พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 11 กรกฎาคม 2557 - 17 กรกฎาคม 2557

ข่าวทั่วไป Monday July 14, 2014 08:30 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 11 กรกฎาคม 2557 - 17 กรกฎาคม 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 12-15 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 16-17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ชาวสวนกาแฟควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิม และโรคที่เกิดกับผลกาแฟ โดยควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก และเก็บกวาดใบและกิ่งที่ร่วงหล่นไปกำจัด เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช
  • ส่วนผู้ที่ปลูกพืชไร่ ในระยะนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกออ้อย หนอนกระทู้ และหนอนม้วนใบ ในพืชตระกูลถั่ว เป็นต้น ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นเสียหาย ผลผลิตลดลงหรือด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 12-14 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • เนื่องจากในช่วงฤดูฝนแมลงและศัตรูสัตว์จะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูสัตว์มารบกวนสัตว์เลี้ยงทำให้สัตว์เลี้ยงชงักการเจริญเติบโตและศัตรูสัตว์บางชนิดยังอาจนำโรค มาสู่สัตว์เลี้ยงได้
  • สำหรับข้าวนาปีชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ และหนอนห่อใบข้าว เป็นต้น ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนทำให้ต้นข้าวชงักการเจิญเติบโต ส่งผลให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 12-15 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 16-17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

-สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก หลังคาอย่าให้รั่วซึม พื้นคอกไม่ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

  • ส่วนผู้ที่ปลูกพืชไร่ในระยะนี้ควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นชงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลง ดังนั้นหากพบควรรีบกำจัดเพื่อไม่ให้ระบาดเป็นบริเวณกว้าง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 12-15 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 16-17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส

  • สำหรับสวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชขาดอากาศและต้นตายได้
  • ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรรีบตัดแต่งกิ่งและขั้วผลและทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา รวมทั้งใส่ปุ๋ยเพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็ว มีเวลาพักตัวได้นาน
  • ในช่วงวันที่ 11-14 ก.ค. บริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 12-15 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16-17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งให้มั่นคงและแข็งแรง เนื่องจากในช่วงที่มีลมแรงอาจทำให้กิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มได้
  • ส่วนในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ความชื้นในอากาศสูง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในยางพารา เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคราสีชมพู และโรคหน้ากรีดยางเป็นต้น
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 11-14 ก.ค. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นและหากโตได้ขนาดควรทยอยจับขายไปก่อนเพื่อลดความเสี่ยง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 12-15 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 16-17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งให้มั่นคงและแข็งแรง เนื่องจากในช่วงที่มีลมแรงอาจทำให้กิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มได้
  • ส่วนในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ความชื้นในอากาศสูง ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในยางพารา เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคราสีชมพู และโรคหน้ากรีดยางเป็นต้น
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 11-14 ก.ค. บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นและหากโตได้ขนาดควรทยอยจับขายไปก่อนเพื่อลดความเสี่ยง ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ