บทสรุปผู้บริหาร
ภาวะเศรษฐกิจการคลังโดยรวมในเดือนธันวาคม 2548 ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยในภาคเศรษฐกิจการคลัง รายได้จากฐานภาษียังคงขยายตัวต่อเนื่องซึ่งสะท้อนถึงธุรกรรมเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ดี สำหรับเศรษฐกิจด้านอุปทาน ภาคการเกษตรปรับตัวดีขึ้นทั้งด้านผลผลิตและราคาทำให้รายได้เกษตรกรสูงขึ้น และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกยังขยายตัวดี ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเริ่มกลับมาเป็นบวกในช่วงปลายปี สำหรับเศรษฐกิจด้านอุปสงค์พบว่ามีการใช้จ่ายอุปโภคบริโภคสูงขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ ประกอบการลงทุนภาคเอกชนในเครื่องมือเครื่องจักรกลับมาขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น แม้ว่าการลงทุนในหมวดอสังหาริมทรัพย์ชะลอลง ขณะที่มูลค่าการส่งออกชะลอตัวลงแต่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นส่งผลให้ขาดดุลการค้าเล็กน้อยในเดือนธันวาคม ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นจากการชะลอตัวของเงินเฟ้อ และการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำและมีการเพิ่มขึ้นของทุนสำรองระหว่างประเทศ
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนธันวาคม2548 ดังนี้
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการคลังพบว่าภาษีที่เก็บจากฐานรายได้ที่จัดเก็บจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลขยายตัวดีในระดับสูงที่ร้อยละ 13.1 ต่อปีในเดือนธันวาคม ซึ่งสะท้อนถึงทิศทางการประกอบการของธุรกิจและการจ้างงานที่อยู่ในเกณฑ์ดี ในขณะที่ภาษีที่เก็บจากฐานการบริโภคขยายตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 3.7 ในเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้นจากที่หดตัวร้อยละ 6.1 ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งสะท้อนถึงการบริโภคภาคเอกชนที่ยังขยายตัวได้ดี
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานบ่งชี้ว่าภาคการเกษตรในเดือนธันวาคมขยายตัวดีขึ้น จากราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงขยายตัวอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 24.4 ต่อปีและการจ้างงานภาคการเกษตรที่ขยายตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 3.1 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 ต่อปีในเดือนพฤศจิกายน ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายนยังขยายตัวได้ดีโดยเฉพาะจากการผลิตเพื่อการส่งออก แม้ว่าการผลิตเพื่อการใช้จ่ายภายในประเทศในบางอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง สำหรับภาคบริการเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติและการจ้างงานในภาคบริการที่ขยายตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 0.5 ต่อปีในเดือนธันวาคม หลังจากที่หดตัวร้อยละ 1.0 ในเดือนพฤศจิกายน
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์พบว่าการบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวได้ดี ซึ่งสะท้อนได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายในประเทศที่ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 22.2 ต่อปีในเดือนธันวาคม และมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวดีร้อยละ 26.9 ต่อปีในเดือนธันวาคม นอกจากนี้การที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องได้แสดงถึงความมั่นใจของผู้บริโภคในอนาคต สำหรับการลงทุนภาคเอกชนในเครื่องมือเครื่องจักรจากการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวในอัตราเร่งถึงร้อยละ 41.3 ในเดือนธันวาคม ซึ่งสะท้อนการลงทุนภาคเอกชนที่เริ่มมีการลงทุนใหม่มากขึ้น ขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้างชะลอตัวลงตามการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้าทุนรวมทั้งสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมีการขยายตัวในอัตราเร่งส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าขยายตัวในอัตราสูงถึงร้อยละ 41.3 ต่อปีเมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวร้อยละ 11.6 ต่อปี ทำให้ดุลการค้ากลับมาขาดดุล 142.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในเดือนธันวาคม
เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี ตามอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 1.4 ในเดือนธันวาคมและอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ขยายตัวในอัตราชะลอตัวลง แม้ว่าจะขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 5.8 ต่อปีในเดือนธันวาคม ในขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับแข็งแกร่ง จากทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 52.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นเดือนธันวาคม
สำหรับทั้งปี 2548 เศรษฐกิจไทยโดยรวมขยายตัวชะลอตัวลงจากปี 2547 เนื่องจากในช่วงต้นปีเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกค่อนข้างมาก แต่เศรษฐกิจไทยได้กลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งปีหลัง ภาษีจากฐานรายได้ที่จัดเก็บจากบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลของทั้งปี 2548 ยังขยายตัวดีตามภาวะธุรกิจ และการจ้างงานที่ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ภาษีจากฐานการบริโภคในปี 2548ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัว ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลของการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตและมาตรการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล สำหรับภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศในปี 2548 ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2547 ตามมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยที่เพิ่มขึ้น
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานสะท้อนภาคการผลิตในปี 48 ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีแม้ว่าในช่วงต้นปีจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกค่อนข้างมาก โดยการจ้างงานในภาคเกษตรหดตัวจากปัญหาภัยแล้งในช่วงครึ่งปีแรก แต่การที่ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนต่อเนื่องได้ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวดีอย่างต่อเนื่องในปี 2548 สำหรับภาคอุตสาหกรรมยังคงใช้กำลังการผลิตอยู่ในระดับที่สูงจากปีก่อน โดยเฉพาะจากการผลิตเพื่อการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นจากอุปสงค์ต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง สำหรับภาคบริการชะลอตัวจากปีก่อนตามการชะลอตัวของการท่องเที่ยวจากผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิในช่วงครึ่งปีแรก และเริ่มปรับตัวดีขึ้นและเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงครึ่งปีหลัง
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ของทั้งปี 2548 พบว่าการบริโภคภาคเอกชนขยายตัว ในอัตราที่ชะลอตัวจากปีก่อน เนื่องจากได้รับแรงกดดันกำลังซื้อจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น สำหรับการลงทุนภาคเอกชนพบว่าการลงทุนในหมวดก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง ขณะที่การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวเร่งขึ้นหลังจากใช้กำลังการผลิตในระดับที่สูงมาอย่างต่อเนื่อง
สำหรับภาคการค้าต่างประเทศ ในปี 2548 มูลค่าการนำเข้าขยายตัวสูงเมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออก เนื่องจากการขยายตัวที่เร่งขึ้นของสินค้าทุน วัตถุดิบ และน้ำมันดิบ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลของการเพิ่มขึ้นด้านราคา ส่งผลให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลในปี 2548
เสถียรภาพเศรษฐกิจในปี 2548 ยังอยู่ในระดับที่มั่นคง โดยอัตราการว่างงานในปี 2548 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี จากร้อยละ 2.1 ต่อปีในปีก่อน อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 4.5 ในปี 2548ตามราคาน้ำมันดิบที่ขยายตัวในระดับสูง แม้ว่าดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2548 จะกลับมาขาดดุลตามการขาดดุลการค้า แต่เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคงจากทุนสำรองระหว่างประเทศได้ปรับเพิ่มขึ้นจาก 49.8 พันลานดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นปี 2547 มาอยู่ที่ 52.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ เดือนธันวาคม 2548
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 1/2549 30 มกราคม 2549--
ภาวะเศรษฐกิจการคลังโดยรวมในเดือนธันวาคม 2548 ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยในภาคเศรษฐกิจการคลัง รายได้จากฐานภาษียังคงขยายตัวต่อเนื่องซึ่งสะท้อนถึงธุรกรรมเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ดี สำหรับเศรษฐกิจด้านอุปทาน ภาคการเกษตรปรับตัวดีขึ้นทั้งด้านผลผลิตและราคาทำให้รายได้เกษตรกรสูงขึ้น และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกยังขยายตัวดี ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเริ่มกลับมาเป็นบวกในช่วงปลายปี สำหรับเศรษฐกิจด้านอุปสงค์พบว่ามีการใช้จ่ายอุปโภคบริโภคสูงขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ ประกอบการลงทุนภาคเอกชนในเครื่องมือเครื่องจักรกลับมาขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น แม้ว่าการลงทุนในหมวดอสังหาริมทรัพย์ชะลอลง ขณะที่มูลค่าการส่งออกชะลอตัวลงแต่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวเพิ่มขึ้นส่งผลให้ขาดดุลการค้าเล็กน้อยในเดือนธันวาคม ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นจากการชะลอตัวของเงินเฟ้อ และการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำและมีการเพิ่มขึ้นของทุนสำรองระหว่างประเทศ
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนธันวาคม2548 ดังนี้
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการคลังพบว่าภาษีที่เก็บจากฐานรายได้ที่จัดเก็บจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลขยายตัวดีในระดับสูงที่ร้อยละ 13.1 ต่อปีในเดือนธันวาคม ซึ่งสะท้อนถึงทิศทางการประกอบการของธุรกิจและการจ้างงานที่อยู่ในเกณฑ์ดี ในขณะที่ภาษีที่เก็บจากฐานการบริโภคขยายตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 3.7 ในเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้นจากที่หดตัวร้อยละ 6.1 ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งสะท้อนถึงการบริโภคภาคเอกชนที่ยังขยายตัวได้ดี
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานบ่งชี้ว่าภาคการเกษตรในเดือนธันวาคมขยายตัวดีขึ้น จากราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงขยายตัวอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 24.4 ต่อปีและการจ้างงานภาคการเกษตรที่ขยายตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 3.1 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 ต่อปีในเดือนพฤศจิกายน ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายนยังขยายตัวได้ดีโดยเฉพาะจากการผลิตเพื่อการส่งออก แม้ว่าการผลิตเพื่อการใช้จ่ายภายในประเทศในบางอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง สำหรับภาคบริการเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติและการจ้างงานในภาคบริการที่ขยายตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 0.5 ต่อปีในเดือนธันวาคม หลังจากที่หดตัวร้อยละ 1.0 ในเดือนพฤศจิกายน
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์พบว่าการบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวได้ดี ซึ่งสะท้อนได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายในประเทศที่ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 22.2 ต่อปีในเดือนธันวาคม และมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวดีร้อยละ 26.9 ต่อปีในเดือนธันวาคม นอกจากนี้การที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องได้แสดงถึงความมั่นใจของผู้บริโภคในอนาคต สำหรับการลงทุนภาคเอกชนในเครื่องมือเครื่องจักรจากการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวในอัตราเร่งถึงร้อยละ 41.3 ในเดือนธันวาคม ซึ่งสะท้อนการลงทุนภาคเอกชนที่เริ่มมีการลงทุนใหม่มากขึ้น ขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้างชะลอตัวลงตามการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้าทุนรวมทั้งสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมีการขยายตัวในอัตราเร่งส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าขยายตัวในอัตราสูงถึงร้อยละ 41.3 ต่อปีเมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวร้อยละ 11.6 ต่อปี ทำให้ดุลการค้ากลับมาขาดดุล 142.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในเดือนธันวาคม
เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี ตามอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 1.4 ในเดือนธันวาคมและอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ขยายตัวในอัตราชะลอตัวลง แม้ว่าจะขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 5.8 ต่อปีในเดือนธันวาคม ในขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับแข็งแกร่ง จากทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 52.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นเดือนธันวาคม
สำหรับทั้งปี 2548 เศรษฐกิจไทยโดยรวมขยายตัวชะลอตัวลงจากปี 2547 เนื่องจากในช่วงต้นปีเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกค่อนข้างมาก แต่เศรษฐกิจไทยได้กลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งปีหลัง ภาษีจากฐานรายได้ที่จัดเก็บจากบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลของทั้งปี 2548 ยังขยายตัวดีตามภาวะธุรกิจ และการจ้างงานที่ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ภาษีจากฐานการบริโภคในปี 2548ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัว ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลของการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตและมาตรการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล สำหรับภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศในปี 2548 ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2547 ตามมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยที่เพิ่มขึ้น
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานสะท้อนภาคการผลิตในปี 48 ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีแม้ว่าในช่วงต้นปีจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกค่อนข้างมาก โดยการจ้างงานในภาคเกษตรหดตัวจากปัญหาภัยแล้งในช่วงครึ่งปีแรก แต่การที่ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนต่อเนื่องได้ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวดีอย่างต่อเนื่องในปี 2548 สำหรับภาคอุตสาหกรรมยังคงใช้กำลังการผลิตอยู่ในระดับที่สูงจากปีก่อน โดยเฉพาะจากการผลิตเพื่อการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นจากอุปสงค์ต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง สำหรับภาคบริการชะลอตัวจากปีก่อนตามการชะลอตัวของการท่องเที่ยวจากผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิในช่วงครึ่งปีแรก และเริ่มปรับตัวดีขึ้นและเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงครึ่งปีหลัง
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ของทั้งปี 2548 พบว่าการบริโภคภาคเอกชนขยายตัว ในอัตราที่ชะลอตัวจากปีก่อน เนื่องจากได้รับแรงกดดันกำลังซื้อจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น สำหรับการลงทุนภาคเอกชนพบว่าการลงทุนในหมวดก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง ขณะที่การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวเร่งขึ้นหลังจากใช้กำลังการผลิตในระดับที่สูงมาอย่างต่อเนื่อง
สำหรับภาคการค้าต่างประเทศ ในปี 2548 มูลค่าการนำเข้าขยายตัวสูงเมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออก เนื่องจากการขยายตัวที่เร่งขึ้นของสินค้าทุน วัตถุดิบ และน้ำมันดิบ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลของการเพิ่มขึ้นด้านราคา ส่งผลให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลในปี 2548
เสถียรภาพเศรษฐกิจในปี 2548 ยังอยู่ในระดับที่มั่นคง โดยอัตราการว่างงานในปี 2548 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี จากร้อยละ 2.1 ต่อปีในปีก่อน อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 4.5 ในปี 2548ตามราคาน้ำมันดิบที่ขยายตัวในระดับสูง แม้ว่าดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2548 จะกลับมาขาดดุลตามการขาดดุลการค้า แต่เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคงจากทุนสำรองระหว่างประเทศได้ปรับเพิ่มขึ้นจาก 49.8 พันลานดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นปี 2547 มาอยู่ที่ 52.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ เดือนธันวาคม 2548
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 1/2549 30 มกราคม 2549--