เชิญชวนให้ภาคเอกชน นักลงทุนต่างชาติที่มีศักยภาพเข้ามาร่วมในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ (Mega projects) ของไทยใน 5 สาขาหลัก ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน, ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ICT, การป้องกันประเทศ, และ สาขาอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม เพื่อเปิดโอกาสให้ไทยได้เรียนรู้จากประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ความรู้ ความสามารถพิเศษ และเทคโนโลยี จากประเทศต่างๆ โดยเน้นความสำคัญของความคุ้มค่าของโครงการ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งหลักความโปร่งใสและเปิดเผยเป็นหลักในการพิจารณาโครงการที่นักลงทุนต่างชาตินำเสนอด้วย
(การเชื่อมโยงภาพยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศกับยุทธศาสตร์จังหวัด/กลุ่มจังหวัด)
ผมได้รับทราบยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนหรือกลุ่มล้านนา ซึ่งประกอบด้วย 8 จังหวัดรวมทั้งเชียงราย (จังหวัดอื่นๆ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ และน่าน) ซึ่งได้ผ่านการประชุม CEO Retreat ครั้งที่ 2 กับท่านนายกรัฐมนตรีไปแล้วเมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งผมชื่นชมว่าท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บริหาร ภาคราชการและเอกชนในจังหวัดที่เกี่ยวข้องได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มจังหวัดกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี โดยเลือกให้เรื่องการท่องเที่ยวและการค้า-การลงทุนเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ที่จะมุ่งเน้น และเห็นว่า กลุ่มล้านนามีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นศูนย์กลาง (hub) การท่องเที่ยวและการประชุมในภูมิภาค เป็นประตูการค้าสู่จีนตอนใต้ ลาว และพม่า รวมทั้งการส่งเสริมเรื่องของ contract farming ภายใต้กรอบ ACMECS โดยเฉพาะความร่วมมือในการปลูกพืชพลังงานทดแทนกับพม่า
ผมเพียงขอเน้นและมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในบางประการที่ท่านอาจจะนำไปพิจารณาประกอบการดำเนินงานของท่าน ดังนี้
ประการแรก การส่งเสริมให้เพื่อนบ้านมีทัศนคติที่ดีต่อไทย มีความไว้เนื้อเชื่อใจไทย เป็นเรื่องสำคัญ และต้องช่วยกันทำทุกระดับ ในส่วนของจังหวัดและราชการ อาจจะมีแนวทางพบปะสร้างความคุ้นเคยกับผู้นำท้องถิ่นของประเทศเพื่อนบ้านเป็นประจำ อย่างไรก็ดี ท่านคงจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในระบบการปกครอง การบริหารภายใน และเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนของประเทศ
เพื่อนบ้านแต่ละประเทศ ด้วย นอกจากนั้น อาจส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมหรือสื่อมวลชนท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องระหว่างกัน กระทรวงการต่างประเทศเองก็เน้นการดำเนินงาน “การทูตเชิงวัฒนธรรม” ในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน จึงพร้อมให้ความร่วมมือกับจังหวัดในเรื่องนี้ ภาคเอกชนก็จะมีส่วนช่วยสร้างความไว้วางใจกับภาคเอกชนของประเทศเพื่อนบ้านในการดำเนินธุรกิจ/ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ สถาบันอุดมศึกษาก็สามารถมีการแลกเปลี่ยนกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาของประเทศเพื่อนบ้าน ลงไปถึงระดับประชาชน โดยเฉพาะเยาวชน นักเรียน นักศึกษา จะเป็นการเชื่อมโยงกับเพื่อนบ้านในระดับฐานรากที่จะมีความยั่งยืนและเป็นจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านได้ต่อไปในอนาคต
ประการที่สอง ในเรื่องการให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาประเทศเพื่อนบ้าน อาจจะสนับสนุน
ให้สถาบันอุดมศึกษาในกลุ่มจังหวัดเป็นศูนย์สำหรับการฝึกอบรมสำหรับประเทศเพื่อนบ้านในสาขาต่างๆ ที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศมากขึ้น แต่ผมขอเน้นว่า การให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านต้องทำอย่างมีเอกภาพและมีทิศทางที่ชัดเจน รวมทั้งควรจะมีการฐานข้อมูลการให้ความช่วยเหลือร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการมองเห็นภาพรวมด้วย สำหรับกระทรวงการต่างประเทศมีหน่วยงานรับผิดชอบในเรื่องนี้คือ สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศหรือสพร. ซึ่งพร้อมจะให้ความร่วมมือและให้ข้อแนะนำกับจังหวัดและสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ
ประการที่สาม ผมคิดว่าทุกท่านคงจะเห็นความสำคัญของเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมโยง
กับประเทศเพื่อนบ้าน ที่จะนำมาซึ่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจร่วมกัน และเป็นช่องทางที่จะสร้างโอกาสและ
รายได้ให้กับประชาชนในจังหวัด/กลุ่มจังหวัด อย่างไรก็ดี คงจะต้องมีการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบ
ด้านลบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปิดกว้างของเส้นทางคมนาคมไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด หรืออื่นๆ รวมทั้งควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด เพื่อที่จะสามารถสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพทำงานให้กับท้องถิ่นและประเทศ โดยเฉพาะทำงานเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่นๆ ในโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
(บทสรุป)
ท้ายที่สุดนี้ ผมขอฝากข้อสรุปไว้เพียงสั้นๆ ว่า
- กระทรวงการต่างประเทศ และเอกอัครราชทูต CEO ทุกท่าน พร้อมให้ความร่วมมือและสนับสนุนผู้ว่าราชการจังหวัด ภาคราชการ ภาคเอกชน รวมไปถึงสถาบันอุดมศึกษาของจังหวัดอย่างเต็มที่ เราเล็งเห็นความสำคัญของทุกท่านในฐานะตัวจักรที่สำคัญในการพัฒนาประเทศและการเชื่อมโยงไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน และมีส่วนในการผลักดันยุทธศาสตร์ต่างประเทศของรัฐบาล
- การสัมมนาในวันนี้ เพื่อที่จะชี้แจงให้ท่านทราบว่า ยุทธศาสตร์ต่างประเทศของรัฐบาลนั้นคืออะไร เพื่อที่ท่านจะมีความเข้าใจที่ถูกต้องและเราทั้งหมดจะพูด “ภาษา” เดียวกัน และทำงานบนพื้นฐานของการ “รู้เขา-รู้เรา” มีทิศทาง และมีเอกภาพ ตามแนวที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำไว้
- ผมจึงหวังว่า ท่านจะได้รับประโยชน์จากการสัมมนาในครั้งนี้ และโดยที่กระทรวงการต่างประเทศจะสัญจรไปจัดการสัมมนาในลักษณะนี้อีกในจังหวัดและภูมิภาคต่างๆ ของประเทศต่อไปในอนาคต จึงยินดีหากท่านจะมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะประการใด
ขอขอบคุณทางจังหวัด มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ภาคเอกชน และผู้เข้าร่วมทุกท่านอีกครั้งหนึ่ง ขออวยพรให้การสัมมนาครั้งนี้ประสบผลตามที่ได้ตั้งไว้ทุกประการ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
(การเชื่อมโยงภาพยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศกับยุทธศาสตร์จังหวัด/กลุ่มจังหวัด)
ผมได้รับทราบยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนหรือกลุ่มล้านนา ซึ่งประกอบด้วย 8 จังหวัดรวมทั้งเชียงราย (จังหวัดอื่นๆ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ และน่าน) ซึ่งได้ผ่านการประชุม CEO Retreat ครั้งที่ 2 กับท่านนายกรัฐมนตรีไปแล้วเมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งผมชื่นชมว่าท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บริหาร ภาคราชการและเอกชนในจังหวัดที่เกี่ยวข้องได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มจังหวัดกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี โดยเลือกให้เรื่องการท่องเที่ยวและการค้า-การลงทุนเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ที่จะมุ่งเน้น และเห็นว่า กลุ่มล้านนามีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นศูนย์กลาง (hub) การท่องเที่ยวและการประชุมในภูมิภาค เป็นประตูการค้าสู่จีนตอนใต้ ลาว และพม่า รวมทั้งการส่งเสริมเรื่องของ contract farming ภายใต้กรอบ ACMECS โดยเฉพาะความร่วมมือในการปลูกพืชพลังงานทดแทนกับพม่า
ผมเพียงขอเน้นและมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในบางประการที่ท่านอาจจะนำไปพิจารณาประกอบการดำเนินงานของท่าน ดังนี้
ประการแรก การส่งเสริมให้เพื่อนบ้านมีทัศนคติที่ดีต่อไทย มีความไว้เนื้อเชื่อใจไทย เป็นเรื่องสำคัญ และต้องช่วยกันทำทุกระดับ ในส่วนของจังหวัดและราชการ อาจจะมีแนวทางพบปะสร้างความคุ้นเคยกับผู้นำท้องถิ่นของประเทศเพื่อนบ้านเป็นประจำ อย่างไรก็ดี ท่านคงจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในระบบการปกครอง การบริหารภายใน และเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนของประเทศ
เพื่อนบ้านแต่ละประเทศ ด้วย นอกจากนั้น อาจส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมหรือสื่อมวลชนท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องระหว่างกัน กระทรวงการต่างประเทศเองก็เน้นการดำเนินงาน “การทูตเชิงวัฒนธรรม” ในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน จึงพร้อมให้ความร่วมมือกับจังหวัดในเรื่องนี้ ภาคเอกชนก็จะมีส่วนช่วยสร้างความไว้วางใจกับภาคเอกชนของประเทศเพื่อนบ้านในการดำเนินธุรกิจ/ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ สถาบันอุดมศึกษาก็สามารถมีการแลกเปลี่ยนกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาของประเทศเพื่อนบ้าน ลงไปถึงระดับประชาชน โดยเฉพาะเยาวชน นักเรียน นักศึกษา จะเป็นการเชื่อมโยงกับเพื่อนบ้านในระดับฐานรากที่จะมีความยั่งยืนและเป็นจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านได้ต่อไปในอนาคต
ประการที่สอง ในเรื่องการให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาประเทศเพื่อนบ้าน อาจจะสนับสนุน
ให้สถาบันอุดมศึกษาในกลุ่มจังหวัดเป็นศูนย์สำหรับการฝึกอบรมสำหรับประเทศเพื่อนบ้านในสาขาต่างๆ ที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศมากขึ้น แต่ผมขอเน้นว่า การให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านต้องทำอย่างมีเอกภาพและมีทิศทางที่ชัดเจน รวมทั้งควรจะมีการฐานข้อมูลการให้ความช่วยเหลือร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการมองเห็นภาพรวมด้วย สำหรับกระทรวงการต่างประเทศมีหน่วยงานรับผิดชอบในเรื่องนี้คือ สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศหรือสพร. ซึ่งพร้อมจะให้ความร่วมมือและให้ข้อแนะนำกับจังหวัดและสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ
ประการที่สาม ผมคิดว่าทุกท่านคงจะเห็นความสำคัญของเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมโยง
กับประเทศเพื่อนบ้าน ที่จะนำมาซึ่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจร่วมกัน และเป็นช่องทางที่จะสร้างโอกาสและ
รายได้ให้กับประชาชนในจังหวัด/กลุ่มจังหวัด อย่างไรก็ดี คงจะต้องมีการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบ
ด้านลบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปิดกว้างของเส้นทางคมนาคมไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด หรืออื่นๆ รวมทั้งควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด เพื่อที่จะสามารถสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพทำงานให้กับท้องถิ่นและประเทศ โดยเฉพาะทำงานเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่นๆ ในโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
(บทสรุป)
ท้ายที่สุดนี้ ผมขอฝากข้อสรุปไว้เพียงสั้นๆ ว่า
- กระทรวงการต่างประเทศ และเอกอัครราชทูต CEO ทุกท่าน พร้อมให้ความร่วมมือและสนับสนุนผู้ว่าราชการจังหวัด ภาคราชการ ภาคเอกชน รวมไปถึงสถาบันอุดมศึกษาของจังหวัดอย่างเต็มที่ เราเล็งเห็นความสำคัญของทุกท่านในฐานะตัวจักรที่สำคัญในการพัฒนาประเทศและการเชื่อมโยงไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน และมีส่วนในการผลักดันยุทธศาสตร์ต่างประเทศของรัฐบาล
- การสัมมนาในวันนี้ เพื่อที่จะชี้แจงให้ท่านทราบว่า ยุทธศาสตร์ต่างประเทศของรัฐบาลนั้นคืออะไร เพื่อที่ท่านจะมีความเข้าใจที่ถูกต้องและเราทั้งหมดจะพูด “ภาษา” เดียวกัน และทำงานบนพื้นฐานของการ “รู้เขา-รู้เรา” มีทิศทาง และมีเอกภาพ ตามแนวที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำไว้
- ผมจึงหวังว่า ท่านจะได้รับประโยชน์จากการสัมมนาในครั้งนี้ และโดยที่กระทรวงการต่างประเทศจะสัญจรไปจัดการสัมมนาในลักษณะนี้อีกในจังหวัดและภูมิภาคต่างๆ ของประเทศต่อไปในอนาคต จึงยินดีหากท่านจะมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะประการใด
ขอขอบคุณทางจังหวัด มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ภาคเอกชน และผู้เข้าร่วมทุกท่านอีกครั้งหนึ่ง ขออวยพรให้การสัมมนาครั้งนี้ประสบผลตามที่ได้ตั้งไว้ทุกประการ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-