กรุงเทพ--30 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
คำกล่าวเปิดของ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างเอกอัครราชทูตแบบบูรณาการใน 5 ประเทศเพื่อนบ้านของไทยกับผู้ว่าราชการจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (19 จังหวัด) และภาคเหนือตอนล่าง (5 จังหวัด) วันที่ 30 มิถุนายน 2549 ณ ห้องประชุมออคิดบอลรูม 1 โรงแรมโซฟิเทล จังหวัดขอนแก่น
ท่านปลัดกระทรวงมหาดไทย
ท่านเลขาธิการ กพร.
ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด
ท่านเอกอัครราชทูตและท่านกงสุลใหญ่
ผู้เข้าร่วมประชุมและแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมรู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาพบปะกับทุกท่านในโอกาสการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดและเอกอัครราชทูตแบบบูรณาการที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่สาม แต่เป็นครั้งแรกที่ผมได้มาราชการที่จังหวัดขอนแก่น ผมมีความรู้สึกประทับใจกับการต้อนรับและอัธยาศัยไมตรีของชาวจังหวัดขอนแก่นอย่างมาก และหากมีโอกาส ผมจะขอมาเยือนจังหวัดขอนแก่นและจะอยู่ในจังหวัดขอนแก่นเป็นระยะเวลาที่ยาวนานกว่าวันนี้
ผมขอร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นบางประการกับทุกท่าน ดังนี้
ประการแรก ผมขอแสดงความชื่นชมท่านผู้ว่าราชการจังหวัดและเอกอัครราชทูต/กงสุลใหญ่ทุกท่านที่ทำงานอย่างแข็งขันและร่วมประสานงานกันทำให้เกิดประโยชน์ต่อการผลักดันยุทธศาสตร์ของชาติในภาพรวม ผมรับทราบว่า บางท่านได้เดินทางมาตั้งแต่เมื่อวานแล้วและได้หารือระดมสมองกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากเส้นทางแนวเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (หรือ East West Economic Corridor-EWEC) ผมพร้อมจะรับฟังและหากมีประเด็นใดที่จะสามารถให้แนวทางแก้ไขปัญหาได้เลย ก็พร้อมจะสั่งการให้ หรือหากจำเป็นต้องเสนอขึ้นในระดับรัฐบาล ผมก็พร้อมจะดำเนินการเพื่อให้การปฏิบัติงานในพื้นที่ของท่านทั้งหลายเป็นไปอย่างราบรื่น
ประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องทำงานแบบบูรณาการและเป็นทีมเดียวกัน คือ ทีมไทยแลนด์ทั้งในและต่างประเทศ จากนี้ต่อไป การดำเนินการนโยบายการต่างประเทศของไทยในทุกระดับ ทุกท่านจะต้องใส่เสื้อทีมประเทศไทย ไม่ใช่เสื้อทีมสโมสรกระทรวง ทบวง กรม จังหวัด หรือกลุ่มจังหวัด
ประการที่สอง ผมได้รับรายงานว่า ในการประชุมครั้งก่อน ได้มีผลสรุปในแนวทาง 3 ร่วม คือ 1) การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมในจังหวัด/กลุ่มจังหวัดชายแดน 2) การประชุมร่วมกันระหวางผู้ว่าราชการจังหวัด CEO และเอกอัครราชทูต CEO และ 3) การจัดหลักสูตรฝึกอบรมร่วมกันระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งผมยินดีที่ได้รับทราบว่า แนวทาง 3 ร่วมได้มีพัฒนาการความคืบหน้าไปมากแล้ว และวันนี้ เราได้มารวมตัวกันในแนวทาง 3 ร่วมในการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัด CEO และเอกอัครราชทูต CEO และในช่วงบ่าย ผมจะได้ไปเยี่ยมชมศูนย์ปฏิบัติการร่วม หรือ ROC พร้อมกับเป็นประธานในพิธีเปิด จึงขอเชิญทุกท่านไปเยี่ยมชมศูนย์ ROC ของเราพร้อมกัน
ผมเห็นว่า การเชื่อมโยงการทำงานระหว่างเอกอัครราชทูต และผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นข้อริเริ่มที่เป็นประโยชน์มาก ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ผมเห็นการทำงานที่มีมิติเชื่อมโยงกันมากยิ่งขึ้นระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดกับเอกอัครราชทูต ทั้งในลักษณะสองคนเข้าหากัน คือเอกอัครราชทูตหรือผู้ว่าราชการจังหวัดเดินทางไปหารือประชุมร่วมกันโดยตรง และลักษณะเต็มคณะ คือคณะเอกอัครราชทูตและคณะผู้ว่าราชการจังหวัดมาประชุมร่วมกัน ดังเช่นในการประชุมวันนี้ ผมมั่นใจว่า แนวโน้มการทำงานเช่นนี้ จะต้องดำเนินต่อไปไม่ว่าในอนาคตจะมีใครมาเป็นรัฐบาล
เอกอัครราชทูตถือเป็นผู้แทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเป็นผู้ช่วยของรัฐบาลในด้านการต่างประเทศ ต้องมีความรอบรู้เกี่ยวกับประเทศไทยและประเทศที่ตนไปประจำการเป็นอย่างดี ที่เราเรียกว่า รู้เขารู้เรา จะต้องเป็นผู้เปิดประตูความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการเสริมสร้างมิตรภาพและความร่วมมือ เป็นผู้ที่มองเห็นโอกาสต่างๆ รวมทั้งเป็นผู้สร้างโอกาสให้คนไทย แล้วนำข้อมูลเหล่านั้น มาแจ้งให้รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ในประเทศรับทราบและสานต่อ ในอีกด้านหนึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดก็เป็นผู้ช่วยของรัฐบาล ต้องเป็นผู้ที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นของตนดีที่สุดเช่นกัน จะต้องเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ท้องถิ่น/กลุ่มจังหวัดให้บรรลุและให้ได้ผลในระดับชาติ
หากส่วนราชการทั้งสองส่วน คือ ส่วนราชการในระดับภูมิภาค/ท้องถิ่นและส่วนราชการในต่างประเทศ ทำงานอย่างสอดรับกัน ส่งไม้รับไม้ให้ทัน เราก็จะได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์จากการทำงานแบบ Inside Out และ Outside In และผู้ที่ได้รับประโยชน์ก็คือประชาชนไทย
ประการที่สาม ผมเห็นว่า เอกอัครราชทูตและท่านผู้ว่าราชการจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นด่านหน้าที่มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ใน “กลไก” ดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านโดยตรง นโยบายของรัฐบาลปัจจุบันคือการเน้น “การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ” กับประเทศเพื่อนบ้านให้เกิดขึ้น และผมอยากให้ท่านทั้งหลายยึดหลักการ “สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ” เป็นกรอบในการดำเนินทุกๆ กิจกรรม และทุกๆ โครงการกับประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากหากเรามีความร่วมมือในโครงการมากมายกันแล้ว แต่มีภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่งที่ขาดความเข้าใจในประเด็นละเอียดอ่อนของประเทศเพื่อนบ้าน ก็จะกระทบกับความสัมพันธ์ในภาพรวม ตรงนี้มีความสำคัญมาก และผลก็จะกระทบโดยตรงกับพี่น้องประชาชนไทยตามจังหวัดชายแดน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการค้าการลงทุน การท่องเที่ยว
สื่อมวลชนไทยเป็นอีกภาคส่วนที่มีความสำคัญอย่างมากในการสร้าง “ความไว้เนื้อเชื่อใจ” กับประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากภาคสื่อมวลชนสามารถนำเสนอข้อมูลข่าวสารไปยังทุกท่านได้โดยตรงและอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะผ่านทางรายการวิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี ภาพยนตร์ หรือนิตยสาร สิ่งตีพิมพ์ ปัจจุบัน ไม่เพียงแต่คนไทยเท่านั้นที่บริโภคข้อมูล ข่าวสารเหล่านี้ แต่เพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นคนพม่า คนลาว คนกัมพูชา ก็ติดตาม อ่าน ฟัง และรับชมรายการวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และนิตยสารของไทยเช่นเดียวกัน ดังนั้น หากสื่อมวลชนคำนึงแต่ผลตอบแทนทางธุรกิจและทำรายการเพื่อความบันเทิงเพียงอย่างเดียว โดยขาดความเข้าใจถึงความละเอียดอ่อนด้านวัฒนธรรม ประเพณี ความรู้สึก หรือวิถีชีวิตของเพื่อนบ้านเรา ก็จะส่งสัญญาณที่ผิดให้แก่เพื่อนบ้าน และอาจลุกลามจนเป็นประเด็นระหว่างประเทศได้ และสุดท้าย ผลกำไรที่เราได้จากการฉายภาพยนตร์เพียงหลักสิบหรือหลักร้อยล้าน ก็จะทำลายความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับเพื่อนบ้าน ซึ่งทุกส่วนราชการและเอกชนใช้เวลาในการสร้างเป็นหลายสิบปี รวมทั้งกระทบกับการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ซึ่งมีมูลค่ามากมายกว่าผลกำไรที่ได้รับจากภาพยนตร์
เมื่อไม่นานมานี้ ก็มีตัวอย่างภาพยนตร์ที่กระทบความรู้สึกของทั้งลาวและกัมพูชา ผมจึงอยากให้ท่านทั้งหลายพูดคุยกับสื่อมวลชนให้มากขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ เหล่านี้ นอกจากนี้ ผมสนับสนุนให้การแลกเปลี่ยนระหว่างสื่อมวลชน ทั้งจากส่วนกลางและท้องถิ่น ให้มากยิ่งขึ้น ผมรับทราบว่า ได้มีความร่วมมือในการจัดรายการวิทยุท้องถิ่นร่วมระหว่างไทยกับลาว หรือ โครงการวิทยุแฝด (Twin Radio) ซึ่งผมขอสนับสนุนให้ท่านเอกอัครราชทูตและผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการในแนวทางนี้ต่อไป
ประการต่อมา นอกจากการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจแล้ว ผมอยากให้ทุกท่านทราบว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญอย่างมากต่อการลดช่องว่างของการพัฒนาและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านคือ ลาว พม่า กัมพูชา GDP ของไทยเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว คิดเป็นสัดส่วนประมาณกว่าร้อยละ 90 ในขณะที่ GDP ของประเทศเพื่อนบ้านมีไม่ถึงร้อยละ 10 อันสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างมหาศาล เราต้องพัฒนาเศรษฐกิจของเพื่อนบ้านให้เข้มแข็ง การช่วยเหลือเพื่อนบ้านก็คือการช่วยเหลือตัวเราเองด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบรรเทาปัญหาที่เกี่ยวของกับเศรษฐกิจ เช่น แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ยาเสพติด อาชญากรรมข้ามชาติ
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้ริเริ่มกรอบความร่วมมือ ACMECS ขึ้นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและก่อให้เกิดความเจริญเติบโตมากขึ้นตามแนวชายแดน เพื่ออำนวยความสะดวกให้มีการเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมการเกษตร และการผลิตไปยังบริเวณที่มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ เพื่อสร้างการจ้างงานและลดความแตกต่างของรายได้ระหว่างประเทศสมาชิก และเพื่อส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่งคั่งสำหรับทุกฝ่ายในลักษณะที่ยั่งยืน
ในการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2548 ผู้นำได้รับทราบความคืบหน้าใน 6 สาขาความร่วมมือ ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสาธารณสุข ซึ่งเรื่องสาธารณสุขเป็นสาขาความร่วมมือสาขาใหม่ที่ผมได้เสนอในที่ประชุม ACMECS ระดับรัฐมนตรี เนื่องจากเล็งเห็นถึงอันตรายของโรคไข้หวัดนก มาลาเรีย และโรคระบาดอื่นๆ ซึ่งไทยต้องร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านให้ครบวงจร เพื่อสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยเองด้วย
ในสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 3-4 กรกฎาคม 2549 จะมีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) และระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ACMECS ที่เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สปป.ลาว ซึ่งในโอกาสดังกล่าว ประเทศสมาชิก ACMECS จะพิจารณาร่างแผนปฏิบัติการของ ACMECS ที่ปรับใหม่ในที่ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสะท้อนถึงสมาชิกภาพใน ACMECS ของเวียดนาม สถานะล่าสุดของการดำเนินการ และสภาพเหตุการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งที่ประชุมเชิงปฏิบัติการได้เสนอให้มีการแยกสาขาความร่วมมือด้านเกษตรและอุตสาหกรรม ออกเป็นสาขาความร่วมมือด้านเกษตร และสาขาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมและพลังงาน ซึ่งไทยพร้อมที่จะเสนอตัวเป็นผู้ประสานงานหลักของสาขาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมและพลังงานนี้
ประการที่ห้า กระทรวงการต่างประเทศให้ความสำคัญและสนับสนุนการทำงานของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดตลอดมาตั้งแต่ที่ผมเข้ารับตำแหน่งในเดือนมีนาคม ปีที่แล้ว ผมได้นำคณะข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เดินทางไปจังหวัดต่างๆ หลายครั้งหลายโอกาส อาทิ เมื่อเดือนสิงหาคม 2548 ผมได้นำคณะเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ของไทยทั่วโลกเดินทางไปจังหวัดกระบี่เพื่อเยี่ยมชมโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สหกรณ์นิคมอ่าวลึกจำกัด ซึ่งเป็นการพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อรองรับกับสถานการณ์วิกฤตด้านพลังงานที่เกิดขึ้นในโลก ต่อจากนั้น ได้เดินทางไปเยี่ยมจังหวัดปัตตานีและรับฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งไปเยี่ยมจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผมได้สนับสนุนให้ผู้บริหารและข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศให้เดินทางไปพบปะกับข้าราชการ ภาคเอกชนและพี่น้องประชาชนตามจังหวัดต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อได้เรียนรู้และเปิดโลกทัศน์ของกระทรวงการต่างประเทศเอง
นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้จัดโครงการสัมมนาเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการด้านการต่างประเทศร่วมกับหน่วยงานและมหาวิทยาลัยในจังหวัดชายแดนในลักษณะคณะเคลื่อนที่หรือ mobile unit ให้แก่จังหวัดต่างๆ เป็นระยะๆ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2549 ที่จังหวัดเชียงราย และล่าสุด เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2549 ที่จังหวัดสงขลาที่ผมได้เดินทางไปร่วมเอง และเราจะจัดการสัมมนาลักษณะเช่นนี้เวียนไปจังหวัดต่างๆ ให้ครบทุกภาค ผมเห็นประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการดังกล่าว 2 ประการ ประการแรก จังหวัดได้รับทราบและเกิดความเข้าใจถึงการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศและนโยบายด้านการต่างประเทศของไทยในภาพรวม ประการที่สอง ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์กับจังหวัด ภาคราชการ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง และรับทราบข้อปัญหาอุปสรรคในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำนโยบายต่างประเทศให้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อคนไทยทั้งประเทศ
ประการที่หก ผมได้รับทราบยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด และภาคเหนือตอนล่าง 5 จังหวัด ซึ่งได้ผ่านการประชุม CEO Retreat ครั้งที่ 2 กับ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีไปแล้วเมื่อวันที่ 6 มกราคม ที่ผ่านมา ซึ่งผมขอแสดงความชื่นชมว่า ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บริหาร ภาคราชการและเอกชนในจังหวัดที่เกี่ยวข้องได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มจังหวัดกับประเทศเพื่อนบ้านในทั้งกรอบทวิภาคีและพหุภาคี ยุทธศาสตร์เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า จังหวัดและกลุ่มจังหวัดของท่านมีความตระหนักและมีความพร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านการเชื่อมโยงคมนาคม ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ อย่างไรก็ดี ผมอยากให้ทุกท่านตระหนักว่า ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดและจังหวัดได้กำหนดมาเพื่อช่วยให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดมีเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจนในการบริหารและพัฒนาจังหวัด และกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในการทำงานระหว่างจังหวัด/กลุ่มจังหวัด แต่เมื่อทุกท่านออกไปต่างประเทศ ทุกท่านคือคนในทีมเดียวกัน ไม่ว่าจะมาจากจังหวัดใด คือสมาชิกหนึ่งในทีมประเทศไทย เป้าหมายของเรา คือ การเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับประเทศเพื่อนบ้าน
การส่งเสริมภาคเอกชนไทยให้ขยายการค้าการลงทุนกับต่างประเทศ เราอาจจะแข่งขันกันทำงาน ซึ่งก็เป็นธรรมชาติ แต่เราต้องไม่ขัดแย้งกัน เราต้องบริหารจัดการให้การแข่งขันเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ กล่าวคือ มีการบริหารจัดการการแข่งขัน หรือ Management of Competition เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน คือผลประโยชน์ของประชาชนอย่างทั่วถึง
ผมมีข้อแนะนำเพิ่มเติมบางประการที่ท่านทั้งหลายอาจจะนำไปพิจารณาประกอบการดำเนินงาน ดังนี้
ประการแรก การต่างประเทศในปัจจุบันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวท่านมากกว่าในอดีต ท่านทั้งหลายได้เข้าเป็น “ผู้เล่น” หรือ “ผู้สนับสนุน” งานด้านต่างประเทศในระดับที่ต่างๆ กันไปในขณะที่เรามียุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศกับประเทศนั้นเพียงยุทธศาสตร์เดียว ดังนั้น ท่านทั้งหลายจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านให้มากที่สุด และเผยแพร่แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ ให้มากที่สุด เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและเพื่อที่เราจะได้ร่วมมือกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เล่นบทบาทได้สอดคล้องกัน ส่งลูกรับลูกกันได้ มีความเป็นเอกภาพ แข่งขันกันทำงานแต่ไม่แข่งขันกันเอง และขอให้ทุกท่านยึดนโยบาย “การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ” เป็นกรอบในการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ กับประเทศเพื่อนบ้านต่อไป
ประการที่สอง ขอให้ทุกท่านสร้างความพร้อมอยู่เสมอๆ เพื่อรองรับกับพัฒนาการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นทั้งในประเทศและระดับอนุภูมิภาค ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เราจะเห็นภาพกิจกรรมการค้า การลงทุน ระหว่างไทยและประเทศต่างๆ มากยิ่งขึ้นผ่านเครือข่ายคมนาคม ทั้งจากด้าน East West Economic Corridor (พม่า-ไทย-ลาว-เวียดนาม) North South Economic Corridor (ไทย-พม่า-ลาว-จีน ) และ Southern Economic Corridor (ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม)
ผมเห็นว่า ประโยชน์ไม่ได้อยู่ที่สะพาน หรือการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม แต่ขึ้นอยู่ว่า เราจะใช้ประโยชน์จากเส้นทาง EWEC North South Economic Corridor และ Southern Economic Corridor ได้อย่างไร ดังนั้น ความพร้อมประการแรก คือ เราจะต้องแยกภาพให้ออกว่า การเชื่อมโยงเส้นทางเหล่านี้ไม่ใช่เป็นเรื่องระหว่างประเทศไทย พม่า ลาว และเวียดนาม หรือประเทศในอนุภูมิภาคเท่านั้น แต่ท่านทั้งหลายจะต้องหาลู่ทางใช้เส้นทางนี้เชื่อมโยงการค้าในระดับภูมิภาค เพราะเส้นทาง EWEC นี้ทำให้ไทยสามารถส่งสินค้าไปถึงอินเดีย และตะวันออกกลาง หรือกว้างออกไปกว่านั้นได้อย่างเต็มที่
นอกจากนี้ เราต้องเตรียมความพร้อมไม่ว่าจะเป็นการหาหนทางเพิ่มมูลค่าสินค้าที่จะผ่านเส้นทาง EWEC การปรับกฎระเบียบภายในของเราเองเพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเข้าและส่งออกสินค้า การทบทวนยุทธศาสตร์ ทั้งในส่วนของท้องถิ่นและส่วนกลาง ว่า เมื่อประตูการค้าช่องทางนี้ เปิดออกแล้ว เราสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างไรให้ทั้งประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กัน
รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุน Contract Farming การท่องเที่ยวในอนุภูมิภาค Five Countries One Destination ในกรอบ ACMECS ล่าสุด ไทยร่วมกับกัมพูชาได้จัดทำโครงการนำร่อง Single Visa ซึ่งวีซ่าเข้าประเทศไทยสามารถใช้เข้ากัมพูชาได้ และวีซ่าเข้ากัมพูชาก็สามารถใช้เข้าประเทศไทยได้ ซึ่งจะมุ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวระหว่างกันและจากประเทศที่สาม
ความพร้อมในประการต่อมา คือ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย เนื่องจากจะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อย่างแท้จริง ผมยินดีที่วันนี้ เราได้จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในลักษณะ Public Private Partnership (PPP) ซึ่งมีทั้งภาครัฐ เอกชน และวิชาการ ผมอยากให้ทุกท่านตื่นตัวและเร่งเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรของเราเอง เพื่อให้เรารู้ข้อมูลเท่าทันและเตรียมรับกับสิ่งต่างๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กับเส้นทางเครือข่ายคมนาคมนี้
ความพร้อมประการสุดท้ายที่ลืมไม่ได้ คือ ผลกระทบในด้านลบจากการใช้ประโยชน์ในเส้นทางเหล่านี้ อาทิ อาชญากรรมข้ามชาติ แรงงานผิดกฎหมาย ยาเสพติด การค้ามนุษย์และโรคระบาด ซึ่งจะมาพร้อมกับเส้นทางและการคมนาคมขนส่งที่รวดเร็วทันสมัย ผมขอให้ทุกท่านเตรียมวางแผนรองรับรวมทั้งจัดทำเครือข่ายเตือนภัยล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกัน และหากเกิดผลกระทบทางลบขึ้น เราจะได้จัดการได้อย่างทันการณ์ และไม่เกิดความสูญเสียหรือสูญเสียน้อยที่สุด
ท้ายสุดนี้ ผมขออวยพรให้ทุกท่านในที่นี้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และขอเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างเอกอัครราชทูตแบบบูรณาการในประเทศเพื่อนบ้านของไทยกับผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (19 จังหวัด) และผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคเหนือตอนล่าง (5 จังหวัด) อย่างเป็นทางการ ณ บัดนี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
คำกล่าวเปิดของ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างเอกอัครราชทูตแบบบูรณาการใน 5 ประเทศเพื่อนบ้านของไทยกับผู้ว่าราชการจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (19 จังหวัด) และภาคเหนือตอนล่าง (5 จังหวัด) วันที่ 30 มิถุนายน 2549 ณ ห้องประชุมออคิดบอลรูม 1 โรงแรมโซฟิเทล จังหวัดขอนแก่น
ท่านปลัดกระทรวงมหาดไทย
ท่านเลขาธิการ กพร.
ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด
ท่านเอกอัครราชทูตและท่านกงสุลใหญ่
ผู้เข้าร่วมประชุมและแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมรู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาพบปะกับทุกท่านในโอกาสการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดและเอกอัครราชทูตแบบบูรณาการที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่สาม แต่เป็นครั้งแรกที่ผมได้มาราชการที่จังหวัดขอนแก่น ผมมีความรู้สึกประทับใจกับการต้อนรับและอัธยาศัยไมตรีของชาวจังหวัดขอนแก่นอย่างมาก และหากมีโอกาส ผมจะขอมาเยือนจังหวัดขอนแก่นและจะอยู่ในจังหวัดขอนแก่นเป็นระยะเวลาที่ยาวนานกว่าวันนี้
ผมขอร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นบางประการกับทุกท่าน ดังนี้
ประการแรก ผมขอแสดงความชื่นชมท่านผู้ว่าราชการจังหวัดและเอกอัครราชทูต/กงสุลใหญ่ทุกท่านที่ทำงานอย่างแข็งขันและร่วมประสานงานกันทำให้เกิดประโยชน์ต่อการผลักดันยุทธศาสตร์ของชาติในภาพรวม ผมรับทราบว่า บางท่านได้เดินทางมาตั้งแต่เมื่อวานแล้วและได้หารือระดมสมองกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากเส้นทางแนวเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (หรือ East West Economic Corridor-EWEC) ผมพร้อมจะรับฟังและหากมีประเด็นใดที่จะสามารถให้แนวทางแก้ไขปัญหาได้เลย ก็พร้อมจะสั่งการให้ หรือหากจำเป็นต้องเสนอขึ้นในระดับรัฐบาล ผมก็พร้อมจะดำเนินการเพื่อให้การปฏิบัติงานในพื้นที่ของท่านทั้งหลายเป็นไปอย่างราบรื่น
ประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องทำงานแบบบูรณาการและเป็นทีมเดียวกัน คือ ทีมไทยแลนด์ทั้งในและต่างประเทศ จากนี้ต่อไป การดำเนินการนโยบายการต่างประเทศของไทยในทุกระดับ ทุกท่านจะต้องใส่เสื้อทีมประเทศไทย ไม่ใช่เสื้อทีมสโมสรกระทรวง ทบวง กรม จังหวัด หรือกลุ่มจังหวัด
ประการที่สอง ผมได้รับรายงานว่า ในการประชุมครั้งก่อน ได้มีผลสรุปในแนวทาง 3 ร่วม คือ 1) การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมในจังหวัด/กลุ่มจังหวัดชายแดน 2) การประชุมร่วมกันระหวางผู้ว่าราชการจังหวัด CEO และเอกอัครราชทูต CEO และ 3) การจัดหลักสูตรฝึกอบรมร่วมกันระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งผมยินดีที่ได้รับทราบว่า แนวทาง 3 ร่วมได้มีพัฒนาการความคืบหน้าไปมากแล้ว และวันนี้ เราได้มารวมตัวกันในแนวทาง 3 ร่วมในการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัด CEO และเอกอัครราชทูต CEO และในช่วงบ่าย ผมจะได้ไปเยี่ยมชมศูนย์ปฏิบัติการร่วม หรือ ROC พร้อมกับเป็นประธานในพิธีเปิด จึงขอเชิญทุกท่านไปเยี่ยมชมศูนย์ ROC ของเราพร้อมกัน
ผมเห็นว่า การเชื่อมโยงการทำงานระหว่างเอกอัครราชทูต และผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นข้อริเริ่มที่เป็นประโยชน์มาก ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ผมเห็นการทำงานที่มีมิติเชื่อมโยงกันมากยิ่งขึ้นระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดกับเอกอัครราชทูต ทั้งในลักษณะสองคนเข้าหากัน คือเอกอัครราชทูตหรือผู้ว่าราชการจังหวัดเดินทางไปหารือประชุมร่วมกันโดยตรง และลักษณะเต็มคณะ คือคณะเอกอัครราชทูตและคณะผู้ว่าราชการจังหวัดมาประชุมร่วมกัน ดังเช่นในการประชุมวันนี้ ผมมั่นใจว่า แนวโน้มการทำงานเช่นนี้ จะต้องดำเนินต่อไปไม่ว่าในอนาคตจะมีใครมาเป็นรัฐบาล
เอกอัครราชทูตถือเป็นผู้แทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเป็นผู้ช่วยของรัฐบาลในด้านการต่างประเทศ ต้องมีความรอบรู้เกี่ยวกับประเทศไทยและประเทศที่ตนไปประจำการเป็นอย่างดี ที่เราเรียกว่า รู้เขารู้เรา จะต้องเป็นผู้เปิดประตูความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการเสริมสร้างมิตรภาพและความร่วมมือ เป็นผู้ที่มองเห็นโอกาสต่างๆ รวมทั้งเป็นผู้สร้างโอกาสให้คนไทย แล้วนำข้อมูลเหล่านั้น มาแจ้งให้รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ในประเทศรับทราบและสานต่อ ในอีกด้านหนึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดก็เป็นผู้ช่วยของรัฐบาล ต้องเป็นผู้ที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นของตนดีที่สุดเช่นกัน จะต้องเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ท้องถิ่น/กลุ่มจังหวัดให้บรรลุและให้ได้ผลในระดับชาติ
หากส่วนราชการทั้งสองส่วน คือ ส่วนราชการในระดับภูมิภาค/ท้องถิ่นและส่วนราชการในต่างประเทศ ทำงานอย่างสอดรับกัน ส่งไม้รับไม้ให้ทัน เราก็จะได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์จากการทำงานแบบ Inside Out และ Outside In และผู้ที่ได้รับประโยชน์ก็คือประชาชนไทย
ประการที่สาม ผมเห็นว่า เอกอัครราชทูตและท่านผู้ว่าราชการจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นด่านหน้าที่มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ใน “กลไก” ดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านโดยตรง นโยบายของรัฐบาลปัจจุบันคือการเน้น “การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ” กับประเทศเพื่อนบ้านให้เกิดขึ้น และผมอยากให้ท่านทั้งหลายยึดหลักการ “สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ” เป็นกรอบในการดำเนินทุกๆ กิจกรรม และทุกๆ โครงการกับประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากหากเรามีความร่วมมือในโครงการมากมายกันแล้ว แต่มีภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่งที่ขาดความเข้าใจในประเด็นละเอียดอ่อนของประเทศเพื่อนบ้าน ก็จะกระทบกับความสัมพันธ์ในภาพรวม ตรงนี้มีความสำคัญมาก และผลก็จะกระทบโดยตรงกับพี่น้องประชาชนไทยตามจังหวัดชายแดน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการค้าการลงทุน การท่องเที่ยว
สื่อมวลชนไทยเป็นอีกภาคส่วนที่มีความสำคัญอย่างมากในการสร้าง “ความไว้เนื้อเชื่อใจ” กับประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากภาคสื่อมวลชนสามารถนำเสนอข้อมูลข่าวสารไปยังทุกท่านได้โดยตรงและอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะผ่านทางรายการวิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี ภาพยนตร์ หรือนิตยสาร สิ่งตีพิมพ์ ปัจจุบัน ไม่เพียงแต่คนไทยเท่านั้นที่บริโภคข้อมูล ข่าวสารเหล่านี้ แต่เพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นคนพม่า คนลาว คนกัมพูชา ก็ติดตาม อ่าน ฟัง และรับชมรายการวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และนิตยสารของไทยเช่นเดียวกัน ดังนั้น หากสื่อมวลชนคำนึงแต่ผลตอบแทนทางธุรกิจและทำรายการเพื่อความบันเทิงเพียงอย่างเดียว โดยขาดความเข้าใจถึงความละเอียดอ่อนด้านวัฒนธรรม ประเพณี ความรู้สึก หรือวิถีชีวิตของเพื่อนบ้านเรา ก็จะส่งสัญญาณที่ผิดให้แก่เพื่อนบ้าน และอาจลุกลามจนเป็นประเด็นระหว่างประเทศได้ และสุดท้าย ผลกำไรที่เราได้จากการฉายภาพยนตร์เพียงหลักสิบหรือหลักร้อยล้าน ก็จะทำลายความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับเพื่อนบ้าน ซึ่งทุกส่วนราชการและเอกชนใช้เวลาในการสร้างเป็นหลายสิบปี รวมทั้งกระทบกับการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ซึ่งมีมูลค่ามากมายกว่าผลกำไรที่ได้รับจากภาพยนตร์
เมื่อไม่นานมานี้ ก็มีตัวอย่างภาพยนตร์ที่กระทบความรู้สึกของทั้งลาวและกัมพูชา ผมจึงอยากให้ท่านทั้งหลายพูดคุยกับสื่อมวลชนให้มากขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ เหล่านี้ นอกจากนี้ ผมสนับสนุนให้การแลกเปลี่ยนระหว่างสื่อมวลชน ทั้งจากส่วนกลางและท้องถิ่น ให้มากยิ่งขึ้น ผมรับทราบว่า ได้มีความร่วมมือในการจัดรายการวิทยุท้องถิ่นร่วมระหว่างไทยกับลาว หรือ โครงการวิทยุแฝด (Twin Radio) ซึ่งผมขอสนับสนุนให้ท่านเอกอัครราชทูตและผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการในแนวทางนี้ต่อไป
ประการต่อมา นอกจากการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจแล้ว ผมอยากให้ทุกท่านทราบว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญอย่างมากต่อการลดช่องว่างของการพัฒนาและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านคือ ลาว พม่า กัมพูชา GDP ของไทยเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว คิดเป็นสัดส่วนประมาณกว่าร้อยละ 90 ในขณะที่ GDP ของประเทศเพื่อนบ้านมีไม่ถึงร้อยละ 10 อันสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างมหาศาล เราต้องพัฒนาเศรษฐกิจของเพื่อนบ้านให้เข้มแข็ง การช่วยเหลือเพื่อนบ้านก็คือการช่วยเหลือตัวเราเองด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบรรเทาปัญหาที่เกี่ยวของกับเศรษฐกิจ เช่น แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ยาเสพติด อาชญากรรมข้ามชาติ
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้ริเริ่มกรอบความร่วมมือ ACMECS ขึ้นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและก่อให้เกิดความเจริญเติบโตมากขึ้นตามแนวชายแดน เพื่ออำนวยความสะดวกให้มีการเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมการเกษตร และการผลิตไปยังบริเวณที่มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ เพื่อสร้างการจ้างงานและลดความแตกต่างของรายได้ระหว่างประเทศสมาชิก และเพื่อส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่งคั่งสำหรับทุกฝ่ายในลักษณะที่ยั่งยืน
ในการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2548 ผู้นำได้รับทราบความคืบหน้าใน 6 สาขาความร่วมมือ ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสาธารณสุข ซึ่งเรื่องสาธารณสุขเป็นสาขาความร่วมมือสาขาใหม่ที่ผมได้เสนอในที่ประชุม ACMECS ระดับรัฐมนตรี เนื่องจากเล็งเห็นถึงอันตรายของโรคไข้หวัดนก มาลาเรีย และโรคระบาดอื่นๆ ซึ่งไทยต้องร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านให้ครบวงจร เพื่อสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยเองด้วย
ในสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 3-4 กรกฎาคม 2549 จะมีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) และระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ACMECS ที่เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สปป.ลาว ซึ่งในโอกาสดังกล่าว ประเทศสมาชิก ACMECS จะพิจารณาร่างแผนปฏิบัติการของ ACMECS ที่ปรับใหม่ในที่ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสะท้อนถึงสมาชิกภาพใน ACMECS ของเวียดนาม สถานะล่าสุดของการดำเนินการ และสภาพเหตุการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งที่ประชุมเชิงปฏิบัติการได้เสนอให้มีการแยกสาขาความร่วมมือด้านเกษตรและอุตสาหกรรม ออกเป็นสาขาความร่วมมือด้านเกษตร และสาขาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมและพลังงาน ซึ่งไทยพร้อมที่จะเสนอตัวเป็นผู้ประสานงานหลักของสาขาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมและพลังงานนี้
ประการที่ห้า กระทรวงการต่างประเทศให้ความสำคัญและสนับสนุนการทำงานของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดตลอดมาตั้งแต่ที่ผมเข้ารับตำแหน่งในเดือนมีนาคม ปีที่แล้ว ผมได้นำคณะข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เดินทางไปจังหวัดต่างๆ หลายครั้งหลายโอกาส อาทิ เมื่อเดือนสิงหาคม 2548 ผมได้นำคณะเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ของไทยทั่วโลกเดินทางไปจังหวัดกระบี่เพื่อเยี่ยมชมโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สหกรณ์นิคมอ่าวลึกจำกัด ซึ่งเป็นการพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อรองรับกับสถานการณ์วิกฤตด้านพลังงานที่เกิดขึ้นในโลก ต่อจากนั้น ได้เดินทางไปเยี่ยมจังหวัดปัตตานีและรับฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งไปเยี่ยมจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผมได้สนับสนุนให้ผู้บริหารและข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศให้เดินทางไปพบปะกับข้าราชการ ภาคเอกชนและพี่น้องประชาชนตามจังหวัดต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อได้เรียนรู้และเปิดโลกทัศน์ของกระทรวงการต่างประเทศเอง
นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้จัดโครงการสัมมนาเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการด้านการต่างประเทศร่วมกับหน่วยงานและมหาวิทยาลัยในจังหวัดชายแดนในลักษณะคณะเคลื่อนที่หรือ mobile unit ให้แก่จังหวัดต่างๆ เป็นระยะๆ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2549 ที่จังหวัดเชียงราย และล่าสุด เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2549 ที่จังหวัดสงขลาที่ผมได้เดินทางไปร่วมเอง และเราจะจัดการสัมมนาลักษณะเช่นนี้เวียนไปจังหวัดต่างๆ ให้ครบทุกภาค ผมเห็นประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการดังกล่าว 2 ประการ ประการแรก จังหวัดได้รับทราบและเกิดความเข้าใจถึงการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศและนโยบายด้านการต่างประเทศของไทยในภาพรวม ประการที่สอง ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์กับจังหวัด ภาคราชการ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง และรับทราบข้อปัญหาอุปสรรคในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำนโยบายต่างประเทศให้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อคนไทยทั้งประเทศ
ประการที่หก ผมได้รับทราบยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด และภาคเหนือตอนล่าง 5 จังหวัด ซึ่งได้ผ่านการประชุม CEO Retreat ครั้งที่ 2 กับ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีไปแล้วเมื่อวันที่ 6 มกราคม ที่ผ่านมา ซึ่งผมขอแสดงความชื่นชมว่า ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บริหาร ภาคราชการและเอกชนในจังหวัดที่เกี่ยวข้องได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มจังหวัดกับประเทศเพื่อนบ้านในทั้งกรอบทวิภาคีและพหุภาคี ยุทธศาสตร์เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า จังหวัดและกลุ่มจังหวัดของท่านมีความตระหนักและมีความพร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านการเชื่อมโยงคมนาคม ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ อย่างไรก็ดี ผมอยากให้ทุกท่านตระหนักว่า ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดและจังหวัดได้กำหนดมาเพื่อช่วยให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดมีเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจนในการบริหารและพัฒนาจังหวัด และกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในการทำงานระหว่างจังหวัด/กลุ่มจังหวัด แต่เมื่อทุกท่านออกไปต่างประเทศ ทุกท่านคือคนในทีมเดียวกัน ไม่ว่าจะมาจากจังหวัดใด คือสมาชิกหนึ่งในทีมประเทศไทย เป้าหมายของเรา คือ การเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับประเทศเพื่อนบ้าน
การส่งเสริมภาคเอกชนไทยให้ขยายการค้าการลงทุนกับต่างประเทศ เราอาจจะแข่งขันกันทำงาน ซึ่งก็เป็นธรรมชาติ แต่เราต้องไม่ขัดแย้งกัน เราต้องบริหารจัดการให้การแข่งขันเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ กล่าวคือ มีการบริหารจัดการการแข่งขัน หรือ Management of Competition เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน คือผลประโยชน์ของประชาชนอย่างทั่วถึง
ผมมีข้อแนะนำเพิ่มเติมบางประการที่ท่านทั้งหลายอาจจะนำไปพิจารณาประกอบการดำเนินงาน ดังนี้
ประการแรก การต่างประเทศในปัจจุบันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวท่านมากกว่าในอดีต ท่านทั้งหลายได้เข้าเป็น “ผู้เล่น” หรือ “ผู้สนับสนุน” งานด้านต่างประเทศในระดับที่ต่างๆ กันไปในขณะที่เรามียุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศกับประเทศนั้นเพียงยุทธศาสตร์เดียว ดังนั้น ท่านทั้งหลายจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านให้มากที่สุด และเผยแพร่แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ ให้มากที่สุด เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและเพื่อที่เราจะได้ร่วมมือกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เล่นบทบาทได้สอดคล้องกัน ส่งลูกรับลูกกันได้ มีความเป็นเอกภาพ แข่งขันกันทำงานแต่ไม่แข่งขันกันเอง และขอให้ทุกท่านยึดนโยบาย “การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ” เป็นกรอบในการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ กับประเทศเพื่อนบ้านต่อไป
ประการที่สอง ขอให้ทุกท่านสร้างความพร้อมอยู่เสมอๆ เพื่อรองรับกับพัฒนาการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นทั้งในประเทศและระดับอนุภูมิภาค ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เราจะเห็นภาพกิจกรรมการค้า การลงทุน ระหว่างไทยและประเทศต่างๆ มากยิ่งขึ้นผ่านเครือข่ายคมนาคม ทั้งจากด้าน East West Economic Corridor (พม่า-ไทย-ลาว-เวียดนาม) North South Economic Corridor (ไทย-พม่า-ลาว-จีน ) และ Southern Economic Corridor (ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม)
ผมเห็นว่า ประโยชน์ไม่ได้อยู่ที่สะพาน หรือการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม แต่ขึ้นอยู่ว่า เราจะใช้ประโยชน์จากเส้นทาง EWEC North South Economic Corridor และ Southern Economic Corridor ได้อย่างไร ดังนั้น ความพร้อมประการแรก คือ เราจะต้องแยกภาพให้ออกว่า การเชื่อมโยงเส้นทางเหล่านี้ไม่ใช่เป็นเรื่องระหว่างประเทศไทย พม่า ลาว และเวียดนาม หรือประเทศในอนุภูมิภาคเท่านั้น แต่ท่านทั้งหลายจะต้องหาลู่ทางใช้เส้นทางนี้เชื่อมโยงการค้าในระดับภูมิภาค เพราะเส้นทาง EWEC นี้ทำให้ไทยสามารถส่งสินค้าไปถึงอินเดีย และตะวันออกกลาง หรือกว้างออกไปกว่านั้นได้อย่างเต็มที่
นอกจากนี้ เราต้องเตรียมความพร้อมไม่ว่าจะเป็นการหาหนทางเพิ่มมูลค่าสินค้าที่จะผ่านเส้นทาง EWEC การปรับกฎระเบียบภายในของเราเองเพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเข้าและส่งออกสินค้า การทบทวนยุทธศาสตร์ ทั้งในส่วนของท้องถิ่นและส่วนกลาง ว่า เมื่อประตูการค้าช่องทางนี้ เปิดออกแล้ว เราสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างไรให้ทั้งประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กัน
รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุน Contract Farming การท่องเที่ยวในอนุภูมิภาค Five Countries One Destination ในกรอบ ACMECS ล่าสุด ไทยร่วมกับกัมพูชาได้จัดทำโครงการนำร่อง Single Visa ซึ่งวีซ่าเข้าประเทศไทยสามารถใช้เข้ากัมพูชาได้ และวีซ่าเข้ากัมพูชาก็สามารถใช้เข้าประเทศไทยได้ ซึ่งจะมุ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวระหว่างกันและจากประเทศที่สาม
ความพร้อมในประการต่อมา คือ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย เนื่องจากจะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อย่างแท้จริง ผมยินดีที่วันนี้ เราได้จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในลักษณะ Public Private Partnership (PPP) ซึ่งมีทั้งภาครัฐ เอกชน และวิชาการ ผมอยากให้ทุกท่านตื่นตัวและเร่งเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรของเราเอง เพื่อให้เรารู้ข้อมูลเท่าทันและเตรียมรับกับสิ่งต่างๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กับเส้นทางเครือข่ายคมนาคมนี้
ความพร้อมประการสุดท้ายที่ลืมไม่ได้ คือ ผลกระทบในด้านลบจากการใช้ประโยชน์ในเส้นทางเหล่านี้ อาทิ อาชญากรรมข้ามชาติ แรงงานผิดกฎหมาย ยาเสพติด การค้ามนุษย์และโรคระบาด ซึ่งจะมาพร้อมกับเส้นทางและการคมนาคมขนส่งที่รวดเร็วทันสมัย ผมขอให้ทุกท่านเตรียมวางแผนรองรับรวมทั้งจัดทำเครือข่ายเตือนภัยล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกัน และหากเกิดผลกระทบทางลบขึ้น เราจะได้จัดการได้อย่างทันการณ์ และไม่เกิดความสูญเสียหรือสูญเสียน้อยที่สุด
ท้ายสุดนี้ ผมขออวยพรให้ทุกท่านในที่นี้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และขอเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างเอกอัครราชทูตแบบบูรณาการในประเทศเพื่อนบ้านของไทยกับผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (19 จังหวัด) และผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคเหนือตอนล่าง (5 จังหวัด) อย่างเป็นทางการ ณ บัดนี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-