ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 ยังคงมีอัตราการขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะเป็นการชะลอตัวลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตอุตสาหกรรม ที่ขยายตัวในไตรมาสแรกในอัตราร้อยละ 3.5 รวมถึงดัชนีการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจาก ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สร้างความกังวลใจให้กับประชาชนในการใช้จ่ายและการลงทุน รวมถึงปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภายใต้ที่มีทีท่าจะเป็นปัญหาต่อความมั่นคงในระยะยาว ส่วนในภาคการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นรายได้หลักของประเทศ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 มีดุลการค้าขาดดุล ประมาณ 3,225 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีมูลค่าการนำเข้า 27,909 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 28.5 โดยเฉพาะมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบ ซึ่งขยายตัวตามราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกมีมูลค่าประมาณ 24,684 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.4 ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่แล้ว โดยภาวะดังกล่าวสะท้อนถึงวัฎจักรขาลงของตลาดโลกโดยทั่วไป
ส่วนภาวะอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2547 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกมีการชะลอตัวอันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้อัตราการอุปโภคบริโภคลดลงของตลาดโลกปรับตัวลดลง ประกอบกับช่วงต้นปีจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าประเภทเฟอร์นิเจอร์ซึ่งมีวัฎจักรการเปลี่ยนแปลงของสินค้าในช่วงต้นปีเพื่อรอดูแนวโน้มของตลาดแต่อย่างไรก็ตาม การปรับตัวลดลงของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสแรกดังกล่าวคงเป็นการปรับตัวลดลงระยะสั้นเพียงในช่วงไตรมาสแรกและมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อเนื่องในอนาคต เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2547 อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยยังมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้จากการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการภายในประเทศเองประกอบกับและการแสวงหาตลาดใหม่ๆ และการขยายตลาดไปในประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะการส่งเสริมจากทางภาครัฐในการเปิดตลาดเสรีกับประเทศคู่ค้าใหม่ๆ ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นอินเดีย กลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง จีน รวมถึง ออสเตรเลีย ส่งผลให้สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนมีมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปัจจัยภายในประเทศ ยังเป็นแรงเสริมเพิ่มความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนภายในประเทศ จะเห็นได้จากการขยายตัวในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างภายในประเทศที่ยังคงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ส่งผลให้ภาวะของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 อยู่ในทิศทางที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ
1. การผลิต
ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 มีปริมาณการผลิตประมาณ 6.98 ล้านชิ้นปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปีก่อนกันในอัตราร้อยละ 8.89 และหากเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิตในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการปรับตัวลดลงร้อยละ 1.45 ซึ่งมีเหตุผลมาจาก การที่ผู้ประกอบการหันมาให้ความสำคัญกับการผลิตที่เน้นที่คุณภาพและการปรับเพิ่มมูลค่าของสินค้ามากขึ้น โดยพยายามพัฒนาจากรูปแบบการผลิตในลักษณะ Mass Products มาเป็นการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้น หรือเน้นลักษณะการผลิตภายใต้ Branding มากขึ้น ซึ่งการมุ่งเน้นในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานค่อนข้างสูงดังกล่าว ประกอบกับความนิยมของสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนของไทยในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะสินค้าเครื่องเรือนที่ทำมาจากไม้ยางพารา
2. การส่งออกและนำเข้า
2.1 การส่งออก ภาวะการส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.51 เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าการส่งออกของช่วงไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 9 ด้วยมูลค่าการส่งออก 492.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีรายละเอียดการส่งออกในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ซึ่งสามารถแบ่งการพิจารณาเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้า ดังนี้
1). กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน (ตารางกลุ่มที่ 1) มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน โดยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 264.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหรือปี 2547 ประมาณร้อยละ2.76 และหากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีก่อน มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 10.42 โดยผลิตภัณฑ์สินค้าภายในกลุ่มที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุด คือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ โดยมีอัตราการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้วร้อยละ 18.28 ซึ่งตลาดส่งออกสำคัญที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงค่อนข้างมาก คือ สหรัฐอเมริกา ส่วนในตลาดญี่ปุ่น และประเทศในสหภาพยุโรป ยังคงมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
2). กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ (ตารางกลุ่มที่ 2) มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 20 ของ
มูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้จะประกอบด้วย เครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ รูปแกะสลักและเครื่องประดับทำด้วยไม้ โดยมูลค่าการส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 มีจำนวน 88.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสเดียวกันในปี 2547 ในอัตราร้อยละ 1.84 แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาของปีเดียวกันปรับตัวลดลงร้อยละ 12.62 และตลาดส่งออกที่สำคัญในกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ ก็ยังคงเป็นกลุ่มประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร ตามลำดับ
3). กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น (ตารางกลุ่มที่ 3) มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออก
คิดเป็นร้อยละ 30 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด ซึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 ประมาณ 139.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 27.26 แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาของปีเดียวกันปรับตัวลดลงร้อยละ 3.66 ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
2.2 การนำเข้า ภาวะการนำเข้าของสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเน้นในการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อแข็ง ซึ่งได้แก่ ไม้ซุง และผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปประเภทต่าง ๆ โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 มีมูลค่าการนำเข้ารวมกันจำนวน 170.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 ในอัตราร้อยละ 0.93 และหากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.34 แหล่งนำเข้าที่สำคัญในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ คือ ไม้ซุงท่อน ส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาจากพม่า และมาเลเซีย และในส่วนผลิตภัณฑ์ประเภทไม้หรือไม้แปรรูป ประเภทต่าง ๆ มีการนำเข้ามาจากมาเลเซีย ลาว และสหรัฐอเมริกา เป็นส่วนใหญ่
3. สรุปและแนวโน้ม
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 ภาวะของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยโดยรวมปรับตัวลดลงตามภาวะตลาดโลก ทั้งนี้เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจในตลาดหลักๆ เช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นมีการปรับยอดการสั่งซื้อสินค้าลดลง แต่อย่างไรก็ตาม อัตราที่ลดลงดังกล่าวยังคงมีการทดแทนจากปริมาณความต้องการของตลาดภายในประเทศเนื่องจากภาวะอุตสาหกรรมก่อสร้างภายในประเทศยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบูรณะสิ่งปลูกสร้างทางภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยภิบัติคลื่นยักษ์สึนามิ ที่ต้องเร่งก่อสร้างเพื่อรองรับธุรกิจภาคบริการ ซึ่งถือว่าสามารถสร้างรายได้หลักให้กับประเทศอีกทางหนึ่ง ภาวะปรับตัวลดลงของกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสแรกนั้น น่าจะเป็นการปรับตัวลดลงระยะสั้น โดยคาดว่าในช่างกลางปีภาวะอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนน่าจะปรับตัวดีขึ้นซึ่งเป็นไปตามวัฎจักรของอุตสาหกรรมเองและคาดว่าราคาน้ำมันในช่วงกลางปีน่าจะมีแนวโน้มปรับตัวลดลงเนื่องจากพ้นช่วงฤดูหนาวมาแล้วและอัตราการอุปโภคบริโภคของประชากรในตลาดโลกน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ส่วนภาวะอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2547 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกมีการชะลอตัวอันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้อัตราการอุปโภคบริโภคลดลงของตลาดโลกปรับตัวลดลง ประกอบกับช่วงต้นปีจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าประเภทเฟอร์นิเจอร์ซึ่งมีวัฎจักรการเปลี่ยนแปลงของสินค้าในช่วงต้นปีเพื่อรอดูแนวโน้มของตลาดแต่อย่างไรก็ตาม การปรับตัวลดลงของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสแรกดังกล่าวคงเป็นการปรับตัวลดลงระยะสั้นเพียงในช่วงไตรมาสแรกและมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อเนื่องในอนาคต เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2547 อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยยังมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้จากการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการภายในประเทศเองประกอบกับและการแสวงหาตลาดใหม่ๆ และการขยายตลาดไปในประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะการส่งเสริมจากทางภาครัฐในการเปิดตลาดเสรีกับประเทศคู่ค้าใหม่ๆ ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นอินเดีย กลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง จีน รวมถึง ออสเตรเลีย ส่งผลให้สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนมีมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปัจจัยภายในประเทศ ยังเป็นแรงเสริมเพิ่มความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนภายในประเทศ จะเห็นได้จากการขยายตัวในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างภายในประเทศที่ยังคงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ส่งผลให้ภาวะของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 อยู่ในทิศทางที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ
1. การผลิต
ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 มีปริมาณการผลิตประมาณ 6.98 ล้านชิ้นปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปีก่อนกันในอัตราร้อยละ 8.89 และหากเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิตในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการปรับตัวลดลงร้อยละ 1.45 ซึ่งมีเหตุผลมาจาก การที่ผู้ประกอบการหันมาให้ความสำคัญกับการผลิตที่เน้นที่คุณภาพและการปรับเพิ่มมูลค่าของสินค้ามากขึ้น โดยพยายามพัฒนาจากรูปแบบการผลิตในลักษณะ Mass Products มาเป็นการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้น หรือเน้นลักษณะการผลิตภายใต้ Branding มากขึ้น ซึ่งการมุ่งเน้นในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานค่อนข้างสูงดังกล่าว ประกอบกับความนิยมของสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนของไทยในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะสินค้าเครื่องเรือนที่ทำมาจากไม้ยางพารา
2. การส่งออกและนำเข้า
2.1 การส่งออก ภาวะการส่งออกของสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.51 เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าการส่งออกของช่วงไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 9 ด้วยมูลค่าการส่งออก 492.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีรายละเอียดการส่งออกในแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ซึ่งสามารถแบ่งการพิจารณาเป็น 3 กลุ่มประเภทสินค้า ดังนี้
1). กลุ่มเครื่องเรือนและชิ้นส่วนเครื่องเรือน (ตารางกลุ่มที่ 1) มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน โดยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 มีมูลค่าการส่งออก 264.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหรือปี 2547 ประมาณร้อยละ2.76 และหากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีก่อน มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 10.42 โดยผลิตภัณฑ์สินค้าภายในกลุ่มที่มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุด คือ สินค้าประเภทเครื่องเรือนไม้ โดยมีอัตราการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้วร้อยละ 18.28 ซึ่งตลาดส่งออกสำคัญที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงค่อนข้างมาก คือ สหรัฐอเมริกา ส่วนในตลาดญี่ปุ่น และประเทศในสหภาพยุโรป ยังคงมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
2). กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ (ตารางกลุ่มที่ 2) มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 20 ของ
มูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้จะประกอบด้วย เครื่องใช้ทำด้วยไม้ อุปกรณ์ก่อสร้างไม้ กรอบรูปไม้ รูปแกะสลักและเครื่องประดับทำด้วยไม้ โดยมูลค่าการส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 มีจำนวน 88.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสเดียวกันในปี 2547 ในอัตราร้อยละ 1.84 แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาของปีเดียวกันปรับตัวลดลงร้อยละ 12.62 และตลาดส่งออกที่สำคัญในกลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ ก็ยังคงเป็นกลุ่มประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร ตามลำดับ
3). กลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น (ตารางกลุ่มที่ 3) มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออก
คิดเป็นร้อยละ 30 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าประเภทไม้และเครื่องเรือนทั้งหมด ซึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป แผ่นไม้วีเนียร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด (Fiber Board) และผลิตภัณฑ์ไม้อื่น ๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 ประมาณ 139.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 27.26 แต่หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาของปีเดียวกันปรับตัวลดลงร้อยละ 3.66 ตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
2.2 การนำเข้า ภาวะการนำเข้าของสินค้าประเภทไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่จะเน้นในการนำเข้าวัตถุดิบไม้ท่อนประเภทไม้เนื้อแข็ง ซึ่งได้แก่ ไม้ซุง และผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปประเภทต่าง ๆ โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 มีมูลค่าการนำเข้ารวมกันจำนวน 170.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 ในอัตราร้อยละ 0.93 และหากเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.34 แหล่งนำเข้าที่สำคัญในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ คือ ไม้ซุงท่อน ส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาจากพม่า และมาเลเซีย และในส่วนผลิตภัณฑ์ประเภทไม้หรือไม้แปรรูป ประเภทต่าง ๆ มีการนำเข้ามาจากมาเลเซีย ลาว และสหรัฐอเมริกา เป็นส่วนใหญ่
3. สรุปและแนวโน้ม
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 ภาวะของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยโดยรวมปรับตัวลดลงตามภาวะตลาดโลก ทั้งนี้เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจในตลาดหลักๆ เช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นมีการปรับยอดการสั่งซื้อสินค้าลดลง แต่อย่างไรก็ตาม อัตราที่ลดลงดังกล่าวยังคงมีการทดแทนจากปริมาณความต้องการของตลาดภายในประเทศเนื่องจากภาวะอุตสาหกรรมก่อสร้างภายในประเทศยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบูรณะสิ่งปลูกสร้างทางภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยภิบัติคลื่นยักษ์สึนามิ ที่ต้องเร่งก่อสร้างเพื่อรองรับธุรกิจภาคบริการ ซึ่งถือว่าสามารถสร้างรายได้หลักให้กับประเทศอีกทางหนึ่ง ภาวะปรับตัวลดลงของกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสแรกนั้น น่าจะเป็นการปรับตัวลดลงระยะสั้น โดยคาดว่าในช่างกลางปีภาวะอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนน่าจะปรับตัวดีขึ้นซึ่งเป็นไปตามวัฎจักรของอุตสาหกรรมเองและคาดว่าราคาน้ำมันในช่วงกลางปีน่าจะมีแนวโน้มปรับตัวลดลงเนื่องจากพ้นช่วงฤดูหนาวมาแล้วและอัตราการอุปโภคบริโภคของประชากรในตลาดโลกน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-