พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 06 พฤษภาคม 2556 - 12 พฤษภาคม 2556

ข่าวทั่วไป Tuesday May 7, 2013 07:48 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 06 พฤษภาคม 2556 - 12 พฤษภาคม 2556

ภาคเหนือ

ในวันที่ 6 พ.ค. มีเมฆบางส่วนกับมีฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-12 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งส่วนมากทางตะวันออกของภาค อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

  • ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลง โดยจะมีอากาศร้อนสลับกับมีฝนตก เกษตรกรควรดูแลสุขภาพของตนเอง และสัตว์เลี้ยงให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตราย และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือน และพืชผลทางการเกษตร
  • ส่วนไม้ผลที่กำลังให้ผลผลิต ชาวสวนควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ รวมทั้งคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชเพื่อสงวนความชื้นในดิน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 6-7 พ.ค. มีเมฆบางส่วนกับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8-12 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวันโดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างและด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • เนื่องจากใกล้เข้าสู่ฤดูฝน เกษตรกรควรตรวจสอบสภาพหลังคาโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้รั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้น อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ ควรเตรียมดินไว้ให้พร้อม เพื่อจะได้ลงมือปลูก เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอ หรือมีความชื้นในดินเพียงพอ

ภาคกลาง

ในวันที่ 6 พ.ค. มีเมฆบางส่วนกับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 11 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิสูงสุด 37-39 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง บางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหาย ที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ป้ายโฆษณาสูง ๆ และต้นไม้ใหญ่
  • ระยะนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 6 - 7 พ.ค. มีเมฆบางส่วนกับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 12 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะต่อไปปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรขุดลอกคูคลอง และทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก
  • สำหรับชาวสวนผลไม้ควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นทรุดโทรมผลผลิตเสียหาย
  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรดูแลสภาพสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในวันที่ 6 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 7 - 12 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้ทางภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในที่ลุ่ม เมื่อมีฝนตกหนัก
  • ฝนที่ตกในระยะนี้จะเป็นผลดีกับพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต และไม้ผลที่อยู่ในระยะผลิดอกและออกผล รวมทั้งจะช่วยลดการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดเช่น เพลี้ยและไร
  • สำหรับชาวสวนยางพาราควรดูแลสภาพสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในวันที่ 6 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 7 - 12 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

  • ระยะนี้ทางภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในที่ลุ่ม เมื่อมีฝนตกหนัก
  • ฝนที่ตกในระยะนี้จะเป็นผลดีกับพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต และไม้ผลที่อยู่ในระยะผลิดอกและออกผล รวมทั้งจะช่วยลดการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดเช่น เพลี้ยและไร
  • สำหรับชาวสวนยางพาราควรดูแลสภาพสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง
  • ในช่วงวันที่ 9 - 12 พ.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ