กรุงเทพ--17 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
หลังจากการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกา รอบที่ 6 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2549 คณะเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย — สหรัฐฯ ฝ่ายไทย ได้สรุปผลการเจรจารอบดังกล่าวในหัวข้อต่างๆ ดังนี้
1. การเปิดตลาดสินค้า การเจรจาได้ครอบคลุมเรื่อง การเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า มาตรการเยียวยาทางการค้า ระเบียบพิธีการศุลกากร และมาตรการสุขอนามัย
? สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม สหรัฐฯ เสนอลดภาษีเป็นศูนย์ทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ เป็นมูลค่ากว่า 12,800 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ หรือประมาณร้อยละ 74 ของการนำเข้ารวมจากไทย ส่งผลให้สินค้าไทยกว่า 8,100 รายการ จากทั้งหมด 10,500 รายการ สามารถเข้าตลาดสหรัฐฯ โดยปราศจากภาษีนำเข้า โดยสินค้าของไทยที่จะได้รับการยกเลิกภาษีนำเข้าทันที ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกรายการ ผลิตภัณฑ์ทำจากไม้และยาง เครื่องแก้วและเซรามิค ผลิตภัณฑ์พลาสติก อัญมณีเครื่องประดับ กลุ่มอาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มบางรายการ
? การจัดทำ FTA ไทย-สหรัฐฯ ยังช่วยให้ไทยสามารถรักษาตลาดสินค้าสำคัญๆ ของไทยที่ได้รับสิทธิพิเศษ GSP เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งกำลังจะหมดอายุ ซึ่งหากไม่ได้สิทธิประโยชน์จากการจัดทำ FTA ไทยอาจสูญเสียส่วนแบ่งในตลาดสินค้าดังกล่าวในตลาดสหรัฐฯ ได้
? ในขณะเดียวกัน ไทยได้เสนอยกเลิกภาษีสำหรับสินค้าจากสหรัฐฯ ทันที คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ หรือประมาณ ร้อยละ 71 ของมูลค่าการนำเข้ารวมของไทยจากสหรัฐฯ ต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ไม่อ่อนไหว ส่วนรายการสินค้าที่มีความอ่อนไหวมากของไทย เช่น เนื้อสัตว์ นม และผลิตภัณฑ์นม ข้าวโพด มันฝรั่ง ชา กาแฟ และหัวหอม เป็นต้น ไทยได้เสนอให้มีกรอบการลดภาษียาวนานกว่า 10 ปี หรือเป็นสินค้าที่อยู่ในโควตา และมีการใช้มาตรการปกป้อง หากได้มีการนำเข้าสินค้าเหล่านั้นมากจะมีผลกระทบต่อสินค้าในประเทศชนิดเดียวกัน
? ในการเจรจาเปิดตลาดสินค้าเกษตร โดยที่คณะเจรจาตระหนักถึงความกังวลของสาธารณชนไทยต่อการที่สินค้าเกษตรสหรัฐฯ ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล จึงได้เสนอให้สหรัฐฯ ยกเลิกมาตรการอุดหนุนการส่งออกทุกรูปแบบ รวมทั้งเสนอให้ลดการใช้มาตรการอุดหนุนภายในในสินค้าบางรายการ เพื่อก่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการแข่งขัน
? โดยที่ตระหนักว่า ในการเจรจาเปิดตลาดสินค้า กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าจะเป็นได้ทั้งอุปสรรคหรือเอื้อประโยชน์ในการได้สิทธิพิเศษทางการค้า ในการเจรจาครั้งนี้ ไทยจึงได้เสนอกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดของสินค้าอุตสาหกรรมที่เป็นเป้าหมายของไทย เช่น รองเท้า เซรามิค อัญมณี เครื่องแก้ว เป็นต้น
2. การเปิดเสรีภาคบริการ ซึ่งครอบคลุมเรื่องการค้าบริการ การลงทุน การเปิดเสรีภาคการเงิน โทรคมนาคม และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)
? การเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการ จะเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันด้านบริการมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ให้บริการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานของบริการให้ดีขึ้น และผู้บริโภคจะมีทางเลือกมากขึ้นและได้รับบริการที่มีคุณภาพดีขึ้นในราคาที่น่าจะถูกลงจากการแข่งขัน นอกจากนี้ยังเป็นช่องทางให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการค้าบริการ รวมทั้งเป็นเพิ่มการจ้างงานอีกด้วย
? ในการเจรจาครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือรูปแบบ แนวทาง ในการเปิดตลาดบริการรายสาขา และฝ่ายไทยได้ย้ำให้สหรัฐฯ ยืดหยุ่นในเรื่องการยอมรับคุณสมบัติของผู้ให้บริการระหว่างกัน รวมทั้งข้อเสนอเรื่องมาตรการปกป้อง (safeguards) และข้อจำกัดเพื่อปกป้องดุลการชำระเงิน (Restrictions to safeguard the Balance of Payment) ไว้ใน FTA
? บทการลงทุนเป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญ เนื่องจากปัจจุบันมีนักลงทุนของสหรัฐฯ มาลงทุนในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีนักลงทุนของไทยที่ได้เข้าไปลงทุนแล้วหรือมีศักยภาพที่จะไปลงทุนในสหรัฐฯ ดังนั้น หากไทยและสหรัฐฯ สามารถตกลงข้อบทเรื่องการลงทุนได้ ก็จะเป็นการสร้างความมั่นใจของนักลงทุน ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น
? สำหรับประโยชน์ที่คาดว่าไทยจะได้รับ คือ การดึงดูดให้นักลงทุนของสหรัฐฯ มาลงทุนในไทยมากขึ้น สร้างการจ้างงานและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนในภูมิภาค รวมทั้งเป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจของเอกชนไทยในสหรัฐฯ (นักลงทุนไทยจะได้รับการประติบัติเทียบเท่านักลงทุนท้องถิ่นของรัฐนั้นๆ)
? การเจรจากับฝ่ายสหรัฐฯ ในครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันพิจารณาร่าง Provisional Consolidated Draft และหารือเรื่องโครงสร้างของข้อบท นิยาม แนวทางการจัดทำตารางข้อผูกพัน กลไกการระงับ
ข้อพิพาทรัฐ - เอกชน ทั้งนี้ เพื่อสร้างระบอบการลงทุนที่จะเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่ายและสอดคล้องกับวิวัฒนาการทางเศรษฐกิจและกฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบัน
? การเจรจาหัวข้อบริการทางการเงิน ฝ่ายไทยได้ผลักดันให้สามารถใช้ prudential measures และมาตรการเพื่อการรักษาเสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจมหภาค เพื่อป้องกันผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจจากการเปิดเสรี
3. การจัดซื้อโดยรัฐ
? สหรัฐฯ เสนอเปิดตลาดสินค้าและบริการสำหรับการจัดซื้อจัดจ้าง โดยหน่วยงานทั้งหมดของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ประมาณ 52 หน่วยงาน และรัฐวิสาหกิจ 7 หน่วยงาน รวมมูลค่าประมาณ 300 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ซึ่งจะเป็นโอกาสสำหรับภาคเอกชนไทยที่จะเข้าไปประมูลการจัดซื้อโดยรัฐในสหรัฐฯ
4. ความร่วมมือ
? การเสริมสร้างขีดความสามารถทางการค้าและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (TCB/ SMEs) เป็นเรื่องที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้ไทยสามารถเข้าสู่ตลาดของสหรัฐฯ ได้มากขึ้น เป็นความร่วมมือที่มุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชนได้ทราบกฎระเบียบ มาตรการและมาตรฐานทางการค้าของสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า มาตรการเยียวยาทางการค้า มาตรการสุขอนามัยพืชและสัตว์ กระบวนการและเทคนิคทางศุลกากร กฎระเบียบทางเทคนิคและมาตรฐานอุตสาหกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการจัดฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถบุคลากรไทยในด้านต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพ SMEs อีกด้วย
? การเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพดังกล่าวย่อมหมายถึงการเพิ่มโอกาสให้สินค้าและบริการของไทยเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ได้มากขึ้นในที่สุด
? ไทยและสหรัฐฯ มีโครงการความร่วมมือกว่า 50 โครงการ ที่ผ่านมามีโครงการมากกว่า 10 โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ เช่น การพัฒนาระบบจัดเก็บสถิติภาคบริการ การฝึกอบรมการใช้ฐานข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการจัดซื้อภาครัฐของสหรัฐฯ การอบรมและศึกษาดูงานด้านการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันที่สหรัฐฯ และการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการบ่มเพาะทางธุรกิจโดยผู้เชี่ยวชาญจาก Silicon Valley การฝึกอบรมการเขียนแผนธุรกิจ และการพัฒนาธุรกิจเพื่อส่งออก
? โครงการที่จะดำเนินการภายใน 3-4 เดือนข้างหน้า ได้แก่ การศึกษาดูงานด้านศุลกากร สิ่งทอ และกฎแหล่งกำเนิดสินค้าที่สหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 6-10 กุมภาพันธ์ 2549 การจัดโครงการให้ภาครัฐและเอกชนพบปะทางธุรกิจ (Match Making) กับผู้ผลิตสิ่งทอสหรัฐฯ และศึกษาดูงานที่ North Carolina State University College of Textiles, Textiles/Clothing Technology Corp. (TC2) และ North Carolina Center for Applied Textile Technology (NCCATT) การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านสิ่งทอและศุลกากรที่ประเทศไทย ตลอดจนการส่งผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ มาให้คำปรึกษาเรื่องนโยบายการแข่งขันที่ประเทศไทยเป็นเวลา 1 เดือน เป็นต้น
? นอกจากนี้ ไทยยังได้เสนอโครงการความร่วมมือขนาดใหญ่ใน 2 สาขาคือ
1. การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไทย: โดยเน้นการฝึกอบรมบุคคคลากร การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าและ supply chain การพัฒนาหลักสูตรโลจิสติกส์ และการจับคู่ทางธุรกิจโลจิสติกส์กับสหรัฐฯ ทั้งนี้ กลุ่ม TCB/ SMEs จะจัดให้สมาพันธ์โลจิสติกส์ไทยเดินทางไปพบปะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสหรัฐฯ เพื่อดำเนินงานเฟสแรกของโครงการได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2549
2. สถาบันอาหารได้นำเสนอโครงการความร่วมมือเกี่ยวกับมาตรฐานและความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งจะมุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ SMEs ของไทย โครงการประกอบด้วย 1) การพัฒนาทรัพยากรบุคคล 2) การพัฒนาสินค้าและกระบวนการผลิต และ 3) การบริหารจัดการฐานข้อมูล ซึ่งสหรัฐฯ รับที่จะนำไปพิจารณาก่อนที่ให้ผู้เชี่ยวชาญไทยเดินทางไปศึกษาอบรมที่สหรัฐฯ ต่อไป
โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหากรณีสหรัฐฯ ปฏิเสธการนำเข้าสินค้าอาหารส่งออกของไทย ด้วยเหตุผลของความปลอดภัยด้านอาหาร ทั้งนี้ USFDA ไม่อนุญาตให้สินค้าอาหารไทยเข้าสหรัฐฯ ถึง 374 รายการในช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2549
5. ทรัพย์สินทางปัญญา
? เรื่องแรกที่ได้เจรจากัน คือเรื่องการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า ซึ่งประเด็นใหญ่คือ สหรัฐฯ ต้องการขยายการคุ้มครองไปถึงเครื่องหมายกลิ่นและเสียง และการยกเลิกข้อบังคับว่าจะต้องมีการจดทะเบียนสัญญาให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้ากับกรมทรัพย์สินทางปัญญา แต่ฝ่ายไทยยังไม่ยอมรับและกำลังอยู่ระหว่างการเจรจากัน
ส่วนในเรื่องการพัฒนาระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ ฝ่ายไทยเห็นชอบในหลักการ ซึ่งคงจะต้องขอความร่วมมือในการพัฒนาระบบจากฝ่ายสหรัฐฯ ต่อไป
? เรื่องที่สอง คือ การขยายการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สำหรับสินค้าไทย ซึ่งในเรื่องนี้ ฝ่ายไทยได้ผลักดันให้สหรัฐฯ ให้ความคุ้มครองแก่ข้าวหอมมะลิ และผ้าไหมไทย ในระดับเดียวกับสุราและไวน์ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นแอบอ้างใช้ชื่อดังกล่าว เรื่องนี้ ฝ่ายสหรัฐฯ จะรับไปพิจารณาต่อไป
? เรื่องที่สาม คือ การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรชีวภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่ฝ่ายไทยเรียกร้องจากสหรัฐฯ โดยต้องการให้สหรัฐฯ ยอมรับหลักการเรื่องการขออนุญาตล่วงหน้าก่อนที่จะนำเอาทรัพยากรธรรมชาติของไทยไปใช้ (prior informed consent) และจะต้องมีการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรนั้น (benefit sharing) โดยไทยขอให้มีข้อกำหนดดังกล่าวในขั้นตอนการยื่นจดสิทธิบัตรด้วย เพื่อป้องกันการจดสิทธิบัตรโดยมิชอบ (bio-piracy)
ในเรื่องนี้ ฝ่ายสหรัฐฯ ได้แสดงความเห็นชอบในหลักการต่อข้อเสนอทั้ง 2 ข้อ แต่ยังไม่สามารถตอบรับข้อเสนอได้ในชั้นนี้ แต่ก็จะพิจารณาหาทางออกที่สามารถตอบสนองข้อกังวลของไทยต่อไป
? เรื่องที่ 4 คือเรื่องสิทธิบัตร ซึ่งฝ่ายสหรัฐฯ ได้มีข้อเสนอในเรื่องสิทธิบัตรแล้ว และในส่วนของสิทธิบัตรยา กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข
6. แรงงาน/ สิ่งแวดล้อม
? ในด้านแรงงาน ฝ่ายไทยได้ย้ำไม่ให้นำปัญหาแรงงานมาเป็นข้อกีดกันทางการค้า และได้ขอให้ฝ่ายสหรัฐฯ พิจารณาโครงการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 2 โครงการที่ได้เสนอขอความร่วมมือจากสหรัฐฯ ส่วนหัวข้อสิ่งแวดล้อม ฝ่ายไทยก็ได้เสนอไม่ให้นำปัญหาสิ่งแวดล้อมมาเป็นข้อกีดกันทางการค้าเช่นกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
หลังจากการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกา รอบที่ 6 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2549 คณะเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย — สหรัฐฯ ฝ่ายไทย ได้สรุปผลการเจรจารอบดังกล่าวในหัวข้อต่างๆ ดังนี้
1. การเปิดตลาดสินค้า การเจรจาได้ครอบคลุมเรื่อง การเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า มาตรการเยียวยาทางการค้า ระเบียบพิธีการศุลกากร และมาตรการสุขอนามัย
? สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม สหรัฐฯ เสนอลดภาษีเป็นศูนย์ทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ เป็นมูลค่ากว่า 12,800 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ หรือประมาณร้อยละ 74 ของการนำเข้ารวมจากไทย ส่งผลให้สินค้าไทยกว่า 8,100 รายการ จากทั้งหมด 10,500 รายการ สามารถเข้าตลาดสหรัฐฯ โดยปราศจากภาษีนำเข้า โดยสินค้าของไทยที่จะได้รับการยกเลิกภาษีนำเข้าทันที ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกรายการ ผลิตภัณฑ์ทำจากไม้และยาง เครื่องแก้วและเซรามิค ผลิตภัณฑ์พลาสติก อัญมณีเครื่องประดับ กลุ่มอาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มบางรายการ
? การจัดทำ FTA ไทย-สหรัฐฯ ยังช่วยให้ไทยสามารถรักษาตลาดสินค้าสำคัญๆ ของไทยที่ได้รับสิทธิพิเศษ GSP เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งกำลังจะหมดอายุ ซึ่งหากไม่ได้สิทธิประโยชน์จากการจัดทำ FTA ไทยอาจสูญเสียส่วนแบ่งในตลาดสินค้าดังกล่าวในตลาดสหรัฐฯ ได้
? ในขณะเดียวกัน ไทยได้เสนอยกเลิกภาษีสำหรับสินค้าจากสหรัฐฯ ทันที คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ หรือประมาณ ร้อยละ 71 ของมูลค่าการนำเข้ารวมของไทยจากสหรัฐฯ ต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ไม่อ่อนไหว ส่วนรายการสินค้าที่มีความอ่อนไหวมากของไทย เช่น เนื้อสัตว์ นม และผลิตภัณฑ์นม ข้าวโพด มันฝรั่ง ชา กาแฟ และหัวหอม เป็นต้น ไทยได้เสนอให้มีกรอบการลดภาษียาวนานกว่า 10 ปี หรือเป็นสินค้าที่อยู่ในโควตา และมีการใช้มาตรการปกป้อง หากได้มีการนำเข้าสินค้าเหล่านั้นมากจะมีผลกระทบต่อสินค้าในประเทศชนิดเดียวกัน
? ในการเจรจาเปิดตลาดสินค้าเกษตร โดยที่คณะเจรจาตระหนักถึงความกังวลของสาธารณชนไทยต่อการที่สินค้าเกษตรสหรัฐฯ ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล จึงได้เสนอให้สหรัฐฯ ยกเลิกมาตรการอุดหนุนการส่งออกทุกรูปแบบ รวมทั้งเสนอให้ลดการใช้มาตรการอุดหนุนภายในในสินค้าบางรายการ เพื่อก่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการแข่งขัน
? โดยที่ตระหนักว่า ในการเจรจาเปิดตลาดสินค้า กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าจะเป็นได้ทั้งอุปสรรคหรือเอื้อประโยชน์ในการได้สิทธิพิเศษทางการค้า ในการเจรจาครั้งนี้ ไทยจึงได้เสนอกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดของสินค้าอุตสาหกรรมที่เป็นเป้าหมายของไทย เช่น รองเท้า เซรามิค อัญมณี เครื่องแก้ว เป็นต้น
2. การเปิดเสรีภาคบริการ ซึ่งครอบคลุมเรื่องการค้าบริการ การลงทุน การเปิดเสรีภาคการเงิน โทรคมนาคม และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)
? การเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการ จะเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันด้านบริการมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ให้บริการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานของบริการให้ดีขึ้น และผู้บริโภคจะมีทางเลือกมากขึ้นและได้รับบริการที่มีคุณภาพดีขึ้นในราคาที่น่าจะถูกลงจากการแข่งขัน นอกจากนี้ยังเป็นช่องทางให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการค้าบริการ รวมทั้งเป็นเพิ่มการจ้างงานอีกด้วย
? ในการเจรจาครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือรูปแบบ แนวทาง ในการเปิดตลาดบริการรายสาขา และฝ่ายไทยได้ย้ำให้สหรัฐฯ ยืดหยุ่นในเรื่องการยอมรับคุณสมบัติของผู้ให้บริการระหว่างกัน รวมทั้งข้อเสนอเรื่องมาตรการปกป้อง (safeguards) และข้อจำกัดเพื่อปกป้องดุลการชำระเงิน (Restrictions to safeguard the Balance of Payment) ไว้ใน FTA
? บทการลงทุนเป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญ เนื่องจากปัจจุบันมีนักลงทุนของสหรัฐฯ มาลงทุนในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีนักลงทุนของไทยที่ได้เข้าไปลงทุนแล้วหรือมีศักยภาพที่จะไปลงทุนในสหรัฐฯ ดังนั้น หากไทยและสหรัฐฯ สามารถตกลงข้อบทเรื่องการลงทุนได้ ก็จะเป็นการสร้างความมั่นใจของนักลงทุน ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น
? สำหรับประโยชน์ที่คาดว่าไทยจะได้รับ คือ การดึงดูดให้นักลงทุนของสหรัฐฯ มาลงทุนในไทยมากขึ้น สร้างการจ้างงานและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนในภูมิภาค รวมทั้งเป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจของเอกชนไทยในสหรัฐฯ (นักลงทุนไทยจะได้รับการประติบัติเทียบเท่านักลงทุนท้องถิ่นของรัฐนั้นๆ)
? การเจรจากับฝ่ายสหรัฐฯ ในครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันพิจารณาร่าง Provisional Consolidated Draft และหารือเรื่องโครงสร้างของข้อบท นิยาม แนวทางการจัดทำตารางข้อผูกพัน กลไกการระงับ
ข้อพิพาทรัฐ - เอกชน ทั้งนี้ เพื่อสร้างระบอบการลงทุนที่จะเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่ายและสอดคล้องกับวิวัฒนาการทางเศรษฐกิจและกฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบัน
? การเจรจาหัวข้อบริการทางการเงิน ฝ่ายไทยได้ผลักดันให้สามารถใช้ prudential measures และมาตรการเพื่อการรักษาเสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจมหภาค เพื่อป้องกันผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจจากการเปิดเสรี
3. การจัดซื้อโดยรัฐ
? สหรัฐฯ เสนอเปิดตลาดสินค้าและบริการสำหรับการจัดซื้อจัดจ้าง โดยหน่วยงานทั้งหมดของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ประมาณ 52 หน่วยงาน และรัฐวิสาหกิจ 7 หน่วยงาน รวมมูลค่าประมาณ 300 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ซึ่งจะเป็นโอกาสสำหรับภาคเอกชนไทยที่จะเข้าไปประมูลการจัดซื้อโดยรัฐในสหรัฐฯ
4. ความร่วมมือ
? การเสริมสร้างขีดความสามารถทางการค้าและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (TCB/ SMEs) เป็นเรื่องที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้ไทยสามารถเข้าสู่ตลาดของสหรัฐฯ ได้มากขึ้น เป็นความร่วมมือที่มุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชนได้ทราบกฎระเบียบ มาตรการและมาตรฐานทางการค้าของสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า มาตรการเยียวยาทางการค้า มาตรการสุขอนามัยพืชและสัตว์ กระบวนการและเทคนิคทางศุลกากร กฎระเบียบทางเทคนิคและมาตรฐานอุตสาหกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการจัดฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถบุคลากรไทยในด้านต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพ SMEs อีกด้วย
? การเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพดังกล่าวย่อมหมายถึงการเพิ่มโอกาสให้สินค้าและบริการของไทยเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ได้มากขึ้นในที่สุด
? ไทยและสหรัฐฯ มีโครงการความร่วมมือกว่า 50 โครงการ ที่ผ่านมามีโครงการมากกว่า 10 โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ เช่น การพัฒนาระบบจัดเก็บสถิติภาคบริการ การฝึกอบรมการใช้ฐานข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการจัดซื้อภาครัฐของสหรัฐฯ การอบรมและศึกษาดูงานด้านการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันที่สหรัฐฯ และการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการบ่มเพาะทางธุรกิจโดยผู้เชี่ยวชาญจาก Silicon Valley การฝึกอบรมการเขียนแผนธุรกิจ และการพัฒนาธุรกิจเพื่อส่งออก
? โครงการที่จะดำเนินการภายใน 3-4 เดือนข้างหน้า ได้แก่ การศึกษาดูงานด้านศุลกากร สิ่งทอ และกฎแหล่งกำเนิดสินค้าที่สหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 6-10 กุมภาพันธ์ 2549 การจัดโครงการให้ภาครัฐและเอกชนพบปะทางธุรกิจ (Match Making) กับผู้ผลิตสิ่งทอสหรัฐฯ และศึกษาดูงานที่ North Carolina State University College of Textiles, Textiles/Clothing Technology Corp. (TC2) และ North Carolina Center for Applied Textile Technology (NCCATT) การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านสิ่งทอและศุลกากรที่ประเทศไทย ตลอดจนการส่งผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ มาให้คำปรึกษาเรื่องนโยบายการแข่งขันที่ประเทศไทยเป็นเวลา 1 เดือน เป็นต้น
? นอกจากนี้ ไทยยังได้เสนอโครงการความร่วมมือขนาดใหญ่ใน 2 สาขาคือ
1. การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไทย: โดยเน้นการฝึกอบรมบุคคคลากร การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าและ supply chain การพัฒนาหลักสูตรโลจิสติกส์ และการจับคู่ทางธุรกิจโลจิสติกส์กับสหรัฐฯ ทั้งนี้ กลุ่ม TCB/ SMEs จะจัดให้สมาพันธ์โลจิสติกส์ไทยเดินทางไปพบปะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสหรัฐฯ เพื่อดำเนินงานเฟสแรกของโครงการได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2549
2. สถาบันอาหารได้นำเสนอโครงการความร่วมมือเกี่ยวกับมาตรฐานและความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งจะมุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ SMEs ของไทย โครงการประกอบด้วย 1) การพัฒนาทรัพยากรบุคคล 2) การพัฒนาสินค้าและกระบวนการผลิต และ 3) การบริหารจัดการฐานข้อมูล ซึ่งสหรัฐฯ รับที่จะนำไปพิจารณาก่อนที่ให้ผู้เชี่ยวชาญไทยเดินทางไปศึกษาอบรมที่สหรัฐฯ ต่อไป
โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหากรณีสหรัฐฯ ปฏิเสธการนำเข้าสินค้าอาหารส่งออกของไทย ด้วยเหตุผลของความปลอดภัยด้านอาหาร ทั้งนี้ USFDA ไม่อนุญาตให้สินค้าอาหารไทยเข้าสหรัฐฯ ถึง 374 รายการในช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2549
5. ทรัพย์สินทางปัญญา
? เรื่องแรกที่ได้เจรจากัน คือเรื่องการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า ซึ่งประเด็นใหญ่คือ สหรัฐฯ ต้องการขยายการคุ้มครองไปถึงเครื่องหมายกลิ่นและเสียง และการยกเลิกข้อบังคับว่าจะต้องมีการจดทะเบียนสัญญาให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้ากับกรมทรัพย์สินทางปัญญา แต่ฝ่ายไทยยังไม่ยอมรับและกำลังอยู่ระหว่างการเจรจากัน
ส่วนในเรื่องการพัฒนาระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ ฝ่ายไทยเห็นชอบในหลักการ ซึ่งคงจะต้องขอความร่วมมือในการพัฒนาระบบจากฝ่ายสหรัฐฯ ต่อไป
? เรื่องที่สอง คือ การขยายการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สำหรับสินค้าไทย ซึ่งในเรื่องนี้ ฝ่ายไทยได้ผลักดันให้สหรัฐฯ ให้ความคุ้มครองแก่ข้าวหอมมะลิ และผ้าไหมไทย ในระดับเดียวกับสุราและไวน์ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นแอบอ้างใช้ชื่อดังกล่าว เรื่องนี้ ฝ่ายสหรัฐฯ จะรับไปพิจารณาต่อไป
? เรื่องที่สาม คือ การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรชีวภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่ฝ่ายไทยเรียกร้องจากสหรัฐฯ โดยต้องการให้สหรัฐฯ ยอมรับหลักการเรื่องการขออนุญาตล่วงหน้าก่อนที่จะนำเอาทรัพยากรธรรมชาติของไทยไปใช้ (prior informed consent) และจะต้องมีการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรนั้น (benefit sharing) โดยไทยขอให้มีข้อกำหนดดังกล่าวในขั้นตอนการยื่นจดสิทธิบัตรด้วย เพื่อป้องกันการจดสิทธิบัตรโดยมิชอบ (bio-piracy)
ในเรื่องนี้ ฝ่ายสหรัฐฯ ได้แสดงความเห็นชอบในหลักการต่อข้อเสนอทั้ง 2 ข้อ แต่ยังไม่สามารถตอบรับข้อเสนอได้ในชั้นนี้ แต่ก็จะพิจารณาหาทางออกที่สามารถตอบสนองข้อกังวลของไทยต่อไป
? เรื่องที่ 4 คือเรื่องสิทธิบัตร ซึ่งฝ่ายสหรัฐฯ ได้มีข้อเสนอในเรื่องสิทธิบัตรแล้ว และในส่วนของสิทธิบัตรยา กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข
6. แรงงาน/ สิ่งแวดล้อม
? ในด้านแรงงาน ฝ่ายไทยได้ย้ำไม่ให้นำปัญหาแรงงานมาเป็นข้อกีดกันทางการค้า และได้ขอให้ฝ่ายสหรัฐฯ พิจารณาโครงการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 2 โครงการที่ได้เสนอขอความร่วมมือจากสหรัฐฯ ส่วนหัวข้อสิ่งแวดล้อม ฝ่ายไทยก็ได้เสนอไม่ให้นำปัญหาสิ่งแวดล้อมมาเป็นข้อกีดกันทางการค้าเช่นกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-