แท็ก
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
กระทรวงการคลัง
สมชัย สัจจพงษ์
กระทรวงคมนาคม
กรีนบีนส์
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจำเดือนมิถุนายน 2550 และในช่วง 9 เดือน
แรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 — มิถุนายน 2550)
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะ
โฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด สรุปได้ว่า ในเดือน
มิถุนายน 2550 แม้ว่าการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจะเร่งตัวขึ้นมาก แต่รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังเพิ่มขึ้นจาก
ภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี 2549 ส่งผลให้ดุลเงินสดเกินดุล 54,411 ล้านบาท ขณะที่ในช่วง 9 เดือนแรก
ของปีงบประมาณ (ตุลาคม 2549 — มิถุนายน 2550) รัฐบาลขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 189,702 ล้านบาท ซึ่ง
รัฐบาลชดเชยการขาดดุลโดยการใช้เงินคงคลัง 46,042 ล้านบาท การออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 97,115
ล้านบาท และการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 46,545 ล้านบาท ทั้งนี้ การขาดดุลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงบทบาท
ของนโยบายการคลังในการสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวในระดับที่เหมาะสม
1. ฐานะการคลังเดือนมิถุนายน 2550
1.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 249,972 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 16.4
โดยรายได้ที่จัดเก็บเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีเครื่องดื่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษี
เงินได้นิติบุคคล และภาษียาสูบ
1.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 164,381 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ
40.1 โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายประจำ 126,403 ล้านบาท รายจ่ายลงทุน 32,200 ล้านบาท และรายจ่ายจาก
งบประมาณปีก่อน 5,778 ล้านบาท (ตารางที่1)
ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนมิถุนายนของปีงบประมาณ 2550
หน่วย: ล้านบาท
เดือนมิถุนายน เปลี่ยนแปลง
ปีงบประมาณ 2550 ปีงบประมาณ 2549 จำนวน ร้อยละ
1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 158,603.01 110,649.38 47,953.63 43.3
1.1 รายจ่ายประจำ 126,402.72 95,518.05 30,884.67 32.3
1.2 รายจ่ายลงทุน 32,200.29 15,131.33 17,068.96 112.8
2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 5,777.90 6,654.00 -876.1 -13.2
3. รายจ่ายรวม (1+2) 164,380.91 117,303.38 47,077.53 40.1
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
1.3 จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้น ส่งผลให้ดุลเงินงบ
ประมาณในเดือนมิถุนายน 2550 เกินดุล 85,591 ล้านบาท ในขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 31,180
ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจ่ายเงินอุดหนุนที่เหลื่อมจ่ายจากเดือนที่แล้วให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(อปท.) จำนวน 9,459 ล้านบาท และการถอนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บแทน อปท. อีก
4,357 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดเกินดุล 54,411 ล้านบาท (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสดเดือนมิถุนายน 2550
หน่วย: ล้านบาท
เดือนมิถุนายน เปลี่ยนแปลง
ปีงบประมาณ 2550 ปีงบประมาณ 2549 จำนวน ร้อยละ
1. รายได้ 249,971.75 214,818.20 35,153.55 16.4
2. รายจ่าย 164,380.91 117,303.38 47,077.53 40.1
3. ดุลเงินงบประมาณ 85,590.84 97,514.82 -11,923.98 -12.2
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ -31,180.18 -22,994.19 -8,185.99 35.6
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) 54,410.66 74,520.63 -20,109.97 -27
6. กู้เพื่อชดเชยการขาดดุล - - - -
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) 54,410.66 74,520.63 -20,109.97 -27
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรมบัญชีกลาง
2. ฐานะการคลังในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550
2.1 รายได้นำส่งคลัง ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง
ทั้งสิ้น 1,050,754 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.9 โดยรายได้ที่จัดเก็บเพิ่มขึ้นมากเมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนในอัตราสูงที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเบียร์ ภาษียาสูบ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีเงิน
ได้บุคคลธรรมดา ภาษีสุรา ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีเครื่องดื่ม นอกจากนี้รายได้จากรัฐวิสาหกิจและส่วน
ราชการอื่น (รายได้จากส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล) ก็เพิ่มขึ้นมากเช่นเดียวกัน
2.2 รายจ่ายรัฐบาล ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 การเบิกจ่ายของรัฐบาล
มีจำนวนทั้งสิ้น 1,154,744 ล้านบาท สูงกว่าการเบิกจ่ายในช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.7 โดยแบ่งออก
เป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน 1,065,212 ล้านบาท อัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 68.0 ของวงเงินงบประมาณ
(1,566,200 ล้านบาท) และรายจ่ายปีก่อน 89,532 ล้านบาท (ตารางที่ 3)
ตารางที่ 3 การเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550
หน่วย: ล้านบาท
ช่วง 9 เดือนแรก เปลี่ยนแปลง
ปีงบประมาณ 2550 ปีงบประมาณ 2549 จำนวน ร้อยละ
1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 1,065,212.26 921,635.80 143,576.46 15.6
1.1 รายจ่ายประจำ 871,189.39 734,031.51 137,157.88 18.7
1.2 รายจ่ายลงทุน 194,022.87 187,604.29 6,418.58 3.4
2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 89,531.99 103,087.00 -13,555.01 -13.1
3. รายจ่ายรวม (1+2) 1,154,744.25 1,024,722.80 130,021.45 12.7
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามกระแสเงินสด จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
ของรัฐบาลข้างต้นส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุลทั้งสิ้น 103,990 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอก
งบประมาณที่ขาดดุลจำนวน 85,712 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจ่ายเงินเหลื่อมจ่ายจากปีงบประมาณ
2549 จำนวน 38,952 ล้านบาท ทำให้ดุลการคลัง (ดุลเงินสด) ขาดดุลทั้งสิ้น 189,702 ล้านบาท สูงกว่า
เป้าหมายทั้งปีที่คาดว่าจะขาดดุล 146,200 ล้านบาท (ตารางที่ 4) โดยรัฐบาลชดเชยการขาดดุลด้วยการ
ใช้เงินคงคลัง 46,042 ล้านบาท การออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 97,115 ล้านบาท และการออกตั๋วสัญญา
ใช้เงิน 46,545 ล้านบาท
ตารางที่ 4 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 9 เดือนแรกปีงบประมาณ 2550
(ตุลาคม 2549 — มิถุนายน 2550)
หน่วย: ล้านบาท
9 เดือนแรก เปลี่ยนแปลง
ปีงบประมาณ 2550 ปีงบประมาณ 2549 จำนวน ร้อยละ
1. รายได้นำส่งคลัง 1,050,754.18 992,513.60 58,240.58 5.9
2. รายจ่าย 1,154,744.25 1,024,722.80 130,021.45 12.7
2.1 จากงบประมาณปีปัจจุบัน 1,065,212.26 921,635.80 143,576.46 15.6
2.2 จากงบประมาณปีก่อน 89,531.99 103,087.00 -13,555.01 -13.1
3. ดุลเงินงบประมาณ -103,990.07 -32,209.20 -71,780.87 222.9
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ -85,711.95 33,094.28 -118,806.23 -359
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) -189,702.02 885.08 -190,587.10 -21,533.30
6. กู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 143,660.00 - - -
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) -46,042.02 885.08 -46,927.10 -5,302.00
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรมบัญชีกลาง
สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 0-2273-9020 ต่อ 3558 3555
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 63/2550 16 กรกฎาคม 50--
แรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 — มิถุนายน 2550)
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะ
โฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด สรุปได้ว่า ในเดือน
มิถุนายน 2550 แม้ว่าการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจะเร่งตัวขึ้นมาก แต่รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังเพิ่มขึ้นจาก
ภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี 2549 ส่งผลให้ดุลเงินสดเกินดุล 54,411 ล้านบาท ขณะที่ในช่วง 9 เดือนแรก
ของปีงบประมาณ (ตุลาคม 2549 — มิถุนายน 2550) รัฐบาลขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 189,702 ล้านบาท ซึ่ง
รัฐบาลชดเชยการขาดดุลโดยการใช้เงินคงคลัง 46,042 ล้านบาท การออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 97,115
ล้านบาท และการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 46,545 ล้านบาท ทั้งนี้ การขาดดุลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงบทบาท
ของนโยบายการคลังในการสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวในระดับที่เหมาะสม
1. ฐานะการคลังเดือนมิถุนายน 2550
1.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 249,972 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 16.4
โดยรายได้ที่จัดเก็บเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีเครื่องดื่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษี
เงินได้นิติบุคคล และภาษียาสูบ
1.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งสิ้น 164,381 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ
40.1 โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายประจำ 126,403 ล้านบาท รายจ่ายลงทุน 32,200 ล้านบาท และรายจ่ายจาก
งบประมาณปีก่อน 5,778 ล้านบาท (ตารางที่1)
ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนมิถุนายนของปีงบประมาณ 2550
หน่วย: ล้านบาท
เดือนมิถุนายน เปลี่ยนแปลง
ปีงบประมาณ 2550 ปีงบประมาณ 2549 จำนวน ร้อยละ
1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 158,603.01 110,649.38 47,953.63 43.3
1.1 รายจ่ายประจำ 126,402.72 95,518.05 30,884.67 32.3
1.2 รายจ่ายลงทุน 32,200.29 15,131.33 17,068.96 112.8
2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 5,777.90 6,654.00 -876.1 -13.2
3. รายจ่ายรวม (1+2) 164,380.91 117,303.38 47,077.53 40.1
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
1.3 จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้น ส่งผลให้ดุลเงินงบ
ประมาณในเดือนมิถุนายน 2550 เกินดุล 85,591 ล้านบาท ในขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 31,180
ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจ่ายเงินอุดหนุนที่เหลื่อมจ่ายจากเดือนที่แล้วให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(อปท.) จำนวน 9,459 ล้านบาท และการถอนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บแทน อปท. อีก
4,357 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดเกินดุล 54,411 ล้านบาท (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสดเดือนมิถุนายน 2550
หน่วย: ล้านบาท
เดือนมิถุนายน เปลี่ยนแปลง
ปีงบประมาณ 2550 ปีงบประมาณ 2549 จำนวน ร้อยละ
1. รายได้ 249,971.75 214,818.20 35,153.55 16.4
2. รายจ่าย 164,380.91 117,303.38 47,077.53 40.1
3. ดุลเงินงบประมาณ 85,590.84 97,514.82 -11,923.98 -12.2
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ -31,180.18 -22,994.19 -8,185.99 35.6
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) 54,410.66 74,520.63 -20,109.97 -27
6. กู้เพื่อชดเชยการขาดดุล - - - -
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) 54,410.66 74,520.63 -20,109.97 -27
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรมบัญชีกลาง
2. ฐานะการคลังในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550
2.1 รายได้นำส่งคลัง ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง
ทั้งสิ้น 1,050,754 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.9 โดยรายได้ที่จัดเก็บเพิ่มขึ้นมากเมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนในอัตราสูงที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเบียร์ ภาษียาสูบ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีเงิน
ได้บุคคลธรรมดา ภาษีสุรา ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีเครื่องดื่ม นอกจากนี้รายได้จากรัฐวิสาหกิจและส่วน
ราชการอื่น (รายได้จากส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล) ก็เพิ่มขึ้นมากเช่นเดียวกัน
2.2 รายจ่ายรัฐบาล ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 การเบิกจ่ายของรัฐบาล
มีจำนวนทั้งสิ้น 1,154,744 ล้านบาท สูงกว่าการเบิกจ่ายในช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.7 โดยแบ่งออก
เป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน 1,065,212 ล้านบาท อัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 68.0 ของวงเงินงบประมาณ
(1,566,200 ล้านบาท) และรายจ่ายปีก่อน 89,532 ล้านบาท (ตารางที่ 3)
ตารางที่ 3 การเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550
หน่วย: ล้านบาท
ช่วง 9 เดือนแรก เปลี่ยนแปลง
ปีงบประมาณ 2550 ปีงบประมาณ 2549 จำนวน ร้อยละ
1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 1,065,212.26 921,635.80 143,576.46 15.6
1.1 รายจ่ายประจำ 871,189.39 734,031.51 137,157.88 18.7
1.2 รายจ่ายลงทุน 194,022.87 187,604.29 6,418.58 3.4
2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 89,531.99 103,087.00 -13,555.01 -13.1
3. รายจ่ายรวม (1+2) 1,154,744.25 1,024,722.80 130,021.45 12.7
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามกระแสเงินสด จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
ของรัฐบาลข้างต้นส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุลทั้งสิ้น 103,990 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอก
งบประมาณที่ขาดดุลจำนวน 85,712 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจ่ายเงินเหลื่อมจ่ายจากปีงบประมาณ
2549 จำนวน 38,952 ล้านบาท ทำให้ดุลการคลัง (ดุลเงินสด) ขาดดุลทั้งสิ้น 189,702 ล้านบาท สูงกว่า
เป้าหมายทั้งปีที่คาดว่าจะขาดดุล 146,200 ล้านบาท (ตารางที่ 4) โดยรัฐบาลชดเชยการขาดดุลด้วยการ
ใช้เงินคงคลัง 46,042 ล้านบาท การออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 97,115 ล้านบาท และการออกตั๋วสัญญา
ใช้เงิน 46,545 ล้านบาท
ตารางที่ 4 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 9 เดือนแรกปีงบประมาณ 2550
(ตุลาคม 2549 — มิถุนายน 2550)
หน่วย: ล้านบาท
9 เดือนแรก เปลี่ยนแปลง
ปีงบประมาณ 2550 ปีงบประมาณ 2549 จำนวน ร้อยละ
1. รายได้นำส่งคลัง 1,050,754.18 992,513.60 58,240.58 5.9
2. รายจ่าย 1,154,744.25 1,024,722.80 130,021.45 12.7
2.1 จากงบประมาณปีปัจจุบัน 1,065,212.26 921,635.80 143,576.46 15.6
2.2 จากงบประมาณปีก่อน 89,531.99 103,087.00 -13,555.01 -13.1
3. ดุลเงินงบประมาณ -103,990.07 -32,209.20 -71,780.87 222.9
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ -85,711.95 33,094.28 -118,806.23 -359
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) -189,702.02 885.08 -190,587.10 -21,533.30
6. กู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 143,660.00 - - -
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) -46,042.02 885.08 -46,927.10 -5,302.00
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรมบัญชีกลาง
สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 0-2273-9020 ต่อ 3558 3555
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 63/2550 16 กรกฎาคม 50--