พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 19 มีนาคม 2557 - 25 มีนาคม 2557

ข่าวทั่วไป Thursday March 20, 2014 07:23 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 19 มีนาคม 2557 - 25 มีนาคม 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 19-20 มี.ค.อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 17-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-40 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกได้บางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

  • สำหรับในช่วงวันที่ 20-24 มี.ค.จะมีฝนฟ้าคะนองโดยมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตก เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงขณะฝนฟ้าคะนองและลมแรง ส่วนผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว เกษตรกรไม่ควรตากไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้
  • ระยะนี้แม้จะมีฝนตก แต่ปริมาณและการกระจายยังคงมีน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในวันที่ 19 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 20-25 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกได้บางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

-ในช่วงวันที่ วันที่ 20-24 มี.ค.จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะฝนฟ้าคะนอง และควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งในช่วงดังกล่าว เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้

  • ระยะนี้ แม้จะมีฝนตก แต่ปริมาณไม่มาก เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรุ่นใหม่ควรรอให้มีฝนตกสม่ำเสมอ แล้วค่อยลงมือปลูก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืชในระยะเจริญเติบโต
  • เนื่องจากปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวหน้าดิน รักษาความชื้นภายในดิน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 19-20 มี.ค. มีเมฆบางส่วน และมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกได้ บางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนในระยะนี้ ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรฉีดน้ำบริเวณหลังคาโรงเรือน หรือนำวัสดุอุ้มน้ำชุบน้ำแล้วนำไปวางไว้ในโรงเรือน เพื่อลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน ป้องกันสัตว์เครียด อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

-แม้จะมีฝนตกแต่มีปริมาณน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง

-ในช่วงวันที่ 21-24 มี.ค.จะมีพายุฝนฟ้าคะนองผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 19-20 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 21-25 มี.ค. กับมีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • เนื่องจากระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อยเกษตรกรวางแผนการจัดการน้ำที่เก็บกักใว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้งนี้

-สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดใน พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำพืชชะงักการเจริญเติบโต ส่งผลต่อการผลิดอกออกผลของพืช

-ในช่วงวันที่ 21-25 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 19-21 มี.ค. มีเมฆบางส่วนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22-25 มี.ค. มีเมฆเป็นส่วนมาก และมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม.

  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ต้นพืช เหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำเป็นเวลานานจะทำให้ต้นพืชตายได้
  • สำหรับชาวสวนยางพารา ควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟในสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
  • เนื่องจากปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำในดิน รักษาความชื้นภายในดิน

-อนึ่งในช่วงวันที่ 22 - 24 มี.ค.บริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 19-21 มี.ค. มีเมฆบางส่วน และมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 22-25 มี.ค. มีเมฆเป็นส่วนมาก และมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส

  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ต้นพืช เหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำเป็นเวลานานจะทำให้ต้นพืชตายได้
  • สำหรับชาวสวนยางพารา ควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟในสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน
  • เนื่องจากปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำในดิน รักษาความชื้นภายในดิน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ