ในไตรมาส 3/2548 เศรษฐกิจฮ่องกงมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น ร้อยละ 6.4 เนื่องมาจากการขยายตัวของการค้าจากภายนอกประเทศ (external trade) ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ คือ ร้อยละ 5.6 อย่างไรก็ตามรัฐบาลฮ่องกงคาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้จะเท่ากับร้อยละ 4.5-5.5 เท่านั้น ทั้งนี้ เนื่องจากเกิดปัจจัยความไม่แน่นอนหลายประการ อาทิเช่น ปรากฏการณ์ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลทำให้อัตราการเติบโตของการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 9 เป็นร้อยละ 8 สำหรับอัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 4 ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 5.6 เป็นร้อยละ 5.4 ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภค (composite consumer price index) ในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นในรอบ 7 ปี ในอัตราร้อยละ 0.5 โดยเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในอัตราร้อยละ 1 ในเดือนสิงหาคม สำหรับอัตราเงินเฟ้อของฮ่องกง คาดว่าจะปรับเพิ่มอย่างต่อเนื่องในทุกไตรมาส จากผลกระทบค่าเช่าที่เพิ่มสูงขึ้น โดยคิดเป็นร้อยละ 1.1 ของทั้งปี 2548 ในปี 2548 คาดว่าเศรษฐกิจฮ่องกงจะขยายตัวประมาณร้อยละ 6.0เกาหลีใต้ ในไตรมาส 3/2548 เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวร้อยละ 4.4 (yoy) หรือขยายตัวร้อยละ 1.8 (qoq,sa) ขยายตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 (yoy) โดยปัจจัยสำคัญของภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีขึ้นมาจากอุปสงค์ของภาคครัวเรือนที่ปรับตัวดีขึ้น รวมทั้งการส่งออกสินค้าและบริการที่เร่งฟื้นตัว การส่งออกของเกาหลีใต้ยังขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 18.7 โดยสามารถส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ได้มากขึ้นด้วย สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายนก็เร่งขึ้นเช่นกันมาอยู่ที่ร้อยละ 2.7 เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.0 ธนาคารเกาหลีใต้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 3.25 เป็นร้อยละ 3.5 เมื่อวันที่11 ตุลาคม 2548 เนื่องจากมีแรงกดดันต่อเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดีเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และการบริโภคภาคเอกชขนที่ฟื้นตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2548 เศรษฐกิจเกาหลีใต้จะขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 3.6สรุปภาวะเศรษฐกิจโลกปี 2548 และแนวโน้มปี 2549 โดยภาพรวมเศรษฐกิจโลกขยายตัวเร่งขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี 2548 แต่ยังมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากการขยายตัวที่สูงในปี 2547 โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ได้แก่ สหภาพยุโรป มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกานั้น ส่วนใหญ่จะยังสามารถเติบโตต่อไปได้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2548 จากการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีขึ้นตามอุปสงค์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกและการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวเร่งขึ้นเป็นสำคัญ โดยภาคการส่งออก ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของภูมิภาคเอเชียมีโอกาสได้รับผลกระทบจากการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐอเมริกา ทำให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่าย และอาจทำให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงมาอยู่ในระดับปานกลางที่ประมาณ ร้อยละ 8.5 ในปี 2549 จากเดิมที่อยู่ในระดับมากกว่าร้อยละ 9.0ในปี 2547และ2548 และเพื่อให้เอเชียสามารถคงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไว้ได้ในระยะยาว ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย เสนอแนะให้ประเทศในเอเชียโดยรวมหันมาร่วมมือกันพัฒนาระบบการเงินที่ เป็นหนึ่งเดียว ด้วยการใช้สกุลเงินเดียวกัน (single currency) เช่นเดียวกันกับในสหภาพยุโรป เพื่อเป็นการเสริมความแข็งแกร่งของภูมิภาคไปสู่ระดับโลก นอกจากนี้ต้องรวมกันสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ยกระดับการค้าในภูมิภาค และฟื้นฟูระบบการเงิน การธนาคาร รวมถึงพัฒนาตลาดพันบัตรในภูมิภาคด้วย สำหรับการประมาณการเศรษฐกิจโลกปี 2549 คาดว่าจะชะลอตัว นำโดยการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และจีน ซึ่งนับเป็นการชะลอตัวตามแนวโน้มปกติของวัฏจักรเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลจากการที่ประเทศต่าง ๆ ดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่เข้มงวดมากขึ้นโดยเฉพาะตั้งแต่ครึ่งหลังปี 2548 ซึ่งได้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นตามลำดับเพื่อลดแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น แม้กระทั่งกลุ่มสหภาพยุโรปซึ่งมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับต่ำ ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ธนาคารกลางก็ได้ประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ2.0 เป็นร้อยละ 2.25 ภายหลังจากที่คงระดับอัตราดอกเบี้ยเดิมมาเป็นเวลา 2 ปี และเป็นที่คาดกันว่าภายในสิ้นปี 2549 ธนาคารกลางยุโรปจะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเป็นร้อยละ 2.50 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.50 ภายในกลางปี 2549 และคงอยู่ที่ระดับนั้นจนถึงสิ้นปี สำหรับญี่ปุ่นนั้นระดับราคาสินค้าโดยเฉลี่ยเริ่มเพิ่มขึ้นและแรงกดดันจากภาวะเงินฝืดลดลง อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 0.1 ภายในสิ้นปี 2549 อย่างไรก็ตามภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวในปี 2549 นี้ยังมีความเสี่ยงจากสถานการณ์ต่าง ๆ ได้แก่ ภาวการณ์ขาดดุลการค้าและดุลการคลังขอสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจจะทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และเงินดอลลาร์สหรัฐฯมีค่าอ่อนลงมากและผันผวนได้ ซึ่งในขณะนี้คาดกันว่าในปี 2549 เงินดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินเยน สำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์ร้อนแรงในหลายประเทศทั้ง สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และ ออสเตรเลีย ที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ได้เพิ่มสูงขึ้นมาก และคาดว่าจะเริ่มชะลอลงในปี 2549 ซึ่งนักลงทุนยังคงระมัดระวังว่าจะเป็นการชะลอลงที่ค่อยเป็นค่อยไปหรือไม่ และยังมีความเสี่ยงของเศรษฐกิจที่เกิดจากราคาน้ำมันผันผวน และความเสี่ยงที่เกิดจากอุบัติภัย โรคติดต่อ ความไม่สงบ และการก่อการร้าย เป็นต้น คาดว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 3.4 ในปี 2549 ชะลอตัวจากร้อยละ 3.6 ในปี 2548 เล็กน้อย เศรษฐกิจไทย จากการประมาณการอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายไตรมาสของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2548 ขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2547 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2548 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 5.3 เทียบกับร้อยละ 4.6 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 และร้อยละ 6.0 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 และหากพิจารณาค่า GDP ที่ปรับตัวดัชนีฤดูกาลในไตรมาสที่ 3 ของปี 2548 ขยายตัวร้อยละ 2.2 ซึ่งเท่ากับไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 เช่นเดียวกัน ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2548 ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ผ่านมา และจากไตรมาสเดียวกันของปี 2547 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2548 สาขาอุตสาหกรรมมีการขยายตัว ร้อยละ 6.2 เทียบกับร้อยละ 6.5 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 และร้อยละ 8.2 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 โดยสาขาอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวสูงประกอบด้วยอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เสื้อผ้า อโลหะ โลหะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มีการปรับการคาดการณ์เศรษฐกิจไทย โดยในปี 2548 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.7 และในปี 2549 ขยายตัวร้อยละ 4.7 — 5.7 เนื่องจากมีข้อจำกัดจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ราคาน้ำมันทรงตัวอยู่ในระดับสูง และภาวะอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น สำหรับตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 โดยจะเห็นว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำและเมื่อพิจารณาตัวเลขการส่งออก มูลค่าการส่งออกได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 14.6 โดยมีสินค้าที่ติดอันดับต้น ๆ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ แผงวงจรไฟฟ้า และ เม็ดพลาสติก ในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ และยอดการนำเข้าสินค้าทุน โดยปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.7 ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคพบว่า เครื่องชี้วัดที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า มูลค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม การนำเข้าสินค้าอุปโคบริโภค และปริมาณการจำหน่ายยานพาหนะสำหรับทิศทางการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2549 คงต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ปัจจัยสนับสนุนสำหรับเศรษฐกิจไทย - การลงทุนมีแนวโน้มขยายตัวดี เนื่องจาก มีอัตราการใช้การผลิตที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ มีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่และการตั้งเป้าหมายการเบิกจ่ายร้อยละ 100 จากงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ และ ผลประกอบการของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา - การส่งออกยังมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าเกษตร หมวดอาหาร ยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ - ภาคการเกษตรยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีทั้งในด้านราคาและปริมาณผลผลิตที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นภายหลังประสบปัญหาภัยแล้งในช่วงปีที่ผ่านมา - การท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น จากการฟื้นฟูสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ รวมทั้งการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในภาคอื่นของประเทศปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดของการขยายตัวของเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ราคาน้ำมันที่ยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูง เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง แรงกดดันอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งจะเป็นข้อจำกัดสำหรับการใช้จ่ายครัวเรือน และมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของภาคธุรกิจ ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ การระบาดของไข้หวัดนก และอุบัติภัยต่างๆ แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2549 เศรษฐกิจในปี 2549 คาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.7 — 5.7 โดยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจในปี 2548 มีปัจจัยบวกด้านการลงทุน การฟื้นตัวอย่างเต็มที่มากขึ้นของการท่องเที่ยว และการใช้จ่ายครัวเรือนซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากการจ้างงานและเงินเดือนทั้งของภาคเอกชนและภาครัฐที่สูงขึ้น ในขณะที่แรงกดดันอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะลดลงในช่วงครึ่งหลังของปี สำหรับการส่งออกยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ราคาน้ำมันที่ยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูง และแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นมากตั้งแต่ครึ่งหลังปี 2548 จะเป็นข้อจำกัดของการใช้จ่ายในครัวเรือนและมีผลต่อการลงทุนของภาคธุรกิจ นอกจากนี้ ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ การระบาดของไข้หวัดนก และอุบัติภัยต่างๆ ยังนับเป็นความเสี่ยงของเศรษฐกิจที่ต้องระมัดระวัง ทั้งนี้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2549 จะเท่ากับร้อยละ 3.5-4.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลประมาณร้อยละ 2.2-2.7 ของ GDPดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันของปี 2547 ประมาณร้อยละ 7.8 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือน ในปี 2548 มีค่า 149.01 และในปี 2547 มีค่า 138.22 โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 มีค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2547 เมื่อเทียบปี 2548 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากปี 2547 สำหรับแนวโน้มปี 2549 คาดว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมจะยังคงเพิ่มขึ้น เนื่องจากยังคงมีปัจจัยสนับสนุนบางประการ เช่น เศรษฐกิจโลกยังขยายตัวอย่างน้อยในอัตราร้อยละ 3 ซึ่งจะสนับสนุนการส่งออกให้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ปริมาณการค้าโลกที่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นจะช่วยให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำแม้ว่าจะมี แนวโน้มสูงขึ้น ประกอบกับอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดัชนีการส่งสินค้า ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ประมาณร้อยละ 4.0 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2548 มีค่า 134.0 และในปี 2547 มีค่า 128.87 โดยมีอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 มีค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2547 เมื่อเทียบปี 2548 ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากปี 2547 โดยดัชนีการส่งสินค้าจะสอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม สำหรับแนวโน้มปี 2549 คาดว่าดัชนีการส่งสินค้าจะเพิ่มขึ้นเช่นกันดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished Goods Inventory Index) แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้เพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) โดยครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม พบว่าในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 ดัชนี สินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ประมาณร้อยละ 11.45 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2548 มีค่า 153.51 และในปี 2547 มีค่า 137.73 โดยมีอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 มีค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2547 เมื่อเทียบปี 2548 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ซึ่งบางอุตสาหกรรมยังมีการสำรองสินค้าไว้เพื่อจำหน่ายพอสมควร และบางอุตสาหกรรมได้มีการนำสินค้าที่สะสมไว้ออกจำหน่าย สำหรับแนวโน้มปี 2549 คาดว่าผู้ประกอบการจะยังคงสำรองสินค้าไว้ส่วนหนึ่ง เนื่องจากยังมีปัจจัยสนับสนุนบางประการในระบบเศรษฐกิจ แม้ว่ายังคงต้องระวังผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่นกันอัตราการใช้กำลังการผลิต อัตราการใช้กำลังการผลิตเป็นตัวบ่งชี้สถานะการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่มพบว่า ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ซึ่งอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยทั้ง 10 เดือน ในปี 2548 มีค่า 69.1 และในปี 2547 มีค่า 65.11 โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ปูนขาวและปูนปลาสเตอร์ เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 มีค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2547 เมื่อเทียบปี 2548 อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากปี 2547 สำหรับแนวโน้มปี 2549 อัตราการใช้กำลังการผลิตยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนบางประการ เช่น อัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นจากโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและโครงการลงทุนขนาดใหญ่ เป็นต้นดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจและผู้บริโภค ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยแบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ และดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 2) พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 ทั้ง 3 ดัชนี มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงทุกรายการในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 นี้ ได้แก่ การที่รัฐบาลประกาศใช้ราคาน้ำมันลอยตัว เพื่อลดภาระการใช้จ่ายของรัฐ การขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง และความวิตกกังวลเกี่ยงกับสถานการณ์ความไม่สงบทางภาคใต้ ปัญหาภัยแล้งและผลกระทบของสึนามิ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ประมาณร้อยละ 15.1 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือน ในปี 2548 มีค่า 83.1 และในปี 2547 มีค่า 98.2 การที่ค่าดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคมีความเห็นว่าเศรษฐกิจโดยรวมยังไม่ดี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ประมาณร้อยละ 11.7 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2548 มีค่า 81.5 และในปี 2547 มีค่า 93.2 การที่ค่าดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังรู้สึกว่าภาวะ การทำงานโดยรวมยังไม่ดี และผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังรู้สึกว่าโอกาสในการหางานทำยังอยู่ในระดับที่ไม่ดี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ประมาณร้อยละ 12.2 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือน ในปี 2548 มีค่า 99.6 และในปี 2547 มีค่า 111.8 การที่ค่าดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคมีความเห็นว่า รายได้ในอนาคตจะปรับตัวในทิศทางที่แย่ลง จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 3) ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 ดัชนีปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ประมาณ ร้อยละ 3.3 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2548 มีค่า 45.8 และในปี 2547 มีค่า 49.1 การที่ค่าดัชนีโดยรวมมีค่าต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังไม่ดี สำหรับดัชนีที่มีการปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2548 คือ ผลประกอบการของบริษัท อำนาจซื้อของประชาชน การลงทุนของบริษัท การจ้างงานของบริษัท ต้นทุนการผลิต และการผลิตของบริษัท เมื่อเทียบปี 2548 ทั้งดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจมีการปรับตัวลดลงจากปี 2547 ในทุก ๆ ดัชนีย่อย สำหรับแนวโน้มปี 2549 คาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและความเชื่อมั่นทางธุรกิจน่าจะกระเตื้องขึ้นจากปี 2548 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงที่ปรากฏอยู่และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจต่อไปดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (Thai Industries Sentiment Index : TISI) จัดทำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ตารางที่ 4) พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 ดัชนีเฉลี่ยมีค่า 92.1 ซึ่งปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ที่ดัชนีเฉลี่ยมีค่า 101.5 ดัชนีเฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เชื่อว่าสภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมอยู่ในระดับที่ไม่ดี อย่างไรก็ตามค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคมปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 101.9 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมกราคมที่ค่าดัชนีมีค่าเกิน 100 และปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2548 เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ใช้ในการคำนวณค่าดัชนีรวมโดยส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นมาเกิน 100 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในแต่ละปัจจัยของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในระดับเกินกว่า 100 ได้แก่ดัชนีความเชื่อมั่นยอดคำสั่งซื้อโดยรวมในปัจจุบัน ดัชนีความเชื่อมั่นยอดขายโดยรวมในปัจจุบัน ดัชนีความเชื่อมั่นปริมาณการผลิตในอนาคต และดัชนีความเชื่อมั่นผลประกอบการในปัจจุบัน มีเพียงดัชนีความเชื่อมั่นต้นทุนประกอบการในปัจจุบัน ที่ค่าดัชนีต่ำกว่า 100 ซึ่งแสดงให้เห็นผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น คาดว่าในปี 2549 ดัชนีความเชื่อมั่นในแต่ละปัจจัยของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่น่าจะปรับตัวขึ้นอยู่ในระดับที่เกินกว่า 100 แต่ค่าดัชนีต้นทุนการประกอบการในปัจจุบันก็น่าจะยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 เนื่องจากผู้ประกอบการยังคงมีความเชื่อมั่นในด้านของต้นทุนการประกอบการอยู่ในระดับที่ต่ำ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าต้นทุนการประกอบการอยู่ในระดับที่สูงอยู่ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Leading Economic Index : LEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3 — 4 เดือนข้างหน้า ปรากฏว่าดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือนตุลาคม 2548 อยู่ที่ระดับ 123.9 ซึ่งปรับตัวลดลงจากเดือนกันยายน ร้อยละ 1.1 ตามการปรับตัวลดลงของเครื่องชี้ ได้แก่ ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ และการส่งออกสินค้า สำหรับดัชนีเฉลี่ยในช่วงเดือน มกราคม — ตุลาคม 2548 มีค่า 124.00 ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ที่มีค่า 126.22ดัชนีพ้องเศรษฐกิจ ค่าประมาณการเบื้องต้นของดัชนีพ้องเศรษฐกิจ (Coincident Economic Index : CEI) จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ในเดือนตุลาคม 2548 อยู่ที่ระดับ 127.1 ลดลงจากเดือนกันยายน 2548 ร้อยละ 0.3 ตามการลดลงของเครื่องชี้ ได้แก่ การนำเข้าสินค้า ณ ราคาคงที่ และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม สำหรับดัชนีเฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 มีค่า 126.91 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2547 ที่มีค่า 123.67การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on private consumption) ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 ปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ประมาณร้อยละ 0.5 (ตารางที่ 5) ทั้งนี้ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวในเกณฑ์ดีจากปี 2547 ซึ่งเครื่องชี้สำคัญที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2547 คือ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า มูลค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม การนำเข้าสินค้าอุปโคบริโภค และปริมาณการจำหน่ายยานพาหนะ เมื่อเทียบปี 2548 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ซึ่งไม่สอดคล้องกับดัชนีความ เชื่อมั่นผู้บริโภค แม้ว่าในปี 2548 จะยังคงมีปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น ภาวะราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น การระบาดของโรคไข้หวัดนก สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับ แนวโน้มปี 2549 ยังมีข้อจำกัดในการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคของภาคเอกชน อาจส่งผลให้การบริโภค ภายในประเทศเกิดการชะลอตัวลง เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ยังคงมีปรากฏอยู่ในระบบเศรษฐกิจ ประกอบกับราคาค่า ไฟฟ้าและน้ำมันที่มีแนวโน้มจะแพงขึ้น ราคาสินค้าที่จะต้องมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ทำให้ผู้บิโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายมากยิ่งขึ้นการลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนโดยรวม (ตารางที่ 6) ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ ยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ และยอดการนำเข้าสินค้าทุน พบว่า การลงทุนภาคเอกชนในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ทั้งในยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ และยอดการนำเข้าสินค้าทุน หากแยกตามรายการสินค้าพบว่า ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ประมาณร้อยละ 8.3 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ประมาณร้อยละ 28.7 ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ประมาณร้อยละ 12.3 เมื่อเทียบปี 2548 การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2547 โดยเฉพาะปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ สำหรับแนวโน้มปี 2549 การลงทุนภาคเอกชนน่าจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องแต่อาจจะไม่สูงนัก เนื่องจากยังคงมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนภาคเอกชนเอง และความเชื่อมั่นทางธุรกิจภาวะราคาสินค้า จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค (ตารางที่ 7) และดัชนีราคาผู้ผลิต (ตารางที่ 8) โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นประมาณร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันของปี 2547 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือนในปี 2548 มีค่า 108.9 และในปี 2547 มีค่า 104.4 เป็นผลมากจากการเพิ่มราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มตามราคาผักและผลไม้ ไข่และผลิตภัณฑ์นม ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2548 ปรับตัวสูงขึ้นประมาณร้อยละ 10.7 จากช่วงเดียวกันของปี 2547 ซึ่งดัชนีเฉลี่ยทั้ง 10 เดือน ในปี 2548 มีค่า 125.6 และในปี 2547 มีค่า 114.9 เป็นผลมาจากการเพิ่มราคาทั้งในหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม ซึ่งราคาเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 29.8, 22.0 และ 8.3 ตามลำดับ เมื่อเทียบปี 2548 ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิต เพิ่มขึ้นจากปี 2547 สำหรับแนวโน้มปี 2549 คาดว่าราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตจะยังคงเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นในปี 2548 โดยเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นซึ่งส่งผลกระทบสำคัญต่อภาคการผลิตของประเทศแรงงานในภาคอุตสาหกรรม จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชาชนในปี 2548 (ตัวเลขเดือนตุลาคม) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 35.83 ล้านคน เป็นผู้ที่มีงานทำ 35.10 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 97.96 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีผู้ว่างงาน 0.63 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 1.80) สำหรับการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในปี 2548 มีจำนวน 6.18 ล้านคน หรือคิดเป็น ร้อยละ 17.61 ของผู้มีงานทำทั้งหมด (ยังมีต่อ)