สรุปภาวะการค้าไทย-ญี่ปุ่นประจำเดือน ม.ค.2548

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 18, 2005 14:04 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          1. ญี่ปุ่นเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 6 ของโลก โดยมีสัดส่วนการนำเข้าประมาณร้อยละ 3.10 
ของมูลค่าการนำเข้าของตลาดโลกในปี 2547
2. สถานการณ์นำเข้าของญี่ปุ่น ในเดือนมกราคม ปี 2548 มีมูลค่ารวม 40,797.486 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.88
3. แหล่งนำเข้าสำคัญของญี่ปุ่น ในเดือนมกราคม ปี 2548
1. จีน สัดส่วนร้อยละ 22.26 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.58
2. สหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 12.03 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.32
3. ซาอุดิฯ สัดส่วนร้อยละ 4.87 เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.36
11. ไทย สัดส่วนร้อยละ 3.03 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.82
4. ดุลการค้า ประเทศญี่ปุ่นได้เปรียบดุลการค้าในเดือนมกราคม ปี 2548 เป็นมูลค่า 1,899.072
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 59.67 ดังสถิติต่อไปนี้
ตารางเปรียบเทียบดุลการค้าของประเทศญี่ปุ่นเดือนมกราคม ปี 2548
ประเทศ 2546 2547 2548 % เปลี่ยนแปลง
2547/2546 2548/2547
ทั่วโลก 809.088 4709.011 1899.072 482.01 -59.67
1. สหรัฐฯ 3999.987 4626.006 4537.186 15.65 -1.92
2. จีน -2973.119 -2799.066 -3635.365 -5.85 29.88
3. ฮ่องกง 1620.707 2197.608 2442.670 35.60 11.15
16. ไทย 189.853 337.741 391.021 77.90 15.78
ที่มา : WTA Japan Customs
5. ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 2 ของไทยโดยมีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้ร้อยละ 14.05
ของมูลค่าการส่งออกโดยรวมในเดือนมกราคม ปี 2548
6. การส่งออกสินค้าไทยไปญี่ปุ่นในเดือนมกราคม ปี 2548 มีมูลค่า 1,106.92 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.91 หรือคิดเป็นร้อยละ 7.30 ของเป้าหมายการส่งออกที่มูลค่า 15,168 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.00
7. สินค้าไทยส่งออกไปญี่ปุ่นในเดือนมกราคม ปี 2548 25 อันดับแรกมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ
61.89 ของมูลค่าการส่งออกโดยรวมไปตลาดนี้ สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 มี 2 รายการ สินค้าที่มีมูลค่า
เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 มี 3 รายการ สินค้าที่มีมูลค่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 มี 1 รายการ และสินค้าที่มีมูลค่าลดลง
มากว่าร้อยละ 30 มี 1 รายการดังสถิติต่อไปนี้
สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปญี่ปุ่นที่มีมูลค่าการเปลี่ยนแปลงสูง
อันดับที่ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการ สัดส่วน ร้อยละ
ตลาด เปลี่ยนแปลง %เปลี่ยนแปลง 2547 2548
ม.ค. 2547 ม.ค. 2548 ม.ค. ม.ค.
1. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 80 มี 2 รายการ
- เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน 9 14.76 27.21 12.45 84.36 1.46 2.46
- เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ 16 10.66 19.68 9.02 84.53 1.85 1.78
2. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 40 มี 3 รายการ
(1) แผงวงจรไฟฟ้า 1 50.28 72.41 22.13 44.01 5.56 6.54
(2) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 2 43.12 61.44 18.32 42.47 5.48 5.55
(3) เลนซ์ 10 18.00 26.56 8.56 47.56 2.32 2.40
3. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 30 มี 1 รายการ
(1) ผลิตภัณฑ์พลาสติก 13 15.98 21.93 5.95 37.25 1.90 1.98
4. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นลดลงมากกว่าร้อยละ 30 มี 1 รายการ
- เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร 15 30.63 20.68 -9.95 -32.49 2.84 1.87
รวบรวมโดย : ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ
จากสถิติการส่งออกดังกล่าวมีข้อสังเกต ดังนี้
1) เตาอบไมโครเวฟและเครื่องไฟฟ้าที่ให้ความร้อน เป็นสินค้าที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นอันดับ 9 ใน
เดือนมกราคม ปี 2548 สัดส่วนร้อยละ 2.46 มูลค่า 27.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.36 ในด้าน
การนำเข้าของญี่ปุ่นในเดือนมกราคม ปี 2548 HS.8516 Heating Appliance, Home: Microwave Ovens,
Electric Hair Dryer และอื่น ๆ มีมูลค่า 101.704 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.71 มีการนำเข้า
จาก จีน ไทย เกาหลีใต้ เป็นหลัก การนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 2 สัดส่วนร้อยละ 23.60 มูลค่า 24.007
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.19
2) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ เป็นสินค้าที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นอันดับ 16 ในเดือนมกราคม
ปี 2548 สัดส่วนร้อยละ 1.78 มูลค่า 19.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.53 ในด้านการนำเข้าของ
ญี่ปุ่นในเดือนมกราคม ปี 2548 HS.8509 Elecmech Domestcappl มีมูลค่า 45.337 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.41 มีการนำเข้าจาก จีน มาเลเซีย และเยอรมนีเป็นหลัก โดยนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 4
สัดส่วนร้อยละ 4.43 มูลค่า 2.008 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 47.70
3) แผงวงจรไฟฟ้า เป็นสินค้าที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นอันดับ 1 ในเดือนมกราคม ปี 2548 สัดส่วน
ร้อยละ 6.54 มูลค่า 72.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.01 ในด้านการนำเข้าของญี่ปุ่นในเดือน
มกราคม 2548 HS.8542 Electronic Integrated Circuits & Microassembl, PTS มีมูลค่า
1,448.679 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.60 มีการนำเข้าจาก ไต้หวัน สหรัฐฯ เกาหลีใต้ เป็นหลักส่วน
การนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 8 สัดส่วนร้อยละ 2.81 มูลค่า 40.717 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.34
4) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นสินค้าที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นอันดับ 2 ในเดือน
มกราคม ปี 2548 สัดส่วนร้อยละ 55.55 มูลค่า 61.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.47 ในด้านการ
นำเข้าของญี่ปุ่นในเดือนมกราคม ปี 2548 HS.8471 Computer + Components มีมูลค่า 1,580.648 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.96 มีการนำเข้าจาก จีน สหรัฐฯ ไต้หวัน เป็นหลัก ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่
อันดับที่ 4 สัดส่วนร้อยละ 5.41 มูลค่า 85.578 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.64
5) เลนซ์ เป็นสินค้าที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นอันดับ 10 ในเดือนมกราคม ปี2548 สัดส่วนร้อยละ 2.40
มูลค่า 26.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.56 ในด้านการนำเข้าของญี่ปุ่นในเดือนมกราคม ปี 2548
HS.900190 Lense, Prism, Mirror มีมูลค่า 61,473 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.49 มีการ
นำเข้าจากจีน สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 3 สัดส่วนร้อยละ 25.83 มูลค่า 15.881 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.76
6) ผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นสินค้าที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นอันดับ 13 ในเดือนมกราคม ปี2548 สัดส่วน
ร้อยละ 1.98 มูลค่า 21.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.25 ในด้านการนำเข้าของญี่ปุ่นในเดือน
มกราคม ปี 2548 HS.3924 Tableware O Household มีมูลค่า 28.588 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ
2.92 มีการนำเข้าจากจีน สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 5 สัดส่วนร้อยละ 3.13
มูลค่า 0.893 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 51.08
7) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เป็นสินค้าที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นอันดับ 15 ใน
เดือนมกราคม ปี 2548 สัดส่วนร้อยละ 1.87 มูลค่า 20.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 32.49 ในด้าน
การนำเข้าของญี่ปุ่นในเดือนมกราคม ปี 2548 HS.8473 Office Machine & Parts มีมูลค่า 856.701
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.60 มีการนำเข้าจาก จีน เกาหลีใต้ สหรัฐฯ เป็นหลัก ส่วนการนำเข้า
จากไทยอยู่อันดับที่ 7 สัดส่วนร้อยละ 2.60 มูลค่า 22.242 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.98
8. สินค้าที่ไทยนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ในเดือนมกราคม ปี 2548 มีมูลค่า 1,950.11 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.47 มีโครงสร้างการนำเข้าประกอบด้วยสินค้าทุนสัดส่วนร้อยละ 41.18 สินค้าวัตถุดิบ
และกึ่งสำเร็จรูปสัดส่วนร้อยละ 44.43 สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งสัดส่วนร้อยละ 8.44 สินค้าบริโภค
สัดส่วนร้อยละ 5.07 สินค้าเชื้อเพลิงสัดส่วนร้อยละ 0.32 และ สินค้าอื่น ๆ สัดส่วนร้อยละ 0.57
9. ข้อคิดเห็น
1. ในปี 2548 คาดว่าโครงสร้างทางการค้าระหว่างไทยและญี่ปุ่นคงไม่เปลี่ยนแปลงมาก สินค้า
ส่งออกของไทยยังได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา อาหารสำเร็จรูป
สำหรับสินค้านำเข้า ได้แก่ เครื่องจักรกล ส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และเคมีภัณฑ์
2. ทิศทางการค้าระหว่างไทยและญี่ปุ่นยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่า
จะชะลอตัวของญี่ปุ่นและอเซีย จะมีผลทำให้ปริมาณการค้าระหว่างไทยและญี่ปุ่นขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากเดิม
โดยเฉพาะสินค้าส่งออก
3. การบริโภคของญี่ปุ่นที่ลดลงในขณะที่การนำเข้ายังมีอัตราเพิ่มขึ้น ซึ่งสังเกตได้จากสถิติการนำ
เข้าที่เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 10 ในเดือนมกราคม โดยสินค้าวัตถุดิบ เช่น สินแร่ต่างๆ อลูมิเนียม เหล็กและเหล็กกล้า
เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 40 เนื่องจากมีการขยายตัวด้านการผลิต
4. การเจรจาเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-ญี่ปุ่น ในด้านสินค้าเกษตรครั้งล่าสุด ญี่ปุ่นมี
แนวโน้มที่จะยืดหยุ่นลดภาษีให้เหลือ 0% ใน 3 ปี ประกอบด้วยสินค้าอาหารแปรรูป กุ้ง ปลาหมึก ข้าวโพด ฯลฯ
โดยญี่ปุ่นจะหารือกับทางรัฐบาลอีกครั้งก่อนที่จะมีการเจรจาหาข้อสรุปตามข้อตกลงทั้งหมดภายในเดือนเมษายน 2548 นี้
5. กระทรวงสาธารณสุขประเทศญี่ปุ่น ได้ประกาศกำหนดค่ามาตรฐานการตรวจสอบ สารคลอไพริฟอส
ที่เป็นสารกำจัดแมลงในสินค้ามะม่วงที่นำเข้าจากต่างประเทศจากเดิมที่กำหนดไว้ 0.5 ppm เป็น 0.05 ppm
ส่งผลให้การส่งออกมะม่วงของไทยถูกรัฐบาลญี่ปุ่นตรวจเข้ม 100% และชะลอการนำเข้ามะม่วงของไทยหลังพบสาร
ตกค้างเกินมาตรฐาน
ที่มา: http://www.depthai.go.th
-ดท-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ