญจากวุฒิสมาชิก Max Baucus รองประธานคณะกรรมาธิการการคลัง และเป็นผู้สนับสนุนการจัดทำ FTA ไทย-สหรัฐฯ ในรัฐสภาสหรัฐฯ
นายนิตย์ ฯ กล่าวถึงความคืบหน้าในการเจรจาว่า “การเจรจาผ่านมา 3 รอบ ได้มีความคืบหน้าในประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ทางการค้าของไทย ได้แก่ การแก้ไขอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) ในอดีตที่ผ่านมา ไทยเจอปัญหา NTBs กับสหรัฐฯ แต่สหรัฐฯ ไม่เคยสนใจที่จะคุยกับไทยในเรื่องเหล่านี้ ได้แก่ SPS (Sanitary and Phytosanitary), TBT (Technical Barriers to Trade) ซึ่งหมายถึงอุปสรรค ในด้านกฎระเบียบทางเทคนิคและมาตรฐานสินค้า นอกจากนี้ ในอดีต ความพยายามของฝ่ายไทยที่จะส่งเสริมให้ SMEs ได้เข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ก็ไม่เคยได้รับความสนใจจากฝ่ายสหรัฐฯ การเจรจา FTA ได้ช่วยผลักดันให้หน่วยงานทั้งหมดที่เกี่ยวกับ SMEs ของสหรัฐฯ ทั้งหมดหันหน้ามาคุยกับฝ่ายไทยถึงแนวทางที่จะส่งเสริมให้เอกชนไทยได้เรียนรู้กฎระเบียบภายในของสหรัฐฯ เพื่อประโยชน์ในด้านการเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ”
สำหรับหัวข้อที่จะยกขึ้นเจรจากับฝ่ายสหรัฐฯ ประกอบด้วย
? วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเดิมเคยมีความตกลงในรูปแบบนี้แต่หมดอายุไป และสหรัฐฯ ไม่เคยสนใจต่ออายุ ความตกลงนี้จะช่วยยกระดับความสามารถและศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยให้สูงขึ้น เช่น ในสาขานาโนเทคโนโลยี พลังงานทดแทน อวกาศและภูมิสารสนเทศ ฯลฯ
? SPS จะมี Workshop on SPS และไทยจะผลักดันเรื่องการจัดตั้ง Committee on SPS เพื่อให้เป็นกลไกในการแก้ปัญหา SPS
? TBT (Technical Barriers to Trade)ในรอบ 4 ไทยจะผลักดันการมีความตกลงยอมรับมาตรฐานร่วม (Mutual Recognition Agreement :MRA) สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม และจะมี presentation ของผู้เชี่ยวชาญสหรัฐฯ ในเรื่องกฎระเบียบทางเทคนิคสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่ไทยมีศักยภาพ ได้แก่ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และ IT
? Competition ไทยเสนอให้มีโครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทาง
การค้า
? Services สหรัฐฯ รับที่จะหารือเรื่อง Professional Qualifications (ข้อกำหนดคุณสมบัติวิชาชีพ)
? Telecommunication ไทยจะอธิบายแผนแม่บทโทรคมนาคมแห่งชาติของไทย
? E-Com อยู่ในช่วงของการสอบถามข้อมูลระหว่างกัน
นายนิตย์ฯ ได้ตอบคำถามสื่อมวลชนด้วยว่า หากมีผู้ใดที่เห็นว่ามีประเด็นที่เกรงว่าไทยอาจจะเสียเปรียบหรือคณะผู้เจรรจาอาจจะไม่มีข้อมูล ก็ขอให้แจ้งให้คณะผู้เจรจาทราบ ทั้งนี้ คาดว่าการเจรจาทำความตกลง FTA ไทย-สหรัฐ ฯ มีขั้นตอนที่เกี่ยวข้องมากจึงอาจใช้เวลาในการเจรจานาน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-