สวนดุสิตโพล: พฤติกรรมของคนไทยกับการทำงานที่บ้าน (Work From Home)

ข่าวผลสำรวจ Monday May 17, 2021 08:27 —สวนดุสิตโพล

/

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ประชาชนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและปรับรูปแบบเป็นการทำงานที่บ้านหรือ Work From Home (WFH) เป็นการปฏิบัติตามนโยบายของภาครัฐและช่วยลดวามเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ?สวนดุสิตโพล? มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,553 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 10-13 พฤษภาคม 2564 สรุปผลได้ ดังนี้

1. พฤติกรรมการทำงานของประชาชนในช่วงโควิด-19
    ทำงานที่บ้าน 42.72%        ทำทั้งที่บ้านและที่ทำงาน 34.45%       ไม่ได้ทำงานที่บ้าน 22.83%

2. ความคิดเห็นที่มีต่อการทำงานที่บ้าน (Work From Home)
อันดับ 1          รู้สึกปลอดภัย/ช่วยลดการแพร่เชื้อโควิด-19          74.82%
อันดับ 2          เป็นการปฏิบัติตามนโยบายภาครัฐ/ให้ความร่วมมือในการอยู่บ้าน                     48.60%
อันดับ 3          มีเวลาให้ตัวเองและครอบครัวมากขึ้น                                   44.05%
อันดับ 4          อุปกรณ์ เครื่องมือไม่พร้อม ไม่เอื้อต่อการทำงาน          40.53%
อันดับ 5          บรรยากาศไม่เหมือนกับที่ทำงาน           39.04%







3. ข้อดี-ข้อเสีย ของการทำงานที่บ้าน (Work From Home)
ที่          ข้อดี          ภาพรวม          ที่          ข้อเสีย          ภาพรวม
1          ลดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19            88.33%          1          ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ค่าน้ำ-ไฟ อินเทอร์เน็ต          65.80%
2          ประหยัดค่าเดินทาง                70.19%          2          อุปกรณ์ เครื่องมือไม่สะดวกเหมือนที่ทำงาน               62.08%
3          ได้ช่วยและให้ความร่วมมือกับภาครัฐ                                             60.73%          3          การสื่อสาร การติดต่อประสานงานช้า                              45.97%

4. ความสำเร็จของผลงานจากการทำงานที่บ้าน (Work From Home) สำเร็จประมาณ  70.33%
5. ความชื่นชอบเปรียบเทียบระหว่างการทำงาน ?ที่ทำงาน? กับทำงาน ?ที่บ้าน?
อันดับ 1          ชอบทั้ง 2 แบบพอๆกัน                   37.17%
อันดับ 2          ชอบการทำงานที่ทำงานมากกว่า                  36.13%
อันดับ 3          ชอบการทำงานที่บ้านมากกว่า                  18.10%
อันดับ 4          เฉยๆ          8.60%






6. ความคิดเห็นที่มีต่อนโยบายการทำงานที่บ้าน (Work From Home) จะช่วยลดการแพร่เชื้อโควิด-19 ได้หรือไม่
    ช่วยได้ 82.66%            ไม่แน่ใจ 13.14%            ช่วยไม่ได้ 4.20%

*หมายเหตุ   ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)










สรุปผลการสำรวจ : พฤติกรรมของคนไทยกับการทำงานที่บ้าน (Work From Home)

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี ?พฤติกรรมของคนไทยกับการทำงานที่บ้าน (Work From Home)? กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,553 คน สำรวจวันที่ 10 ? 13 พฤษภาคม 2564 พบว่า ในช่วงนี้คนไทยทำงานที่บ้าน ร้อยละ 42.72 และทำทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ร้อยละ 34.45 โดยเห็นว่าการทำงานที่บ้าน (WFH) ทำให้รู้สึกปลอดภัย ลดการแพร่เชื้อโควิด-19 ร้อยละ 74.82 ข้อดีของการทำงานที่บ้าน (WFH) คือ ลดการแพร่ระบาดของโรค ร้อยละ 88.33 ข้อเสีย คือ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 65.80 จากการทำงานที่บ้านผลงานประสบความสำเร็จร้อยละ 70.33 ส่วนความชื่นชอบต่อรูปแบบการทำงาน พบว่า ชอบทั้งการทำงานที่บ้านและการทำงาน ที่ทำงาน ร้อยละ 37.17 และเห็นว่านโยบายการทำงานที่บ้านนั้นช่วยลดการแพร่เชื้อโควิด-19 ได้ ร้อยละ 82.66

ในระยะเวลาปีกว่าที่ภาคประชาชนให้ความร่วมมือด้วยการทำงานที่บ้าน (WFH) และปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังตัวเองอย่างเคร่งครัด เพราะต้องการให้สถานการณ์โควิด-19 นั้น ?เจ็บแต่จบ? เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว ในส่วนของภาครัฐเองก็ต้องเร่งมาตรการอื่น ๆ ไปพร้อมกันด้วย ทั้งการรับมือและเร่งการฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุด เพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้

นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533

การทำงานที่บ้าน (Work From Home) เป็นแนวคิดช่วยลดต้นทุนทางเศรษฐกิจ ถึงแม้การทำงานที่บ้านจะทำให้มีค่าสาธารณูปโภคที่เพิ่มมากขึ้น แต่ภาครัฐก็ได้ออกมาตรการเยียวยาเป็นการแบ่งเบาประชาชน ซึ่งการทำงานที่บ้านจะเกิดประสิทธิภาพได้นั้น ควรแยกเวลาทำงานและเวลาส่วนตัว (Work Time and Personal Time) เพื่อกำหนดชั่วโมงการทำงานและความสำเร็จของงาน และองค์กรก็ควรกำหนดนโยบาย (Policy) ให้ชัดเจนในเรื่องการทำงานที่บ้าน นำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สร้างสำนักงานเสมือน (Virtual Office) สนับสนุนการใช้แพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชันในการสื่อสารและทำงานร่วมกันในองค์กร หรือพัฒนารูปแบบการทำงานเป็นแบบไฮบริด (Hybrid model) ที่เน้นการทำงานแบบผสมผสาน พนักงานสามารถเลือกทำงานจากที่บ้านหรือที่สำนักงานได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าการทำงานที่บ้าน ?ทำให้เกิดสิ่งใหม่? นั่นคือ ?วิถีการทำงานรูปแบบใหม่? และยังเป็นการช่วยลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้อีกด้วย

ผศ.ทิพสุดา คิดเลิศ

รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ที่มา: สวนดุสิตโพล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ