บทสรุปผู้บริหาร
จากเดือนธันวาคม 2548 โดยในภาคเศรษฐกิจการคลัง รายได้จากฐานภาษีเงินได้ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ซึ่งสะท้อนถึงธุรกรรมและรายได้ของภาคเอกชนที่สามารถขยายตัวได้ดี สำหรับเศรษฐกิจด้านอุปทาน ภาคการเกษตรปรับตัวดีขึ้นราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผลทำให้รายได้เกษตรกรน่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ในประเทศพบว่ามีการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ดี ซึ่งสะท้อนจากรายได้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยังขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง ส่วนเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ต่างประเทศพบว่ามูลค่าการส่งออกขยายตัวดีขึ้นในขณะที่มูลค่าการนำเข้าชะลอตัวลงอย่างมาก แต่ดุลการค้ายังคงขาดดุลเล็กน้อยในเดือนมกราคม 2549 ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับมั่นคง โดยทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามราคาน้ำมันสูงขึ้นในตลาดโลก
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมกราคม 2549 ดังนี้
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการคลังล่าสุดพบว่า ภาษีฐานรายได้ที่จัดเก็บจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลขยายตัวดี โดยขยายตัวที่ร้อยละ 13.3 ต่อปีเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 13.1 ต่อปีในก่อน ซึ่งสะท้อนถึงรายได้ของภาคธุรกิจและประชาชนขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ในขณะที่ภาษีฐานการบริโภคจากภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 15.8 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.6 ต่อปีในเดือนธันวาคม 2548 ซึ่งสะท้อนถึงการบริโภคภาคเอกชนที่ยังขยายตัวได้ดี
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานบ่งชี้ว่าภาคเกษตรยังขยายตัวได้ดี ตามดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 32.5 ต่อปี ในเดือนมกราคม 2549 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 24.4 ในเดือนธันวาคม 2548 ทำให้คาดว่ารายได้เกษตรจะยังคงขยายตัวในระดับสูง สำหรับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2548 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงที่ร้อยละ 6.1 ต่อปี เนื่องจากส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราวจากการปิดซ่อมของโรงงานในหมวดผลิตภัณฑ์เคมี ฐานที่สูงของปีก่อนของหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รวมถึงการชะลอตัวของอุปสงค์ของภาคอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้ผลผลิตในหมวดวัสดุก่อสร้างและเหล็กลดลง อย่างไรก็ตามผลผลิตของอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกยังขยายตัวดีโดยเฉพาะในหมวดแผงวงจรและ Hard Disk Drive สำหรับภาคบริการเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติประกอบกับการจ้างงานในภาคบริการที่ขยายตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 0.5 ต่อปีในเดือนธันวาคม 2548 หลังจากที่หดตัวร้อยละ 1.0 ในเดือนพฤศจิกายน 2548
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์พบว่าการบริโภคภาคเอกชนในเดือนมกราคม 2549 ยังขยายตัวได้ดี ซึ่งสะท้อนได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายในประเทศที่ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 19.5 ต่อปีในเดือนมกราคม 2549 อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเล็กน้อยจาก 83.6 จุดในเดือนธันวาคม 2548 เหลือ 82.0 จุดในเดือนมกราคม 2549 โดยมีปัจจัยหลักมาจากความกังวลของสถานการณ์ทางการเมือง สำหรับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนสะท้อนการชะลอตัวของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนในเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 10.5 ต่อปี ลดลงจากอัตราการขยายตัวในเดือนธันวาคม 2548 ที่เร่งตัวที่ร้อยละ 41.3 ต่อปี
เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจด้านการค้าต่างประเทศในเดือนมกราคมแสดงถึงแนวโน้มการส่งออกสินค้าที่เร่งตัวขึ้นและการนำเข้าที่ขยายตัวลดลงมาก โดยมูลค่าการส่งออกมีมูลค่าทั้งสิ้น 8,946 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 13.6 ต่อปี ดีขึ้นจากเดือนธันวาคม 2548 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.6 ต่อปี ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 9,388 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวเพียงร้อยละ 2.0 ต่อปี ชะลอลงมาจากเดือนธันวาคม 2548 ที่ขยายตัวร้อยละ 27.9 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้ายังคงขาดดุลที่ 442 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมกราคม 2549 ปรับตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 5.9 ต่อปี เนื่องมาจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น ขณะที่อัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 1.4 ในเดือนธันวาคม 2548 อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับแข็งแกร่งจากทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 53.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2549 หรือเท่ากับ 5.7 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือประมาณ 3.2 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 3/2549 27 กุมภาพันธ์ 2549--
จากเดือนธันวาคม 2548 โดยในภาคเศรษฐกิจการคลัง รายได้จากฐานภาษีเงินได้ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ซึ่งสะท้อนถึงธุรกรรมและรายได้ของภาคเอกชนที่สามารถขยายตัวได้ดี สำหรับเศรษฐกิจด้านอุปทาน ภาคการเกษตรปรับตัวดีขึ้นราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผลทำให้รายได้เกษตรกรน่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ในประเทศพบว่ามีการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ดี ซึ่งสะท้อนจากรายได้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยังขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง ส่วนเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ต่างประเทศพบว่ามูลค่าการส่งออกขยายตัวดีขึ้นในขณะที่มูลค่าการนำเข้าชะลอตัวลงอย่างมาก แต่ดุลการค้ายังคงขาดดุลเล็กน้อยในเดือนมกราคม 2549 ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับมั่นคง โดยทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามราคาน้ำมันสูงขึ้นในตลาดโลก
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมกราคม 2549 ดังนี้
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการคลังล่าสุดพบว่า ภาษีฐานรายได้ที่จัดเก็บจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลขยายตัวดี โดยขยายตัวที่ร้อยละ 13.3 ต่อปีเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 13.1 ต่อปีในก่อน ซึ่งสะท้อนถึงรายได้ของภาคธุรกิจและประชาชนขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ในขณะที่ภาษีฐานการบริโภคจากภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 15.8 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.6 ต่อปีในเดือนธันวาคม 2548 ซึ่งสะท้อนถึงการบริโภคภาคเอกชนที่ยังขยายตัวได้ดี
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานบ่งชี้ว่าภาคเกษตรยังขยายตัวได้ดี ตามดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 32.5 ต่อปี ในเดือนมกราคม 2549 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 24.4 ในเดือนธันวาคม 2548 ทำให้คาดว่ารายได้เกษตรจะยังคงขยายตัวในระดับสูง สำหรับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2548 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงที่ร้อยละ 6.1 ต่อปี เนื่องจากส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราวจากการปิดซ่อมของโรงงานในหมวดผลิตภัณฑ์เคมี ฐานที่สูงของปีก่อนของหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รวมถึงการชะลอตัวของอุปสงค์ของภาคอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้ผลผลิตในหมวดวัสดุก่อสร้างและเหล็กลดลง อย่างไรก็ตามผลผลิตของอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกยังขยายตัวดีโดยเฉพาะในหมวดแผงวงจรและ Hard Disk Drive สำหรับภาคบริการเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติประกอบกับการจ้างงานในภาคบริการที่ขยายตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 0.5 ต่อปีในเดือนธันวาคม 2548 หลังจากที่หดตัวร้อยละ 1.0 ในเดือนพฤศจิกายน 2548
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์พบว่าการบริโภคภาคเอกชนในเดือนมกราคม 2549 ยังขยายตัวได้ดี ซึ่งสะท้อนได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายในประเทศที่ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 19.5 ต่อปีในเดือนมกราคม 2549 อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเล็กน้อยจาก 83.6 จุดในเดือนธันวาคม 2548 เหลือ 82.0 จุดในเดือนมกราคม 2549 โดยมีปัจจัยหลักมาจากความกังวลของสถานการณ์ทางการเมือง สำหรับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนสะท้อนการชะลอตัวของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนในเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 10.5 ต่อปี ลดลงจากอัตราการขยายตัวในเดือนธันวาคม 2548 ที่เร่งตัวที่ร้อยละ 41.3 ต่อปี
เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจด้านการค้าต่างประเทศในเดือนมกราคมแสดงถึงแนวโน้มการส่งออกสินค้าที่เร่งตัวขึ้นและการนำเข้าที่ขยายตัวลดลงมาก โดยมูลค่าการส่งออกมีมูลค่าทั้งสิ้น 8,946 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 13.6 ต่อปี ดีขึ้นจากเดือนธันวาคม 2548 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.6 ต่อปี ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 9,388 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวเพียงร้อยละ 2.0 ต่อปี ชะลอลงมาจากเดือนธันวาคม 2548 ที่ขยายตัวร้อยละ 27.9 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้ายังคงขาดดุลที่ 442 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมกราคม 2549 ปรับตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 5.9 ต่อปี เนื่องมาจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น ขณะที่อัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 1.4 ในเดือนธันวาคม 2548 อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับแข็งแกร่งจากทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 53.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2549 หรือเท่ากับ 5.7 เดือนของมูลค่าการนำเข้า หรือประมาณ 3.2 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 3/2549 27 กุมภาพันธ์ 2549--