สวนดุสิตโพล: การแข่งขันทางการเมือง : กรณีเลือกตั้ง ส.ส. ต้นปี 62

ข่าวผลสำรวจ Monday October 1, 2018 10:07 —สวนดุสิตโพล

กระแสข่าวการเลือกตั้ง ส.ส. ที่กำลังจะมีขึ้นในช่วงต้นปี 2562 ยังคงเป็นประเด็นร้อนทางการเมือง เนื่องจากการเลือกตั้งครั้งนี้มีทั้งพรรคการเมืองเก่า และพรรคการเมืองใหม่ที่จะต้องหาเสียง และมีการแข่งขันกันสูง ในขณะที่ประชาชนก็มีความคาดหวังต่อการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นเช่นเดียวกัน “สวนดุสิตโพลมหาวิทยาลัย สวนดุสิต ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,085 คน ระหว่างวันที่ 26-29 กันยายน 2561 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนคิดอย่างไร? กับ การแข่งขันในการเลือกตั้ง ส.ส. ที่กำลังจะมีขึ้นในช่วงต้นปี 2562
อันดับ 1   หวังว่าการเลือกตั้งจะมีขึ้นจริง  กำหนดวันเลือกตั้งที่แน่นอน                        43.00%
อันดับ 2   เป็นการเลือกตั้งครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งของการเมืองไทย มีการแข่งขันกันสูง             37.73%
อันดับ 3   ขอให้ทุกคนทุกฝ่ายแข่งขันด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม เคารพกฏหมาย                  23.72%
อันดับ 4   ให้อิสระพรรคการเมืองและนักการเมืองได้หาเสียง ทำกิจกรรมทางการเมือง           19.77%
อันดับ 5   กกต. เตรียมความพร้อมในการจัดการเลือกตั้ง ควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด              14.83%

2. การแข่งขันที่ประชาชนคาดว่าจะมีการแข่งขันที่ดุเดือด คือ
อันดับ 1   ผู้สมัคร                                                              25.19%
อันดับ 2   หัวหน้าพรรค                                                          21.62%
อันดับ 3   พรรคการเมือง                                                        20.57%
อันดับ 4   การหาเสียง                                                          18.09%
อันดับ 5   นโยบายพรรค                                                         14.53%

3. เปรียบเทียบระหว่าง “การเลือกตั้ง ส.ส. ที่กำลังจะมีขึ้นในช่วงต้นปี 2562” กับ“การเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านมา” ประชาชนคิดว่าการแข่งขันจะเป็นอย่างไร
อันดับ 1   พอ ๆ กัน                                                            51.15%
อันดับ 2   รุนแรงมากกว่าการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านมา                                    28.48%
อันดับ 3   รุนแรงน้อยกว่าการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านมา                                    20.37%

4. การเลือกตั้ง ส.ส. ที่กำลังจะมีขึ้นในช่วงต้นปี 2562  ประชาชนวิตกกังวลเรื่องอะไรบ้าง
อันดับ 1   ความไม่โปร่งใส ไม่เป็นกลาง การทุจริต ซื้อเสียง โกงเลือกตั้ง                    41.03%
อันดับ 2   ความขัดแย้ง การทะเลาะเบาะแว้ง สร้างสถานการณ์วุ่นวาย ปั่นป่วน                 33.79%
อันดับ 3   การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน /ข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวที่ไม่เป็นจริง              16.44%
อื่นๆ คนที่จะเข้ามาบริหารประเทศ  นโยบายสร้างภาพ ไม่มีผู้สมัครที่ถูกใจ ไม่รู้จะเลือกใคร         14.03%
กลัวว่าจะเลื่อนเลือกตั้งออกไปอีก ฯลฯ

5. การแข่งขันทางการเมืองเชิงสร้างสรรค์ที่ประชาชนอยากเห็น คือ
อันดับ 1   แข่งขันด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ตรงไปตรงมา                                53.40%
อันดับ 2   แข่งขันเชิงนโยบาย ขายความคิด มีวิสัยทัศน์ ทันสมัย ทำได้จริง                     37.76%
อันดับ 3   มีวิธีการหาเสียงที่น่าสนใจ มีสาระ เข้าใจง่าย หลากหลายช่องทาง                  18.37%
อื่นๆ นึกถึงประโยชน์ของส่วนรวม  สร้างบรรยากาศทางการเมืองที่ดี ทำงานเป็นทีม                6.80%
หัวหน้าพรรคและสมาชิกพรรคให้การสนับสนุน ฯลฯ

6. การแข่งขันทางการเมืองที่ไม่ดี และประชาชนไม่อยากเห็น คือ
อันดับ 1   ทุจริต ซื้อเสียง โกงเลือกตั้ง                                              57.40%
อันดับ 2   ใส่ร้าย โจมตี ยุยง ปลุกปั่น                                               36.11%
อันดับ 3   ใช้อำนาจในทางที่ผิด ฝ่าฝืนกฎระเบียบ ไม่เคารพกฏหมาย                         27.22%
อื่นๆ ดูด ส.ส. ซื้อตัวผู้สมัคร หัวคะแนน ไม่ลงพื้นที่ด้วยตนเอง  ฯลฯ                           5.22%

7. ทำอย่างไร? การแข่งขันในการเลือกตั้ง ส.ส.ที่กำลังจะมีขึ้นในช่วงต้นปี 2562  จึงจะบริสุทธิ์ยุติธรรม
อันดับ 1   ผู้สมัคร นักการเมืองต้องซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา เคารพกฎกติกา เป็นแบบอย่างที่ดี        54.82%
อันดับ 2   กกต.ประกาศกฎระเบียบข้อบังคับชัดเจน ควบคุมดูแลเข้มงวด บทลงโทษรุนแรง          33.19%
อันดับ 3   ประชาชนมีวิจารณญาณ ช่วยกันสอดส่องดูแล เป็นหูเป็นตา                          15.20%
อื่นๆ ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม  สื่อมวลชนเกาะติดสถานการณ์ เสนอข่าวตรงไปตรงมา              9.64%
ไม่สนับสนุนเรื่องผิดกฎหมาย ไม่ขายเสียง รณรงค์การเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย ฯลฯ

--สวนดุสิตโพล--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ