ผลิตภัณฑ์พลาสติก
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตในประเทศไทย ที่สำคัญได้แก่ ถุงและกระสอบพลาสติก แผ่นฟิลม์ ฟอยล์ เป็นต้น ผลผลิตร้อยละ 70 จำหน่ายใน
ประเทศ ที่เหลือส่งออก โรงงานส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และมีเพียงร้อยละ 10 ที่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมี 2 ประเภท ได้แก่
1. พลาสติกชนิดหลอมใหม่ได้ เช่น โพลีเอทีลีน โพลีโพรพิลีน โพลีไวนิลคลอไรด์
2. พลาสติกชนิดที่หลอมใหม่ไม่ได้ เช่น Phenolies , Polyesters , Urea , Melamine
อุตสาหกรรมที่ใช้พลาสติกเป็นวัตถุดิบในการผลิตได้แก่ บรรจุภัณฑ์ สิ่งทอ รองเท้า วัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและ
อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น โครงสร้างต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกประกอบด้วยวัตถุดิบ(เม็ดพลาสติก)ร้อยละ 70
แรงงานร้อยละ 10 — 15 พลังงานร้อยละ 8 ที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ร้อยละ 7-12
การตลาด
การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของปี 2548 มีมูลค่าประมาณ 1,857.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.98 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่อง
จากความต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะฮ่องกง จีน สหรัฐ ฯ และญี่ปุ่น ยังคงมีปริมาณความต้องการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ส่งออกสำคัญ ในปี 2548 ได้แก่ แผ่นฟิลม์ ฟอยล์ และแถบพลาสติก มีมูลค่าประมาณ 534.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.60 เมื่อเทียบกับปีก่อน รองลงมาคือ ถุงกระสอบซึ่งมีมูลค่าประมาณ 517.9 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.88 เมื่อเทียบ
กับปีก่อน และอันดับต่อมาคือเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติกมีมูลค่าประมาณ 37.6 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.88 เมื่อเทียบกับปีก่อน
การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกเพิ่มขึ้นทั้งนี้เนื่องจากสหรัฐอเมริกามีปริมาณการสั่งซื้อที่เพิ่มสูงขึ้น เพราะจากเหตุการณ์ที่มีพายุเฮอริเคนถล่มใน
หลายรัฐ มีผลทำให้กำลังการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกลดลง ความต้องการในการนำเข้าจึงมีปริมาณสูงขึ้น
ประเภท มูลค่าการส่งออก ( ล้านเหรียญสหรัฐ ) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ผลิตภัณฑ์ 2547 Q3/2548 Q4*/2548 2548* Q4/Q3 2548 2548 เทียบกับ 2547
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
ถุงและกระสอบพลาสติก 372.9 159.3 129.5 517.9 -18.73 38.88
แผ่นฟิลม์ ฟอยล์ และแถบ 466.1 146.5 133.5 534.1 -8.85 14.6
เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบ 25.8 6.2 5.9 23.5 -5.38 -9.04
กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก 26.3 6.8 7.5 30.1 10.78 14.58
เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก 21.8 6.3 5.9 23.5 -6.88 7.65
หลอดและท่อพลาสติก 32.7 10.1 10.1 40.3 -0.33 23.14
พลาสติกปูพื้นและผนัง 40.1 15.1 12.5 50.1 -17 25.02
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก 68.9 22.5 21.2 84.7 -5.93 22.88
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 493.2 143.9 138.2 552.9 -3.94 12.11
รวมทั้งสิ้น 1547.8 516.7 464.3 1,857.10 -10.15 19.98
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ: * ตัวเลขประมาณการ
การนำเข้า
ในปี 2548 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้นประมาณ 2,030 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.54 เมื่อเทียบกับปีที่
แล้ว แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ และกลุ่มอาเซียน สำหรับแผ่นฟิลม์ ฟลอย์และแถบพลาสติก มีสัดส่วนการนำเข้า
เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.49 เมื่อเทียบกับปีก่อน หลอดและท่อพลาสติก มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.75 เมื่อเทียบกับปีก่อน
สินค้าพลาสติกของไทยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นมาก เพราะมีสินค้าราคาถูกจากจีน มาเลเซียและอินโดนีเซีย เข้ามาตีตลาดจำนวนมาก
ประเภท มูลค่าการนำเข้า ( ล้านเหรียญสหรัฐ ) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ผลิตภัณฑ์ 2547 Q3/2548 Q4*/2548 2548* Q4*/Q3 2548 2548* เทียบกับ 2547
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
หลอดและท่อพลาสติก 80.5 18.7 20.1 81.1 7.66 0.75
แผ่นฟิลม์ ฟอยล์และแถบพลาสติก 668.9 190.2 184.8 739.1 -2.86 10.49
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 1,174.00 294.8 302.6 1,210.40 2.65 3.1
รวมทั้งสิ้น 1,923.40 503.7 507.5 2,030.00 0.75 5.54
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ: * ตัวเลขประมาณการ
ปัญหาอุปสรรค
1. วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมีต้นทุนสูง เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น
2. เม็ดพลาสติกคุณภาพดีซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศมีภาษีในการนำเข้าสูงร้อยละ 5 —20
3. ค่าระวางสูง ทำให้เสียเปรียบในการส่งออกไปยังประเทศที่มีระยะทางห่างไกล
4. การผลิตแม่พิมพ์ยังมีประสิทธิภาพต่ำและต้นทุนการผลิตสูง
กลยุทธ์
1. จัดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออก และขยายการส่งออกไปตลาดใหม่ ๆ
2. ลดภาษีนำเข้าเม็ดพลาสติกให้ต่ำลงเพื่อลดต้นทุนการผลิต
3. ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศ
4. พัฒนาช่องทางการขนส่งสินค้าใหม่ ๆ เพื่อลดระยะทาง ระยะเวลาและต้นทุนค่าขนส่ง
5. พัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์
แนวโน้ม
จากการที่มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกราคาถูกจากประเทศจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ทำให้ผู้ประกอบการภายในประเทศได้รับความ
เดือดร้อน ซึ่งประเทศไทยยังไม่ค่อยมีบทบาทในเชิงรุกในการกำหนดนโยบายตอบโต้การทุ่มตลาดเท่าใดนัก อีกทั้งการเปิดเขตเสรีทางการค้าจะส่งผล
ให้เกิดการแข่งขันมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้โครงสร้างอุตสาหกรรมพลาสติกของไทยยังอ่อนแออยู่ ดังนั้นอุตสาหกรรมพลาสติกจึงควรจะต้องมีนโยบายอย่างชัดเจน
คือ จะต้องผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าและมีการส่งเสริมการส่งออกให้มากยิ่งขึ้น โดยพัฒนาการผลิตให้สามารถผลิตสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ราคาดี
ขึ้น และ ลดต้นทุนในการผลิตเพื่อให้สามารถแข่งขันได้
แนวโน้มการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมพลาสติกไทยในอนาคตนั้นจะขึ้นอยู่กับการปรับปรุงพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเป็นการยกระดับ
ของสินค้าพลาสติกไทย ให้มีการพัฒนาอย่างครบวงจร ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำไปถึงปลายน้ำตลอดจนด้านการตลาดและการรักษาสิ่งแวดล้อม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตในประเทศไทย ที่สำคัญได้แก่ ถุงและกระสอบพลาสติก แผ่นฟิลม์ ฟอยล์ เป็นต้น ผลผลิตร้อยละ 70 จำหน่ายใน
ประเทศ ที่เหลือส่งออก โรงงานส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และมีเพียงร้อยละ 10 ที่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมี 2 ประเภท ได้แก่
1. พลาสติกชนิดหลอมใหม่ได้ เช่น โพลีเอทีลีน โพลีโพรพิลีน โพลีไวนิลคลอไรด์
2. พลาสติกชนิดที่หลอมใหม่ไม่ได้ เช่น Phenolies , Polyesters , Urea , Melamine
อุตสาหกรรมที่ใช้พลาสติกเป็นวัตถุดิบในการผลิตได้แก่ บรรจุภัณฑ์ สิ่งทอ รองเท้า วัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและ
อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น โครงสร้างต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกประกอบด้วยวัตถุดิบ(เม็ดพลาสติก)ร้อยละ 70
แรงงานร้อยละ 10 — 15 พลังงานร้อยละ 8 ที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ร้อยละ 7-12
การตลาด
การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของปี 2548 มีมูลค่าประมาณ 1,857.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.98 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่อง
จากความต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะฮ่องกง จีน สหรัฐ ฯ และญี่ปุ่น ยังคงมีปริมาณความต้องการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ส่งออกสำคัญ ในปี 2548 ได้แก่ แผ่นฟิลม์ ฟอยล์ และแถบพลาสติก มีมูลค่าประมาณ 534.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.60 เมื่อเทียบกับปีก่อน รองลงมาคือ ถุงกระสอบซึ่งมีมูลค่าประมาณ 517.9 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.88 เมื่อเทียบ
กับปีก่อน และอันดับต่อมาคือเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติกมีมูลค่าประมาณ 37.6 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.88 เมื่อเทียบกับปีก่อน
การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกเพิ่มขึ้นทั้งนี้เนื่องจากสหรัฐอเมริกามีปริมาณการสั่งซื้อที่เพิ่มสูงขึ้น เพราะจากเหตุการณ์ที่มีพายุเฮอริเคนถล่มใน
หลายรัฐ มีผลทำให้กำลังการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกลดลง ความต้องการในการนำเข้าจึงมีปริมาณสูงขึ้น
ประเภท มูลค่าการส่งออก ( ล้านเหรียญสหรัฐ ) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ผลิตภัณฑ์ 2547 Q3/2548 Q4*/2548 2548* Q4/Q3 2548 2548 เทียบกับ 2547
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
ถุงและกระสอบพลาสติก 372.9 159.3 129.5 517.9 -18.73 38.88
แผ่นฟิลม์ ฟอยล์ และแถบ 466.1 146.5 133.5 534.1 -8.85 14.6
เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบ 25.8 6.2 5.9 23.5 -5.38 -9.04
กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก 26.3 6.8 7.5 30.1 10.78 14.58
เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก 21.8 6.3 5.9 23.5 -6.88 7.65
หลอดและท่อพลาสติก 32.7 10.1 10.1 40.3 -0.33 23.14
พลาสติกปูพื้นและผนัง 40.1 15.1 12.5 50.1 -17 25.02
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก 68.9 22.5 21.2 84.7 -5.93 22.88
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 493.2 143.9 138.2 552.9 -3.94 12.11
รวมทั้งสิ้น 1547.8 516.7 464.3 1,857.10 -10.15 19.98
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ: * ตัวเลขประมาณการ
การนำเข้า
ในปี 2548 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้นประมาณ 2,030 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.54 เมื่อเทียบกับปีที่
แล้ว แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ และกลุ่มอาเซียน สำหรับแผ่นฟิลม์ ฟลอย์และแถบพลาสติก มีสัดส่วนการนำเข้า
เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.49 เมื่อเทียบกับปีก่อน หลอดและท่อพลาสติก มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.75 เมื่อเทียบกับปีก่อน
สินค้าพลาสติกของไทยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นมาก เพราะมีสินค้าราคาถูกจากจีน มาเลเซียและอินโดนีเซีย เข้ามาตีตลาดจำนวนมาก
ประเภท มูลค่าการนำเข้า ( ล้านเหรียญสหรัฐ ) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ผลิตภัณฑ์ 2547 Q3/2548 Q4*/2548 2548* Q4*/Q3 2548 2548* เทียบกับ 2547
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
หลอดและท่อพลาสติก 80.5 18.7 20.1 81.1 7.66 0.75
แผ่นฟิลม์ ฟอยล์และแถบพลาสติก 668.9 190.2 184.8 739.1 -2.86 10.49
ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ 1,174.00 294.8 302.6 1,210.40 2.65 3.1
รวมทั้งสิ้น 1,923.40 503.7 507.5 2,030.00 0.75 5.54
ที่มา : ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ: * ตัวเลขประมาณการ
ปัญหาอุปสรรค
1. วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมีต้นทุนสูง เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น
2. เม็ดพลาสติกคุณภาพดีซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศมีภาษีในการนำเข้าสูงร้อยละ 5 —20
3. ค่าระวางสูง ทำให้เสียเปรียบในการส่งออกไปยังประเทศที่มีระยะทางห่างไกล
4. การผลิตแม่พิมพ์ยังมีประสิทธิภาพต่ำและต้นทุนการผลิตสูง
กลยุทธ์
1. จัดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออก และขยายการส่งออกไปตลาดใหม่ ๆ
2. ลดภาษีนำเข้าเม็ดพลาสติกให้ต่ำลงเพื่อลดต้นทุนการผลิต
3. ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศ
4. พัฒนาช่องทางการขนส่งสินค้าใหม่ ๆ เพื่อลดระยะทาง ระยะเวลาและต้นทุนค่าขนส่ง
5. พัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์
แนวโน้ม
จากการที่มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกราคาถูกจากประเทศจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ทำให้ผู้ประกอบการภายในประเทศได้รับความ
เดือดร้อน ซึ่งประเทศไทยยังไม่ค่อยมีบทบาทในเชิงรุกในการกำหนดนโยบายตอบโต้การทุ่มตลาดเท่าใดนัก อีกทั้งการเปิดเขตเสรีทางการค้าจะส่งผล
ให้เกิดการแข่งขันมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้โครงสร้างอุตสาหกรรมพลาสติกของไทยยังอ่อนแออยู่ ดังนั้นอุตสาหกรรมพลาสติกจึงควรจะต้องมีนโยบายอย่างชัดเจน
คือ จะต้องผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าและมีการส่งเสริมการส่งออกให้มากยิ่งขึ้น โดยพัฒนาการผลิตให้สามารถผลิตสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ราคาดี
ขึ้น และ ลดต้นทุนในการผลิตเพื่อให้สามารถแข่งขันได้
แนวโน้มการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมพลาสติกไทยในอนาคตนั้นจะขึ้นอยู่กับการปรับปรุงพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเป็นการยกระดับ
ของสินค้าพลาสติกไทย ให้มีการพัฒนาอย่างครบวงจร ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำไปถึงปลายน้ำตลอดจนด้านการตลาดและการรักษาสิ่งแวดล้อม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-