พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งแต่ระหว่างวันที่ 10 - 16 ก.พ. 2549

ข่าวทั่วไป Friday February 10, 2006 16:45 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ฉบับที่ 18/2549 คาดหมายลักษณะอากาศเพื่อการเกษตรใน 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่วันที่ 10-16 ก.พ. 2549 ในช่วงวันที่ 10-13 ก.พ. คลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้ามาปกคลุมภาคเหนือ ทำให้มีฝนในภาคเหนือตอนบน สำหรับความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีอ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกเพิ่มหลายพื้นที่ในตอนเช้า ส่วนภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจะมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นและคลื่นลมในอ่าวไทยยังมีกำลังแรง ในวันที่ 16 ก.พ. จะมีความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 10-13 ก.พ. บริเวณภาคเหนือตอนบนโดยเฉพาะจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ และน่าน จะมีฝน เป็นแห่งๆ เกษตรกรควรระวังความเสียหายของผลผลิตการเกษตรที่ตากไว้กลางแจ้งด้วย ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป และทะเลอันดามันมีกำลังแรง ขอให้ชาวเรือและชาวประมงระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กในอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงดังกล่าว ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ ในระยะ 7 วันข้างหน้า มีดังนี้ เหนือ ในช่วงวันที่ 10-13 ก.พ. ในตอนเช้ามีหมอกหลายพื้นที่และอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเป็นแห่งๆ 20%ของพื้นที่ทางตอนบนของภาค บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 7-12 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 14-16 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้นกับมีหมอกเพิ่มขึ้นหลายพื้นที่ในตอนเช้า ลมอ่อน 6-12 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 10-13 ก.พ. ในช่วงวันที่ 10-13 ก.พ. ในตอนเช้ามีหมอกหลายพื้นที่และอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเป็นแห่งๆ 20%ของพื้นที่ทางตอนบนของภาค บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 7-12 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 14-16 ก.พ. อุณหภูมิจะสูงขึ้นกับมีหมอกเพิ่มขึ้นหลายพื้นที่ในตอนเช้า ลมอ่อน 6-12 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 10-13 ก.พ. ทางตอนบนของภาคบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ และน่าน มีฝนเป็นแห่งๆ เกษตรกรควรระวังความเสียหายของผลผลิตการเกษตรที่ตากไว้กลางแจ้ง เพราะจะเปียกชื้นเสียหายได้ นอกจากนี้ควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนน ขณะผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาด้วย ตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 10-15 ก.พ. ในตอนเช้ามีหมอกกับอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น สำหรับบริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ในวันที่ 16 ก.พ. มีฝนบางแห่ง 10%ของพื้นที่ทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 10-15 ก.พ. ในตอนเช้ามีหมอกกับอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น สำหรับบริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ในวันที่ 16 ก.พ. มีฝนบางแห่ง 10%ของพื้นที่ทางตอนล่างของภาค เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งจึงไม่ควรเผาตอซังข้าว เพราะอาจลุกลามทำให้เกิดอัคคีภัยได้ และควันไฟจะทำให้ทัศนวิสัยลดลงเป็นอันตรายต่อการสัญจรโดยเฉพาะบริเวณใกล้ถนนหนทาง นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่นเพลี้ยและไรต่างๆ ในพืชไร่และพืชผัก กลาง ในช่วงวันที่ 10-15 ก.พ. ในตอนเช้ามีหมอกหลายพื้นที่และอากาศเย็นทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ในวันที่ 16 ก.พ. มีฝนบางแห่ง 10 % ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 10-15 ก.พ. ในตอนเช้ามีหมอกหลายพื้นที่และอากาศเย็นทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ในวันที่ 16 ก.พ. มีฝนบางแห่ง 10 % ของพื้นที่ เนื่องจากระยะนี้อากาศค่อนข้างเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรหมั่นสังเกตสัตว์เลี้ยงหากพบตัวที่ป่วยควรแยกออกจากกลุ่มและรีบรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรปลูกพืชที่อายุการเพาะปลูกสั้นและใช้น้ำน้อย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 10-15 ก.พ. ในตอนเช้ามีหมอกหลายพื้นที่และอากาศเย็นทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในวันที่ 16 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ 30%ของพื้นที่ ส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง ในช่วงวันที่ 10-15 ก.พ. ในตอนเช้ามีหมอกหลายพื้นที่และอากาศเย็นทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในวันที่ 16 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ 30%ของพื้นที่ ส่วนมากตามบริเวณชายฝั่ง เนื่องจากระยะต่อไปจะมีฝนตกน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ชาวสวนผลไม้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ผลอ่อนร่วงหล่น การติดผลลดลง ใต้ ทางฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 10-14 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย 20-40%ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 15-16 ก.พ. ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ 20 % ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 10-14 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30 %ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 15-16 ก.พ. มีฝนบางแห่ง 10 % ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทางฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 10-14 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย 20-40%ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 15-16 ก.พ. ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ 20 % ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 10-14 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30 %ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 15-16 ก.พ. มีฝนบางแห่ง 10 % ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. บริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรเก็บกักน้ำด้วย นอกจากนี้ควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ฟางข้าวและหญ้าแห้งเพื่อสงวนความชื้นดิน อนึ่ง ในช่วงวันที่ 10-13 ก.พ. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปและทะเลอันดามันมีกำลังแรง ชาวเรือและชาวประมง ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ ส่วนเรือเล็กในอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ