แท็ก
ญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่จับปลาทูน่าได้มากที่สุดในโลกเฉลี่ยราว 4-5 แสนตันต่อปี หรือประมาณร้อยละ 15 ของปริมาณปลาทูน่าที่จับได้ทั้ง
หมดของโลก มีแนวโน้มชะลอการจับปลาทูน่าลง หลังจากองค์กรที่ดูแลการจับปลาทูน่าหลายแห่งของโลกมีแผนปรับลดโควตาจับปลาทูน่า ล่าสุดญี่ปุ่น
ยอมปรับลดโควตาจับปลาทูน่า Southern Bluefin จากปีละ 6,065 ตันเหลือปีละ 3,000 ตัน เป็นเวลา 5 ปี (ปี 2550-2554) ตามที่คณะ
กรรมาธิการเพื่อการอนุรักษ์ปลาทูน่า Southern Bluefin (Commission for the Conservation of Southern Bluefin Tuna :
CCSBT) เสนอในการประชุมครั้งที่ 13 เมื่อเดือนตุลาคม 2549 หลังพบว่าญี่ปุ่นจับปลาทูน่า Southern Bluefin เกินกว่าโควตาที่กำหนดในช่วง
หลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ โควตาจับปลาทูน่า Southern Bluefin ของญี่ปุ่นที่ลดลง เป็นส่วนหนึ่งของมติที่ประชุม CCSBT ที่ต้องการให้ปรับลด
ปริมาณจับปลาทูน่า Southern Bluefin โดยรวมลงร้อยละ 23 ของปริมาณการจับปลาทูน่า Southern Bluefin ทั้งหมด เพื่อรักษาจำนวนปลาทูน่า
ของโลก
ปริมาณโควตาจับปลาทูน่า Southern Bluefin ของ CCSBT
โควตาจับปลาทูน่า Southern Bluefin (ตัน/ปี)
ประเทศ ปี 2549 ปี 2550-2552 ปริมาณปลาที่จับลดลง
(ญี่ปุ่นปี 2550-2554) (ตัน/ปี)
ญี่ปุ่น 6,065 3,000 3,065
ออสเตรเลีย 5,265 5,265 0
ไต้หวัน 1,140 1,000 140
เกาหลีใต้ 1,140 1,000 140
นิวซีแลนด์ 420 420 0
ฟิลิปปินส์ 50 45 5
แอฟริกาใต้ 45 40 5
ยุโรป 0 10 +10
อินโดนีเซีย 800 750 50
รวม 14,925 11,530 3,395
ที่มา : www.fas.usda.gov/gainfiles/200610/146249374.pdf
นอกจากนี้ ญี่ปุ่นมีแนวโน้มต้องปรับลดโควตาจับปลาทูน่าชนิดอื่นลงอีก หลังจากคณะกรรมาธิการเพื่อการอนุรักษ์ปลาทูน่าในมหาสมุทร
แอตแลนติก (The International Commission for the Conservation of Atlantic Tunas : ICCAT) และคณะกรรมาธิการว่าด้วย
การอนุรักษ์และจัดการปลาที่ย้ายถิ่นอยู่เสมอในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางและตะวันตก (The Commission for the Conservation and
Management of Highly Migratory Fish Stocks in the Western and Central Pacific Ocean : WCPFC) ซึ่งญี่ปุ่นเป็นสมาชิกอยู่
มีแผนให้ประเทศสมาชิกลดปริมาณการจับปลาทูน่าลง โดย ICCAT มีแผนลดโควตาการจับปลาทูน่า Bluefin แถบมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเล
เมดิเตอร์เรเนียนตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป ขณะที่ WCPFC มีแผนให้ประเทศสมาชิกลดการจับปลาทูน่า Bigeye ลงร้อยละ 25 และ ลดการจับปลาทู
น่า Yellowfin ลงร้อยละ 10 ซึ่งจะมีการหารือกันในการประชุมสมัชชาประจำปีในวันที่ 10 ธันวาคม 2549
การที่ญี่ปุ่นจำเป็นต้องลดปริมาณการจับปลาทูน่าตามมติปรับลดโควตาจับปลาทูน่า Southern Bluefin และมีแนวโน้มต้องปรับลดปริมาณ
การจับปลาทูน่า Bluefin, Bigeye และ Yellowfin ซึ่งเป็นปลาคุณภาพดีและชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานแบบสดในลักษณะซาซิมิหรือซูชิ อาจเป็น
โอกาสดีของไทยในการส่งออกปลาทูน่าชนิดดังกล่าว แม้ว่าปัจจุบันไทยแทบไม่มีการส่งออกปลาทูน่าชนิดดังกล่าว แต่การที่ผู้ประกอบการไทยบางราย
เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการทำประมงเบ็ดราวทูน่าซึ่งเน้นการจับปลาทูน่า Bigeye และ Yellowfin และส่งออกในลักษณะสดแช่เย็นแช่แข็งมาก
ขึ้น ประกอบกับการเร่งพัฒนาท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตซึ่งเป็นท่าเรือรองรับเรือประมงเบ็ดราวสำคัญของไทยให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ และเพิ่ม
ความสะดวกรวดเร็วในการคัดแยกและส่งออกปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง อาจส่งผลให้ไทยสามารถขยายการส่งออกปลาทูน่าชนิดดังกล่าวไปยังญี่ปุ่นได้
มากขึ้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2549--
-พห-
หมดของโลก มีแนวโน้มชะลอการจับปลาทูน่าลง หลังจากองค์กรที่ดูแลการจับปลาทูน่าหลายแห่งของโลกมีแผนปรับลดโควตาจับปลาทูน่า ล่าสุดญี่ปุ่น
ยอมปรับลดโควตาจับปลาทูน่า Southern Bluefin จากปีละ 6,065 ตันเหลือปีละ 3,000 ตัน เป็นเวลา 5 ปี (ปี 2550-2554) ตามที่คณะ
กรรมาธิการเพื่อการอนุรักษ์ปลาทูน่า Southern Bluefin (Commission for the Conservation of Southern Bluefin Tuna :
CCSBT) เสนอในการประชุมครั้งที่ 13 เมื่อเดือนตุลาคม 2549 หลังพบว่าญี่ปุ่นจับปลาทูน่า Southern Bluefin เกินกว่าโควตาที่กำหนดในช่วง
หลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ โควตาจับปลาทูน่า Southern Bluefin ของญี่ปุ่นที่ลดลง เป็นส่วนหนึ่งของมติที่ประชุม CCSBT ที่ต้องการให้ปรับลด
ปริมาณจับปลาทูน่า Southern Bluefin โดยรวมลงร้อยละ 23 ของปริมาณการจับปลาทูน่า Southern Bluefin ทั้งหมด เพื่อรักษาจำนวนปลาทูน่า
ของโลก
ปริมาณโควตาจับปลาทูน่า Southern Bluefin ของ CCSBT
โควตาจับปลาทูน่า Southern Bluefin (ตัน/ปี)
ประเทศ ปี 2549 ปี 2550-2552 ปริมาณปลาที่จับลดลง
(ญี่ปุ่นปี 2550-2554) (ตัน/ปี)
ญี่ปุ่น 6,065 3,000 3,065
ออสเตรเลีย 5,265 5,265 0
ไต้หวัน 1,140 1,000 140
เกาหลีใต้ 1,140 1,000 140
นิวซีแลนด์ 420 420 0
ฟิลิปปินส์ 50 45 5
แอฟริกาใต้ 45 40 5
ยุโรป 0 10 +10
อินโดนีเซีย 800 750 50
รวม 14,925 11,530 3,395
ที่มา : www.fas.usda.gov/gainfiles/200610/146249374.pdf
นอกจากนี้ ญี่ปุ่นมีแนวโน้มต้องปรับลดโควตาจับปลาทูน่าชนิดอื่นลงอีก หลังจากคณะกรรมาธิการเพื่อการอนุรักษ์ปลาทูน่าในมหาสมุทร
แอตแลนติก (The International Commission for the Conservation of Atlantic Tunas : ICCAT) และคณะกรรมาธิการว่าด้วย
การอนุรักษ์และจัดการปลาที่ย้ายถิ่นอยู่เสมอในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางและตะวันตก (The Commission for the Conservation and
Management of Highly Migratory Fish Stocks in the Western and Central Pacific Ocean : WCPFC) ซึ่งญี่ปุ่นเป็นสมาชิกอยู่
มีแผนให้ประเทศสมาชิกลดปริมาณการจับปลาทูน่าลง โดย ICCAT มีแผนลดโควตาการจับปลาทูน่า Bluefin แถบมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเล
เมดิเตอร์เรเนียนตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป ขณะที่ WCPFC มีแผนให้ประเทศสมาชิกลดการจับปลาทูน่า Bigeye ลงร้อยละ 25 และ ลดการจับปลาทู
น่า Yellowfin ลงร้อยละ 10 ซึ่งจะมีการหารือกันในการประชุมสมัชชาประจำปีในวันที่ 10 ธันวาคม 2549
การที่ญี่ปุ่นจำเป็นต้องลดปริมาณการจับปลาทูน่าตามมติปรับลดโควตาจับปลาทูน่า Southern Bluefin และมีแนวโน้มต้องปรับลดปริมาณ
การจับปลาทูน่า Bluefin, Bigeye และ Yellowfin ซึ่งเป็นปลาคุณภาพดีและชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานแบบสดในลักษณะซาซิมิหรือซูชิ อาจเป็น
โอกาสดีของไทยในการส่งออกปลาทูน่าชนิดดังกล่าว แม้ว่าปัจจุบันไทยแทบไม่มีการส่งออกปลาทูน่าชนิดดังกล่าว แต่การที่ผู้ประกอบการไทยบางราย
เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการทำประมงเบ็ดราวทูน่าซึ่งเน้นการจับปลาทูน่า Bigeye และ Yellowfin และส่งออกในลักษณะสดแช่เย็นแช่แข็งมาก
ขึ้น ประกอบกับการเร่งพัฒนาท่าเทียบเรือประมงภูเก็ตซึ่งเป็นท่าเรือรองรับเรือประมงเบ็ดราวสำคัญของไทยให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ และเพิ่ม
ความสะดวกรวดเร็วในการคัดแยกและส่งออกปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง อาจส่งผลให้ไทยสามารถขยายการส่งออกปลาทูน่าชนิดดังกล่าวไปยังญี่ปุ่นได้
มากขึ้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2549--
-พห-