การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday April 26, 2000 11:06 —ประกาศ ก.ล.ต.

                                ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่ กจ. 12 /2543
เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ออกข้อกำหนดไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2543 เป็นต้นไป
ข้อ 2 ให้ยกเลิก
(1) ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และการอนุญาต ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
(2) ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 25/2539 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และการอนุญาต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
(3) ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 6/2541 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และการอนุญาต (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
(4) ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 26/2541 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และการอนุญาต (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2541
ข้อ 3 ในประกาศนี้ และในแบบคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ที่กำหนดตามประกาศนี้
(1) คำว่า "บริษัทใหญ่" "บริษัทย่อย" "บริษัทร่วม" "ผู้มีอำนาจควบคุม" "ผู้ที่เกี่ยวข้อง" "ผู้ถือหุ้นรายใหญ่" "ผู้บริหาร" และ"งบการเงินรวม" ให้มีความหมายเช่นเดียวกับบทนิยามของคำดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์
(2) "บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง" หมายความว่า บุคคลดังต่อไปนี้
(ก) ผู้บริหารของบริษัทมหาชนจำกัด
(ข) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทมหาชนจำกัด
(ค) ผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทมหาชนจำกัด
(ง) บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ทางการสมรส หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายกับบุคคลตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ซึ่งได้แก่ บิดา มารดา คู่สมรส บุตร หรือญาติสนิทอื่น
(จ) นิติบุคคลใด ๆ ที่บุคคลตาม (ก) (ข) หรือ (ค) ถือหุ้นหรือมีอำนาจควบคุมหรือมีส่วนได้เสียอื่นใด ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญ
(3) "คณะกรรมการตรวจสอบ" หมายความว่า กรรมการของบริษัทมหาชนจำกัดที่คณะกรรมการของบริษัทแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นกรรมการตรวจสอบตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าด้วยคุณสมบัติและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ
(4) "รายการที่เกี่ยวโยงกัน" หมายความว่า รายการที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และการเปิดเผยรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียน
(5) "การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์" หมายความว่า การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และการเปิดเผยเกี่ยวกับการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน
(6) "สำนักงาน" หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ 4 บริษัทมหาชนจำกัดหรือผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ จะได้รับอนุญาตจากสำนักงานต่อเมื่อปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
ข้อ 5 ในการพิจารณาคำขออนุญาต ให้สำนักงานมีอำนาจแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขออนุญาตมาชี้แจง หรือส่งเอกสารหลักฐานอื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่สำนักงานกำหนด
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตไม่มาชี้แจง หรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานภายในระยะเวลาที่สำนักงานกำหนด ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตไม่ประสงค์จะขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่นั้นอีกต่อไป
หมวด 1การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่บุคคลในวงจำกัด
ส่วนที่ 1การขอและการอนุญาต
ข้อ 6 การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่บุคคลในวงจำกัด หมายถึง การเสนอขายที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ที่มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่เกินยี่สิบล้านบาทภายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน ทั้งนี้ การคำนวณมูลค่ารวมของหุ้นดังกล่าว ให้ถือเอาราคาเสนอขายหุ้นนั้นเป็นเกณฑ์
(2) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจงซึ่งมีจำนวนไม่เกินสามสิบห้ารายภายในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน
(3) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคารพาณิชย์
(ข) บริษัทเงินทุน
(ค) บริษัทหลักทรัพย์เพื่อเป็นทรัพย์สินของตนเอง หรือเพื่อการบริหารกองทุนส่วนบุคคล หรือเพื่อการจัดการโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ง) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
(จ) บริษัทประกันภัย
(ฉ) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นซึ่งมิได้เป็นบุคคลตาม (ฌ)
(ช) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ซ) สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(ฌ) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(ญ) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
(ฎ) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
(ฏ) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(ฐ) กองทุนรวม(ฑ) นิติบุคคลที่มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามงบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(ฒ) นิติบุคคลซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลตาม (ก) ถึง (ฑ) ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด
(ณ) ผู้ลงทุนต่างประเทศซึ่งมีลักษณะเดียวกับผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ฒ) โดยอนุโลม
(ด) ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนตาม (ก) ถึง (ณ) ซึ่งซื้อหุ้นตามที่บริษัทมหาชนจำกัดหรือผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดได้เสนอขายหุ้นนั้นในมูลค่าตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้ การคำนวณมูลค่าของหุ้นดังกล่าวให้ถือเอาราคาเสนอขายเป็นเกณฑ์
การคำนวณมูลค่ารวมการเสนอขายหุ้นตาม (1) หรือการนับจำนวนผู้ลงทุนตาม (2) ไม่นับรวมส่วนที่เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนตาม (3) ทั้งนี้ ไม่ว่าการเสนอขายดังกล่าวจะกระทำในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลากันในรอบระยะเวลาสิบสองเดือน
ข้อ 7 เว้นแต่กรณีที่กำหนดไว้ในข้อ 8 บริษัทมหาชนจำกัดหรือผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดใดที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่บุคคลในวงจำกัด ให้บุคคลดังกล่าวเสนอขายหุ้นนั้นได้โดยถือว่าได้รับอนุญาตจากสำนักงานแล้ว
ข้อ 8 การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่กองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นหรือมีการลงทุนในลักษณะที่เป็นเครื่องมือเพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ตามหมวด 2 มิให้ถือเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 6(3)(ฐ) เว้นแต่กรณีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานตามวรรคสาม ให้การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่กองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นการเสนอขายที่มิให้ถือเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามข้อ 6(3)(ฐ)(1) กองทุนรวมนั้นมิได้จำกัดการเสนอขายหน่วยลงทุนเฉพาะแก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะ
(2) การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ให้กองทุนรวมเป็นไปตามข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างผู้เสนอขายหลักทรัพย์กับบริษัทจัดการ โดยบริษัทจัดการดังกล่าวไม่ต้องใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจลงทุนในหุ้นที่เสนอขายนั้นในระดับเดียวกับการบริหารกองทุนรวมทั่วไป และ - 5 -
(3) มีการลงทุนของกองทุนรวมในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(ก) ลงทุนในหุ้นที่เสนอขายของบริษัทใดบริษัทหนึ่งในแต่ละครั้งมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนรวมนั้น หรือ
(ข) ลงทุนในหุ้นที่ออกใหม่ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งเกินกว่าร้อยละห้าสิบของมูลค่ารวมของหุ้นที่ออกใหม่ที่เสนอขายในแต่ละครั้ง
ในกรณีที่ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่กองทุนรวมที่มีลักษณะตามที่กำหนดในวรรคสอง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่กองทุนรวมนั้นเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์แก่ผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ดังกล่าวยื่นคำขอความเห็นชอบต่อสำนักงานพร้อมทั้งคำชี้แจงและเอกสารหลักฐาน และให้สำนักงานมีอำนาจให้ความเห็นชอบให้ผู้เสนอขายหลักทรัพย์สามารถเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่แก่กองทุนรวมในฐานะเป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบันหรือที่มีลักษณะเฉพาะในครั้งนั้นได้
เพื่อประโยชน์ตามความในข้อนี้
"กองทุนรวม" หมายความว่า กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หรือโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
"บริษัทจัดการ" หมายความว่า บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
ส่วนที่ 2เงื่อนไขการอนุญาต
ข้อ 9 ให้ผู้ได้รับอนุญาตตามส่วนที่ 1 ของหมวดนี้ ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่ประสงค์จะโฆษณาการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ จะต้องจัดให้การโฆษณานั้นมีข้อความที่แสดงว่าเป็นการเสนอขายแก่บุคคลในวงจำกัด มิใช่เป็นการเสนอขายต่อประชาชนโดยทั่วไป
(2) ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีข้อความในหนังสือชี้ชวนว่า ภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้ว ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องของข้อมูลในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน- 6 -
ที่ผู้ถือหุ้นของผู้ได้รับอนุญาตยื่นต่อสำนักงานเพื่อเสนอขายหุ้นดังกล่าวต่อประชาชน หรือดำเนินการให้หุ้นนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตจะได้รับอนุญาตจากสำนักงานให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนตามหมวด 2 หรือผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ข้อ 10 เพื่อให้การขายหุ้นที่ออกใหม่เป็นการขายแก่บุคคลในวงจำกัดอย่างแท้จริง หรือเพื่อป้องกันมิให้หุ้นที่ได้รับอนุญาตในกรณีดังกล่าวกระจายสู่ประชาชนโดยมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นแก่บุคคลในวงจำกัด ให้สำนักงานมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขอื่นที่ผู้ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้ต้องปฏิบัติเพิ่มเติมภายหลังได้รับอนุญาตได้
หมวด 2การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชน
ส่วนที่ 1การขอและการอนุญาต
ข้อ 11 บริษัทมหาชนจำกัดที่ประสงค์จะเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชน ต้องยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงานพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาต ทั้งนี้ ตามแบบและวิธีการที่สำนักงานประกาศกำหนด
การยื่นคำขออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีที่สำนักงานให้ความเห็นชอบเป็นผู้ร่วมจัดทำคำขออนุญาตด้วย
ข้อ 12 ให้ผู้ขออนุญาตชำระค่าธรรมเนียมคำขออนุญาต คำขอละ 50,000 บาทในวันยื่นแบบคำขออนุญาตในกรณีที่สำนักงานมีความจำเป็นต้องไปเยี่ยมชมกิจการ หรือสถานที่อื่นใดของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล ผู้ขออนุญาตต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าที่พักและค่าพาหนะเดินทางที่เกิดขึ้นจากการเยี่ยมชมกิจการตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด - 7 -
ข้อ 13 เว้นแต่กรณีที่กำหนดไว้ในข้อ 19 ผู้ขออนุญาตจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้(1) มีการประกอบธุรกิจหลักที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย(2) มีงบการเงินที่น่าเชื่อถือ โดยมีข้อมูลทางการเงินที่เพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 14 (3) มีโครงสร้างการถือหุ้น การบริหารงาน โครงสร้างการเงิน และข้อบังคับบริษัทที่ชัดเจนเป็นธรรม มีกลไกการตรวจสอบและถ่วงดุล (check and balance) การบริหารงานของผู้ขออนุญาตอย่างเพียงพอ และสามารถป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นได้ โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 15(4) มีระบบการควบคุมภายใน และการจัดเก็บเอกสารที่สำคัญ ที่รัดกุม มีประสิทธิภาพ และอย่างน้อยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 16
(5) ผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุม ต้องมีจริยธรรม มีความสามารถ หรือมีประสบการณ์ในธุรกิจของผู้ขออนุญาต มีการบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังเพื่อประโยชน์ของบริษัท มีความตั้งใจที่จะดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง มีความเข้าใจและรับผิดชอบต่อสาธารณชน และต้องไม่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อ 17
ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กรรมการของสภาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนดังกล่าวต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้บริหารของผู้ขออนุญาตตามที่กำหนดในวรรคหนึ่ง ด้วย
(6) ธุรกิจของผู้ขออนุญาตต้องไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเกินกว่าขอบเขตที่กฎหมายกำหนด หรือไม่อยู่ระหว่างถูกกล่าวหาหรือมีข้อพิพาทจากหน่วยงานทางการว่าการประกอบธุรกิจของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเกินกว่าขอบเขตที่กฎหมายกำหนดอย่างมีนัยสำคัญ
ข้อ 14 "งบการเงิน" ตามข้อ 13(2) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้(1) งบการเงินและงบการเงินรวม (ถ้ามี) อย่างน้อยในปีล่าสุดก่อนปีที่ยื่นคำขออนุญาตได้ผ่านการตรวจสอบเป็นอย่างดีจากผู้สอบบัญชีที่อยู่ในบัญชีที่สำนักงานให้ความเห็นชอบ - 8 -
(2) รายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีตาม (1) ต้องไม่มีความหมายในลักษณะไม่แสดงความเห็นต่อการจัดทำงบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวม หรือต้องไม่แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในรายการบัญชีที่เป็นสาระสำคัญอันเนื่องมาจากผู้สอบบัญชีถูกจำกัดขอบเขตการสอบบัญชี เว้นแต่การถูกจำกัดขอบเขตการสอบบัญชีดังกล่าวมิได้เกิดจากการกระทำหรือไม่กระทำของผู้ขออนุญาตหรือผู้บริหาร (3) งบการเงินของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวม ได้จัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ออกตามความในมาตรา 56 เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ในเรื่องการจัดทำงบการเงินและงบการเงินรวม
ข้อ 15 "โครงสร้างการถือหุ้น การบริหารงาน โครงสร้างการเงิน และข้อบังคับบริษัท" ตามข้อ 13(3) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) มีกรรมการอิสระอย่างน้อยสองคนในคณะกรรมการบริษัท โดยผู้ขออนุญาตต้องแสดงให้เห็นได้ว่าบุคคลดังกล่าวมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(ก) เข้าใจบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของการเป็นกรรมการบริษัท (ข) สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของผู้ขออนุญาตในเรื่องการปฏิบัติให้เป็นไปตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นต่างๆ และเป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ค) ถือหุ้นไม่เกินร้อยละศูนย์จุดห้าของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ขออนุญาต บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลของบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง (ง) ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจำ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ขออนุญาต บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลของบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
(จ) ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต ทางการสมรส หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งในระดับ บิดา มารดา คู่สมรส บุตร หรือญาติสนิท และไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับผู้ขออนุญาต บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคล ของบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของกรรมการอิสระ
(2) มีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทอย่างชัดเจน และในกรณีที่คณะกรรมการบริษัทได้มอบอำนาจให้กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลอื่นทำหน้าที่แทนในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินงานตามปกติธุรกิจ การมอบอำนาจดังกล่าวต้องเป็นไปตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทที่มีกรรมการอิสระตาม (1) เข้าร่วมประชุม และกรณีที่กรรมการอิสระคัดค้านการมอบอำนาจนั้น ต้องบันทึกความเห็นของกรรมการอิสระในรายงานการประชุมให้ชัดเจน ทั้งนี้ การมอบอำนาจดังกล่าวจะต้องกำหนดขอบเขตอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบอำนาจไว้อย่างชัดเจน และต้องไม่เป็นการมอบอำนาจที่ทำให้ผู้รับมอบอำนาจสามารถอนุมัติรายการที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งมีส่วนได้เสียหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในลักษณะอื่นกับผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อย(3) ข้อบังคับบริษัทของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อย ต้องมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน และการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่สำคัญของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยในลักษณะที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเรื่องดังกล่าว(4) ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นระหว่างผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อย กับ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง เว้นแต่แสดงได้ว่าผู้ขออนุญาตมีมาตรการที่สามารถให้ความคุ้มครองผู้ถือหุ้นได้อย่างเป็นธรรม โดยสามารถติดตามผลการปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวได้(5) บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งของผู้ขออนุญาตถือหุ้นในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมไม่เกินร้อยละห้าของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมนั้น เว้นแต่แสดงได้ว่าบุคคลดังกล่าวเป็นอิสระจากผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ขออนุญาต หรือเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นและสมควร โดยสามารถแสดงได้ว่าผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยมีมาตรการที่จะป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นได้
ข้อ 16 "ระบบการควบคุมภายใน และการจัดเก็บเอกสารที่สำคัญ" ตามข้อ 13 (4) อย่างน้อยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ระบบการควบคุมภายในระดับผู้บริหาร (management control) ของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อยเป็นระบบที่แสดงได้ว่า
(ก) สามารถป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดจากการที่ผู้บริหารนำสินทรัพย์ของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยไปใช้ หรือจำหน่ายจ่ายโอนโดยมิชอบหรือโดยไม่มีอำนาจ(ข) การทำธุรกรรมต่าง ๆ การก่อภาระผูกพัน หรือการค้ำประกันของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อย ได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจในการจัดการ และมีการบันทึกบัญชีเพื่อให้งบการเงินและการเปิดเผยข้อมูลของผู้ขออนุญาตและงบการเงินรวมถูกต้องครบถ้วน และน่าเชื่อถือ
(2) มีการจัดเก็บเอกสารสำคัญของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อยที่ทำให้กรรมการ ผู้สอบบัญชี และบุคคลที่มีสิทธิหรือมีอำนาจตามกฎหมาย สามารถตรวจสอบได้ภายในระยะเวลาอันควรเมื่อได้รับการร้องขอ โดยเอกสารสำคัญดังกล่าวรวมถึงทะเบียนต่างๆ ที่ผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อยต้องจัดทำตามกฎหมาย เอกสารเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการบริษัท เอกสารเกี่ยวกับการประชุมผู้ถือหุ้น และเอกสารประกอบการลงบัญชีและการจัดทำงบการเงิน
(3) คณะกรรมการตรวจสอบหรือกรรมการอิสระ (ในกรณีที่ไม่มีคณะกรรมการตรวจสอบ) มีการประเมินและให้ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอและความเหมาะสมของระบบควบคุมภายในของผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อยอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อ 17 "ผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุม" ตามข้อ 13(5) ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือเป็นบุคคลล้มละลาย
(2) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(3) เป็นบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์เห็นว่าไม่สมควรเป็นผู้บริหารตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(4) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจทางการเงินในทำนองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต(5) เคยต้องคำพิพากษา หรือถูกดำเนินคดี หรือถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากกระทำความผิดตาม (4) (6) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากงาน เนื่องจากการกระทำโดยทุจริต(7) มีพฤติกรรมที่แสดงว่ามีเจตนาอำพรางฐานะการเงินหรือผลการดำเนินงานที่แท้จริงของบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือของบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน หรือเคยแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสำคัญหรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสำคัญที่ควรบอกให้แจ้งในเอกสารใด ๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อสำนักงานหรือคณะกรรมการ ก.ล.ต. - 11 -
(8) มีพฤติกรรมในระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน โดยขาดความซื่อสัตย์สุจริต ระมัดระวัง เพื่อรักษาประโยชน์ของบริษัท และก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นอย่างร้ายแรง(9) มีพฤติกรรมที่แสดงถึงการละเลยการทำหน้าที่ตามสมควรในการตรวจสอบดูแลมิให้ผู้ขออนุญาตและบริษัทย่อย ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ข้อ 18 ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตตามข้อ 13 เป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่ประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) และไม่มีการประกอบธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญเป็นของตนเอง ผู้ขออนุญาตต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) มีการถือหุ้นในบริษัทย่อยซึ่งเป็นธุรกิจหลักของผู้ขออนุญาตในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทย่อยนั้น เว้นแต่มีเหตุจำเป็นและได้รับผ่อนผันจากสำนักงาน
(2) มีเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่มีการประกอบธุรกิจรวมกันในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งหมดของผู้ขออนุญาต เว้นแต่มีเหตุจำเป็นและได้รับผ่อนผันจากสำนักงาน และมีมาตรการที่แสดงได้ว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือขอบเขตการลงทุนที่มีนัยสำคัญ ต้องได้รับอนุมัติโดยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อน
(3) แสดงได้ว่าผู้ขออนุญาตมีอำนาจในการจัดการและควบคุมกิจการของบริษัทย่อยตาม (1)
(4) บริษัทย่อยตาม (1) ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ในข้อ 13 ไม่ว่าบริษัทย่อยดังกล่าวจะเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด
ข้อ 19 ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ขออนุญาตจะได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ขออนุญาตไม่อยู่ระหว่างการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กำหนดตามมาตรา 56 มาตรา 57 มาตรา 58 หรือมาตรา 199 เว้นแต่ได้รับผ่อนผันจากสำนักงาน
(2) ผู้ขออนุญาตเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ 13(3) ถึง (6) ข้อ 15 ข้อ 16 ข้อ 17 และข้อ 18 (เฉพาะกรณีที่ผู้ขออนุญาตมีการประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น)
ข้อ 20 ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ขออนุญาตเป็นบุคคลที่มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ 17 (5) (6) (7) (8) หรือ (9) ให้สำนักงานมีอำนาจกำหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขในการรับพิจารณาคำขออนุญาตในคราวต่อไป โดยคำนึงถึงความร้ายแรงของพฤติกรรมหรือความผิดเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นพ้นโทษตามคำพิพากษา หรือนับแต่วันที่คณะกรรมการเปรียบเทียบมีคำสั่งเปรียบเทียบปรับบุคคลนั้น หรือนับแต่วันที่มีคำวินิจฉัยของสำนักงานหรือหน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแลหรือพิจารณาพฤติกรรมดังกล่าว โดยปัจจัยที่อาจนำมาใช้ในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมดังกล่าวให้เป็นไปตามที่สำนักงานประกาศกำหนด
เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาหรือผู้ขออนุญาตได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในวรรคหนึ่งแล้ว หากผู้ขออนุญาตประสงค์จะยื่นคำขออนุญาตใหม่ สำนักงานจะไม่นำสาเหตุที่ทำให้สำนักงานไม่อนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในครั้งก่อนมาประกอบการพิจารณาคำขออนุญาตในครั้งใหม่อีก
ในกรณีที่สำนักงานเห็นว่า เหตุที่ทำให้ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจควบคุมมีลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่งเป็นเรื่องไม่ร้ายแรงหรือได้ดำเนินการแก้ไขเหตุนั้นแล้ว สำนักงานอาจไม่นำเหตุดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณาก็ได้
ส่วนที่ 2เงื่อนไขการอนุญาต
ข้อ 21 ให้ผู้ได้รับอนุญาตตามส่วนที่ 1 ของหมวดนี้ ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในส่วนนี้
ข้อ 22 ในกรณีที่สำนักงานพบว่าภายหลังการอนุญาตมีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ผู้ได้รับอนุญาตตามส่วนที่ 1 ของหมวดนี้มีลักษณะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่จะได้รับอนุญาต และผู้ได้รับอนุญาตไม่สามารถแก้ไขลักษณะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ได้ภายในระยะเวลาที่สำนักงานกำหนด ให้สำนักงานมีหนังสือแจ้งให้ผู้ได้รับอนุญาตระงับการเสนอขายหุ้นที่ได้รับอนุญาตต่อไปและให้ถือว่าการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ในส่วนที่ยังมิได้เสนอขายหรือยังไม่มีผู้จองซื้อเป็นอันสิ้นสุดลง
ข้อ 23 ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้(1) นับแต่วันที่สำนักงานแจ้งผลการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่จนถึงวันก่อนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้วสำหรับการเสนอขายหุ้นที่ได้รับอนุญาตในครั้งนั้น ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่ดำเนินการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติที่อาจมีผลกระทบต่อผู้ที่จะลงทุนในหุ้นที่ออกใหม่ที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสำนักงานเนื่องจากมีเหตุจำเป็นและสมควร
(2) ตลอดระยะเวลาที่ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ออกตามความในมาตรา 56 ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ให้ไว้ในคำขออนุญาต หรือแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นและร่างหนังสือชี้ชวน รวมทั้งดำเนินการให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้บริหาร และผู้มีอำนาจควบคุมปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะได้มีมติเป็นอย่างอื่น
(3) ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทที่ยังไม่มีรายได้จากการประกอบธุรกิจหลัก ผู้ได้รับอนุญาตต้องจัดให้มีข้อตกลงที่แสดงได้ว่าผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นมากกว่าร้อยละห้าของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว จะถือหุ้นของผู้ได้รับอนุญาตรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบห้าของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน จนกว่าผู้ได้รับอนุญาตจะมีรายได้จากการดำเนินงานครบหนึ่งปี เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากสำนักงาน
(4) ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่ประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) ผู้ได้รับอนุญาตต้องกำกับและควบคุมให้บริษัทย่อยตามข้อ 18(1) ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดใน (1) และ (2) โดยอนุโลมด้วย
(5) ผู้ได้รับอนุญาตต้องดำเนินการขายหุ้นให้แล้วเสร็จภายในหกเดือนนับแต่วันที่สำนักงานแจ้งการอนุญาต หากไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาดังกล่าวและู้ยังประสงค์จะเสนอขายหุ้นต่อไป ให้ผู้ได้รับอนุญาตมีหนังสือถึงสำนักงานก่อนพ้นระยะเวลาดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามสิบวันเพื่อขอขยายระยะเวลาเสนอขาย โดยต้องแจ้งเหตุผลพร้อมแจ้งการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ได้รับอนุญาตด้วย ในกรณีนี้ ให้สำนักงานมีอำนาจขยายระยะเวลาให้อีกได้ตามที่เห็นควร แต่ระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่วันที่สำนักงานแจ้งผลการอนุญาตครั้งแรก
หมวดที่ 3บทเฉพาะกาล
ข้อ 24 ผู้ขออนุญาตใดได้ยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหุ้น พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และการอนุญาต ลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และสำนักงานยังมิได้แจ้งผลการพิจารณาก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้สำนักงานดำเนินการพิจารณาคำขออนุญาตต่อไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กำหนดในประกาศดังกล่าว แต่ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขภายหลังการอนุญาตตามข้อ 23 แห่งประกาศนี้ด้วย
ข้อ 25 บริษัทมหาชนจำกัดที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและไม่เป็นบริษัทที่อยู่ในข่ายเพิกถอนหุ้น หากบริษัทมหาชนจำกัดดังกล่าวได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่และร่างหนังสือชี้ชวน พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องครบถ้วนต่อสำนักงานก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
(1) ให้ถือว่าบริษัทมหาชนจำกัดนั้นได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ดังกล่าวจากสำนักงานแล้วตามนัยของข้อ 2 ทวิแห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และการอนุญาตลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 26/2541 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และการอนุญาต (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2541
(2) ให้บริษัทมหาชนจำกัดดังกล่าวปฏิบัติตามข้อ 23 (1) ถึง (4) แห่งประกาศนี้ด้วยโดยอนุโลม
ประกาศ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
-ยก-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ