1. สถานการณ์ปัจจุบัน
การผลิต
ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีประมาณ 2,229,319 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ชะลอตัวลง ร้อยละ 15.80 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของสภาวะเศรษฐกิจ อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ปัญหาทางด้านสถานการณ์การเมืองภายในประเทศ ทำให้ความต้องการใช้เหล็กในประเทศลดลง ประกอบการที่ผู้ผลิตเกรงว่าจะเกิดปัญหาต้นทุนสินค้าคงคลังสูงเมื่อราคาเหล็กมีความผันผวน จึงทำให้ผู้ผลิตชะลอการผลิตลง และสต๊อกสินค้าไว้ในปริมาณที่ไม่มาก ขณะเดียวกันพ่อค้าคนกลางก็เกรงว่าจะเกิดปัญหาเช่นเดียวกันจึงสต๊อกสินค้าไว้เท่าที่จำเป็น เมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีชะลอตัวลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 27.08 เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลงเป็นผลมาจากโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐที่ยังไม่เริ่มดำเนินการ ขณะที่โครงการของภาคเอกชนก็มีแต่โครงการขนาดเล็ก ซึ่งมีความต้องการใช้เหล็กไม่มาก รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 15.12 ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 11.91
สำหรับปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกปี 2549 มีประมาณ 4,288,761 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ชะลอตัวลง ร้อยละ 15.56 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากภาวะความต้องการใช้ในประเทศยังคงชะลอตัวอยู่ ทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ และ เมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีชะลอตัวลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 24.39 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลง ร้อยละ 16.05 และ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 15.91
การใช้ในประเทศ
ปริมาณการใช้เหล็กและเหล็กกล้าในประเทศที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ประมาณ 3,076,828 เมตริกตัน โดยการใช้ในประเทศชะลอตัวลง ร้อยละ 20.13 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาว ชะลอตัวลงถึงร้อยละ 27.48 สำหรับเหล็กทรงแบนที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ปริมาณการใช้ในประเทศชะลอตัวลง ร้อยละ 14.72
สำหรับปริมาณการใช้เหล็กและเหล็กกล้าในประเทศที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก ปี 2549 ประมาณ 5,943,422 เมตริกตัน โดยการใช้ในประเทศชะลอตัวลง ร้อยละ 16.50 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาวชะลอตัวลงร้อยละ 24.87 และเหล็กทรงแบนชะลอตัวลง ร้อยละ 9.80
การนำเข้า
มูลค่าและปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีจำนวนประมาณ 60,196 ล้านบาท และ 2,808,379 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าชะลอตัวลง ร้อยละ 28.83 และ 20.99 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศ จึงมีผลทำให้ความต้องการเหล็กลดลง ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากประเทศรัสเซีย ญี่ปุ่นและจีน โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าชะลอตัวลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 77.12 รองลงมาคือเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 53.51 รองลงมาคือ เหล็กแท่งแบน (slab) ลดลง ร้อยละ 43.54 ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับเหล็กแผ่นที่มีการผลิตชะลอตัวลงในช่วงนี้
ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแท่งแบน (slab) มีมูลค่า 11,269 ล้านบาท รองลงมาคือท่อเหล็กไร้ตะเข็บ มีมูลค่า 8,618 ล้านบาทและเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต มีมูลค่า 6,092 ล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าขยายตัวเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ เพิ่มขึ้นร้อยละ 104.82 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 24.92 และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.87
มูลค่าและปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มีจำนวนประมาณ 114,683 ล้านบาท และ 5,148,368 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าชะลอตัวลง ร้อยละ 25.68 และ 22.04 ตามลำดับ ส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากประเทศรัสเซีย ญี่ปุ่นและจีน โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าชะลอตัวลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแท่งแบน (slab) ลดลง ร้อยละ 54.00 ซึ่งเหล็กชนิดนี้เป็นวัตถุดิบของเหล็กแผ่นรีดร้อนที่มีการผลิตชะลอตัวลง รองลงมาคือเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 52.25 เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต ลดลง ร้อยละ 47.28 ซึ่งเหล็กชนิดนี้เป็นวัตถุดิบสำหรับเหล็กเหล็กทรงยาวซึ่งช่วงนี้ลดการผลิตลงอันเป็นผลมาจากธุรกิจก่อสร้างที่ชะลอตัวลง
ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บมีมูลค่า 17,403 ล้านบาท รองลงมาคือเหล็กแท่งแบน (slab) มีมูลค่า 16,699 ล้านบาทและเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน มีมูลค่า 12,441 ล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าขยายตัวเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ เพิ่มขึ้นร้อยละ 108.90
การส่งออก
มูลค่าและปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีจำนวนประมาณ 10,158 ล้านบาท และ 417,546 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการส่งออกชะลอตัวลง ร้อยละ 21.01 และ 2.42 ตามลำดับ ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยในช่วงนี้คือ สหรัฐอเมริกา สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกชะลอตัวลงในช่วงนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงร้อยละ 67.56 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า ลดลง ร้อยละ 40.55 และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 31.08
ผลิตภัณฑ์ที่มีการมูลค่าการส่งออกมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน มีมูลค่า 1,783 ล้านบาท เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศที่ลดลง ดังนั้น ผู้ผลิตจึงต้องขยายตลาดใหม่ในการส่งออกเพื่อทดแทนตลาดภายในประเทศที่หดตัวลง รองลงมาคือ ท่อเหล็กมีตะเข็บและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน โดยมีมูลค่า 1,624 และ 1,271 ล้านบาท ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ เหล็กเส้น เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 167.86 74.59 และ 54.02 ตามลำดับ
มูลค่าและปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในครึ่งปีแรก ปี 2549 มีจำนวนประมาณ 19,419 ล้านบาท และ 749,432 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการส่งออกชะลอตัวลง ร้อยละ 31.48 และ 23.54 ตามลำดับ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยในช่วงนี้คือ มาเลเซีย ฮ่องกงและสหรัฐอเมริกา สำหรับผลิตภัณฑ์มีมูลค่าการส่งออกชะลอตัวลงในช่วงนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 65.46 เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงร้อยละ 65.17 และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า ลดลง ร้อยละ 34.27
ผลิตภัณฑ์ที่มีการมูลค่าการส่งออกมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดเย็นไร้สนิม ท่อเหล็กมีตะเข็บและ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน โดยมีมูลค่า 3,122 2,970 และ 2,424 ล้านบาท ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ เหล็กเส้น และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 792.98 131.20 และ 60.89 ตามลำดับ
2. สรุป
สถานการณ์เหล็กโดยรวมในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัวลง อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นตลอดจนปัญหาทางด้านการเมืองภายในประเทศ จึงทำให้ความต้องการใช้เหล็กในประเทศลดลง ประกอบกับการที่ผู้ผลิตเกรงว่าจะเกิดปัญหาต้นทุนสินค้าคงคลังสูงเมื่อราคาเหล็กมีความผันผวน ผู้ผลิตจึงชะลอการผลิตและสต๊อกสินค้าไว้ในปริมาณที่ไม่มาก เช่นเดียวกันพ่อค้าคนกลางที่สต๊อกสินค้าไว้ในปริมาณที่จำเป็นเท่านั้น โดยเหล็กทรงยาวชะลอตัวลงทั้งการผลิตและความต้องการใช้ในประเทศร้อยละ 27.08 และ 20.13 ตามลำดับ เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว จากการที่ผู้ซื้อเกิดความไม่มั่นใจในสภาวะเศรษฐกิจ จึงชะลอการตัดสินใจซื้อลง ขณะที่โครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐยังไม่ได้ดำเนินการและภาคเอกชนก็มีแต่โครงการขนาดเล็ก สำหรับเหล็กทรงแบน การผลิตและการใช้ในประเทศชะลอตัวลงร้อยละ 3.64 และ ร้อยละ 14.72 เนื่องจากความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศลดลง สำหรับมูลค่าและปริมาณการนำเข้าโดยรวมชะลอตัวลงร้อยละ 28.83 และ 20.99 โดยผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุด ร้อยละ 77.12 รองลงมาคือเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 53.51 สำหรับการส่งออกโดยรวมชะลอตัวลงทั้งมูลค่าและปริมาณ ร้อยละ 21.01 และ 2.42 ตามลำดับ
สถานการณ์เหล็กโดยรวมในครึ่งปีแรกของปี 2549 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศที่ลดลง ทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเหล็กทรงยาวชะลอตัวลงทั้งการผลิตและความต้องการใช้ในประเทศร้อยละ 24.39 และ 24.87 ตามลำดับ สำหรับเหล็กทรงแบน การผลิตและการใช้ในประเทศชะลอตัวลงร้อยละ 5.96 และ ร้อยละ 9.80 สำหรับมูลค่าและปริมาณการนำเข้าโดยรวมชะลอตัวลงร้อยละ 25.68 และ 22.04 โดยเหล็กแท่งแบน (slab) มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุด ร้อยละ 54.00 รองลงมาคือเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 52.25 สำหรับการส่งออกโดยรวมชะลอตัวลงทั้งมูลค่าและปริมาณ ร้อยละ 31.48 และ 23.54 ตามลำดับ
สำหรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของราคาผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญ (FOB)โดยเฉลี่ยในตลาดโลกจาก CIS ณ ท่า Black Sea ของไตรมาสที่ 2 ปี 2549 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญแทบทุกตัวมีทิศทางในการปรับตัวของราคาที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายในการควบคุมปริมาณการผลิตเหล็กของประเทศจีนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอุปทานส่วนเกินในประเทศและส่งสินค้าเข้าไปทุ่มตลาดต่างประเทศ ประกอบกับกระแสการควบรวมกิจการและการซื้อกิจการของบริษัทเหล็กทั่วโลกตลอดจนการขยายตัวของการบริโภคเหล็กของประเทศสหรัฐอเมริกา จีนและอินเดีย โดยราคาเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตเพิ่มขึ้นจาก 329 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 386 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.25 เหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้นจาก 483 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 529 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.43 เหล็กเส้นเพิ่มขึ้นจาก 394 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 428 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.49 แต่จะมีผลิตภัณฑ์เหล็กบางตัวที่มีการปรับตัวของราคาที่ลดลง ได้แก่ เหล็กแท่งแบน ลดลงจาก 423 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 402 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 4.95 เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจาก 599 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 595 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 0.64
การเปลี่ยนแปลงของราคาผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญ (FOB)โดยเฉลี่ยในตลาดโลกจาก CIS ณ ท่า Black Sea ของครึ่งปีแรก ปี 2549 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญที่มีการปรับตัวของราคาที่ลดลง ได้แก่ เหล็กแท่งแบนลดลงจาก 455 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 357 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 21.44 เหล็กแผ่นรีดเย็นลดลงจาก 546 เป็น 610 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 10.44 เหล็กแผ่นรีดร้อนลดลงจาก 511 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 464 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 9.14 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการปรับตัวของราคาเพิ่มสูงขึ้นในช่วงนี้ คือ เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นจาก 342 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 356 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.16 และเหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก 403 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 404 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.14
คณะกรรมการพิจารณาการตอบโต้การทุ่มตลาด ได้มีมติยกเลิกการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนที่นำเข้าจาก บ.Nippon Steel ของประเทศญี่ปุ่น ที่ปัจจุบันไทยเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดประมาณ 36.2% เนื่องจากได้พิจารณาตามเอกสารที่บริษัทส่งมาแล้วไม่พบว่า บริษัทมีการทุ่มตลาดสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนในประเทศไทย ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์ได้เริ่มการสืบสวนการตอบโต้การทุ่มตลาดในเหล็กลวดคาร์บอนสูงที่นำเข้าจากประเทศจีน อินเดีย และแอฟริกาใต้ และกำหนดจะประกาศมาตรการชั่วคราวภายใน 3 เดือน
บริษัท ไทยน๊อคซ์ สเตนเลส สตีล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเหล็กกล้าไร้สนิมแห่งเดียวในประเทศไทย กำลังวางแผนลงทุน 31.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (1.2 พันล้านบาท) ในการตั้งโรงรีดเย็นใหม่ซึ่งมีกำลังการผลิต 100,000 ตัน/ปี ที่ระยองภายในสิ้นปี 2007 ซึ่งจะทำให้กำลังการผลิตของเหล็กรีดเย็นของไทยน๊อคซ์เป็น 300,000 ตัน/ปี ซึ่งสาเหตุที่ บ.ไทยน๊อคซ์ ขยายกำลังการผลิตเหล็กรีดเย็นเนื่องจากทางบริษัทคาดว่าในปี 2008 ผลผลิตจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
บมจ.จี สตีล จะจับมือเป็นพันธมิตรกันทางกลยุทธ์กับ บมจ.นครไทย สตริปมิลล์ โดย บมจ.จี สตีล จะใช้หนี้เงินสดและหุ้นมูลค่ารวมกันประมาณ 180 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับ บมจ.นครไทยฯ ในการเข้าไปเป็นเจ้าหนี้ที่สามารถแปลงเป็นทุนได้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ ทั้งนี้หลังจากทำธุรกรรมดังกล่าวจะทำให้ทั้ง 2 บริษัทเป็นพันธมิตรกันทางกลยุทธ์และจะทำให้มีศักยภาพพอที่จะเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนแบบครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชียในอนาคต เนื่องจากทั้งสองบริษัทมีแผนที่จะขยายกำลังการผลิต โดย บมจ.จีสตีลได้วางแผนที่จะเพิ่มการผลิต HRC ให้เต็มกำลังการผลิต(3.4 ล้านตันต่อปี) ซึ่งปัจจุบันสามารถผลิตได้ 1.8 ล้านตันต่อปี ขณะที่ บมจ.นครไทยฯ มีกำลังการผลิต (3 ล้านตันต่อปี ) แต่ปัจจุบันผลิตอยู่ที่ 1.5 ล้านตันต่อปี นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มศักยภาพในด้านการแข่งขันโดยสามารถลดต้นทุนการผลิตและสร้างความแข็งแกร่งให้ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ พัฒนาการเข้าถึงตลาดและลดความเสี่ยงในธุรกิจ
Arcelor ยอมรับข้อเสนอในการควบรวมกิจการกับ Mittal ซึ่งการควบรวมครั้งนี้จะทำให้เกิดบริษัทใหม่คือ Arcelor -Mittal โดยมีกำลังการผลิตสูงที่สุดในโลก ประมาณ 130 ล้านตันต่อปี และผลจากการควบรวมกิจการครั้งนี้จะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมเหล็กเพราะเป็นการการควบคุมปริมาณการผลิตเหล็กออกสู่ตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลงและในระยะยาวราคาเหล็กจะมีเสถียรภาพมากขึ้นไม่ผันผวนเหมือนที่ผ่านมา ขณะที่อุตสาหกรรมต่อเนื่องอาจได้รับผลกระทบเพราะผู้ผลิตเหล็กอาจได้เปรียบในการเจรจาในการทำสัญญากับลูกค้า เช่น ผู้ผลิตรถยนต์ และผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมทั้งอาจได้เปรียบในแง่การกำหนดราคาเหล็กในตลาดโลก
ประเทศจีนได้ขยายตลาดส่งออกหลักจากตลาดในแถบเอเชียไปเป็นในแถบยุโรปและอเมริกาเหนือ โดยปริมาณการส่งออกเหล็กของจีนไปยังยุโรป (25 ประเทศ) 1.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดิม 6% เป็น 11% ของปริมาณการส่งออก ปริมาณการส่งออกไปยังอเมริกาเหนือ 1.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดิม 8% เป็น 13% ของปริมาณการส่งออก ในขณะที่การส่งออกไปเอเชียลดลงจากเดิมจาก 77% เป็น 65% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมดของประเทศจีน ผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกลดลง คือ เหล็กกึ่งสำเร็จรูป โดย Ingot ลดลง ถึง50% ซึ่งประเทศที่จีนส่งออกลดลง คือ ไทย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน สำหรับการส่งออกสินค้าเหล็กของจีนทั้งหมดในช่วง 5 เดือนนี้อยู่ที่ 13.7 ล้านตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6% ซึ่งผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดหน้ากว้างและเหล็กลวด
รัฐบาลจีนโดยคณะกรรมาธิการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (NDRC) ได้ประกาศนโยบายใหม่ในเรื่องการปิดโรงงานเหล็กที่มีความสามารถในการผลิตต่ำและแยกเครื่องมือที่ล้าสมัยต่างๆ ให้เป็นเศษเหล็กเพื่อแก้ไขปัญหาอุปทานเกินความต้องการที่รุนแรงในอุตสาหกรรมเหล็ก นอกจากนี้ประกาศดังกล่าวมีเรื่องการปรับโครงสร้างฐานการผลิตเหล็กหลักของประเทศโดยจีนวางแผนจะพัฒนาเกาะ Caofeidian (อยู่ห่าง จากทางใต้ของ Tangshan ไป 80กม. ในจังหวัด Hebie จังหวัดเพื่อนบ้านของปักกิ่ง) โดยภายในปี 2010 ผู้ผลิตเหล็กชั้นนำในปักกิ่ง Capital Iron and Steel Group จะย้ายตั้งที่ดังกล่าวด้วย ซึ่งการย้ายที่ตั้งของบริษัทเหล็กในปักกิ่งจะเป็นตัวอย่างของการย้ายที่ตั้งของบริษัทเหล็กในเมืองอื่นๆด้วยเพื่อพัฒนาฐานการผลิตเหล็กใหม่ในจีนให้มากขึ้นในอนาคต บริษัทเหล็กบางแห่งจะรวมตัวกันกลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยจะมี 2-3 บริษัทที่จะมีกำลังการผลิต 30 ล้านตันเกิดขึ้นในจีนภายใต้การปรับนโยบายครั้งใหม่ นอกเหนือจากบริษัทเหล็กขนาดใหญ่จำนวนมากโดยมีกำลังการผลิต 10 ล้านตันขึ้นไปที่จะเกิดขึ้น
3.แนวโน้ม
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่ายังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มีผลมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศ จากปัญหาทางด้านต้นทุนทางด้านพลังงาน อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน ทำให้ภาคธุรกิจชะลอตัวลง โดยในส่วนของเหล็กทรงยาว คาดการณ์ว่ายังคงชะลอตัวอยู่ เนื่องจากโครงการเมกะโปรเจ็คต์ของทางภาครัฐที่จะกระตุ้นให้อุตสาหกรรมก่อสร้างมีการขยายตัวขึ้น ยังคงไม่มีความคืบหน้า ขณะที่โครงการของภาคเอกชนก็มีแต่โครงการขนาดเล็ก ซึ่งมีความต้องการใช้เหล็กไม่มากนัก สำหรับในส่วนของเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าความต้องการใช้ในประเทศยังคงทรงตัว เนื่องจากแนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า มีแนวโน้มชะลอตัวลง ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องขยายตลาดส่งออกเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ ซึ่งการส่งออกจึงอาจมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังมีความต้องการที่แข็งแกร่งจากตลาดในแถบประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศในกลุ่ม EU
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิต
ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีประมาณ 2,229,319 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ชะลอตัวลง ร้อยละ 15.80 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของสภาวะเศรษฐกิจ อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ปัญหาทางด้านสถานการณ์การเมืองภายในประเทศ ทำให้ความต้องการใช้เหล็กในประเทศลดลง ประกอบการที่ผู้ผลิตเกรงว่าจะเกิดปัญหาต้นทุนสินค้าคงคลังสูงเมื่อราคาเหล็กมีความผันผวน จึงทำให้ผู้ผลิตชะลอการผลิตลง และสต๊อกสินค้าไว้ในปริมาณที่ไม่มาก ขณะเดียวกันพ่อค้าคนกลางก็เกรงว่าจะเกิดปัญหาเช่นเดียวกันจึงสต๊อกสินค้าไว้เท่าที่จำเป็น เมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีชะลอตัวลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 27.08 เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวลงเป็นผลมาจากโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐที่ยังไม่เริ่มดำเนินการ ขณะที่โครงการของภาคเอกชนก็มีแต่โครงการขนาดเล็ก ซึ่งมีความต้องการใช้เหล็กไม่มาก รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 15.12 ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 11.91
สำหรับปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรกปี 2549 มีประมาณ 4,288,761 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ชะลอตัวลง ร้อยละ 15.56 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากภาวะความต้องการใช้ในประเทศยังคงชะลอตัวอยู่ ทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ และ เมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีชะลอตัวลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 24.39 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลง ร้อยละ 16.05 และ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 15.91
การใช้ในประเทศ
ปริมาณการใช้เหล็กและเหล็กกล้าในประเทศที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ประมาณ 3,076,828 เมตริกตัน โดยการใช้ในประเทศชะลอตัวลง ร้อยละ 20.13 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาว ชะลอตัวลงถึงร้อยละ 27.48 สำหรับเหล็กทรงแบนที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ปริมาณการใช้ในประเทศชะลอตัวลง ร้อยละ 14.72
สำหรับปริมาณการใช้เหล็กและเหล็กกล้าในประเทศที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก ปี 2549 ประมาณ 5,943,422 เมตริกตัน โดยการใช้ในประเทศชะลอตัวลง ร้อยละ 16.50 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาวชะลอตัวลงร้อยละ 24.87 และเหล็กทรงแบนชะลอตัวลง ร้อยละ 9.80
การนำเข้า
มูลค่าและปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีจำนวนประมาณ 60,196 ล้านบาท และ 2,808,379 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าชะลอตัวลง ร้อยละ 28.83 และ 20.99 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศ จึงมีผลทำให้ความต้องการเหล็กลดลง ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากประเทศรัสเซีย ญี่ปุ่นและจีน โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าชะลอตัวลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 77.12 รองลงมาคือเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 53.51 รองลงมาคือ เหล็กแท่งแบน (slab) ลดลง ร้อยละ 43.54 ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับเหล็กแผ่นที่มีการผลิตชะลอตัวลงในช่วงนี้
ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแท่งแบน (slab) มีมูลค่า 11,269 ล้านบาท รองลงมาคือท่อเหล็กไร้ตะเข็บ มีมูลค่า 8,618 ล้านบาทและเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต มีมูลค่า 6,092 ล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าขยายตัวเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ เพิ่มขึ้นร้อยละ 104.82 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 24.92 และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.87
มูลค่าและปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มีจำนวนประมาณ 114,683 ล้านบาท และ 5,148,368 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าชะลอตัวลง ร้อยละ 25.68 และ 22.04 ตามลำดับ ส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากประเทศรัสเซีย ญี่ปุ่นและจีน โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าชะลอตัวลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแท่งแบน (slab) ลดลง ร้อยละ 54.00 ซึ่งเหล็กชนิดนี้เป็นวัตถุดิบของเหล็กแผ่นรีดร้อนที่มีการผลิตชะลอตัวลง รองลงมาคือเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 52.25 เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต ลดลง ร้อยละ 47.28 ซึ่งเหล็กชนิดนี้เป็นวัตถุดิบสำหรับเหล็กเหล็กทรงยาวซึ่งช่วงนี้ลดการผลิตลงอันเป็นผลมาจากธุรกิจก่อสร้างที่ชะลอตัวลง
ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บมีมูลค่า 17,403 ล้านบาท รองลงมาคือเหล็กแท่งแบน (slab) มีมูลค่า 16,699 ล้านบาทและเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน มีมูลค่า 12,441 ล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าขยายตัวเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ เพิ่มขึ้นร้อยละ 108.90
การส่งออก
มูลค่าและปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีจำนวนประมาณ 10,158 ล้านบาท และ 417,546 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการส่งออกชะลอตัวลง ร้อยละ 21.01 และ 2.42 ตามลำดับ ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยในช่วงนี้คือ สหรัฐอเมริกา สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกชะลอตัวลงในช่วงนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงร้อยละ 67.56 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า ลดลง ร้อยละ 40.55 และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 31.08
ผลิตภัณฑ์ที่มีการมูลค่าการส่งออกมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน มีมูลค่า 1,783 ล้านบาท เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศที่ลดลง ดังนั้น ผู้ผลิตจึงต้องขยายตลาดใหม่ในการส่งออกเพื่อทดแทนตลาดภายในประเทศที่หดตัวลง รองลงมาคือ ท่อเหล็กมีตะเข็บและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน โดยมีมูลค่า 1,624 และ 1,271 ล้านบาท ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ เหล็กเส้น เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 167.86 74.59 และ 54.02 ตามลำดับ
มูลค่าและปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในครึ่งปีแรก ปี 2549 มีจำนวนประมาณ 19,419 ล้านบาท และ 749,432 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการส่งออกชะลอตัวลง ร้อยละ 31.48 และ 23.54 ตามลำดับ โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยในช่วงนี้คือ มาเลเซีย ฮ่องกงและสหรัฐอเมริกา สำหรับผลิตภัณฑ์มีมูลค่าการส่งออกชะลอตัวลงในช่วงนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 65.46 เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงร้อยละ 65.17 และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า ลดลง ร้อยละ 34.27
ผลิตภัณฑ์ที่มีการมูลค่าการส่งออกมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดเย็นไร้สนิม ท่อเหล็กมีตะเข็บและ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน โดยมีมูลค่า 3,122 2,970 และ 2,424 ล้านบาท ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ เหล็กเส้น และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 792.98 131.20 และ 60.89 ตามลำดับ
2. สรุป
สถานการณ์เหล็กโดยรวมในไตรมาสที่ 2 ปี 2549 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัวลง อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นตลอดจนปัญหาทางด้านการเมืองภายในประเทศ จึงทำให้ความต้องการใช้เหล็กในประเทศลดลง ประกอบกับการที่ผู้ผลิตเกรงว่าจะเกิดปัญหาต้นทุนสินค้าคงคลังสูงเมื่อราคาเหล็กมีความผันผวน ผู้ผลิตจึงชะลอการผลิตและสต๊อกสินค้าไว้ในปริมาณที่ไม่มาก เช่นเดียวกันพ่อค้าคนกลางที่สต๊อกสินค้าไว้ในปริมาณที่จำเป็นเท่านั้น โดยเหล็กทรงยาวชะลอตัวลงทั้งการผลิตและความต้องการใช้ในประเทศร้อยละ 27.08 และ 20.13 ตามลำดับ เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว จากการที่ผู้ซื้อเกิดความไม่มั่นใจในสภาวะเศรษฐกิจ จึงชะลอการตัดสินใจซื้อลง ขณะที่โครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐยังไม่ได้ดำเนินการและภาคเอกชนก็มีแต่โครงการขนาดเล็ก สำหรับเหล็กทรงแบน การผลิตและการใช้ในประเทศชะลอตัวลงร้อยละ 3.64 และ ร้อยละ 14.72 เนื่องจากความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศลดลง สำหรับมูลค่าและปริมาณการนำเข้าโดยรวมชะลอตัวลงร้อยละ 28.83 และ 20.99 โดยผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุด ร้อยละ 77.12 รองลงมาคือเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 53.51 สำหรับการส่งออกโดยรวมชะลอตัวลงทั้งมูลค่าและปริมาณ ร้อยละ 21.01 และ 2.42 ตามลำดับ
สถานการณ์เหล็กโดยรวมในครึ่งปีแรกของปี 2549 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศที่ลดลง ทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเหล็กทรงยาวชะลอตัวลงทั้งการผลิตและความต้องการใช้ในประเทศร้อยละ 24.39 และ 24.87 ตามลำดับ สำหรับเหล็กทรงแบน การผลิตและการใช้ในประเทศชะลอตัวลงร้อยละ 5.96 และ ร้อยละ 9.80 สำหรับมูลค่าและปริมาณการนำเข้าโดยรวมชะลอตัวลงร้อยละ 25.68 และ 22.04 โดยเหล็กแท่งแบน (slab) มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุด ร้อยละ 54.00 รองลงมาคือเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 52.25 สำหรับการส่งออกโดยรวมชะลอตัวลงทั้งมูลค่าและปริมาณ ร้อยละ 31.48 และ 23.54 ตามลำดับ
สำหรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของราคาผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญ (FOB)โดยเฉลี่ยในตลาดโลกจาก CIS ณ ท่า Black Sea ของไตรมาสที่ 2 ปี 2549 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญแทบทุกตัวมีทิศทางในการปรับตัวของราคาที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายในการควบคุมปริมาณการผลิตเหล็กของประเทศจีนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอุปทานส่วนเกินในประเทศและส่งสินค้าเข้าไปทุ่มตลาดต่างประเทศ ประกอบกับกระแสการควบรวมกิจการและการซื้อกิจการของบริษัทเหล็กทั่วโลกตลอดจนการขยายตัวของการบริโภคเหล็กของประเทศสหรัฐอเมริกา จีนและอินเดีย โดยราคาเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตเพิ่มขึ้นจาก 329 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 386 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.25 เหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้นจาก 483 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 529 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.43 เหล็กเส้นเพิ่มขึ้นจาก 394 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 428 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.49 แต่จะมีผลิตภัณฑ์เหล็กบางตัวที่มีการปรับตัวของราคาที่ลดลง ได้แก่ เหล็กแท่งแบน ลดลงจาก 423 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 402 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 4.95 เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจาก 599 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 595 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 0.64
การเปลี่ยนแปลงของราคาผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญ (FOB)โดยเฉลี่ยในตลาดโลกจาก CIS ณ ท่า Black Sea ของครึ่งปีแรก ปี 2549 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญที่มีการปรับตัวของราคาที่ลดลง ได้แก่ เหล็กแท่งแบนลดลงจาก 455 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 357 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 21.44 เหล็กแผ่นรีดเย็นลดลงจาก 546 เป็น 610 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 10.44 เหล็กแผ่นรีดร้อนลดลงจาก 511 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 464 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 9.14 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการปรับตัวของราคาเพิ่มสูงขึ้นในช่วงนี้ คือ เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นจาก 342 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 356 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.16 และเหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก 403 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 404 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.14
คณะกรรมการพิจารณาการตอบโต้การทุ่มตลาด ได้มีมติยกเลิกการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนที่นำเข้าจาก บ.Nippon Steel ของประเทศญี่ปุ่น ที่ปัจจุบันไทยเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดประมาณ 36.2% เนื่องจากได้พิจารณาตามเอกสารที่บริษัทส่งมาแล้วไม่พบว่า บริษัทมีการทุ่มตลาดสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนในประเทศไทย ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์ได้เริ่มการสืบสวนการตอบโต้การทุ่มตลาดในเหล็กลวดคาร์บอนสูงที่นำเข้าจากประเทศจีน อินเดีย และแอฟริกาใต้ และกำหนดจะประกาศมาตรการชั่วคราวภายใน 3 เดือน
บริษัท ไทยน๊อคซ์ สเตนเลส สตีล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเหล็กกล้าไร้สนิมแห่งเดียวในประเทศไทย กำลังวางแผนลงทุน 31.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (1.2 พันล้านบาท) ในการตั้งโรงรีดเย็นใหม่ซึ่งมีกำลังการผลิต 100,000 ตัน/ปี ที่ระยองภายในสิ้นปี 2007 ซึ่งจะทำให้กำลังการผลิตของเหล็กรีดเย็นของไทยน๊อคซ์เป็น 300,000 ตัน/ปี ซึ่งสาเหตุที่ บ.ไทยน๊อคซ์ ขยายกำลังการผลิตเหล็กรีดเย็นเนื่องจากทางบริษัทคาดว่าในปี 2008 ผลผลิตจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
บมจ.จี สตีล จะจับมือเป็นพันธมิตรกันทางกลยุทธ์กับ บมจ.นครไทย สตริปมิลล์ โดย บมจ.จี สตีล จะใช้หนี้เงินสดและหุ้นมูลค่ารวมกันประมาณ 180 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับ บมจ.นครไทยฯ ในการเข้าไปเป็นเจ้าหนี้ที่สามารถแปลงเป็นทุนได้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ ทั้งนี้หลังจากทำธุรกรรมดังกล่าวจะทำให้ทั้ง 2 บริษัทเป็นพันธมิตรกันทางกลยุทธ์และจะทำให้มีศักยภาพพอที่จะเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนแบบครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชียในอนาคต เนื่องจากทั้งสองบริษัทมีแผนที่จะขยายกำลังการผลิต โดย บมจ.จีสตีลได้วางแผนที่จะเพิ่มการผลิต HRC ให้เต็มกำลังการผลิต(3.4 ล้านตันต่อปี) ซึ่งปัจจุบันสามารถผลิตได้ 1.8 ล้านตันต่อปี ขณะที่ บมจ.นครไทยฯ มีกำลังการผลิต (3 ล้านตันต่อปี ) แต่ปัจจุบันผลิตอยู่ที่ 1.5 ล้านตันต่อปี นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มศักยภาพในด้านการแข่งขันโดยสามารถลดต้นทุนการผลิตและสร้างความแข็งแกร่งให้ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ พัฒนาการเข้าถึงตลาดและลดความเสี่ยงในธุรกิจ
Arcelor ยอมรับข้อเสนอในการควบรวมกิจการกับ Mittal ซึ่งการควบรวมครั้งนี้จะทำให้เกิดบริษัทใหม่คือ Arcelor -Mittal โดยมีกำลังการผลิตสูงที่สุดในโลก ประมาณ 130 ล้านตันต่อปี และผลจากการควบรวมกิจการครั้งนี้จะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมเหล็กเพราะเป็นการการควบคุมปริมาณการผลิตเหล็กออกสู่ตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำลงและในระยะยาวราคาเหล็กจะมีเสถียรภาพมากขึ้นไม่ผันผวนเหมือนที่ผ่านมา ขณะที่อุตสาหกรรมต่อเนื่องอาจได้รับผลกระทบเพราะผู้ผลิตเหล็กอาจได้เปรียบในการเจรจาในการทำสัญญากับลูกค้า เช่น ผู้ผลิตรถยนต์ และผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมทั้งอาจได้เปรียบในแง่การกำหนดราคาเหล็กในตลาดโลก
ประเทศจีนได้ขยายตลาดส่งออกหลักจากตลาดในแถบเอเชียไปเป็นในแถบยุโรปและอเมริกาเหนือ โดยปริมาณการส่งออกเหล็กของจีนไปยังยุโรป (25 ประเทศ) 1.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดิม 6% เป็น 11% ของปริมาณการส่งออก ปริมาณการส่งออกไปยังอเมริกาเหนือ 1.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากเดิม 8% เป็น 13% ของปริมาณการส่งออก ในขณะที่การส่งออกไปเอเชียลดลงจากเดิมจาก 77% เป็น 65% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมดของประเทศจีน ผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกลดลง คือ เหล็กกึ่งสำเร็จรูป โดย Ingot ลดลง ถึง50% ซึ่งประเทศที่จีนส่งออกลดลง คือ ไทย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน สำหรับการส่งออกสินค้าเหล็กของจีนทั้งหมดในช่วง 5 เดือนนี้อยู่ที่ 13.7 ล้านตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6% ซึ่งผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดหน้ากว้างและเหล็กลวด
รัฐบาลจีนโดยคณะกรรมาธิการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (NDRC) ได้ประกาศนโยบายใหม่ในเรื่องการปิดโรงงานเหล็กที่มีความสามารถในการผลิตต่ำและแยกเครื่องมือที่ล้าสมัยต่างๆ ให้เป็นเศษเหล็กเพื่อแก้ไขปัญหาอุปทานเกินความต้องการที่รุนแรงในอุตสาหกรรมเหล็ก นอกจากนี้ประกาศดังกล่าวมีเรื่องการปรับโครงสร้างฐานการผลิตเหล็กหลักของประเทศโดยจีนวางแผนจะพัฒนาเกาะ Caofeidian (อยู่ห่าง จากทางใต้ของ Tangshan ไป 80กม. ในจังหวัด Hebie จังหวัดเพื่อนบ้านของปักกิ่ง) โดยภายในปี 2010 ผู้ผลิตเหล็กชั้นนำในปักกิ่ง Capital Iron and Steel Group จะย้ายตั้งที่ดังกล่าวด้วย ซึ่งการย้ายที่ตั้งของบริษัทเหล็กในปักกิ่งจะเป็นตัวอย่างของการย้ายที่ตั้งของบริษัทเหล็กในเมืองอื่นๆด้วยเพื่อพัฒนาฐานการผลิตเหล็กใหม่ในจีนให้มากขึ้นในอนาคต บริษัทเหล็กบางแห่งจะรวมตัวกันกลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยจะมี 2-3 บริษัทที่จะมีกำลังการผลิต 30 ล้านตันเกิดขึ้นในจีนภายใต้การปรับนโยบายครั้งใหม่ นอกเหนือจากบริษัทเหล็กขนาดใหญ่จำนวนมากโดยมีกำลังการผลิต 10 ล้านตันขึ้นไปที่จะเกิดขึ้น
3.แนวโน้ม
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่ายังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มีผลมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศ จากปัญหาทางด้านต้นทุนทางด้านพลังงาน อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน ทำให้ภาคธุรกิจชะลอตัวลง โดยในส่วนของเหล็กทรงยาว คาดการณ์ว่ายังคงชะลอตัวอยู่ เนื่องจากโครงการเมกะโปรเจ็คต์ของทางภาครัฐที่จะกระตุ้นให้อุตสาหกรรมก่อสร้างมีการขยายตัวขึ้น ยังคงไม่มีความคืบหน้า ขณะที่โครงการของภาคเอกชนก็มีแต่โครงการขนาดเล็ก ซึ่งมีความต้องการใช้เหล็กไม่มากนัก สำหรับในส่วนของเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าความต้องการใช้ในประเทศยังคงทรงตัว เนื่องจากแนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า มีแนวโน้มชะลอตัวลง ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องขยายตลาดส่งออกเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ ซึ่งการส่งออกจึงอาจมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังมีความต้องการที่แข็งแกร่งจากตลาดในแถบประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศในกลุ่ม EU
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-