อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก1,671.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยกทรง รัดทรง และส่วนประกอบ ผ้าผืนและด้าย เคหะสิ่งทอ เส้นใยประดิษฐ์ ผ้าปักและผ้าลูกไม้ และผ้าแบบสำหรับตัดเสื้อ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6, 13.2, 5.6, 24.4, 7.2, 19.6 และ 25.2 ตามลำดับ
การผลิต
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ลดลงร้อยละ 2.5 และ 1.3 การผลิตผ้าฯ ลดลงร้อยละ 5.8 และ 1.7 ขณะที่การผลิตเครื่องแต่งกายฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับการจำหน่ายซึ่งลดลงเช่นเดียวกัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเฉพาะการส่งออกไปต่างประเทศ เนื่องจากผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ยกเว้นเพียงการจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการจำหน่ายล่วงหน้าสำหรับฤดูกาลเปิดภาคการเรียนใหม่ที่จะมาถึง
การส่งออก
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 1,671.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 1,705.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 โดยจำแนกผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1. เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 783.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 802.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 702.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเสื้อผ้าสำเร็จรูปทำจากฝ้ายมีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดถึงร้อยละ 50.3 ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมด
2. ผ้าผืนและด้าย ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 448.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีมูลค่าการส่งออก 468.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 424.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ผ้าผืน ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 264.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีมูลค่าการส่งออก 282.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าการส่งออก 243.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ด้ายและด้ายเส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 184.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 181.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. เส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 116.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 108.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกที่สำคัญหลักๆ ของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย มีดังนี้
สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอของไทยไปสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่า 523.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาสูงที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.3 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมดของไทย สินค้าที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยกทรงฯ และ เคหะสิ่งทอ ตามลำดับ
ญี่ปุ่น ไตรมาส 1 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 104.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.2 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ รวมทั้งสิ่งทออื่นๆ
สหราชอาณาจักร ไตรมาส 1 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 71.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.3 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องรัดทรง ยกทรง และส่วนประกอบ และผ้าผืน เป็นต้น
การนำเข้า
การนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น เส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน และอื่นๆ (ร้อยละ 93.0) และเสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 7.0)
สิ่งทอ นำเข้าสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 93.0 ของมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยรวม ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ที่ผ่านมา มีมูลค่านำเข้าสิ่งทอ (เส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน และ ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ) รวมทั้งสิ้น 631.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามีดังนี้
1. เส้นใยที่ใช้ในการทอ มีมูลค่านำเข้า 158.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 21.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 202.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอินเดีย มีสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 28.2 , 21.2 และ 5.9 ตามลำดับ
2. ด้ายทอผ้า มีมูลค่านำเข้า 101.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 104.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ จีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน มีสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 20.9, 18.1 และ 12.8 ตามลำดับ
3. ผ้าผืน มีมูลค่านำเข้า 312.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 296.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญคือ จีน ไต้หวัน และ ญี่ปุ่น สัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 35.6, 19.1 และ 9.5 ตามลำดับ
4. ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ มีมูลค่านำเข้า 36.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 32.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
5. เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่านำเข้า ทั้งสิ้น 47.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 32.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.0 ของการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มทั้งหมด ตลาดนำเข้าหลักคือ จีน ฮ่องกง อิตาลี และสเปน สัดส่วนร้อยละ 44.4, 10.7, 7.7 และ 5.7 ตามลำดับ
6. เครื่องจักรสิ่งทอ ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 นำเข้ามูลค่า 90.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าคือ ญี่ปุ่น เยอรมนี ไต้หวัน และจีน สัดส่วนนำเข้าร้อยละ 19.2, 17.7, 14.5 และ 9.3 ตามลำดับ
แนวโน้ม
สถานการณ์การส่งออกสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยในไตรมาสที่ 2 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวไม่มากนัก เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเส้นใย ซึ่งต้องใช้วัตถุดิบปิโตรเคมีนำเข้ามาผลิตมีต้นทุนสูงขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม มีต้นทุนสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีปัญหาผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ผลกระทบจากการเมือง ได้แก่การระงับการเจรจาเขตการค้าไทย-สหรัฐฯ และไทย-ญี่ปุ่น การนำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้น โดยในไตรมาสที่1 มีการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปค่อนข้างสูงถึงร้อยละ 45.3 ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลผกระทบต่อยอดขายในไตรมาสที่ 2 นี้ ทำให้การขยายตัวไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิต
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ลดลงร้อยละ 2.5 และ 1.3 การผลิตผ้าฯ ลดลงร้อยละ 5.8 และ 1.7 ขณะที่การผลิตเครื่องแต่งกายฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับการจำหน่ายซึ่งลดลงเช่นเดียวกัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเฉพาะการส่งออกไปต่างประเทศ เนื่องจากผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ยกเว้นเพียงการจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการจำหน่ายล่วงหน้าสำหรับฤดูกาลเปิดภาคการเรียนใหม่ที่จะมาถึง
การส่งออก
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 1,671.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 1,705.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 โดยจำแนกผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1. เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 783.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 802.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 702.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเสื้อผ้าสำเร็จรูปทำจากฝ้ายมีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดถึงร้อยละ 50.3 ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งหมด
2. ผ้าผืนและด้าย ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 448.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีมูลค่าการส่งออก 468.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 424.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ผ้าผืน ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 264.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีมูลค่าการส่งออก 282.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าการส่งออก 243.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ด้ายและด้ายเส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 184.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 181.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. เส้นใยประดิษฐ์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 116.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออก 108.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตลาดส่งออก
ตลาดส่งออกที่สำคัญหลักๆ ของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย มีดังนี้
สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นตลาดส่งออกสิ่งทอหลักของไทย ซึ่งการส่งออกสิ่งทอของไทยไปสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่า 523.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาสูงที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.3 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมดของไทย สินค้าที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยกทรงฯ และ เคหะสิ่งทอ ตามลำดับ
ญี่ปุ่น ไตรมาส 1 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 104.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.2 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด โดยสินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของเสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ รวมทั้งสิ่งทออื่นๆ
สหราชอาณาจักร ไตรมาส 1 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 71.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.3 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องรัดทรง ยกทรง และส่วนประกอบ และผ้าผืน เป็นต้น
การนำเข้า
การนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น เส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน และอื่นๆ (ร้อยละ 93.0) และเสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 7.0)
สิ่งทอ นำเข้าสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 93.0 ของมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยรวม ในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ที่ผ่านมา มีมูลค่านำเข้าสิ่งทอ (เส้นใย เส้นด้าย ผ้าผืน และ ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ) รวมทั้งสิ้น 631.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามีดังนี้
1. เส้นใยที่ใช้ในการทอ มีมูลค่านำเข้า 158.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 21.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 202.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอินเดีย มีสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 28.2 , 21.2 และ 5.9 ตามลำดับ
2. ด้ายทอผ้า มีมูลค่านำเข้า 101.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 104.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือ จีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน มีสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 20.9, 18.1 และ 12.8 ตามลำดับ
3. ผ้าผืน มีมูลค่านำเข้า 312.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 296.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดนำเข้าที่สำคัญคือ จีน ไต้หวัน และ ญี่ปุ่น สัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 35.6, 19.1 และ 9.5 ตามลำดับ
4. ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ มีมูลค่านำเข้า 36.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 32.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
5. เสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่านำเข้า ทั้งสิ้น 47.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่านำเข้า 32.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.0 ของการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มทั้งหมด ตลาดนำเข้าหลักคือ จีน ฮ่องกง อิตาลี และสเปน สัดส่วนร้อยละ 44.4, 10.7, 7.7 และ 5.7 ตามลำดับ
6. เครื่องจักรสิ่งทอ ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 นำเข้ามูลค่า 90.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดนำเข้าคือ ญี่ปุ่น เยอรมนี ไต้หวัน และจีน สัดส่วนนำเข้าร้อยละ 19.2, 17.7, 14.5 และ 9.3 ตามลำดับ
แนวโน้ม
สถานการณ์การส่งออกสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยในไตรมาสที่ 2 คาดว่าจะมีแนวโน้มขยายตัวไม่มากนัก เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเส้นใย ซึ่งต้องใช้วัตถุดิบปิโตรเคมีนำเข้ามาผลิตมีต้นทุนสูงขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม มีต้นทุนสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีปัญหาผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ผลกระทบจากการเมือง ได้แก่การระงับการเจรจาเขตการค้าไทย-สหรัฐฯ และไทย-ญี่ปุ่น การนำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้น โดยในไตรมาสที่1 มีการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปค่อนข้างสูงถึงร้อยละ 45.3 ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลผกระทบต่อยอดขายในไตรมาสที่ 2 นี้ ทำให้การขยายตัวไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-