พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 30 เมษายน 2557 - 06 พฤษภาคม 2557

ข่าวทั่วไป Friday May 2, 2014 07:32 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 30 เมษายน 2557 - 06 พฤษภาคม 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 1-4 พ.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบน และด้านตะวันออกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 5-6 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

  • ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง และไม่ปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง

-ส่วนชาวสวนผลไม้ควรสำรวจวัสดุที่ผูกยึด และอุปกรณ์ที่ค้ำยันกิ่งและลำต้นของพืชที่รับน้ำหนักมากให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันการฉีกหักและโค่นล้มของกิ่งและลำต้น

  • สำหรับปริมาณและการกระจายของฝนที่ตกในระยะนี้ ยังไม่เพียงพอต่อการเกษตร เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรุ่นใหม่ ควรเตรียมดินเอาไว้ให้พร้อม รอจนมีฝนตกสม่ำเสมอ หรือดินมีความชื้นเพียงพอแล้วค่อยลงมือปลูก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืชในระยะเจริญเติบโต

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 1-4 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 5-6 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง และไม่ปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะมีฝนฟ้าคะนอง
  • สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรุ่นใหม่ในระยะนี้ควรรอให้มีฝนตกสม่ำเสมอ หรือดินมีความชื้นเพียงพอแล้วค่อยลงมือปลูก แต่ควรเตรียมดินเอาไว้ให้พร้อม
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรตรวจสอบสภาพโรงเรือนให้มีความมั่นคงแข็งแรง ดูแลหลังคาโรงเรือนอย่าให้ชำรุด และมีรอยรั่วซึม เนื่องจากระยะต่อไปจะเข้าสู่ฤดูฝน หากหลังคามีรอยรั่วจะทำให้สัตว์เปียกชื้นอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 1-4 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 5-6 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆขณะลมแรง

-สำหรับปริมาณและการกระจายของฝนที่ตกในระยะนี้ ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ส่งผลให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ

  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง เกษตรกรควรเสริมวัสดุสำหรับกั้นขอบบ่อเพื่อป้องกันน้ำฝนไหลลงบ่อทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 1-4 พ.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 5-6 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนและเจาะผลทำให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรยกร่องแปลงปลูกให้สูง และทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูกพืช เมื่อมีฝนตกหนักในระยะต่อไป

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 1-4 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 5-6 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • สำหรับทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกปริมาณและการกระจายของฝนยังคงมีน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะผลอ่อน ควรให้น้ำอย่างเหมะสมหากขาดน้ำจะ ทำให้ผลร่วงหล่น ผลผลิตลดลง รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่นเพลี้ยและไรต่างๆในไม้ผล ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง เกษตรกรควรป้องกันน้ำฝนไหลลงบ่อทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ส่วนฝั่งตะวันตกเริ่มมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นกว่าระยะที่ผ่านมา เกษตรกรที่อยู่ในที่ลุ่ม ควรเตรียมทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนักในระยะต่อไป
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง เกษตรกรควรป้องกันน้ำฝนไหลลงบ่อทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ