ปริมาณการผลิตในอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไม้ในช่วงปี 2548 มีปริมาณการผลิตประมาณ 22.3 ล้านชิ้น ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี
ก่อนร้อยละ 7.1 เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งจากผลกระทบของราคาน้ำมันในตลาดโลก และจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้
การลงทุนของภาคเอกชนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งสินค้าไม้และเครื่องเรือนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่ใช้ในการก่อสร้างและการตกแต่งอาคารสถานที่
มีแนวโน้มชะลอตัวลง ประกอบกับผู้ประกอบการหันมาให้ความสำคัญกับการผลิตที่เน้นที่คุณภาพของสินค้ามากขึ้น โดยพยายามพัฒนาจากรูปแบบการผลิตใน
ลักษณะ Mass Products มาเป็นการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้น หรือเป็นลักษณะ Branding มากขึ้น มุ่งเน้นการ
ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่สูงขึ้น
ตารางที่ 1 การผลิตของเครื่องเรือนทำด้วยไม้ หน่วย : ล้านชิ้น
การผลิต 2545 2546 2547 2548
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 30.2 25.0 24.0 22.3
อัตราการขยายตัว (%) -17.2 -4.0 -7.1
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
1. การส่งออกและนำเข้า
2.1 การส่งออก ภาวะการส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 2,083.5 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 5.1 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา
สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นกระเตื้องขึ้น นอกจากนี้อุปสงค์สินค้าเฟอร์นิเจอร์ในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย แอฟริกาใต้ และตะวันออกกลาง ได้ปรับตัว
เพิ่มขึ้นตามโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและโรงงานอุตสาหกรรม โดยรายละเอียดในแต่ประเภทผลิตภัณฑ์สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน
สามารถแบ่งการพิจารณาออกเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้าดังนี้
1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในสินค้ากลุ่ม
อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน โดยในช่วงของปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 1,155.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 7
โดยผลิตภัณฑ์สินค้าภายในกลุ่มที่มีสัดส่วนการขยายตัวในการส่งออกสูงที่สุดคือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนชิ้นส่วน ในอัตราการขยายตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน
ร้อยละ 25 ซึ่งมีตลาดส่งออกสำคัญในกลุ่มสินค้าดังกล่าวนี้ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในสหภาพยุโรป
2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วย เครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ รูปแกะสลักและเครื่องประดับทำ
ด้วยไม้ มีสัดส่วนร้อยละ 20 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด โดยมูลค่าการส่งออกในปี 2548 มีจำนวน 366.6 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.5 และตลาดส่งออกที่สำคัญในกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ ก็ยังคงเป็นกลุ่มประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสห
ราชอาณาจักร
3) กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber
Board) และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น มีสัดส่วนร้อยละ 30 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด ๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในปี 2548 มี
จำนวน 561.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 7.5 โดยมีผลิตภัณฑ์ประเภทไม้แปรรูปและไม้อัด มีสัดส่วนการขยายตัวในมูลค่า
การส่งออกที่ค่อนข้างสูง ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกไม้และเครื่องเรือน หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2545 2546 2547 2548 อัตราการขยายตัว(%)(2547/2548)
1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน 825.6 915.8 1,080.10 1,155.60 7
1.1 เครื่องเรือนไม้* 560.4 586.4 686.4 707.9 3.1
1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ* 191.1 224.9 265.8 287.9 8.3
1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน 74.1 104.5 127.9 159.8 25
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ 350.3 350.9 379.8 366.6 -3.5
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้ 114.6 111.4 108.7 98.9 -9
2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ 102.4 108.8 120.7 124.7 3.3
2.3 กรอบรูปไม้ 102.6 94 105.9 95 -10.3
2.4 รูปแกะสลัก ฯ ไม้ 30.7 36.7 44.5 48 7.9
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น 323.1 366.9 521.9 561.3 7.5
3.1 ไม้แปรรูป 99 145.8 210.5 208.1 -1.1
3.2 แผ่นไม้วีเนียร์ 8.2 8.1 9.1 9.1 0.2
3.3 ไม้อัด 53.9 51.2 108.2 144.6 33.6
3.4 Fiber Board 90.5 93.8 114.7 130 13.3
3.5 ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ 71.5 68 79.4 69.5 -12.5
รวม 1,499.00 1,633.60 1,981.80 2,083.50 5.1
ที่มา : กรมเจรจากการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
2.2 การนำเข้า ภาวะการนำเข้าของสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเน้นในการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อ
แข็ง ซึ่งได้แก่ ไม้ซุง และผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปประเภทต่าง ๆ โดยในปี 2548 มีมูลค่าการนำเข้ารวมกันจำนวน 739.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 14.1 แหล่งนำเข้าที่สำคัญในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ คือ ไม้ซุงท่อน ส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาจากพม่า และมาเลเซีย และในส่วน
ผลิตภัณฑ์ประเภทไม้ ไม้อัดหรือไม้แปรรูป ประเภทต่าง ๆ มีการนำเข้ามาจากมาเลเซีย ลาว จีน และสหรัฐอเมริกา เป็นส่วนใหญ่
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าไม้และเครื่องเรือน หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2545 2546 2547 2548 อัตราการขยายตัว(%)(2547/2548)
1.ไม้ซุง แปรรูปอื่น ๆ 89.7 98.6 107.7 118.1 9.7
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ 286.1 319.3 425.7 496.5 16.6
3. ไม้อัด 35.7 52.1 83.1 90.3 8.7
4. ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ 17.4 23.2 31.6 34.5 9.2
รวม 428.9 493.2 648.1 739.4 14.1
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
2. สรุปและแนวโน้มปี 2549
ในปี 2548 สภาวะของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยโดยรวมชะลอตัวลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับปี 2547 ทั้งนี้เป็นไปตามภาวะ
ตลาด ต้นทุนการผลิตได้ปรับตัวขึ้นจากราคาน้ำมันและภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั่วโลก รวมถึงการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศ
อย่างไรก็ตามอุปสงค์ของตลาดต่างประเทศยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดส่งออกที่สำคัญ ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เครื่องเรือนไม้ของ
ไทยโดยเฉพาะที่ทำจากไม้ยางพาราเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่องในตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้การที่จีนปรับค่าเงินหยวนให้สูงขึ้นและถูกสหรัฐเรียกเก็บ
ภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดก็ส่งผลดีต่อการส่งออกของไทย
สำหรับแนวโน้มในปี 2549 การแข่งขันในสาขาอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนจะทวีความรุนแรงขึ้นในตลาดที่สามของไทย ทั้งนี้จีนและ
เวียดนามจะแย่งส่วนแบ่งตลาดโลก เนื่องจากสามารถผลิตสินค้าที่มีปริมาณมากและมีต้นทุนต่ำออกมาแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ไทยยังมีความได้เปรียบอยู่
ทางด้านวัตถุดิบ ความชำนาญ และคุณภาพ อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยมีสัดส่วนการสร้างมูลค่าภายในประเทศสูง เป็นสินค้าที่มีศักยภาพและ
มีโอกาสในการขยายตัวสูง สิ่งที่จะต้องเร่งดำเนินการคือการจัดทำกลยุทธ์เจาะตลาดโดยการศึกษาตลาดเฉพาะ (niche market) การศึกษาความ
ต้องการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค การจัดหาวัสดุทดแทนใหม่ๆ และการพัฒนารูปแบบ
ใหม่ๆ เช่น การผสมผสานวัสดุต่างๆ รวมทั้งการทำตลาดที่มีกำลังซื้อสูงและขยายตัวมาก เช่น ตะวันออกกลาง ตลอดจนการบริหารจัดการภายในเพื่อ
ลดต้นทุน และเพิ่มมูลค่าสินค้าก็จะสามารถทำให้เพิ่มระดับขีดความสามารถในอุตสาหกรรมสาขานี้ได้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ก่อนร้อยละ 7.1 เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งจากผลกระทบของราคาน้ำมันในตลาดโลก และจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้
การลงทุนของภาคเอกชนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งสินค้าไม้และเครื่องเรือนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่ใช้ในการก่อสร้างและการตกแต่งอาคารสถานที่
มีแนวโน้มชะลอตัวลง ประกอบกับผู้ประกอบการหันมาให้ความสำคัญกับการผลิตที่เน้นที่คุณภาพของสินค้ามากขึ้น โดยพยายามพัฒนาจากรูปแบบการผลิตใน
ลักษณะ Mass Products มาเป็นการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้น หรือเป็นลักษณะ Branding มากขึ้น มุ่งเน้นการ
ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่สูงขึ้น
ตารางที่ 1 การผลิตของเครื่องเรือนทำด้วยไม้ หน่วย : ล้านชิ้น
การผลิต 2545 2546 2547 2548
เครื่องเรือนทำด้วยไม้ 30.2 25.0 24.0 22.3
อัตราการขยายตัว (%) -17.2 -4.0 -7.1
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
1. การส่งออกและนำเข้า
2.1 การส่งออก ภาวะการส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 2,083.5 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 5.1 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา
สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นกระเตื้องขึ้น นอกจากนี้อุปสงค์สินค้าเฟอร์นิเจอร์ในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย แอฟริกาใต้ และตะวันออกกลาง ได้ปรับตัว
เพิ่มขึ้นตามโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและโรงงานอุตสาหกรรม โดยรายละเอียดในแต่ประเภทผลิตภัณฑ์สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน
สามารถแบ่งการพิจารณาออกเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้าดังนี้
1) กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในสินค้ากลุ่ม
อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน โดยในช่วงของปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 1,155.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 7
โดยผลิตภัณฑ์สินค้าภายในกลุ่มที่มีสัดส่วนการขยายตัวในการส่งออกสูงที่สุดคือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนชิ้นส่วน ในอัตราการขยายตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน
ร้อยละ 25 ซึ่งมีตลาดส่งออกสำคัญในกลุ่มสินค้าดังกล่าวนี้ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในสหภาพยุโรป
2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ ประกอบด้วย เครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ รูปแกะสลักและเครื่องประดับทำ
ด้วยไม้ มีสัดส่วนร้อยละ 20 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด โดยมูลค่าการส่งออกในปี 2548 มีจำนวน 366.6 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.5 และตลาดส่งออกที่สำคัญในกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ ก็ยังคงเป็นกลุ่มประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสห
ราชอาณาจักร
3) กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber
Board) และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น มีสัดส่วนร้อยละ 30 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด ๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในปี 2548 มี
จำนวน 561.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 7.5 โดยมีผลิตภัณฑ์ประเภทไม้แปรรูปและไม้อัด มีสัดส่วนการขยายตัวในมูลค่า
การส่งออกที่ค่อนข้างสูง ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกไม้และเครื่องเรือน หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2545 2546 2547 2548 อัตราการขยายตัว(%)(2547/2548)
1.เครื่องเรือนและชิ้นส่วน 825.6 915.8 1,080.10 1,155.60 7
1.1 เครื่องเรือนไม้* 560.4 586.4 686.4 707.9 3.1
1.2 เครื่องเรือนอื่น ๆ* 191.1 224.9 265.8 287.9 8.3
1.3 ชิ้นส่วนเครื่องเรือน 74.1 104.5 127.9 159.8 25
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ 350.3 350.9 379.8 366.6 -3.5
2.1 เครื่องใช้ทำด้วยไม้ 114.6 111.4 108.7 98.9 -9
2.2 อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ 102.4 108.8 120.7 124.7 3.3
2.3 กรอบรูปไม้ 102.6 94 105.9 95 -10.3
2.4 รูปแกะสลัก ฯ ไม้ 30.7 36.7 44.5 48 7.9
3.ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น 323.1 366.9 521.9 561.3 7.5
3.1 ไม้แปรรูป 99 145.8 210.5 208.1 -1.1
3.2 แผ่นไม้วีเนียร์ 8.2 8.1 9.1 9.1 0.2
3.3 ไม้อัด 53.9 51.2 108.2 144.6 33.6
3.4 Fiber Board 90.5 93.8 114.7 130 13.3
3.5 ผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ 71.5 68 79.4 69.5 -12.5
รวม 1,499.00 1,633.60 1,981.80 2,083.50 5.1
ที่มา : กรมเจรจากการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
2.2 การนำเข้า ภาวะการนำเข้าของสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเน้นในการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อ
แข็ง ซึ่งได้แก่ ไม้ซุง และผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปประเภทต่าง ๆ โดยในปี 2548 มีมูลค่าการนำเข้ารวมกันจำนวน 739.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 14.1 แหล่งนำเข้าที่สำคัญในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ คือ ไม้ซุงท่อน ส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาจากพม่า และมาเลเซีย และในส่วน
ผลิตภัณฑ์ประเภทไม้ ไม้อัดหรือไม้แปรรูป ประเภทต่าง ๆ มีการนำเข้ามาจากมาเลเซีย ลาว จีน และสหรัฐอเมริกา เป็นส่วนใหญ่
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าไม้และเครื่องเรือน หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2545 2546 2547 2548 อัตราการขยายตัว(%)(2547/2548)
1.ไม้ซุง แปรรูปอื่น ๆ 89.7 98.6 107.7 118.1 9.7
2. ผลิตภัณฑ์ไม้ 286.1 319.3 425.7 496.5 16.6
3. ไม้อัด 35.7 52.1 83.1 90.3 8.7
4. ผลิตภัณฑ์ไม้อื่นๆ 17.4 23.2 31.6 34.5 9.2
รวม 428.9 493.2 648.1 739.4 14.1
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
2. สรุปและแนวโน้มปี 2549
ในปี 2548 สภาวะของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยโดยรวมชะลอตัวลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับปี 2547 ทั้งนี้เป็นไปตามภาวะ
ตลาด ต้นทุนการผลิตได้ปรับตัวขึ้นจากราคาน้ำมันและภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั่วโลก รวมถึงการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศ
อย่างไรก็ตามอุปสงค์ของตลาดต่างประเทศยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดส่งออกที่สำคัญ ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เครื่องเรือนไม้ของ
ไทยโดยเฉพาะที่ทำจากไม้ยางพาราเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่องในตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้การที่จีนปรับค่าเงินหยวนให้สูงขึ้นและถูกสหรัฐเรียกเก็บ
ภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดก็ส่งผลดีต่อการส่งออกของไทย
สำหรับแนวโน้มในปี 2549 การแข่งขันในสาขาอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนจะทวีความรุนแรงขึ้นในตลาดที่สามของไทย ทั้งนี้จีนและ
เวียดนามจะแย่งส่วนแบ่งตลาดโลก เนื่องจากสามารถผลิตสินค้าที่มีปริมาณมากและมีต้นทุนต่ำออกมาแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ไทยยังมีความได้เปรียบอยู่
ทางด้านวัตถุดิบ ความชำนาญ และคุณภาพ อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยมีสัดส่วนการสร้างมูลค่าภายในประเทศสูง เป็นสินค้าที่มีศักยภาพและ
มีโอกาสในการขยายตัวสูง สิ่งที่จะต้องเร่งดำเนินการคือการจัดทำกลยุทธ์เจาะตลาดโดยการศึกษาตลาดเฉพาะ (niche market) การศึกษาความ
ต้องการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค การจัดหาวัสดุทดแทนใหม่ๆ และการพัฒนารูปแบบ
ใหม่ๆ เช่น การผสมผสานวัสดุต่างๆ รวมทั้งการทำตลาดที่มีกำลังซื้อสูงและขยายตัวมาก เช่น ตะวันออกกลาง ตลอดจนการบริหารจัดการภายในเพื่อ
ลดต้นทุน และเพิ่มมูลค่าสินค้าก็จะสามารถทำให้เพิ่มระดับขีดความสามารถในอุตสาหกรรมสาขานี้ได้
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-