พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 14 มีนาคม 2557 - 20 มีนาคม 2557

ข่าวทั่วไป Monday March 17, 2014 06:46 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 14 มีนาคม 2557 - 20 มีนาคม 2557

ภาคเหนือ

อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 15-17 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

  • เนื่องจากปริมาณฝนที่มีน้อยประกอบกับปริมาณน้ำระเหยมีมาก ทำให้ความชื้นในดินลดลง สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกร ควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • ระยะนี้เป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย และไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก อาคารบ้านเรือน และโรงเก็บพืชผลทางการเกษตร
  • สำหรับสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 15-17 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

  • เนื่องจากปริมาณฝนที่มีน้อยประกอบกับปริมาณน้ำระเหยมีมาก ทำให้ความชื้นในดินลดลง สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกร ควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • ระยะนี้เป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย และไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก อาคารบ้านเรือน และโรงเก็บพืชผลทางการเกษตร
  • สำหรับสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 15-16 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 17-20 มี.ค. มีเมฆบางส่วน อากาศร้อนกับฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

  • ช่วงนี้อากาศร้อน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน โดยฉีดน้ำบริเวณหลังคา และฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่จะเกิดในหน้าร้อนให้กับสัตว์เลี้ยง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลปริมาณน้ำและจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงให้มีความเหมาะสมกัน หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่กันอย่างหนาแน่น ซึ่งส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 15-18 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 19-20 มี.ค. อากาศร้อนทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเล มีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร

  • ระยะนี้สภาพอากาศแห้งชาวสวนผลไม้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นทรุดโทรม ต้นอ่อนอาจตายได้
  • สำหรับชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร
  • ส่วนผู้ที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองเอาไว้ให้พืชในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ช่วงวันที่ 15-18 มี.ค. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นไป ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 19-20 มี.ค. มีเมฆบางส่วน มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ระยะนี้ปริมาณฝนมีน้อยและน้ำระเหยมีมาก ทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำเป็นระยะเวลานานจะทำให้พืชเหี่ยวเฉาถาวรต้นตายได้
  • สำหรับทางตอนบนของภาคซึ่งสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ในพืชผักและไม้ผล ซึ่งจะทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง
  • ส่วนเกษตรกรที่เก็บกักน้ำเอาไว้ควรใช้น้ำอย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
  • อนึ่งในช่วงวันที่ 15-17 มี.ค.บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีเมฆบางส่วน และมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 15-17 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้ปริมาณฝนมีน้อยและน้ำระเหยมีมาก ทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชเหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำเป็นระยะเวลานานจะทำให้พืชเหี่ยวเฉาถาวรต้นตายได้
  • สำหรับทางตอนบนของภาคซึ่งสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ในพืชผักและไม้ผล ซึ่งจะทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง
  • ส่วนเกษตรกรที่เก็บกักน้ำเอาไว้ควรใช้น้ำอย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ