พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งแต่วันที่ 25 -31 สิงหาคม 2549

ข่าวทั่วไป Friday August 25, 2006 14:55 —กรมอุตุนิยมวิทยา

          พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร  
วัน ศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ฉบับที่ 102/2549
คาดหมายลักษณะอากาศเพื่อการเกษตรใน 7 วันข้างหน้า
ตั้งแต่วันที่ 25 -31 สิงหาคม 2549
ร่องความกดอากาศต่ำกำลังปานกลางจะยังคงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 50-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง เว้นแต่ในช่วงวันที่ 28-31 ส.ค. ร่องความกดอากาศต่ำนี้จะมีกำลังอ่อนลง ซึ่งจะทำให้มีฝนลดน้อยลง ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยจะยังคงมีกำลังปานกลาง ซึ่งจะทำให้ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ยังคงมีฝนอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 20-60 ของพื้นที่
คำเตือน
ในช่วงวันที่ 25-27 ส.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่ลาดเชิงเขา พื้นที่ใกล้ทางน้ำไหลและพื้นที่ลุ่ม ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณตอนบนและด้านตะวันออกของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระมัดระวังอันตรายจากน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันต่อไปอีก
ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ ในระยะ 7 วันข้างหน้า มีดังนี้
เหนือ
ในช่วงวันที่ 25-27 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 50-70 ของพื้นที่ โดยจะมีฝนตกหนัก บางแห่งทางตอนบนของภาค หลังจากนั้นจะมีฝนลดน้อยลง ลมแปรปรวน 10-25 กม./ชม.
ในช่วงวันที่ 25-27 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 50-70 ของพื้นที่ โดยจะมีฝนตกหนัก บางแห่งทางตอนบนของภาค หลังจากนั้นจะมีฝนลดน้อยลง ลมแปรปรวน 10-25 กม./ชม. บริเวณที่มีฝนตกหนักติดต่อกันจะเกิดสภาวะน้ำท่วมได้ เกษตรกรควรป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย ส่วนพื้นที่การเกษตรที่ถูก น้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา ภายหลังน้ำลดลงแล้วเกษตรกรควรบำรุงรักษาและฟื้นฟูพืชที่ได้รับความเสียหาย สำหรับสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง เกษตรกรควรป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่และไม้ผล
ตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 25-27 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ โดยจะมีฝนตกหนัก บางแห่งทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค หลังจากนั้นจะมีฝนลดน้อยลง ลมแปรปรวน 10-30 กม./ชม.
ในช่วงวันที่ 25-27 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ โดยจะมีฝนตกหนัก บางแห่งทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค หลังจากนั้นจะมีฝนลดน้อยลง ลมแปรปรวน 10-30 กม./ชม. ในช่วงที่มีฝนตกชุก เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาคควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน สำหรับชาวนาควรป้องกันกำจัดหอยเชอรี่ที่อาจระบาดทำลายต้นข้าว
กลาง
มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งทางด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ 10-30 กม./ชม.
มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งทางด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ 10-30 กม./ชม. เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่และพืชผักควรหมั่นกำจัดวัชพืช เพื่อไม่ให้แย่งธาตุอาหารและน้ำจากพืชที่ปลูก และเป็นการกำจัดแหล่งอาศัยหลบซ่อนของศัตรูพืช สำหรับบริเวณที่มีฝนตกน้อย เกษตรกรควรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชจำพวกปากดูดไว้ด้วย
ตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากบริเวณเทือกเขาและชายฝั่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-35 กม./ชม.
มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากบริเวณเทือกเขาและชายฝั่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-35 กม./ชม. เนื่องจากระยะที่ผ่านมาในบางพื้นที่บริเวณจังหวัดชลบุรีและระยองมีฝนตกน้อย ปริมาณฝนไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช และในช่วงนี้การกระจายของฝนยังไม่ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชด้วย สำหรับบริเวณจังหวัดจันทบุรีและตราดที่มีฝนตกชุก สภาพอากาศมี ความชื้นสูง ชาวสวนผลไม้ควรดูแลบริเวณสวนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
ใต้
ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-30 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ 20-35 กม./ชม.
ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-30 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ 20-35 กม./ชม. บริเวณที่มีฝนตกน้อย เกษตรกรควรจัดหาน้ำให้แก่พืชที่กำลังเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้ว ชาวสวนควรทำการตัดแต่งกิ่ง โดยตัดกิ่งที่เป็นโรคและแมลงทำลายทิ้ง เพื่อเป็นการทำลายแหล่งสะสมของโรคและแมลงศัตรูพืช
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ