สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่3(กรกฎาคม—กันยายน)พ.ศ.2549(อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 16, 2007 16:25 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม ภาวะการผลิตในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.33 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากของสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสินค้าฮาร์ตดิสไดรฟ์ (HDD) และ IC ในขณะที่การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 8.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดเล็ก เครื่องปรับอากาศ หม้อหุงข้าว เป็นต้น ภาวะการส่งออกไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ปรับตัวดีขึ้น โดยมีมูลค่าการส่งออกรวม 402,382 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.42 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่มาจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 8.57 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในตลาดอียู(14%) และตลาดสหรัฐอเมริกา (11%) ขณะที่สินค้าไฟฟ้าหลายตัวมีมูลค่าการส่งออกลดลง เช่น เครื่องวีดีโอ,VCD,DVD ส่วนประกอบของมอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นต้น ในขณะที่การนำเข้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่า 314,434 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.63 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในส่วนประกอบของทั้งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ส่วนประกอบของเครื่องซักแห้ง ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ วงจรพิมพ์ (Printed Circuit) ส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศผู้ผลิตสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ เช่น ประเทศญี่ปุ่นพบว่าภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงทรงตัวเช่นกัน โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ในกลุ่ม HouseHold Electrical Machinery ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่นทรงตัวร้อยละ 0.55 ชะลอตัวจากเครื่องเล่น DVD และกล้องวีดีโอ Digital เป็นต้น ในขณะที่เมื่อพิจารณามูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของภูมิภาคต่างๆ ของโลกพบว่ามีมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดย Semiconductor Industry Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าจำหน่ายประมาณ 64.11 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.27 จากสินค้าในกลุ่มของ Notebook และ Cellular Phone เป็นต้น แนวโน้มภาวการณ์ผลิตและการขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีโอกาสจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2549 สินค้ากลุ่มภาพและเครื่องเสียงจะมีแนวโน้มสูงขึ้นตามช่วงเทศกาลในช่วงปลายปี ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มสูงขึ้นตามการเจริญเติบโตของสินค้าเทคโนโลยี โดยSemiconductor Industry Association (SIA) คาดการณ์การขายเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกปี 2006 ประมาณ 240$ billion เพิ่มขึ้นในตลาดเอเชียมากกว่า 13% ขณะที่ตลาดสหรัฐเพิ่มขึ้นประมาณ 18% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ยังคงได้รับผลกระทบจากกฎระเบียบอียูเป็นตลาดหลักในการส่งออก (เครื่องปรับอากาศ) ซึ่งผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวในการรับมือกับกฎระเบียบดังกล่าว การปรับตัวให้รับกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว (เครื่องรับโทรทัศน์สี) นอกจากนี้ ปัญหาทางด้านแรงงานระดับปฎิบัติการที่เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญยังคงขาดแคลนสะสม และปัจจัยทางด้านการเงิน เช่น อัตราแลกเปลี่ยนที่อาจจะแข็งค่ามากอยู่ที่ระดับ 36 ส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้ส่งออก 2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า 2.1 การผลิต ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อน โดยดัชนีผลผลิตปรับลดลงร้อยละ 12.46 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงเช่นกันร้อยละ 8.59 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการผลิตลดลงเกือบทุกประเภทสินค้า โดยเฉพาะเครื่องรับโทรทัศน์ขนาดเล็กกว่า 20 นิ้ว ลดลงถึงร้อยละ 26.55 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปี 48 อันเนื่องมาจากความนิยมในตัวสินค้า การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและระบบดิจิตอลในตลาดหลัก เช่น ญี่ปุ่น ลดลงถึงร้อยละ 53.36 ประกอบกับการส่งออกหลอดภาพโทรทัศน์ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญลดลงในตลาดหลักเช่นกัน อย่างอียู (-98%) ญี่ปุ่น (-92%) อาเซียน (-22%) เป็นต้น สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีไปสู่การผลิตแอลซีดี และพลาสมาทีวีมากขึ้นทำให้ส่วนประกอบที่เคยเป็นชิ้นส่วนสำคัญลดการส่งออกตามไปด้วย เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่งยูนิตมีการผลิตลดลงร้อยละ 12.35 และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยด์ยูนิตลดลงร้อยละ 6.09 เนื่องจากสภาพอากาศตลาดในประเทศมีความแปรปรวนโดยพบว่าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2549 ปริมาณการจำหน่ายเครื่องปรับอากาศลดลงประมาณร้อยละ 20.73 ประกอบกับตลาดหลักส่งออกมีการส่งออกลดลง เช่น ญี่ปุ่น อาเซียน ลดลงร้อยละ 43.04 23.66 ตามลำดับ แต่ในตลาดหลักอย่างอียูเริ่มมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามาแล้ว หลังจากการบังคับของกฎระเบียบอียูที่เริ่มบังคับใช้ในวนที่ 1 ก.ค. 49 โดยในไตรมาส 3 ปี 48 มีมูลค่าส่งออก 4,299 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 48 สำหรับกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขนาดเล็ก เช่น หม้อหุงข้าว มีการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.65 โดยส่วนใหญ่เป็นการลดลงในส่วนของการผลิตเพื่อส่งออกและตลาดในประเทศเนื่องจากต้องแข่งขันกับสินค้าจากจีนที่มีราคาถูกกว่า ซึ่งพบว่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ไทยมีมูลค่านำเข้าหม้อหุงข้าวจากจีน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 47 โดยมีราคาค่อนข้างถูก ส่งผลมากต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคทำให้เจ้าตลาดเดิมต้องรักษาคุณภาพของสินค้าเพื่อสู้กับสินค้าราคาถูกดังกล่าว เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.52 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.55 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยปรับตัวลดลงจากสินค้าเครื่องเล่น DVD และกล้องวีดีโอ Digital มีดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลงร้อยละ 10.32 9.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีผลผลิตที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในส่วนของสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูง เช่น จอภาพ LCD มีการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9.79 และกล้องถ่ายรูปดิจิดตอล ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.03 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตารางที่ 1 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2549 สินค้า ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง ไตรมาส 3 ปี 2549 เมื่อเทียบกับไตรมาส2 ปี49 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 48 (ร้อยละ) (ร้อยละ) เครื่องใช้ไฟฟ้า 120.71 -12.46 -8.59 เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 144.01 -48.67 -12.35 - คอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 137.61 -49.87 -6.09 - แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต คอมเพรสเซอร์ 133.31 -10.5 -4.7 พัดลม 26.31 -42.12 -3.1 ตู้เย็น 217.92 -0.16 0.21 กระติกน้ำร้อน 127.33 6.21 8.89 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 91.83 10.08 -10.65 สายไฟฟ้า 130.54 -6.9 -9.38 โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 48.02 3.69 -26.55 โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 314.45 0.06 -0.54 ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ตารางที่ 2 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 3 ไตรมาส2 ปี2549 ไตรมาส 3 ปี 2548 ปี 2549 (ร้อยละ) (ร้อยละ) Household electrical machinary 73.6 1.52 0.55 เครื่องปรับอากาศ 84.1 7.13 9.79 ไมโครเวป 25.2 -1.95 -4.55 หม้อหุงข้าว 87 -6.55 -2.25 ตู้เย็น 68.1 9.84 0 พัดลม 80 -2.56 -5.88 เครื่องซักผ้า 62.2 12.68 4.54 เครื่องรับโทรทัศน์สี n/a n/a n/a LCD 666.4 -9 14.74 เครื่องเล่น DVD 27.8 -5.12 -10.32 กล้องวีดีโอ Digital 96 11.76 -9.18 กล้องถ่ายรูป Digital 404.7 2.61 40.03 ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan 2.1 การตลาด จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลง โดยดัชนีการส่งสินค้าปรับตัวลดลงร้อยละ 17.95 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงเล็กน้อยร้อยละ 5.52 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์ขนาดเล็กกว่า 20 ลดลงร้อยละ 26.44 เนื่องจากการขายในประเทศของเครื่องรับโทรทัศน์ขนาด14 และ 20 นิ้ว มียอดขายลดลงถึงร้อยละ 34.95 นอกจากนี้ยังปรับตัวลดลงในตลาดญี่ปุ่นถึงร้อยละ 53.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น พบว่ายังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.18 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 3.39 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากสินค้ากล้องถ่ายรูป Digital พัดลม และ LCD ตารางที่ 3 แสดงดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2549 สินค้า ดัชนีการส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 3 ไตรมาส 2 ปี 49 ไตรมาส 3 ปี 48 ปี 2549 (ร้อยละ) (ร้อยละ) เครื่องใช้ไฟฟ้า 124.78 -17.95 -5.52 เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 157.24 -44.37 -1.44 คอนเดนซิ่งยูนิต เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 157 -45.57 2.33 แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต คอมเพรสเซอร์ 146.41 -14.82 -5.99 พัดลม 30.21 -41.34 -10.95 ตู้เย็น 222.42 2 0.76 กระติกน้ำร้อน 121.4 0.51 3.77 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 90.29 7.72 -5.86 สายไฟฟ้า 123.89 -7.45 -6.09 โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 48.64 -1.51 -26.44 โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 316.06 0.01 -0.24 ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ตารางที่ 4 แสดงดัชนีส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ดัชนีการส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 3 ไตรมาส 2 ปี 2549 ไตรมาส 3 ปี 2548 ปี 2549 (ร้อยละ) (ร้อยละ) Household electrical machinary 100.7 10.18 3.39 เครื่องปรับอากาศ 103.5 28.09 6.92 ไมโครเวป 99.3 -3.69 2.8 เครื่องซักผ้า 103.9 0.29 0.39 หม้อหุงข้าว 91.1 3.64 1.33 ตู้เย็น 87.6 -0.68 -3.52 พัดลม 108.5 8.94 8.28 เครื่องรับโทรทัศน์ 25.5 -17.48 -43.71 LCD 566.4 -13.46 7.13 เครื่องเล่น DVD 182.6 -22.59 -23.15 กล้องวีดีโอ Digital 111.4 9.11 -8.61 กล้องถ่ายรูป Digital 489.5 7.84 35.75 ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan ตลาดส่งออก การส่งออกสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่า 144,372 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.93 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และชะลอตัวร้อยละ 0.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ตลาดอียูมีมูลค่าส่งออก 21,491ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 1.96 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่าตลาดนี้ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ถึงร้อยละ 11.44 จากส่วนประกอบเครื่องวีดีโอ,VCD, DVD ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ และเครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัยโรงงานที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 130.2 34.28 และ 21.83 ตามลำดับ ซึ่งในส่วนของเครื่องปรับอากาศมีสัดส่วนการส่งออกไปยังอียูมากถึงร้อยละ 27 ของมูลค่าส่งออกเครื่องปรับอากาศรวมในช่วงไตรมาส 3 ปี 2549 ทั้งที่ในช่วงต้นไตรมาส 3 เดือนก.ค.49 ได้รับผลกระทบจากกฎระเบียบอียู RoHS ผู้ประกอบการไทยได้ทำการปรับตัวรับมือกับผลกระทบดังกล่าว แม้กระนั้นช่วงไตรมาส 2 ปี 2549 ได้รับผลกระทบบ้างมีการชะลอคำสั่งซื้อลดลงถึงร้อยละ 35.14 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปีก่อน ซึ่งเกิดจากการระบายสินค้าเก่าก่อนการบังคับใช้กฏระเบียบดังกล่าวเพื่อรองรับสินค้าตามกฎระเบียบในรอบใหม่ สินค้าที่มีการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ สายไฟ ชุดสายไฟมีมูลค่าส่งออก 7,358 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.15 จากการขยายตัวของการส่งออกไปยังจีน (109%) และญี่ปุ่น (49%) เตาที่มีหม้อหุงต้มในตัว แผ่นสำหรับหุงต้ม บอยลิงริง เตาย่าง เตาอบ และหม้อหุงข้าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 109.87 จากการขยายตัวของการส่งออกไปยังญี่ปุ่น (115%) ตารางที่ 5 มูลค่าสินค้าไฟฟ้าที่มีการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2549 รายการสินค้า มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 3 ไตรมาส 2 ปี 49 ไตรมาส 3 ปี 48 ปี 2549 (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ล้านบาท) -เครื่องไฟฟ้ารวม 144,372 1.93 0.22 -เครื่องรับโทรทัศน์สี 20,275 7.53 13.72 -เครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัย โรงงาน 16,072 -29.98 2.25 -เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 13,961 21.9 3.55 สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม -ตู้เย็น ใช้ตามบ้านเรือน 7,431 8.1 4.87 -สายไฟ ชุดสายไฟ 7,358 17.04 24.15 ที่มา: สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 2.1 การนำเข้า การนำเข้าสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่าทั้งสิ้น 110,239 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.62 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนสินค้าที่ไทยมีการนำเข้ามาก ได้แก่ ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ มูลค่า 10,567 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อาจเนื่องมาจากชิ้นส่วนสำคัญในการประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ในปัจจุบัน เช่น จอ LCD ยังไม่สามารถผลิตได้ในไทยทำให้ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะจากตลาดจีนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนในช่วงไตรมาส 3 ถึงร้อยละ 63.19 เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง, ภาพ มูลค่า 18,480 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้แผ่น CD อย่างแพร่หลาย และใช้แทนสื่อบันทึกชนิดอื่นๆ เช่น วีดีโอเทป และเทปคาสเซ็ต รวมถึง Floppy Disk มากขึ้น ตารางที่ 5 มูลค่าสินค้าไฟฟ้าที่มีการนำเข้าสูงสุด 5 อันดับแรกของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 3ปี 2549รายการสินค้า มูลค่านำเข้า การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 3 ไตรมาส 2 ปี 49 ไตรมาส 3 ปี 48 ปี 2549 (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ล้านบาท) เครื่องใช้ไฟฟ้ารวม 110,239 1.01 1.62 เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 20,266 3.31 -10.21 สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก แผ่น CD 18,480 13.24 7.46 สำหรับบันทึกเสียง ภาพ ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ 10,567 -11.72 89.06 สายไฟ ชุดสายไฟ 6,043 11.1 6.07 หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่ 3,525 -10.82 10.3 (เกิน 1KV แต่ไม่เกิน 10,000 KVA) ที่มา: สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 3.1 การผลิต ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก โดยจากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.44 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 22.36 โดยสินค้าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก คือ HDD และOther IC เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.61 และ 23.47 ตามลำดับ โดยมีการคาดการณ์ว่า ตลาด IC ในปี 2006 จะมีการเติบโตเพียง 11 % จากที่เคยคาดการณ์ไว้ในช่วงต้นปี 2006 ว่าจะเติบโตถึง 17 % ทั้งนี้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวบ้างในบางตลาดโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่เป็นตลาดเทคโนโลยีที่ใหญ่มากแห่งหนึ่ง ภาวะการแข่งขันในตลาดค่อนข้างรุนแรง และมีแนวโน้มกระจัดกระจายมากขึ้นโดยมีธุรกิจเกิดใหม่ที่เป็นบริษัท dot-com เกิดขึ้นส่งผลให้เกิดการแข่งขันด้านราคาเพื่อเพิ่ม Market Share มากขึ้น ขณะที่จีนยังคงเป็นตลาดที่เติบโตได้ดีประมาณ 23% ในปี 2006 ส่วนสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนยังคงเป็นหลอดภาพเครื่องรับโทรทัศน์ (CRT) ลดลงมากถึงร้อยละ 27.41 ซึ่งเป็นการชะลอการผลิตมาตั้งแต่ต้นปี โดยมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น มีการเข้ามาแทนของเทคโนโลยีอื่นๆทำให้การผลิตลดลง รวมถึงราคาของ LCD/Plasma ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของจอ CRT ลดลง ตารางที่ 6 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 3 ไตรมาส 2 ปี 49 ไตรมาส 3 ปี 48 ปี2549 (ร้อยละ) (ร้อยละ) ดัชนีผลผลิตอิเล็กทรอนิกส์ 322.39 16.44 22.36 Electric tubes Cathode For color TV 41.5 8.37 -27.41 Electric tubes Ray tubes For computer & related equipment 43.63 13.52 -1.63 Semiconductor devices Transisters 121.4 8.94 7.16 Inegrated circuits (IC) Monolithic integrated curcuits 162.07 12.26 9.12 Inegrated circuits (IC) Other IC 169.5 2.48 23.47 Hard Disk Drive (default) 545.24 18.09 27.61 (ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ