กรุงเทพ--8 ส.ค--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2550 นางจิตริยา ปิ่นทอง ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) ในนามรัฐบาลไทย และนายสุชาติ เกติมา ผู้อำนวยการสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute) ได้ร่วมลงนามในความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง เพื่อรับรองสถานะของ สถาบันความร่วมมือฯ เป็นองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล (Intergovernmental Organization : IGO) โดยพิธีลงนามดังกล่าวมี นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมเป็นสักขีพยาน พร้อมทั้งนายเตช บุนนาค อดีตประธานสภามนตรีสถาบันฯ และที่ปรึกษากิติมศักดิ์สภามนตรีสถาบันฯ นายประดาป พิบูลสงคราม รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการกำกับการดำเนินงานสถาบันฯ ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูตและผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตของประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงประจำประเทศไทย อาทิ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และจีน และผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ เป็นแขกผู้มีเกียรติร่วมในพิธีการลงนามความตกลงดังกล่าว
สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงมีบทบาทในการพัฒนาบุคลากรตามความต้องการในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตั้งแต่ ปี 2539 โดยบุคลากรระดับสูงและระดับกลางของประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันในกรอบของการอบรมเกี่ยวกับด้านการจัดการ ด้านนโยบาย และความเป็นผู้นำในสาขาต่างๆ อาทิ การท่องเที่ยว เศรษฐกิจท้องถิ่น และการแข่งขันของภาคเอกชน โดยในระยะแรก สถาบันฯ ได้ก่อตั้งขึ้นในลักษณะโครงการ ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลนิวซีแลนด์กับรัฐบาลไทยเพื่อดำเนินโครงการฯ กับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และสามารถ พัฒนาเป็นสถาบันระดับภูมิภาค และต่อมาได้จัดทำธรรมนูญ (Charter) ของสถาบันฯ ขึ้นเมื่อปี 2546 โดยการลงนามของ ผู้แทนระดับรัฐมนตรีของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งส่งผลให้สถาบันฯ มีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น การที่สถาบันฯ ได้รับการรับรองให้เป็นองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาลแสดงให้เห็นถึงความพยายาม ในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพของประเทศในอนุภูมิภาคฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนของประเทศในอนุภูมิภาคฯ เพื่อให้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศตนเอง อันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2550 นางจิตริยา ปิ่นทอง ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) ในนามรัฐบาลไทย และนายสุชาติ เกติมา ผู้อำนวยการสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute) ได้ร่วมลงนามในความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง เพื่อรับรองสถานะของ สถาบันความร่วมมือฯ เป็นองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล (Intergovernmental Organization : IGO) โดยพิธีลงนามดังกล่าวมี นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมเป็นสักขีพยาน พร้อมทั้งนายเตช บุนนาค อดีตประธานสภามนตรีสถาบันฯ และที่ปรึกษากิติมศักดิ์สภามนตรีสถาบันฯ นายประดาป พิบูลสงคราม รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการกำกับการดำเนินงานสถาบันฯ ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูตและผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตของประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงประจำประเทศไทย อาทิ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และจีน และผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ เป็นแขกผู้มีเกียรติร่วมในพิธีการลงนามความตกลงดังกล่าว
สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงมีบทบาทในการพัฒนาบุคลากรตามความต้องการในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตั้งแต่ ปี 2539 โดยบุคลากรระดับสูงและระดับกลางของประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันในกรอบของการอบรมเกี่ยวกับด้านการจัดการ ด้านนโยบาย และความเป็นผู้นำในสาขาต่างๆ อาทิ การท่องเที่ยว เศรษฐกิจท้องถิ่น และการแข่งขันของภาคเอกชน โดยในระยะแรก สถาบันฯ ได้ก่อตั้งขึ้นในลักษณะโครงการ ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลนิวซีแลนด์กับรัฐบาลไทยเพื่อดำเนินโครงการฯ กับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และสามารถ พัฒนาเป็นสถาบันระดับภูมิภาค และต่อมาได้จัดทำธรรมนูญ (Charter) ของสถาบันฯ ขึ้นเมื่อปี 2546 โดยการลงนามของ ผู้แทนระดับรัฐมนตรีของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งส่งผลให้สถาบันฯ มีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น การที่สถาบันฯ ได้รับการรับรองให้เป็นองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาลแสดงให้เห็นถึงความพยายาม ในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพของประเทศในอนุภูมิภาคฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนของประเทศในอนุภูมิภาคฯ เพื่อให้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศตนเอง อันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-