พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 20 มิถุนายน 2557 - 26 มิถุนายน 2557

ข่าวทั่วไป Monday June 23, 2014 08:52 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 20 มิถุนายน 2557 - 26 มิถุนายน 2557

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สำหรับลิ้นจี่ที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่ง และใส่ปุ๋ยบำรุงต้น เพื่อให้ต้นฟื้นตัวพร้อมให้ผลผลิตในปีต่อไป นอกจากนี้ควรเก็บกวาดผลที่ร่วงหล่นและเน่าเสีย และสัตว์กัดกินไปกำจัด เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของเชื้อโรคและศัตรูพืชต่างๆ

-ส่วนผู้ที่ปลูกกาแฟ ควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราสนิม ซึ่งโรคดังกล่าวมักจะระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน ซึ่งความชื้นในอากาศสูง ดังนั้นเกษตรกรจึงควรดูแลสภาพสวนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในบริเวณสวนป้องกันโรคดังกล่าว

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 20-21 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 22-26 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกสภาพอากาศมีความชื้นสูง ผู้ที่ปลูกพืชไร่ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบจุดสีน้ำตาลในมันสำปะหลัง และโรคราสนิมในอ้อย เป็นต้น หากพบต้นที่เป็นโรคควรรีบควบคุมโรค เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปสู่ต้นอื่น
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ ซึ่งมักระบาดในช่วงฤดูฝน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 20-21 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 22-26 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากแห่งทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ในช่วงฤดูฝนแมลงและศัตรูสัตว์ต่างๆจะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูสัตว์ดังกล่าวมารบกวนสัตว์เลี้ยง เพราะอาจนำโรคมาสู่สัตว์เลี้ยงได้ ดังนั้นจึงควรหมั่นสังเกตหากพบสัตว์ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มแล้วทำการรักษา เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ
  • สำหรับบริเวณที่มีฝนตกสภาพอากาศมีความชื้นสูง ผู้ที่ปลูก ส้มโอควรระวังและป้องกันโรคต่างๆที่อาจเกิดขึ้น เช่น โรคยางไหล โรครากเน่าโคนเน่า โรคราสีชมพู และโรคจุดสนิม เป็นต้น โดยดูแลสภาพสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก และกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกเพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยของเชื้อโรค และแมลงต่างๆที่เป็นพาหะของโรค

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 20-21 มิ.ย. ฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22-26 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักหนักมากบางพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • สำหรับไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งและขั้วผลและใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็ว
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรดูแลพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 21-23 มิ.ย. บริเวณอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 20-21 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22-26 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรหมั่นสำรวจ เพราะอาจมีผลที่มีสัตว์ กัดแทะ และผลที่เป็นโรค หากพบผลดังกล่าวควรรีบกำจัด เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังผลอื่น
  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรดูแลบริเวณสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคราสีชมพู และโรคหน้ากรีดยาง เป็นต้น
  • อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และในช่วงวันที่ 21-23 มิ.ย. เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามัน ควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 21-25 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ตั้งแต่วันที่ 26 มิ.ย. เป็นต้นไป จะมีฝนลดลง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร

-ระยะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางฝั่งตะวันออก และบางพื้นที่อาจมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรหมั่นสำรวจ เพราะอาจมีผลที่มีสัตว์ กัดแทะ และผลที่เป็นโรค หากพบผลดังกล่าวควรรีบกำจัด เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังผลอื่น
  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรดูแลบริเวณสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคราสีชมพู และโรคหน้ากรีดยาง เป็นต้น
  • อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และในช่วงวันที่ 21-23 มิ.ย. เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามัน ควรงดออกจากฝั่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ