พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งแต่ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม - 6 เมษายน 2549

ข่าวทั่วไป Friday March 31, 2006 15:04 —กรมอุตุนิยมวิทยา

          พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร  
วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549 ฉบับที่ 39/2549
คาดหมายลักษณะอากาศเพื่อการเกษตรใน 7 วันข้างหน้า
ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม - 6 เมษายน 2549
ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. — 1 เม.ย. คลื่นกระแสลมตะวันตกจะปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีพายุฝนฟ้าคะนองกระจาย กับมีลมกระโชกแรงและอาจมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีลมตะวันออกพัด ปกคลุม ทำให้มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ในช่วงวันที่ 2-6 เม.ย. ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยจะมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงลดลงกว่าในช่วงที่ผ่านมา สำหรับภาคใต้จะมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นส่วนมากตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป
ข้อควรระวัง
ในช่วงวันที่ 31 มี.ค.- 1 เม.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และภาคตะวันออกระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก
ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ ในระยะ 7 วันข้างหน้า มีดังนี้
เหนือ
ในวันที่ 31 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองกระจาย 60 % ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 1-6 เม.ย. มีฝนลดลง และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยมีอากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส และมีอากาศร้อนจัดบริเวณจังหวัดตาก และลำปาง อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 40 องศาเซลเซียส กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ลมอ่อน ความเร็ว 6-12 กม./ชม.
ในวันที่ 31 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองกระจาย 60 % ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกบางแห่ง ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 1-6 เม.ย. มีฝนลดลง และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยมีอากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส และมีอากาศร้อนจัดบริเวณจังหวัดตาก และลำปาง อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 40 องศาเซลเซียส กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ลมอ่อน ความเร็ว 6-12 กม./ชม. เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้และ วางแผนการใช้อย่างประหยัด เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ในการอุปโภค บริโภค และการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อยด้วย ส่วนชาวไร่ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนชนิดต่างๆ โดยเฉพาะในพืชตระกูลถั่ว
ตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. — 1 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 60-80 % ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 2-6 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30 % ของพื้นที่ และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยมีอากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. — 1 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 60-80 % ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 2-6 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30 % ของพื้นที่ และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยมีอากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. เนื่องจากระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรหมั่นสำรวจและดูแลสัตว์เลี้ยงเพราะอาจจะเจ็บป่วยได้ง่าย ส่วนผู้ที่ปลูกพืชไร่และผักควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยและไรชนิดต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณตอนล่างของภาค อนึ่ง บริเวณที่มีฝนตกเกษตรกรควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งนี้ด้วย
กลาง
ในวันที่ 31 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 % ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 1-6 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่ง ๆ 10-20 % ของพื้นที่ และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยมีอากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ในวันที่ 31 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 % ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 1-6 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่ง ๆ 10-20 % ของพื้นที่ และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยมีอากาศร้อน อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. เนื่องจากในช่วงวันที่ 1-6 เม.ย. อากาศจะร้อนขึ้น เกษตรกรควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งควรจัดหาน้ำให้แก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอด้วย ส่วนชาวสวนผลไม้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งจะทำให้ผลแคระแกร็น
ตะวันออก
ในวันที่ 31 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นกระจายประมาณ 40 % ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 1-6 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30 % ของพื้นที่ กับมี ลมกระโชกแรงบางแห่งบริเวณเทือกเขาและชายฝั่ง และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยมีอากาศร้อนทางตอนบน ของภาค อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม
ในวันที่ 31 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นกระจายประมาณ 40 % ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 1-6 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30 % ของพื้นที่ กับมี ลมกระโชกแรงบางแห่งบริเวณเทือกเขาและชายฝั่ง และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยมีอากาศร้อนทางตอนบน ของภาค อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ชาวสวนผลไม้ควรผูกโยงและค้ำยันกิ่งของไม้ผลที่กำลังให้ผลผลิตให้แข็งแรงเพื่อป้องกันความเสียหายจากลมกระโชกแรงในระยะนี้ และตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ฝน จะลดลงและมีอุณหภูมิสูงขึ้น เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยชนิดต่างๆ ด้วย
ใต้
ทางฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 31 มี.ค. — 1 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30 % ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. สำหรับในช่วงวันที่ 2-6 เม.ย. จะมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นส่วนมากตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 31 มี.ค. — 1 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 10 % ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 2-6 เม.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทางฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 31 มี.ค. — 1 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30 % ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. สำหรับในช่วงวันที่ 2-6 เม.ย. จะมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นส่วนมากตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 31 มี.ค. — 1 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 10 % ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 2-6 เม.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. สำหรับไม้ผลที่กำลังติดผลอ่อน ชาวสวนควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนชนิดต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผลอ่อนร่วงหล่น ส่วนชาวสวนกาแฟควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อราด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ