กรุงเทพ--16 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 2-12 มีนาคม 2550 กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญจากคณะคณะเวชศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล และศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจผลิตภัณฑ์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่นักศึกษาไทยมุสลิมในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เพื่อการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาในด้านความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฮาลาล และแนะนำแนวทางในการประกอบวิชาชีพในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับฮาลาลภายหลังจบการศึกษาและเดินทางกลับประเทศไทย อันจะเป็นการขยายโอกาสทางวิชาชีพให้นักศึกษาเหล่านี้ ที่สนใจจะประกอบธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวิชาที่เรียน และเป็นธุรกิจที่เป็นวิถีชีวิตของชาวมุสลิมโดยทั่วไป
การอบรมฯ ใช้เวลา 30 ชั่วโมง มีนักศึกษาเข้ารับการอบรมกว่า 80 คน โดย รศ.ดร. วินัย ดะห์ลัน คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล และวิทยากรจากกระทรวงเกษตรฯ ของอียิปต์และนักศึกษาไทยที่ปัจจุบันประกอบธุรกิจในไคโร เป็นผู้ร่วมบรรยายฯ
การอบรมฯ ยังเน้น workshop สอนให้นักศึกษารู้จักวางแผนธุรกิจในอนาคต ทั้งนี้ นักศึกษายังได้ลงมือทดลองทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้น เช่น การสาธิตทำน้ำมันมวยผสมกลิ่นอโรมา การใช้อุปกรณ์ทดสอบเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ท้องร่วงในอาหาร เป็นต้น เพื่อแสดงให้เห็นประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2550 ในระหว่างการเยือนประเทศอียิปต์ นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มอบวุฒิบัตรให้แก่ผู้เข้าอบรมที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบและฝึกอบรมด้วย
นอกจากนั้น เมื่อวันที่ 7พฤษภาคม 2550 นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้าน ฮาลาลระหว่างศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ Halal Industry Development Cooperation (HDC) และ World Halal Forum (WHF) ซึ่งเป็นองค์กรของมาเลเซีย โดยในโอกาสนี้ ฯพณฯ ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซียร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามด้วย
การลงนามความตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลของไทย กับ HDC และ WHF ของมาเลเซีย โดยมาเลเซียมีความสนใจด้านเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ฮาลาลของไทย ซึ่งมีความก้าวหน้า ไทยสามารถใช้วิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ให้เกิดการยอมรับในมาตรฐานอาหารฮาลาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่มาเลเซียเป็นประเทศมีจุดแข็งในเรื่องการตลาดอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ดังนั้น การร่วมมือกันโดยใช้จุดแข็งของทั้งสองฝ่ายจะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลของทั้งสองประเทศให้มีความก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 2-12 มีนาคม 2550 กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญจากคณะคณะเวชศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล และศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจผลิตภัณฑ์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่นักศึกษาไทยมุสลิมในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เพื่อการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาในด้านความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฮาลาล และแนะนำแนวทางในการประกอบวิชาชีพในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับฮาลาลภายหลังจบการศึกษาและเดินทางกลับประเทศไทย อันจะเป็นการขยายโอกาสทางวิชาชีพให้นักศึกษาเหล่านี้ ที่สนใจจะประกอบธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวิชาที่เรียน และเป็นธุรกิจที่เป็นวิถีชีวิตของชาวมุสลิมโดยทั่วไป
การอบรมฯ ใช้เวลา 30 ชั่วโมง มีนักศึกษาเข้ารับการอบรมกว่า 80 คน โดย รศ.ดร. วินัย ดะห์ลัน คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล และวิทยากรจากกระทรวงเกษตรฯ ของอียิปต์และนักศึกษาไทยที่ปัจจุบันประกอบธุรกิจในไคโร เป็นผู้ร่วมบรรยายฯ
การอบรมฯ ยังเน้น workshop สอนให้นักศึกษารู้จักวางแผนธุรกิจในอนาคต ทั้งนี้ นักศึกษายังได้ลงมือทดลองทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้น เช่น การสาธิตทำน้ำมันมวยผสมกลิ่นอโรมา การใช้อุปกรณ์ทดสอบเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ท้องร่วงในอาหาร เป็นต้น เพื่อแสดงให้เห็นประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2550 ในระหว่างการเยือนประเทศอียิปต์ นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มอบวุฒิบัตรให้แก่ผู้เข้าอบรมที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบและฝึกอบรมด้วย
นอกจากนั้น เมื่อวันที่ 7พฤษภาคม 2550 นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้าน ฮาลาลระหว่างศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ Halal Industry Development Cooperation (HDC) และ World Halal Forum (WHF) ซึ่งเป็นองค์กรของมาเลเซีย โดยในโอกาสนี้ ฯพณฯ ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซียร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามด้วย
การลงนามความตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลของไทย กับ HDC และ WHF ของมาเลเซีย โดยมาเลเซียมีความสนใจด้านเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ฮาลาลของไทย ซึ่งมีความก้าวหน้า ไทยสามารถใช้วิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ให้เกิดการยอมรับในมาตรฐานอาหารฮาลาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่มาเลเซียเป็นประเทศมีจุดแข็งในเรื่องการตลาดอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ดังนั้น การร่วมมือกันโดยใช้จุดแข็งของทั้งสองฝ่ายจะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลของทั้งสองประเทศให้มีความก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-