อุตสาหกรรมยาเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
และสังคมโดยรวม ทั้งด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการบริโภค
นโยบายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยาในปี 2548 คือ มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดจำนวนสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน
เฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษในแต่ละจังหวัด เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2548 ประกาศฉบับดังกล่าวเป็นการควบคุมจำนวน
ร้านขายยาประเภท 2 ไม่ให้เกินจำนวนที่มีอยู่ทั้งหมดในปัจจุบันคือ 4,453 ร้าน หากร้านใดแจ้งเลิกกิจการ หรือถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ก็จะไม่ได้รับ
อนุญาตให้ดำเนินการอีก ยกเว้นกรณีเดียวคือ ผู้ได้รับอนุญาตเสียชีวิต ซึ่งผู้ที่มีคุณสมบัติสามารถยื่นแสดงความจำนงขอดำเนินกิจการต่อจากผู้เสียชีวิตต่อไป
ได้ การควบคุมจำนวนร้านขายยาประเภท 2 จะเป็นมาตรการหนึ่งที่ป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคซื้อยามารับประทานเองหรือบริโภคยาเกินความจำเป็น ลดการ
นำเข้ายาสำเร็จรูป และลดจำนวนร้านขายยาที่มีผู้ประกอบการซึ่งไม่ใช่เภสัชกรโดยตรงลง
1. การผลิตในประเทศ
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในปี 2548 คาดว่าจะมีประมาณ 24,498.8 ตัน ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 5.8 (ตาราง
ที่ 1 และ 2) เนื่องมาจากผู้ผลิตได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรให้ดีขึ้น และเพิ่มกำลังการผลิต ยาที่ผลิตเป็นยาชื่อสามัญ (Generic
Drug) มีราคาไม่สูงมากนัก จึงมีส่วนร่วมสนับสนุนโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถานพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลของ
รัฐ มีความต้องการยาที่ผลิตจากภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น
2. การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในปี 2548 คาดว่าจะมีประมาณ 23,328.7 ตัน ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 10.3
(ตารางที่ 1 และ 3) เนื่องมาจากคนไทยให้ความสนใจต่อสุขภาพมากขึ้น รวมทั้งโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ยังคงทำให้
สถานพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ มีความต้องการยาที่ผลิตจากภายในประเทศ ส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายยาขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม
การจำหน่ายยาในประเทศมีการแข่งขันสูงด้านราคา เนื่องจากยาที่ผลิตเป็นยาชื่อสามัญ (Generic Drug) การแข่งขันตั้งอยู่บนเรื่องของต้นทุนและ
ราคา ทำให้ไม่สามารถตั้งราคาให้สูงได้
3. การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ในปี 2548 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 24,394.4 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 11.1
(ตารางที่ 4) โดยมีตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดัง
กล่าวมีมูลค่ากว่าร้อยละ 40 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ทั้งหมด การขยายตัวของการนำเข้ามีสาเหตุสำคัญมาจากมีการนำเข้ายารักษาหรือ
ป้องกันโรคที่เป็นยาสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น ทั้งที่เป็นยาต้นตำรับ และยามีสิทธิบัตร ซึ่งไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ ยาเหล่านี้มักเป็นยาสำหรับโรคที่ต้องรักษา
อย่างต่อเนื่อง เช่น โรคความดัน เบาหวาน หัวใจ และไขมันในเส้นเลือด การนำเข้ายารักษาโรคดังกล่าวมีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นผลจากการที่ประชากร
ในประเทศมีอายุยืนขึ้น และกลุ่มผู้สูงอายุใส่ใจสุขภาพของตนเองมากขึ้น มีการตรวจร่างกายสม่ำเสมอ
4. การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ในปี 2548 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 6,137.5 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 21.9 (ตาราง
ที่ 4) โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม เมียนมาร์ กัมพูชา มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ากว่าร้อยละ
50 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ทั้งหมด การขยายตัวของการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ เนื่องมาจากมีการส่งออกยารักษาหรือป้องกันโรค
ประเภทวิตามิน ยาสามัญประจำบ้าน ยาแก้ปวดลดไข้ รวมถึงแวดดิ้ง ผ้ากอซ ผ้าพันแผลและของที่คล้ายกัน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับป้องกันเชื้อโรค
เพิ่มขึ้น
5. สรุป
ในปี 2548 มีนโยบายของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยา คือ กระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนด
จำนวนสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษในแต่ละจังหวัด ซึ่งจะเป็นมาตรการหนึ่งที่ป้องกันไม่ให้ผู้
บริโภคซื้อยามารับประทานเองหรือบริโภคยาเกินความจำเป็น ลดการนำเข้ายาสำเร็จรูป และจำนวนร้านขายยาที่มีผู้ประกอบการซึ่งไม่ใช่เภสัชกรโดย
ตรงลง
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมปี 2548 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรให้
ดีขึ้น และเพิ่มกำลังการผลิต ยาที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นยาชื่อสามัญที่มีราคาไม่สูงมากนัก จึงมีส่วนร่วมสนับสนุนโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำหรับปริมาณ
การจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากคนไทยให้ความสนใจต่อสุขภาพมากขึ้น รวมทั้งการดำเนินโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างต่อเนื่อง ยังคงทำ
ให้สถานพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐมีความต้องการยาที่ผลิตจากภายในประเทศ อย่างไรก็ตามการแข่งขันด้านราคายังมีสูง สำหรับมูลค่าการ
ส่งออกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการนำเข้ายารักษาโรคที่มีสิทธิบัตร ด้านมูลค่าการนำเข้ามีการขยายตัวเช่นกัน โดยเป็นการส่งออก
วิตามิน ยาสามัญประจำบ้าน ยาแก้ปวดลดไข้ รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันเชื้อโรค ซึ่งตลาดส่งออกหลัก คือ ประเทศในแถบอาเซียน
สำหรับในปี 2549 คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาในประเทศยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประชาชนใส่ใจสุขภาพมาก
ขึ้น นอกจากนี้การดำเนินนโยบายสาธารณสุขของภาครัฐ เช่น โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่มีผลให้การเข้าถึงยาของประชาชนขยายวงกว้างขึ้น
และทำให้มีความต้องการบริโภคยาที่ผลิตจากในประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย ซึ่งส่งเสริมให้ชาวต่างชาติ
เข้ามาตรวจ รักษาสุขภาพในประเทศยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมยา สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวเช่นกัน
เนื่องจากผู้ผลิตรวมถึงภาครัฐบาลพยายามขยายตลาดใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพมากขึ้น เช่น ศรีลังกา ด้านมูลค่าการนำเข้า คาดว่าการนำเข้ายาที่มีสิทธิบัตร
สำหรับโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความต้องการบริโภคยาในปริมาณมากนั้น คาดว่าจะมี
แนวโน้มเพิ่มขึ้น
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศ
ปริมาณ (ตัน) 2546 2547 2548
การผลิต 22,448.20 23,165.00 24,498.80
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.2 5.8
การจำหน่ายในประเทศ 19,974.90 21,153.60 23,328.70
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.9 10.3
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 34 โรงงาน
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท 2546 2547 2548
ยาเม็ด 4,196.50 4,792.30 4,811.20
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.2 0.4
ยาน้ำ 12,054.50 11,676.00 12,447.50
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.1 6.6
ยาแคปซูล 533.4 567.1 708.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.3 24.9
ยาฉีด 410.9 439.5 435.1
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7 -1
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 82.3 77.7 78.2
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -5.6 0.6
ยาครีม 1,727.40 1,701.50 2,016.90
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -1.5 18.5
ยาผง 3,443.20 3,910.90 4,001.40
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.6 2.3
รวม 22,448.20 23,165.00 24,498.80
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.2 5.8
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 34 โรงงาน (ยาเม็ด 29 โรงงาน, ยาน้ำ 30 โรงงาน, ยาแคปซูล 27 โรงงาน,
ยาฉีด 10 โรงงาน, ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 3 โรงงาน, ยาครีม 19 โรงงาน และยาผง 17 โรงงาน)
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 3 ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท 2546 2547 2548
ยาเม็ด 4,033.20 4,575.20 5,020.10
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.4 9.7
ยาน้ำ 12675.8 12963.3 14517.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.3 12
ยาแคปซูล 610.5 647.9 794
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.1 22.5
ยาฉีด 317.9 340.9 337.3
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.2 -1.1
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 77.2 82.3 72.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.6 -11.7
ยาครีม 1,582.70 1,792.80 1,989.30
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.3 11
ยาผง 677.6 751.2 597.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.9 -20.4
รวม 19,974.9 21,153.6 23,328.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.9 10.3
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 34 โรงงาน (ยาเม็ด 29 โรงงาน, ยาน้ำ 30 โรงงาน, ยาแคปซูล 27 โรงงาน,
ยาฉีด 10 โรงงาน, ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 3 โรงงาน, ยาครีม 19 โรงงาน และยาผง 17 โรงงาน)
: ปริมาณการจำหน่ายยาผงในประเทศน้อยกว่าปริมาณการผลิตมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการที่ทำการสำรวจ
ผลิตเพื่อการส่งออกมากกว่าการจำหน่ายในประเทศ
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้า — ส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์
มูลค่า (ล้านบาท) 2546 2547 2548
มูลค่าการนำเข้า 20,788.4 21,951.9 24,394.4
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.6 11.1
มูลค่าการส่งออก 4,834.30 5,034.00 6,137.50
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.1 21.9
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
และสังคมโดยรวม ทั้งด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการบริโภค
นโยบายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยาในปี 2548 คือ มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดจำนวนสถานที่ขายยาแผนปัจจุบัน
เฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษในแต่ละจังหวัด เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2548 ประกาศฉบับดังกล่าวเป็นการควบคุมจำนวน
ร้านขายยาประเภท 2 ไม่ให้เกินจำนวนที่มีอยู่ทั้งหมดในปัจจุบันคือ 4,453 ร้าน หากร้านใดแจ้งเลิกกิจการ หรือถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ก็จะไม่ได้รับ
อนุญาตให้ดำเนินการอีก ยกเว้นกรณีเดียวคือ ผู้ได้รับอนุญาตเสียชีวิต ซึ่งผู้ที่มีคุณสมบัติสามารถยื่นแสดงความจำนงขอดำเนินกิจการต่อจากผู้เสียชีวิตต่อไป
ได้ การควบคุมจำนวนร้านขายยาประเภท 2 จะเป็นมาตรการหนึ่งที่ป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคซื้อยามารับประทานเองหรือบริโภคยาเกินความจำเป็น ลดการ
นำเข้ายาสำเร็จรูป และลดจำนวนร้านขายยาที่มีผู้ประกอบการซึ่งไม่ใช่เภสัชกรโดยตรงลง
1. การผลิตในประเทศ
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในปี 2548 คาดว่าจะมีประมาณ 24,498.8 ตัน ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 5.8 (ตาราง
ที่ 1 และ 2) เนื่องมาจากผู้ผลิตได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรให้ดีขึ้น และเพิ่มกำลังการผลิต ยาที่ผลิตเป็นยาชื่อสามัญ (Generic
Drug) มีราคาไม่สูงมากนัก จึงมีส่วนร่วมสนับสนุนโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถานพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลของ
รัฐ มีความต้องการยาที่ผลิตจากภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น
2. การจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในปี 2548 คาดว่าจะมีประมาณ 23,328.7 ตัน ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 10.3
(ตารางที่ 1 และ 3) เนื่องมาจากคนไทยให้ความสนใจต่อสุขภาพมากขึ้น รวมทั้งโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ยังคงทำให้
สถานพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ มีความต้องการยาที่ผลิตจากภายในประเทศ ส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายยาขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม
การจำหน่ายยาในประเทศมีการแข่งขันสูงด้านราคา เนื่องจากยาที่ผลิตเป็นยาชื่อสามัญ (Generic Drug) การแข่งขันตั้งอยู่บนเรื่องของต้นทุนและ
ราคา ทำให้ไม่สามารถตั้งราคาให้สูงได้
3. การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ในปี 2548 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 24,394.4 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 11.1
(ตารางที่ 4) โดยมีตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดัง
กล่าวมีมูลค่ากว่าร้อยละ 40 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ทั้งหมด การขยายตัวของการนำเข้ามีสาเหตุสำคัญมาจากมีการนำเข้ายารักษาหรือ
ป้องกันโรคที่เป็นยาสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น ทั้งที่เป็นยาต้นตำรับ และยามีสิทธิบัตร ซึ่งไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ ยาเหล่านี้มักเป็นยาสำหรับโรคที่ต้องรักษา
อย่างต่อเนื่อง เช่น โรคความดัน เบาหวาน หัวใจ และไขมันในเส้นเลือด การนำเข้ายารักษาโรคดังกล่าวมีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นผลจากการที่ประชากร
ในประเทศมีอายุยืนขึ้น และกลุ่มผู้สูงอายุใส่ใจสุขภาพของตนเองมากขึ้น มีการตรวจร่างกายสม่ำเสมอ
4. การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ในปี 2548 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 6,137.5 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 21.9 (ตาราง
ที่ 4) โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม เมียนมาร์ กัมพูชา มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ากว่าร้อยละ
50 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ทั้งหมด การขยายตัวของการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ เนื่องมาจากมีการส่งออกยารักษาหรือป้องกันโรค
ประเภทวิตามิน ยาสามัญประจำบ้าน ยาแก้ปวดลดไข้ รวมถึงแวดดิ้ง ผ้ากอซ ผ้าพันแผลและของที่คล้ายกัน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับป้องกันเชื้อโรค
เพิ่มขึ้น
5. สรุป
ในปี 2548 มีนโยบายของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยา คือ กระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนด
จำนวนสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษในแต่ละจังหวัด ซึ่งจะเป็นมาตรการหนึ่งที่ป้องกันไม่ให้ผู้
บริโภคซื้อยามารับประทานเองหรือบริโภคยาเกินความจำเป็น ลดการนำเข้ายาสำเร็จรูป และจำนวนร้านขายยาที่มีผู้ประกอบการซึ่งไม่ใช่เภสัชกรโดย
ตรงลง
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมปี 2548 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรให้
ดีขึ้น และเพิ่มกำลังการผลิต ยาที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นยาชื่อสามัญที่มีราคาไม่สูงมากนัก จึงมีส่วนร่วมสนับสนุนโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำหรับปริมาณ
การจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากคนไทยให้ความสนใจต่อสุขภาพมากขึ้น รวมทั้งการดำเนินโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างต่อเนื่อง ยังคงทำ
ให้สถานพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐมีความต้องการยาที่ผลิตจากภายในประเทศ อย่างไรก็ตามการแข่งขันด้านราคายังมีสูง สำหรับมูลค่าการ
ส่งออกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการนำเข้ายารักษาโรคที่มีสิทธิบัตร ด้านมูลค่าการนำเข้ามีการขยายตัวเช่นกัน โดยเป็นการส่งออก
วิตามิน ยาสามัญประจำบ้าน ยาแก้ปวดลดไข้ รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันเชื้อโรค ซึ่งตลาดส่งออกหลัก คือ ประเทศในแถบอาเซียน
สำหรับในปี 2549 คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาในประเทศยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประชาชนใส่ใจสุขภาพมาก
ขึ้น นอกจากนี้การดำเนินนโยบายสาธารณสุขของภาครัฐ เช่น โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่มีผลให้การเข้าถึงยาของประชาชนขยายวงกว้างขึ้น
และทำให้มีความต้องการบริโภคยาที่ผลิตจากในประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย ซึ่งส่งเสริมให้ชาวต่างชาติ
เข้ามาตรวจ รักษาสุขภาพในประเทศยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมยา สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวเช่นกัน
เนื่องจากผู้ผลิตรวมถึงภาครัฐบาลพยายามขยายตลาดใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพมากขึ้น เช่น ศรีลังกา ด้านมูลค่าการนำเข้า คาดว่าการนำเข้ายาที่มีสิทธิบัตร
สำหรับโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความต้องการบริโภคยาในปริมาณมากนั้น คาดว่าจะมี
แนวโน้มเพิ่มขึ้น
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศ
ปริมาณ (ตัน) 2546 2547 2548
การผลิต 22,448.20 23,165.00 24,498.80
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.2 5.8
การจำหน่ายในประเทศ 19,974.90 21,153.60 23,328.70
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.9 10.3
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 34 โรงงาน
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท 2546 2547 2548
ยาเม็ด 4,196.50 4,792.30 4,811.20
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.2 0.4
ยาน้ำ 12,054.50 11,676.00 12,447.50
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.1 6.6
ยาแคปซูล 533.4 567.1 708.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.3 24.9
ยาฉีด 410.9 439.5 435.1
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7 -1
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 82.3 77.7 78.2
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -5.6 0.6
ยาครีม 1,727.40 1,701.50 2,016.90
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -1.5 18.5
ยาผง 3,443.20 3,910.90 4,001.40
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.6 2.3
รวม 22,448.20 23,165.00 24,498.80
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.2 5.8
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 34 โรงงาน (ยาเม็ด 29 โรงงาน, ยาน้ำ 30 โรงงาน, ยาแคปซูล 27 โรงงาน,
ยาฉีด 10 โรงงาน, ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 3 โรงงาน, ยาครีม 19 โรงงาน และยาผง 17 โรงงาน)
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 3 ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท 2546 2547 2548
ยาเม็ด 4,033.20 4,575.20 5,020.10
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.4 9.7
ยาน้ำ 12675.8 12963.3 14517.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.3 12
ยาแคปซูล 610.5 647.9 794
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.1 22.5
ยาฉีด 317.9 340.9 337.3
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.2 -1.1
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 77.2 82.3 72.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.6 -11.7
ยาครีม 1,582.70 1,792.80 1,989.30
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.3 11
ยาผง 677.6 751.2 597.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.9 -20.4
รวม 19,974.9 21,153.6 23,328.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.9 10.3
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 34 โรงงาน (ยาเม็ด 29 โรงงาน, ยาน้ำ 30 โรงงาน, ยาแคปซูล 27 โรงงาน,
ยาฉีด 10 โรงงาน, ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 3 โรงงาน, ยาครีม 19 โรงงาน และยาผง 17 โรงงาน)
: ปริมาณการจำหน่ายยาผงในประเทศน้อยกว่าปริมาณการผลิตมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการที่ทำการสำรวจ
ผลิตเพื่อการส่งออกมากกว่าการจำหน่ายในประเทศ
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 4 มูลค่าการนำเข้า — ส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์
มูลค่า (ล้านบาท) 2546 2547 2548
มูลค่าการนำเข้า 20,788.4 21,951.9 24,394.4
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.6 11.1
มูลค่าการส่งออก 4,834.30 5,034.00 6,137.50
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.1 21.9
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-