พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 31 มีนาคม 2557 - 06 เมษายน 2557

ข่าวทั่วไป Tuesday April 1, 2014 06:38 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 31 มีนาคม 2557 - 06 เมษายน 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 31 มี.ค.-3 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 4-7 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกในหลายพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 31 มี.ค.-3 เม.ย.จะมีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานานหากมีความจำเป็นควรสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด และดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันโรคลมแดด
  • สำหรับในช่วงวันที่ 4-7 เม.ย.จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกเกษตรกรควรระวังอันตรายสภาวะดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นกับพืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะตรวจสอบสภาพวัสดุที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มีความมั่นคงแข็งแรง
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาพอุณหภูมิน้ำลดลง โดยให้อาหารน้อยลง เนื่องจากอุณหภูมิต่ำจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย หากโตได้ขนาดควรทะยอยจับขายไปก่อน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 31 มี.ค.-2 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3-7 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส

-ในช่วงวันที่ 3-7 เม.ย.จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง เกษตรกร ควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะมีลมกระโชกแรง และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง

  • สำหรับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เนื่องจากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือน อย่าให้อุณหภูมิภายในโรงเรือนเปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 31 มี.ค.-3 เม.ย. มีเมฆบางส่วน โดยมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 4-7 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงในบางพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สำหรับในช่วงวันที่ 4-7 เม.ย.จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกเกษตรกรควรระวังอันตรายจากสภาวะดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นกับพืชผลทางการเกษตรรวมทั้งไม่ควรเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะมีลมกระโชกแรง
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรระวังและป้องกันความเสียหายจากสภาพอุณหภูมิน้ำลดลง โดยให้อาหารน้อยลง เนื่องจากอุณหภูมิต่ำจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย หากโตได้ขนาดควรทะยอยจับขายไปก่อน

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 31 มี.ค.-3 เม.ย. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ในช่วงวันที่ 4-7 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกในบางพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • ในช่วงวันที่ 4-7 เม.ย.จะมีพายุฝนฟ้าคะนองลม กระโชกแรง และลูกเห็บตกเกษตรกรควรตรวจสอบวัสดุ และอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง
  • ในช่วงวันที่ 4-7 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทัน
  • ในช่วงวันที่ 4-7 เม.ย.จะมีฝนเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรเพื่อจะได้มีน้ำใช้ในตลอดช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร

  • ระยะนี้แม้จะมีฝนแต่ปริมาณน้อย ประกอบกับน้ำระเหยมีมากทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรจึงควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืช เหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำนานจะทำให้ต้นพืชตายได้
  • เกษตรกรควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน ช่วยรักษาความชื้นภายในดิน
  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชทรุดโทรม ส่งผลให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร

  • ระยะนี้แม้จะมีฝนแต่ปริมาณน้อย ประกอบกับน้ำระเหยมีมากทำให้ความชื้นในดินลดลง เกษตรกรจึงควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืช เหี่ยวเฉา ถ้าขาดน้ำนานจะทำให้ต้นพืชตายได้
  • เกษตรกรควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน ช่วยรักษาความชื้นภายในดิน
  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชทรุดโทรม ส่งผลให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ