อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศทั้งในแง่ของการสร้างมูลค่าเพิ่มและการจ้าง
งาน จากการที่ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติมากที่สุดในโลก ส่งผลให้เกิดความได้เปรียบในด้านวัตถุดิบและสร้างมูลค่าในการส่งออก
ให้กับประเทศเป็นอย่างมาก โดยในปี 2548 จะมีมูลค่าส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 5,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีอัตราการขยายตัวร้อย
ละ 7.47 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งแบ่งเป็น (1). การส่งออกยางพาราขั้นต้น ประเภทยางแผ่น ยางแท่ง น้ำยางข้น และยางขั้นต้นอื่น ๆ มีมูลค่า
ส่งออกรวมกันประมาณ 3,492.9ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.97 และ (2) ส่วนผลิตภัณฑ์ยางมีการส่งออก 2,294.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ขยายตัวร้อยละ 17.11 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการขยายตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพที่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ
1. การผลิต
การผลิตยางพาราของประเทศมีจำนวนประมาณ 3.0 ล้านตัน/ปี ซึ่งจำนวนร้อยละ 90 จะถูกนำไปแปรรูปเป็นยางขั้นต้น ได้แก่ ยางแผ่น
ยางแท่ง ยางเครพ และน้ำยางข้น เป็นต้น ส่วนที่เหลือจะนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยาง ได้แก่ ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของ สายยางยืด
เป็นต้น
การผลิตยางขั้นต้น ในปี 2548 มีการผลิตยางแผ่นจำนวน 325,563 ตัน และยางแท่งจำนวน 803,651 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ
3.39 และ 12.36 ตามลำดับ
สำหรับผลิตภัณฑ์ยางในปี 2548 จำแนกเป็นการผลิตยางนอกรถยนต์นั่ง จำนวน 13,652,026 เส้น เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.23 ยาง
นอกรถกะบะจำนวน 7,486,156 เส้น เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 7.44 ถุงมือยาง จำนวน 9,946,492,496 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.28 และยาง
รัดของ จำนวน 18,039 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 12.42 เป็นต้น
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
ปริมาณการผลิต หน่วย 2545 2546 2547 2548* D% 2547/2548
ยางนอกรถยนต์นั่ง เส้น 8,248,304 10,101,950 13,353,985 13,652,026 2.23
ยางนอกรถกะบะ เส้น 4,324,131 4,809,937 6,967,362 7,486,156 7.44
ยางนอกรถบรรทุก เส้น 3,791,296 3,924,184 4,225,206 4,405,347 4.26
และรถโดยสาร
ยางนอกรถจักรยานยนต์ เส้น 13,709,651 15,646,157 16,499,307 21,506,806 30.34
ยางนอกรถจักรยาน เส้น 23,454,410 22,251,673 18,981,867 22,264,931 17.29
ยางนอกรถแทรกเตอร์ เส้น 143,750 184,671 186,080 194,944 4.76
ยางนอกอื่น ๆ เส้น 884,612 598,235 1,138,764 1,839,231 61.51
ยางในรถบรรทุก เส้น 2,409,874 2,321,873 1,992,971 2,082,326 4.48
และรถโดยสาร
ยางในรถจักรยานยนต์ เส้น 22,254,875 25,520,311 27,510,567 34,078,128 23.87
ยางในรถจักรยาน เส้น 23,066,812 23,086,363 18,713,844 22,091,580 18.04
ยางรอง เส้น 2,806,176 2,235,825 2,222,809 2,802,473 26.07
ยางหล่อดอก เส้น 172,127 192,189 214,504 222,589 3.76
ถุงมือยางถุงมือตรวจ ชิ้น 8,705,750,223 9,027,961,011 9,918,454,683 9,946,492,496 0.28
ยางรัดของ ตัน 15,829 15,642 16,045 18,039 12.42
ยางแผ่น ตัน 369,795 379,222 314,875 325,563 3.39
ยางแท่ง ตัน 709,146 806,225 715,185 803,651 12.36
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : . * เป็นตัวเลขประมาณการ
2. การตลาด
2.1 ตลาดส่งออก ประเภทสินค้าที่ผลิตและส่งออก แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) ยางแปรรูปขั้นต้น แบ่งเป็นการส่งออก ยางแผ่น 1,419.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.78 ยางแท่งจำนวน
1,507.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 13.72 น้ำยางข้นจำนวน 725.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.66 ตลาดส่งออก
สำคัญได้แก่ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา
2) ผลิตภัณฑ์ยาง แบ่งเป็นการส่งออกยางยานพาหนะ 874.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 28.63 ถุงมือยาง 503.2
ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.82 สายพานลำเลียงและส่งกำลัง 30.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 23.79 ล้านเหรียญ
สหรัฐ ตลาดสำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา , ญี่ปุ่น , ฮ่องกง เฉพาะสายพานลำเลียง และส่งกำลัง ตลาดที่สำคัญได้แก่ สิงคโปร์
2.2 ตลาดนำเข้า การนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาง ประเภท ท่อหรือข้อต่อ สายพานลำเลียง และส่งกำลัง และผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ มีการ
นำเข้าจำนวน 533.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 13.50 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภท และผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ โดยนำเข้ามา
จากประเทศ ญี่ปุ่น เยอรมัน จีน และสหรัฐอเมริกา
ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้า 2544 2545 2546 2547 2548* D%2547/
2548
ยางพารา 1326 1,740.30 2,788.40 3,425.50 3,492.90 1.97
ยางแผ่น 579.4 786.9 1,199.20 1,329.00 1,419.10 6.78
ยางแท่ง 475.6 603.8 1,002.30 1325.3 1,507.10 13.72
น้ำยางข้น 262.9 322 545.7 713.7 725.5 1.66
ยางพาราอื่น ๆ 8.1 27.6 41.2 64.4 66.27 2.9
ผลิตภัณฑ์ยาง 1095.1 1,268.00 1,557.60 1,959.60 2,294.90 17.11
ยางยานพาหนะ 381.9 435.3 475 679.8 874.4 28.63
ถุงมือยาง 351.1 394.1 474.5 489.4 503.2 2.82
ยางรัดของ 31.2 30.5 35.4 45.9 47.7 3.99
หลอดและท่อ 36 38.5 56.7 83.9 86.6 3.22
สายพานลำเลียงและส่งกำลัง 13 13.3 15.3 24.8 30.7 23.79
ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ทางเภสัชกรรม 81.3 110.1 157.1 151.1 187.7 24.24
ยางวัลแคไนซ์ 69.7 79.2 87.6 121.1 147.2 21.55
ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ 130.9 166.9 256.1 363.5 420.5 15.69
ที่มา : 1. สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
2. กรมส่งเสริมการส่งออก
3. * เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าของสินค้ายางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้า 2544 2545 2546 2547 2548* D% 2547/
2548
ผลิตภัณฑ์ยาง 303 340.1 376.2 470 533 13.5
ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง 58.4 66.6 75.6 81.6 96.27 17.97
ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ เช่น ประเก็น ฝารอง และซีล 195.2 219.2 244.9 261.6 288.27 10.19
อื่น ๆ 49.4 54.3 55.8 126.8 148.93 17.46
ที่มา : 1. สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
กระทรวงการคลัง
2. กรมส่งเสริมการส่งออก
3. * เป็นตัวเลขประมาณการ
3. สรุปภาพรวมปี 2548
สำหรับในปี 2548 อุตสาหกรรมยางพาราของไทยยังคงอยู่ในภาวะการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามตลาดโลกที่ยังคงมีปริมาณความ
ต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตลาดในประเทศจีน ที่ยังใช้ยางในปริมาณมากเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ ประกอบกับราคา
น้ำมันยังอยู่ในระดับที่สูง ทำให้ยางสังเคราะห์ที่ทำมาจากน้ำมันเป็นหลักยังคงมีราคาอยู่ในระดับสูง โดยปัจจุบันมีราคาอยู่ที่ 1.85 เหรียญสหรัฐ/
กิโลกรัม ในขณะที่ราคาส่งออกยางพาราของไทย (เอฟโอบี) อยู่ที่ 1.60 เหรียญสหรัฐ/กิโลกรัม เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ราคายางธรรมชาติสูงตามไป
ด้วย ซึ่งจะส่งผลดีต่อเกษตรกรผู้ปลูกยางภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม จากราคายางขั้นต้นที่ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อต้น
ทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์ยางในประเทศค่อนข้างสูง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ยางที่ผลิตจากน้ำยางขั้นต้น (ยางขาว) ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันกับ
ประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะมาเลเซียและอินโดนีเซียลดลง
4. แนวโน้มปี 2549
สำหรับอุตสาหกรรมยางพาราโดยรวมในปี 2549 คาดว่าจะมีแนวโน้มการขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 เปรียบเทียบกับปี 2548 ซึ่ง
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมใหม่และยุทธศาสตร์ยางพาราปี 2549 — 2551 โดยมีเป้าหมายมุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถ
ในการแข่งขันของกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ประกอบด้วยอุตสาหกรรมยานยนต์ที่รัฐต้องการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์และชิ้น
ส่วน หรือการผลักดันการจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบยางล้อ ตามนโยบายของรัฐเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยในเรื่องมาตรฐานการ
ผลิตและการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีประเภทถุงมือตรวจโรคและถุงมือทั่วไป นอกจากนี้ในภาคเกษตรกรรมก็มีการสนับสนุนให้ใช้ยางพาราในการ
ทำเขื่อน สร้างอ่างเก็บน้ำ หรือถนน โดยคาดการณ์ว่าจะมีการใช้ยางพาราไม่น้อยกว่า 70,000 ตันต่อปี รวมถึงตลาดในประเทศจีนมีความต้องการใช้
ยางขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ส่งผลให้ปริมาณยางที่เก็บสต็อกไว้ในประเทศต่างๆ เหลือลดน้อยลง รวมทั้งประเทศไทยไม่มีสต็อกยางพารา
เหลืออยู่เลย ส่งผลให้อุตสาหกรรมยางพาราและผลิตัณฑ์ยางพาราในปีหน้ายังคงมีอนาคตที่สดใส
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
งาน จากการที่ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติมากที่สุดในโลก ส่งผลให้เกิดความได้เปรียบในด้านวัตถุดิบและสร้างมูลค่าในการส่งออก
ให้กับประเทศเป็นอย่างมาก โดยในปี 2548 จะมีมูลค่าส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 5,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีอัตราการขยายตัวร้อย
ละ 7.47 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งแบ่งเป็น (1). การส่งออกยางพาราขั้นต้น ประเภทยางแผ่น ยางแท่ง น้ำยางข้น และยางขั้นต้นอื่น ๆ มีมูลค่า
ส่งออกรวมกันประมาณ 3,492.9ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.97 และ (2) ส่วนผลิตภัณฑ์ยางมีการส่งออก 2,294.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ขยายตัวร้อยละ 17.11 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการขยายตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพที่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ
1. การผลิต
การผลิตยางพาราของประเทศมีจำนวนประมาณ 3.0 ล้านตัน/ปี ซึ่งจำนวนร้อยละ 90 จะถูกนำไปแปรรูปเป็นยางขั้นต้น ได้แก่ ยางแผ่น
ยางแท่ง ยางเครพ และน้ำยางข้น เป็นต้น ส่วนที่เหลือจะนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยาง ได้แก่ ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของ สายยางยืด
เป็นต้น
การผลิตยางขั้นต้น ในปี 2548 มีการผลิตยางแผ่นจำนวน 325,563 ตัน และยางแท่งจำนวน 803,651 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ
3.39 และ 12.36 ตามลำดับ
สำหรับผลิตภัณฑ์ยางในปี 2548 จำแนกเป็นการผลิตยางนอกรถยนต์นั่ง จำนวน 13,652,026 เส้น เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.23 ยาง
นอกรถกะบะจำนวน 7,486,156 เส้น เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 7.44 ถุงมือยาง จำนวน 9,946,492,496 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.28 และยาง
รัดของ จำนวน 18,039 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 12.42 เป็นต้น
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
ปริมาณการผลิต หน่วย 2545 2546 2547 2548* D% 2547/2548
ยางนอกรถยนต์นั่ง เส้น 8,248,304 10,101,950 13,353,985 13,652,026 2.23
ยางนอกรถกะบะ เส้น 4,324,131 4,809,937 6,967,362 7,486,156 7.44
ยางนอกรถบรรทุก เส้น 3,791,296 3,924,184 4,225,206 4,405,347 4.26
และรถโดยสาร
ยางนอกรถจักรยานยนต์ เส้น 13,709,651 15,646,157 16,499,307 21,506,806 30.34
ยางนอกรถจักรยาน เส้น 23,454,410 22,251,673 18,981,867 22,264,931 17.29
ยางนอกรถแทรกเตอร์ เส้น 143,750 184,671 186,080 194,944 4.76
ยางนอกอื่น ๆ เส้น 884,612 598,235 1,138,764 1,839,231 61.51
ยางในรถบรรทุก เส้น 2,409,874 2,321,873 1,992,971 2,082,326 4.48
และรถโดยสาร
ยางในรถจักรยานยนต์ เส้น 22,254,875 25,520,311 27,510,567 34,078,128 23.87
ยางในรถจักรยาน เส้น 23,066,812 23,086,363 18,713,844 22,091,580 18.04
ยางรอง เส้น 2,806,176 2,235,825 2,222,809 2,802,473 26.07
ยางหล่อดอก เส้น 172,127 192,189 214,504 222,589 3.76
ถุงมือยางถุงมือตรวจ ชิ้น 8,705,750,223 9,027,961,011 9,918,454,683 9,946,492,496 0.28
ยางรัดของ ตัน 15,829 15,642 16,045 18,039 12.42
ยางแผ่น ตัน 369,795 379,222 314,875 325,563 3.39
ยางแท่ง ตัน 709,146 806,225 715,185 803,651 12.36
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : . * เป็นตัวเลขประมาณการ
2. การตลาด
2.1 ตลาดส่งออก ประเภทสินค้าที่ผลิตและส่งออก แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) ยางแปรรูปขั้นต้น แบ่งเป็นการส่งออก ยางแผ่น 1,419.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.78 ยางแท่งจำนวน
1,507.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 13.72 น้ำยางข้นจำนวน 725.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.66 ตลาดส่งออก
สำคัญได้แก่ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา
2) ผลิตภัณฑ์ยาง แบ่งเป็นการส่งออกยางยานพาหนะ 874.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 28.63 ถุงมือยาง 503.2
ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.82 สายพานลำเลียงและส่งกำลัง 30.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 23.79 ล้านเหรียญ
สหรัฐ ตลาดสำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา , ญี่ปุ่น , ฮ่องกง เฉพาะสายพานลำเลียง และส่งกำลัง ตลาดที่สำคัญได้แก่ สิงคโปร์
2.2 ตลาดนำเข้า การนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาง ประเภท ท่อหรือข้อต่อ สายพานลำเลียง และส่งกำลัง และผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ มีการ
นำเข้าจำนวน 533.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 13.50 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภท และผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ โดยนำเข้ามา
จากประเทศ ญี่ปุ่น เยอรมัน จีน และสหรัฐอเมริกา
ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกของสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้า 2544 2545 2546 2547 2548* D%2547/
2548
ยางพารา 1326 1,740.30 2,788.40 3,425.50 3,492.90 1.97
ยางแผ่น 579.4 786.9 1,199.20 1,329.00 1,419.10 6.78
ยางแท่ง 475.6 603.8 1,002.30 1325.3 1,507.10 13.72
น้ำยางข้น 262.9 322 545.7 713.7 725.5 1.66
ยางพาราอื่น ๆ 8.1 27.6 41.2 64.4 66.27 2.9
ผลิตภัณฑ์ยาง 1095.1 1,268.00 1,557.60 1,959.60 2,294.90 17.11
ยางยานพาหนะ 381.9 435.3 475 679.8 874.4 28.63
ถุงมือยาง 351.1 394.1 474.5 489.4 503.2 2.82
ยางรัดของ 31.2 30.5 35.4 45.9 47.7 3.99
หลอดและท่อ 36 38.5 56.7 83.9 86.6 3.22
สายพานลำเลียงและส่งกำลัง 13 13.3 15.3 24.8 30.7 23.79
ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ทางเภสัชกรรม 81.3 110.1 157.1 151.1 187.7 24.24
ยางวัลแคไนซ์ 69.7 79.2 87.6 121.1 147.2 21.55
ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ 130.9 166.9 256.1 363.5 420.5 15.69
ที่มา : 1. สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
2. กรมส่งเสริมการส่งออก
3. * เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าของสินค้ายางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้า 2544 2545 2546 2547 2548* D% 2547/
2548
ผลิตภัณฑ์ยาง 303 340.1 376.2 470 533 13.5
ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง 58.4 66.6 75.6 81.6 96.27 17.97
ผลิตภัณฑ์ยางวัลแคไนซ์ เช่น ประเก็น ฝารอง และซีล 195.2 219.2 244.9 261.6 288.27 10.19
อื่น ๆ 49.4 54.3 55.8 126.8 148.93 17.46
ที่มา : 1. สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
กระทรวงการคลัง
2. กรมส่งเสริมการส่งออก
3. * เป็นตัวเลขประมาณการ
3. สรุปภาพรวมปี 2548
สำหรับในปี 2548 อุตสาหกรรมยางพาราของไทยยังคงอยู่ในภาวะการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามตลาดโลกที่ยังคงมีปริมาณความ
ต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตลาดในประเทศจีน ที่ยังใช้ยางในปริมาณมากเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ ประกอบกับราคา
น้ำมันยังอยู่ในระดับที่สูง ทำให้ยางสังเคราะห์ที่ทำมาจากน้ำมันเป็นหลักยังคงมีราคาอยู่ในระดับสูง โดยปัจจุบันมีราคาอยู่ที่ 1.85 เหรียญสหรัฐ/
กิโลกรัม ในขณะที่ราคาส่งออกยางพาราของไทย (เอฟโอบี) อยู่ที่ 1.60 เหรียญสหรัฐ/กิโลกรัม เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ราคายางธรรมชาติสูงตามไป
ด้วย ซึ่งจะส่งผลดีต่อเกษตรกรผู้ปลูกยางภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม จากราคายางขั้นต้นที่ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อต้น
ทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์ยางในประเทศค่อนข้างสูง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ยางที่ผลิตจากน้ำยางขั้นต้น (ยางขาว) ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันกับ
ประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะมาเลเซียและอินโดนีเซียลดลง
4. แนวโน้มปี 2549
สำหรับอุตสาหกรรมยางพาราโดยรวมในปี 2549 คาดว่าจะมีแนวโน้มการขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 เปรียบเทียบกับปี 2548 ซึ่ง
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมใหม่และยุทธศาสตร์ยางพาราปี 2549 — 2551 โดยมีเป้าหมายมุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถ
ในการแข่งขันของกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ประกอบด้วยอุตสาหกรรมยานยนต์ที่รัฐต้องการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์และชิ้น
ส่วน หรือการผลักดันการจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบยางล้อ ตามนโยบายของรัฐเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยในเรื่องมาตรฐานการ
ผลิตและการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีประเภทถุงมือตรวจโรคและถุงมือทั่วไป นอกจากนี้ในภาคเกษตรกรรมก็มีการสนับสนุนให้ใช้ยางพาราในการ
ทำเขื่อน สร้างอ่างเก็บน้ำ หรือถนน โดยคาดการณ์ว่าจะมีการใช้ยางพาราไม่น้อยกว่า 70,000 ตันต่อปี รวมถึงตลาดในประเทศจีนมีความต้องการใช้
ยางขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ส่งผลให้ปริมาณยางที่เก็บสต็อกไว้ในประเทศต่างๆ เหลือลดน้อยลง รวมทั้งประเทศไทยไม่มีสต็อกยางพารา
เหลืออยู่เลย ส่งผลให้อุตสาหกรรมยางพาราและผลิตัณฑ์ยางพาราในปีหน้ายังคงมีอนาคตที่สดใส
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-