ตารางเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญในภาคใต้เดือนพฤศจิกายน 2548 dao

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 11, 2006 12:55 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ตารางเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจสำคัญในภาคใต้เดือนพฤศจิกายน 2548เครื่องชี้ พ.ย.47 ต.ค.48 พ.ย.48 พ.ย.48/47 (%)1.การเกษตร ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.) ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 44.89 64.46 59.97 33.6 ปาล์มทั้งทะลาย 3.80 3.40 3.13 -17.6 ประมง สัตว์น้ำ ปริมาณ (เมตริกตัน) 37,852 41,103 28,772 -24.0 มูลค่า (ล้านบาท) 1,200.1 1,061.9 887.0 -26.1 กุ้งกุลาดำขนาด 31-40 201.00 211.00 198.00 -1.5 ตัว/กก.(บาท/กก.)2.การอุตสาหกรรม (เมตริตัน) ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 69,250.2 61,848.8 48,853.6 -29.3 ยางแท่ง 76,195.4 69,003.6 76,647.5 0.63.การท่องเที่ยว ชาวต่างประเทศผ่านตรวจ 245,245 173,080 210,081 -14.3 คนเข้าเมือง (คน)4.การค้า การจดทะเบียนรถใหม่(คัน) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 1,676 1,780 2,023 20.7 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 3,732 3,694 4,798 28.6 รถจักรยานยนต์ 31,420 24,553 30,307 -3.55.การค้าระหว่างประเทศ (ล้านบาท) มูลค่าการส่งออก 27,529.9 28,203.1 30,513.6 10.8 ยาง 10,219.8 11,447.8 12,737.5 24.6 ไม้ยางพาราแปรรูปและ เฟอร์นิเจอร์ 821.2 735.5 770.3 -6.2 ถุงมือยาง 1,346.4 1,445.7 1,687.7 25.4 สัตว์น้ำแช่แข็ง 2,143.5 2,044.2 1850.2 -13.7 อาหารกระป๋อง 1,083.1 976.5 1,133.0 4.6 ดีบุก 612.8 534.7 605.0 -1.3 แร่อื่นๆ 304.3 211.0 295.6 -2.9 ก๊าซธรรมชาติ 140.5 98.8 94.4 -32.8 น้ำมันดิบ 1,943.5 1,449.0 1,381.9 -28.9 มูลค่าการนำเข้า 8,977.1 12,664.4 8,802.9 -1.9 เครื่องจักรอุปกรณ์ 3,880.7 5,781.9 3,567.3 -8.1 น้ำมันเชื้อเพลิง 0.0 226.2 95.2 อุปกรณ์ก่อสร้าง 114.0 159.5 147.8 29.6 สัตว์น้ำแช่แข็ง 1,100.0 870.3 913.7 -16.96.ดัชนีราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปภาคใต้ 107.0 113.1 112.8 5.4 (ปีฐาน 2545)7.การลงทุน กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน จำนวน (ราย) 14 5 9 -35.7 เงินลงทุน (ล้านบาท) 1,942.9 672.8 1,154.2 -40.6 การจ้างงาน (คน) 1,558 935 1,544 -0.9 การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล จำนวน (ราย) 451 416 377 -16.4 ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 2,613.6 892.0 825.3 -68.4 พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล (ตารางเมตร) พื้นที่รวม 207,733 136,290 127,377 -38.78.ค่าจ้างและการจัดหางาน การจัดหางาน ตำแหน่งงานว่าง (อัตรา) 10,403 5,496 5,837 -43.9 ผู้สมัครงาน (คน) 3,639 3,340 3,309 -9.1 การบรรจุงาน (อัตรา) 1,944 1,206 1,537 -20.99.การคลัง (ล้านบาท) การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 7,421.2 8237.9 ของส่วนราชการ การจัดเก็บภาษีอากร 1,843.9 1,857.3 1,665.7 -9.7 สรรพากร 1,339.8 1,585.6 1,424.3 6.3 สรรพสามิต 395.3 154.8 136.6 -65.4 ศุลกากร 108.7 117.0 104.9 -3.610.การเงิน การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี ปริมาณ (ฉบับ) 396,426 355,322 365,000 -7.9 มูลค่า (ล้านบาท) 50,282.6 49,759.2 49,500 -1.6 สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน ต่อเช็ครับเข้ารวม (ร้อยละ) 0.8 0.8 ธนาคาพาณิชย์ จำนวน (สำนักงาน) 458 485 เงินฝาก (ล้านบาท) 314,979.0 332,846.0 334,000.0 6.0 เงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) 200,600.0 244,331.0 245.000.0 22.1 ธนาคารออมสิน เงินฝาก (ล้านบาท) 54,679.3 58,175.7 58,686.1 7.3 เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 29,457.1 33,318.4 33,607.4 14.1 ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร เงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) 1,809.8 1,519.6 2,468.1 36.4 เงินให้สินเชื่อคงค้าง (ล้านบาท) 45,992.9 51,818.9 52,201.4 13.5 ธนาคารเพื่อการส่งออกและ นำเข้าแห่งประเทศไทย เงินให้สินเชื่อคงค้าย (ล้านบาท) 2,386.7 3,230.2 3,561.6 49.2เรียน ผู้จัดการ ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ที่ ธปท. ฝกช.(22) ว.2477/2548 เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการในจังหวัดสงขลาและสตูล เพื่อบรรเทาความเดือนรอนแก่ผู้ประกอบกิจการในจังหวัดสงขลาและสตูลที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงเห็นสมควรให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการผ่านสถาบันการเงินเป็นกรณีพิเศษในรูปของเงินทุนหมุนเวียน ทั้งนี้ เพื่อผ่อนคลายภาระทางการเงินสำหรับยอดคงค้างสินเชื่อที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเพื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียนในการฟื้นฟูกิจการให้ดำเนินการต่อไปได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1.ในหนังสือนี้ "สถาบันการเงิน" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสิน "กิจการ" หมายความว่า ธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เช่น กิจการโรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า และกิจการค้าปลีก ค้าส่ง เป็นต้น "ผู้ประกอบกิจการ" หมายความว่า ผู้ประกอบกิจการที่เป็นบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศไทยถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน ข้อ 2.ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยผู้ประกอบกิจการตามหนังสือนี้จากสถาบันการเงินโดยตั๋วสัญญาใช้เงินต้องเป็นไปตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ (1)เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินตามแบบที่แนบ (2)เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการประกอบกิจการอันสุจริต (3)เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยผู้ประกอบกิจการที่สถาบันการเงินอนุมัติให้เป็นผู้ที่พึงเชื่อถือได้ และธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควรให้ความอนุเคราะห์ (4)เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกเป็นเงินบาท แต่ละฉบับมีจำนวนเงินไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาท) และต้องไม่มีเศษของหลักพัน (5)เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ถึงกำหนดใช้เงินไม่เกินกำหนดเวลานับแต่วันที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินในแต่ละกรณี ดังนี้ ก.กรณีกิจการการผลิต ไม่เกิน 360 วัน ข.กรณีกิจการอื่นๆ ไม่เกิน 180 วัน (6)เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ ก.ออกเพื่อผ่อนคลายยอดคงค้างสินเชื่ออันเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจท่องเที่ยว และเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ซึ่งได้รับผลกระทบทางอ้อมจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ข.ออกเพื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียนในการฟื้นฟูกิจการ โดยต้องเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกภายใน 4 เดือนนับแต่วันที่ผู้ประกอบกิจการได้จ่ายเงินไปในการดำเนินกิจการ (7)จำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินต้องไม่เกินจำนวนเงินที่สถาบันการเงินให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบกิจการ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ผู้ประกอบกิจการจ่ายจริงเพื่อการดังกล่าว (8)เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่สถาบันการเงินรับซื้อและชำระเงินแล้วเต็มตามจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงิน (9)เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตราดอกเบี้ยและเบี้ยปรับในการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินของผู้ประกอบกิจการในจังหวัดสงขลาและสตูล ที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน (10)เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่สถาบันการเงินได้สลักหลังเฉพาะโอนให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อ 3.ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินตามข้อ 2.ในอัตราร้อยละของจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตราร้อยละในการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินของผู้ประกอบกิจการในจังหวัดสงขลาและสตูล ที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน ในวันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินหรือวันที่มีการขอชำระหนี้หรือวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเรียกให้ชำระหนี้ก่อนกำหนด ธนาคารแห่งประเทศไทยจะหักเงินจากบัญชีเงินนฝากของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามจำนวนหนี้ที่ถึงกำหนดใช้เงินหรือจำนวนหนี้ที่ขอชำระหรือจำนวนหนี้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเรียกใช้ชำระก่อนกำหนด แล้วแต่กรณีรวมดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ (ถ้ามี) ตามอัตราที่กำหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตราดอกเบี้ยและเบี้ยปรับในการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินของผู้ประกอบกิจการในจังหวัดสงขลาและสตูล ที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน ในกรณีที่วันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินตรงกับวันหยุดทำการ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเรียกเก็บดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ (ถ้ามี) สำหรับวันหยุดดังกล่าวด้วย ข้อ 4.ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยผู้ประกอบกิจการแต่ละรายตามหนังสือนี้ภายในวงเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควร ข้อ 5.ธนาคารแห่งประเทศไทยจะให้ความอนุเคราะห์แก่ผู้ประกอบกิจการแต่ละรายเป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่ผู้ประกอบกิจการรายนั้นได้รับความเห็นชอบให้ได้รับความอนุเคราะห์ทางการเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยตามหนังสือนี้ โดยตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับสุดท้ายต้องถึงกำหนดใช้เงินไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2251 ข้อ 6.สถาบันการเงินที่จะขายตั๋วสัญญาใช้เงินต้องปฏิบัติและยิมยอมรับพันธะหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1)เรียกเก็บดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้งเนิไม่เกินอัตราที่กำหนดในตั๋วสัญญาใช้เงิน และเรียกเก็บในวันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินหรือวันที่มีการชำระหนี้ โดยไม่มีการเรียกหรือรับผลประโยชน์อื่นใดเพิ่ม (2)ทำหนังสือแสดงความยินยอมตามแบบที่แนบให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักเงินจากบัญชีเงินฝากของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อชำระหนี้อันเกิดขึ้นเนื่องจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความอนุเคราะห์ตามหนังสือนี้ และในกรณีที่เงินในบัญชีเงินฝากของสถาบันการเงินไม่มีหรือมีไม่พอหักชำระหนี้ดังกล่าว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจำหน่ายทรัพย์สินอย่างอื่นของสถาบันการเงินที่มีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและดำเนินการอื่นใดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าไปตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายตั๋วสัญญาใช้เงินตามหนังสือนี้ ณ สำนักงานของสถาบันการเงิน รวมทั้งดำเนินการให้ผู้ประกอบการกิจการยินยอมให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าไปตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายตั๋วสัญญาใช้เงินตามหนังสือนี้ ณ สำนักงานของผู้ประกอบกิจการได้ด้วย (3)ยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยหักบัญชีเงินฝากที่ดำรงไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยโดยจะจัดให้มีเงินเพียงพอสำหรับหักชำระหนี้ในวันที่ครบกำหนดหรือวันที่ชำระหนี้ (4)ยื่นหนังสือขอความเห็นชอบให้ความอนุเคราะห์ทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการที่พึงเชื่อถือได้ตามแบบที่แนบ (5)ไม่ต้องจัดส่งหลักฐานหรือเอกสารการจ่ายเงิน ประกอบตั๋วสัญญาใช้เงินที่นำมาขาย (6)ตรวจสอบและรับรองว่า ก.ตั๋วสัญญาใช้เงินที่นำมาขายนั้นเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ถูกต้องตรงตามข้อ 2.ทุกประการ ข.จำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่สถาบันการเงินนำมาขายเมื่อรวมกับจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยผู้ประกอบการรายเดียวกัน ซึ่งธนาคารแห่ประเทศไทยได้รับซื้อไว้จากสถาบันการเงิน และยังไม่ถึงกำหนดใช้เงินไม่เกินวงเงินตามที่กำหนดในข้อ 4.หรือวงเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งให้สถาบันการเงินทราบตามข้อ 10. ค.ผู้ประกอบกิจการได้รับผลกระทบทางอ้อมจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างแท้จริง (7)เมื่อสถาบันการเงินฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่งแห่งหนังสือนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเรียกเก็บเบี้ยปรับจากสถาบันการเงินในอัตราเบี้ยปรับที่กำหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องอัตราดอกเบี้ยและเบี้ยปรับในการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินของผู้ประกอบกิจการในจังหวัดสงขลาและสูตล ที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินตามจำนวนเงินและระยะเวลาที่เกี่ยวข้อง ถ้าสาเหตุที่สถาบันการเงินต้องเสียเบี้ยปรับเกิดขึ้นเพราะความผิดของผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน สถาบันการเงินจะไล่เบี้ยจากผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินได้ไม่เกินจำนวนเงินเบี้ยปรับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเรียกเก็บจากสถาบันการเงิน และถ้าธนาคารแห่งประเทศไทยคืนเบี้ยปรับให้แก่สถาบันการเงินเป็นจำนวนเงินเท่าใด สถาบันการเงินต้องคืนเบี้ยปรับตามจำนวนเงินดังกล่าวให้แก่ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ข้อ 8.ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณางด ลด หรือคืนเบี้ยปรับสำหรับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหนังสือนี้ตามที่เห็นสมควรก็ได้ ข้อ 9.เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับชำระหนี้จากสถาบันการเงินแล้ว หากปรากฎในภายหลังว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่งแห่งหนังสือนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยสงวนสิทธิที่จะเรียกเก็บเบี้ยปรับสำหรับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติดังกล่าว ข้อ 10.ธนาคารแห่งประเทศไทยสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับซื้อ หรือลดวงเงินที่จะรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินยกเลิกวงเงินหรือกำหนดวงเงินที่จะให้ความอนุเคราะห์แก่ผู้ประกอบกิจการแต่ละรายใหม่ ลดอัตราของจำนวนเงินที่จะออกตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือเรียกใช้ชำระหนี้ก่อนวันถึงกำหนดใช้เงินในตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าสถาบันการเงินที่ขายตั๋วสัญญาใช้เงินปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยสถาบันการเงินนั้นๆ (2) เมื่อมีการจำหน่ายทรัพย์สินของสถาบันการเงินตามข้อ 6.(2)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ