กรุงเทพ--2 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม 2549 ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2548 ของสมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพ ที่วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ ทำให้ได้รับรู้และรับทราบถึงพัฒนาการและความก้าวหน้าของความสัมพันธ์ไทย-ลาวที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2548 ซึ่งเป็นปีครบรอบ 55 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-ลาว ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนการเยือนและมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในทุกระดับ ประชาชนสองฝั่งโขงมีการไป-มาหาสู่และทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การถวายผ้าพระกฐินพระราชทานที่วัดเกาะแก้วหัวโขงพระใหญ่ แขวงจำปาสัก การจัดสัมนาหัวข้อ “สื่อพัวพัน : สัมพันธ์ไทย-ลาว” และที่ประทับใจประชาชนสองฝั่งโขงเป็นพิเศษ คือ การจัดคาราวานจักรยานมิตรภาพข้ามสะพานน้ำเหืองไทย-ลาว ระหว่างอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย กับเมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี ซึ่งคณะผู้แทนไทย-ลาวได้เห็นพ้องต้องกันให้บรรจุไว้เป็นกิจกรรมประจำปีโดยจะจัดให้ยิ่งใหญ่และเป็น “มืออาชีพ” มากยิ่งขึ้น
หลังจากการประชุมใหญ่สามัญดังกล่าว มีรายการที่น่าสนใจอย่างยิ่ง คือ ดินเนอร์ ทอลค์ หรือแปลให้เข้าใจง่ายๆ ว่า “กินไป เล่าไป” ซึ่งเป็นกิจกรรมใหม่ที่สมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพคัดสรรนำเสนอให้สมาชิกและผู้สนใจได้ฟังกัน ปรากฏว่ารายการนี้เป็นที่สนใจของนักธุรกิจไทยเป็นอย่างมาก จนต้องขยายที่นั่งหลายครั้ง แต่ก็ไม่พอ จึงต้องจัดห้องประชุมไว้สำหรับผู้สนใจให้เข้าไปนั่งฟังโดยเฉพาะสาเหตุที่รายการกินไป-เล่าไปได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม เพราะมีแม่เหล็กชั้นดีเป็นวิทยากรถึง 2 คน ได้แก่ คุณประจวบ ไชยะสาส์น ผู้แทนการค้าไทย ผู้ดำเนินรายการที่มีคารมคมคายผสมผสานกับมุมมองที่น่าสนใจ และท่านทองลุน สีลุลิด รองนายกรัฐมนตรีแห่ง สปป.ลาว หนึ่งในบรรดาดาวรุ่งในคณะกรรมการบริหารพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง สปป.ลาว ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในการกำหนดนโยบายของลาวในทุกๆ ด้านจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะจับบุคคลทั้งสองซึ่งมีภารกิจรัดตัวมานั่งบรรยายให้พวกเราฟังครั้งนี้
ดูหัวข้อเรื่อง “จะลงทุนอะไร อย่างไรในลาว” ก็น่าสนใจแล้ว แต่เมื่อฟังประเด็นคำถามที่คุณประจวบ เริ่มต้นซักท่านทองลุนแล้ว ก็ยิ่งน่าติดตามมากขึ้น เพราะถามได้ตรงใจผู้ฟังหลายๆ คน คือ “ลาวมีดีอะไร ทำไมคนถึงสนใจจะไปลงทุนในลาว” โดยได้ท้าวความตั้งแต่สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณใช้นโยบายเปลี่ยนสนามรบให้เป็นตลาดการค้า ลาวก็มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเป็นลำดับ มีความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) มีถนนเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออก (Economic East West Corridor) ที่พาดผ่านไทย-ลาว-กัมพูชา-พม่า-เวียดนาม และมีความร่วมมือในกรอบ ACMECS เป็นต้น
ลาวสมัยนี้จึงผิดจากลาวสมัยก่อนซึ่งคนเคยมองว่าเป็นแลนด์ ล๊อค หรือประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เพราะเดี๋ยวนี้ลาวกลายเป็นแลนด์ ลิงค์ มีถนนเชื่อมโยงหลายสายกับประเทศเพื่อนบ้าน มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย และได้ชื่อว่าเป็น “แบตเตอรี่ของภูมิภาค” อุดมไปด้วยทรัพยากรและแร่ธาตุที่มีค่ามากมายรอให้คนเข้าไปแสวงหาขุดค้น มีแหล่งท่องเที่ยวและวัฒนธรรมที่บริสุทธิ์และน่าสนใจสำหรับคนต่างชาติอีกมาก
ท่านทองลุนได้บรรยายถึงหนทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการลงทุนในลาวว่า ลาวเพิ่งเฉลิมฉลองการครบรอบ 30 ปีแห่งการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเมื่อปลายปี 2548 ที่ผ่านมา ประชาชนลาวมีความภาคภูมิใจและรู้ว่าเวลา 30 ปีนี้เป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาประเทศ คนลาวจึงทุ่มเทกำลังและสติปัญญาในการพัฒนาประเทศอย่างเต็มที่ เพราะปราศจากสงครามและการสู้รบ เศรษฐกิจลาวจึงขยายตัวตามลำดับ แม้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โลกก็ตาม แต่ลาวก็สามารถแก้ปัญหาได้ทีละเปลาะๆ อย่างช้าๆ แต่มั่นคง
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986-2006 ลาวได้เปลี่ยนนโยบายและกลไกทางเศรษฐกิจใหม่โดยการเปิดกว้างต้อนรับนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งเป็นเวลา 20 ปีแห่งความสำเร็จสำหรับประชาชนลาว มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรมนุษย์ควบคู่กันไป ปัจจุบันลาวได้เปิดประเทศ จึงมีคนสนใจอยากเข้าไปในลาว เพื่อเรียนรู้เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวของลาว หน่วยงานลาวจึงต้องการพัฒนาประเทศให้เร็วกว่านี้
แต่เดิมลาวเคยน้อยใจว่าเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล แต่ลาวก็ตัดสินใจสู้ โดยการสร้างถนนหลายสาย อาทิ เส้นทางระเบียงตะวันออก-ตะวันตก เส้นทางคุนหมิง-กทม. ผ่านทางภาคเหนือของลาวจะสำเร็จในปีหน้า ซึ่งจะเป็นเส้นทางธุรกิจที่มีธรรมชาติงดงาม เส้นทางหมายเลข 9 และ 12 เพื่อไปสู่ท่าเรือฮาติงห์ในเวียดนามจะสร้างเสร็จในปีนี้ เส้นทางหมายเลข 7 และ 8 เสร็จแล้ว รวมทั้งเส้นทางหมายเลข 18 บี ซึ่งออกสู่ท่าเรือเวียดนามภาคใต้ก็กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ภายใน 3-4 ปี ลาวจะเป็นเส้นทางสายการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวที่สำคัญของภูมิภาค
นอกจากนี้ ลาวยังอุดมไปด้วยทรัพยากรแร่ธาตุที่มีค่ามากมาย มีป่าไม้ถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ หนึ่งในสามยังเป็นป่าดงดิบ มีพื้นที่สำหรับปลูกสะบู่ดำ อ้อย ข้าวโพด ปาล์ม ยุคาลิปตัส ฯลฯ ส่วนคำพูดที่ว่า ลาวเป็นแบตเตอรี่ของภูมิภาคนั้นอาจดูเหมือนเกินความจริง แต่ลาวก็มีพลังงานไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ส่งขายกัมพูชา และไทย ซึ่งในอนาคตไทยมีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น ลาวสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อส่งมาขายให้ไทยได้ในปริมาณที่ไทยต้องการ
ด้านพลังน้ำนั้น ลาวมีเขื่อนอยู่ประมาณ 30-40 เขื่อน สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 20,000 เม็กกะวัตต์ ซึ่งไทยและเวียดนามมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพื่อรองรับเศรษฐกิจที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น จากปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ลาวจึงจะพัฒนาพลังน้ำ และมุ่งผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหิน เพราะพลังน้ำขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศและปริมาณฝน ลาวมีถ่านหินลิกไนต์อยู่หลายล้านตัน สามารถใช้ได้นานถึง 50 ปี
ในการทำเหมืองแร่ทองคำ รัฐบาลลาวมีแผนการที่รัดกุมและกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการขุดเจาะทองคำ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของทุกๆ ฝ่าย ขณะนี้ลาวได้ให้สัมปทานในการสำรวจเหมืองแร่ทองคำแก่ 2 บริษัทแล้ว แต่ก็ยังมีแร่ธาตุอื่นๆ รอการสำรวจอยู่อีกมาก เช่น ทองแดง ตะกั่ว โปตัสเซียม เป็นต้น
ท่านทองลุนได้ปิดการบรรยายโดยการเชิญชวนนักลงทุนให้เข้าไปลงทุนในลาว โดยกล่าวว่าปัจจุบันลาวได้กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้อำนาจแก่แขวงต่างๆ อนุมัติการลงทุนได้ มีการยกเว้นภาษีนำเข้าอุปกรณ์และเครื่องมือตลอดทั้งให้สิทธิพิเศษต่างๆ อีกมาก แรงงานลาวมีราคาถูก รัฐบาลลาวพร้อมที่จะให้ใบอนุญาตสำรวจเหมืองแร่และนักลงทุนสามารถขอสัมปทานในการทำเหมืองแร่ได้ แต่ผู้ที่จะไปลงทุนในลาวควรมีความพร้อมด้านเงินทุน เทคโนโลยี่ และมีตลาดรองรับอยู่แล้ว ก่อนจะตัดสินใจลงทุนในลาวขอให้สอบถามหน่วยงานของลาว คือ กรมส่งเสริมคุ้มครองการลงทุนต่างประเทศ หรือปรึกษาขอคำแนะนำจาก สมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพ กระทรวงการต่างประเทศ และBOI ทั้งนื้ เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาในภายหลัง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม 2549 ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2548 ของสมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพ ที่วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ ทำให้ได้รับรู้และรับทราบถึงพัฒนาการและความก้าวหน้าของความสัมพันธ์ไทย-ลาวที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2548 ซึ่งเป็นปีครบรอบ 55 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-ลาว ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนการเยือนและมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในทุกระดับ ประชาชนสองฝั่งโขงมีการไป-มาหาสู่และทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การถวายผ้าพระกฐินพระราชทานที่วัดเกาะแก้วหัวโขงพระใหญ่ แขวงจำปาสัก การจัดสัมนาหัวข้อ “สื่อพัวพัน : สัมพันธ์ไทย-ลาว” และที่ประทับใจประชาชนสองฝั่งโขงเป็นพิเศษ คือ การจัดคาราวานจักรยานมิตรภาพข้ามสะพานน้ำเหืองไทย-ลาว ระหว่างอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย กับเมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี ซึ่งคณะผู้แทนไทย-ลาวได้เห็นพ้องต้องกันให้บรรจุไว้เป็นกิจกรรมประจำปีโดยจะจัดให้ยิ่งใหญ่และเป็น “มืออาชีพ” มากยิ่งขึ้น
หลังจากการประชุมใหญ่สามัญดังกล่าว มีรายการที่น่าสนใจอย่างยิ่ง คือ ดินเนอร์ ทอลค์ หรือแปลให้เข้าใจง่ายๆ ว่า “กินไป เล่าไป” ซึ่งเป็นกิจกรรมใหม่ที่สมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพคัดสรรนำเสนอให้สมาชิกและผู้สนใจได้ฟังกัน ปรากฏว่ารายการนี้เป็นที่สนใจของนักธุรกิจไทยเป็นอย่างมาก จนต้องขยายที่นั่งหลายครั้ง แต่ก็ไม่พอ จึงต้องจัดห้องประชุมไว้สำหรับผู้สนใจให้เข้าไปนั่งฟังโดยเฉพาะสาเหตุที่รายการกินไป-เล่าไปได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม เพราะมีแม่เหล็กชั้นดีเป็นวิทยากรถึง 2 คน ได้แก่ คุณประจวบ ไชยะสาส์น ผู้แทนการค้าไทย ผู้ดำเนินรายการที่มีคารมคมคายผสมผสานกับมุมมองที่น่าสนใจ และท่านทองลุน สีลุลิด รองนายกรัฐมนตรีแห่ง สปป.ลาว หนึ่งในบรรดาดาวรุ่งในคณะกรรมการบริหารพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง สปป.ลาว ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในการกำหนดนโยบายของลาวในทุกๆ ด้านจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะจับบุคคลทั้งสองซึ่งมีภารกิจรัดตัวมานั่งบรรยายให้พวกเราฟังครั้งนี้
ดูหัวข้อเรื่อง “จะลงทุนอะไร อย่างไรในลาว” ก็น่าสนใจแล้ว แต่เมื่อฟังประเด็นคำถามที่คุณประจวบ เริ่มต้นซักท่านทองลุนแล้ว ก็ยิ่งน่าติดตามมากขึ้น เพราะถามได้ตรงใจผู้ฟังหลายๆ คน คือ “ลาวมีดีอะไร ทำไมคนถึงสนใจจะไปลงทุนในลาว” โดยได้ท้าวความตั้งแต่สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณใช้นโยบายเปลี่ยนสนามรบให้เป็นตลาดการค้า ลาวก็มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเป็นลำดับ มีความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) มีถนนเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออก (Economic East West Corridor) ที่พาดผ่านไทย-ลาว-กัมพูชา-พม่า-เวียดนาม และมีความร่วมมือในกรอบ ACMECS เป็นต้น
ลาวสมัยนี้จึงผิดจากลาวสมัยก่อนซึ่งคนเคยมองว่าเป็นแลนด์ ล๊อค หรือประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เพราะเดี๋ยวนี้ลาวกลายเป็นแลนด์ ลิงค์ มีถนนเชื่อมโยงหลายสายกับประเทศเพื่อนบ้าน มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย และได้ชื่อว่าเป็น “แบตเตอรี่ของภูมิภาค” อุดมไปด้วยทรัพยากรและแร่ธาตุที่มีค่ามากมายรอให้คนเข้าไปแสวงหาขุดค้น มีแหล่งท่องเที่ยวและวัฒนธรรมที่บริสุทธิ์และน่าสนใจสำหรับคนต่างชาติอีกมาก
ท่านทองลุนได้บรรยายถึงหนทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการลงทุนในลาวว่า ลาวเพิ่งเฉลิมฉลองการครบรอบ 30 ปีแห่งการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเมื่อปลายปี 2548 ที่ผ่านมา ประชาชนลาวมีความภาคภูมิใจและรู้ว่าเวลา 30 ปีนี้เป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาประเทศ คนลาวจึงทุ่มเทกำลังและสติปัญญาในการพัฒนาประเทศอย่างเต็มที่ เพราะปราศจากสงครามและการสู้รบ เศรษฐกิจลาวจึงขยายตัวตามลำดับ แม้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โลกก็ตาม แต่ลาวก็สามารถแก้ปัญหาได้ทีละเปลาะๆ อย่างช้าๆ แต่มั่นคง
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986-2006 ลาวได้เปลี่ยนนโยบายและกลไกทางเศรษฐกิจใหม่โดยการเปิดกว้างต้อนรับนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งเป็นเวลา 20 ปีแห่งความสำเร็จสำหรับประชาชนลาว มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรมนุษย์ควบคู่กันไป ปัจจุบันลาวได้เปิดประเทศ จึงมีคนสนใจอยากเข้าไปในลาว เพื่อเรียนรู้เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวของลาว หน่วยงานลาวจึงต้องการพัฒนาประเทศให้เร็วกว่านี้
แต่เดิมลาวเคยน้อยใจว่าเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล แต่ลาวก็ตัดสินใจสู้ โดยการสร้างถนนหลายสาย อาทิ เส้นทางระเบียงตะวันออก-ตะวันตก เส้นทางคุนหมิง-กทม. ผ่านทางภาคเหนือของลาวจะสำเร็จในปีหน้า ซึ่งจะเป็นเส้นทางธุรกิจที่มีธรรมชาติงดงาม เส้นทางหมายเลข 9 และ 12 เพื่อไปสู่ท่าเรือฮาติงห์ในเวียดนามจะสร้างเสร็จในปีนี้ เส้นทางหมายเลข 7 และ 8 เสร็จแล้ว รวมทั้งเส้นทางหมายเลข 18 บี ซึ่งออกสู่ท่าเรือเวียดนามภาคใต้ก็กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ภายใน 3-4 ปี ลาวจะเป็นเส้นทางสายการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวที่สำคัญของภูมิภาค
นอกจากนี้ ลาวยังอุดมไปด้วยทรัพยากรแร่ธาตุที่มีค่ามากมาย มีป่าไม้ถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ หนึ่งในสามยังเป็นป่าดงดิบ มีพื้นที่สำหรับปลูกสะบู่ดำ อ้อย ข้าวโพด ปาล์ม ยุคาลิปตัส ฯลฯ ส่วนคำพูดที่ว่า ลาวเป็นแบตเตอรี่ของภูมิภาคนั้นอาจดูเหมือนเกินความจริง แต่ลาวก็มีพลังงานไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ส่งขายกัมพูชา และไทย ซึ่งในอนาคตไทยมีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น ลาวสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อส่งมาขายให้ไทยได้ในปริมาณที่ไทยต้องการ
ด้านพลังน้ำนั้น ลาวมีเขื่อนอยู่ประมาณ 30-40 เขื่อน สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 20,000 เม็กกะวัตต์ ซึ่งไทยและเวียดนามมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพื่อรองรับเศรษฐกิจที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น จากปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ลาวจึงจะพัฒนาพลังน้ำ และมุ่งผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ถ่านหิน เพราะพลังน้ำขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศและปริมาณฝน ลาวมีถ่านหินลิกไนต์อยู่หลายล้านตัน สามารถใช้ได้นานถึง 50 ปี
ในการทำเหมืองแร่ทองคำ รัฐบาลลาวมีแผนการที่รัดกุมและกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการขุดเจาะทองคำ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของทุกๆ ฝ่าย ขณะนี้ลาวได้ให้สัมปทานในการสำรวจเหมืองแร่ทองคำแก่ 2 บริษัทแล้ว แต่ก็ยังมีแร่ธาตุอื่นๆ รอการสำรวจอยู่อีกมาก เช่น ทองแดง ตะกั่ว โปตัสเซียม เป็นต้น
ท่านทองลุนได้ปิดการบรรยายโดยการเชิญชวนนักลงทุนให้เข้าไปลงทุนในลาว โดยกล่าวว่าปัจจุบันลาวได้กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้อำนาจแก่แขวงต่างๆ อนุมัติการลงทุนได้ มีการยกเว้นภาษีนำเข้าอุปกรณ์และเครื่องมือตลอดทั้งให้สิทธิพิเศษต่างๆ อีกมาก แรงงานลาวมีราคาถูก รัฐบาลลาวพร้อมที่จะให้ใบอนุญาตสำรวจเหมืองแร่และนักลงทุนสามารถขอสัมปทานในการทำเหมืองแร่ได้ แต่ผู้ที่จะไปลงทุนในลาวควรมีความพร้อมด้านเงินทุน เทคโนโลยี่ และมีตลาดรองรับอยู่แล้ว ก่อนจะตัดสินใจลงทุนในลาวขอให้สอบถามหน่วยงานของลาว คือ กรมส่งเสริมคุ้มครองการลงทุนต่างประเทศ หรือปรึกษาขอคำแนะนำจาก สมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพ กระทรวงการต่างประเทศ และBOI ทั้งนื้ เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาในภายหลัง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-