พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 01 สิงหาคม 2557 - 07 สิงหาคม 2557

ข่าวทั่วไป Monday August 4, 2014 08:44 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 01 สิงหาคม 2557 - 07 สิงหาคม 2557

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

  • สำหรับผู้ที่ปลูกพืชไร่ระยะนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ใบและยอดอ่อนเสียหาย ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง
  • ในช่วงที่มีฝนตกสภาพอากาศมีความชื้นสูง ผู้ที่ปลูกพืชสวน และไม้ผลควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคแอนแทรกโนสในส้ม โรคราสนิมในกาแฟ และโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล เช่น ลิ้นจี่และลำไย เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นเสียหาย การผลิดอกออกผลลดลงในระยะต่อไป

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณด้านตะวันออกและตอนล่างของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

  • สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยอพยพสัตว์เลี้ยงและอาหารสัตว์ไปใว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์กีบ
  • ในช่วงที่มีฝนตก เกษตรกรควรระวังและป้องกันหอยเชอรี่ที่มากับน้ำ โดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำไหลเข้านาแล้วจับหอยไปทำลาย เพื่อป้องกันหอยเข้ามาแพร่พันธุ์ในแปลงนา

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณทางด้านตะวันตก ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม ทางด้านตะวันตกของภาค เกษตรกรควรเตรียมการจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนักหรือมีน้ำไหลบ่า นอกจากนี้ควรเตรียมวัสดุสำหรับกั้นน้ำ และอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อม
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ ควรดูแลพื้นคอกให้แห้งไม่ชื้นแฉะ หลังคาอย่าให้รั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งหมั่นสังเกตหากพบสัตว์ป่วยควรแยกออกจากกลุ่มแล้วรีบรักษาเพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 4-7 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้มีฝนตกชุกพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกซึ่งอาจทำให้พืชเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราได้

-ส่วนไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่ง ให้ทรงพุ่มโปร่ง แสงแดดส่องได้ทั่วถึง เพื่อลดความชื้นบริเวณทรงพุ่มป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 1-3 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 4-7 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ตั้งแต่สุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ตั้งแต่นครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้อากาศมีความชื้นสูงชาวสวนกาแฟควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน

-ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออก ไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรหมั่นสังเกต เพราะอาจมีโรคและศัตรูพืชเข้าทำลาย โดยเฉพาะผลที่อยู่ชิดกัน หรือผลที่อยู่เป็นกลุ่มและหากพบผลดังกล่าวควรรีบกำจัดเพื่อไม่ให้เชื้อโรคลุกลามไปยังผลอื่นๆ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 1-3 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 4-7 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ตั้งแต่ภูเก็ตขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่กระบี่ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้อากาศมีความชื้นสูงชาวสวนกาแฟควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน

-ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออก ไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรหมั่นสังเกต เพราะอาจมีโรคและศัตรูพืชเข้าทำลาย โดยเฉพาะผลที่อยู่ชิดกัน หรือผลที่อยู่เป็นกลุ่มและหากพบผลดังกล่าวควรรีบกำจัดเพื่อไม่ให้เชื้อโรคลุกลามไปยังผลอื่นๆ

  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 1- 2 ส.ค. บริเวณทะเลอันดามันตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรระมัดระวังในการเดินเรือ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ