พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 05 กันยายน 2557 - 11 กันยายน 2557

ข่าวทั่วไป Monday September 8, 2014 08:52 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 05 กันยายน 2557 - 11 กันยายน 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 5-7 ก.ย. มีฝน ฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกันโดยเฉพาะในระยะต้นช่วง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นกับพืชผลทางการเกษตร ตลอดจนชีวิตและทรัพย์สินของเกษตรกร
  • สำหรับในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศที่มีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกไม้ดอกควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบจุดในเบญจมาศ โรคดอกเน่าในดาวเรือง และโรคยอดเน่าในกล้วยไม้ หากพบควรรีบกำจัด เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังต้นอื่นๆ
  • ส่วนในช่วงที่มีฝนลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อน ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตเสียหายหรือด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 5-7 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร
  • สำหรับในช่วงที่มีฝนตกอาจมีน้ำไหลหลาก ชาวนาควรระวังและป้องกันหอยเชอรี่ที่ลอยมากับน้ำ โดยใช้ตาข่ายดักบริเวณทางน้ำไหลเข้านาแล้วจับหอยไปทำลาย เพื่อป้องกันหอยเข้ามาแพร่พันธุ์ในแปลงนา และกัดกินต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวเสียหาย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบ เช่นโคและกระบือเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 5-7 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก รวมทั้งจัดเตรียมวัสดุสำหรับกั้นน้ำและอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน ส่วนพื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วม เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และน้ำกัดเท้า เป็นต้น
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงผู้ที่ปลูกองุ่นควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่า และโรคแอนแทรกโนสเป็นต้น หากพบโรคดังกล่าวควรรีบกำจัด
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรยกพื้นคอกสัตว์ให้สูง และดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก หลังคาไม่รั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้น ในช่วงที่มีฝนตกอาจมีสัตว์มีพิษหรือศัตรูสัตว์แอบเข้ามาอาศัยหลบซ่อนในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์และทำร้ายสัตว์เลี้ยงได้ เกษตรกรควรหมั่นสังเกตหากพบสัตว์ดังกล่าวควรรีบจัดการให้ออกไปจากโรงเรือนเลี้ยงสัตว์

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 5-7 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเล มีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งเคยมีน้ำท่วมมาก่อน
  • สำหรับสวนผลไม้ที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนานเกิน7วัน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศและต้นพืชตายได้ นอกจากนี้ไม่ควรกองวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรไว้บริเวณโคนต้นพืชเพราะจะเป็นแหล่งอาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ซึ่งเคยมีน้ำท่วมมาก่อนควรติดตามเฝ้าระวังสภาวะดังกล่าว
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต เกษตรกรควรดูสภาพสวนให้โปร่ง ตัดแต่งกิ่งให้แสงแดดส่องได้ถึงโคนต้น เพื่อลดความชื้น รวมทั้งดูแลวัชพืชในสวนให้โล่งเตียน เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและแมลงศัตรูพืช
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำในบ่อเปลี่ยนแปลง สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ส่วนผู้ที่ปลูกยางพารา ในระยะนี้ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง และโรคราสีชมพู เป็นต้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนัก บางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 6-7 ก.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 6-7 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 7-11 ก.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ซึ่งเคยมีน้ำท่วมมาก่อนควรติดตามเฝ้าระวังสภาวะดังกล่าว
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต เกษตรกรควรดูสภาพสวนให้โปร่ง ตัดแต่งกิ่งให้แสงแดดส่องได้ถึงโคนต้น เพื่อลดความชื้น รวมทั้งดูแลวัชพืชในสวนให้โล่งเตียน เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและแมลงศัตรูพืช
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำในบ่อเปลี่ยนแปลง สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ส่วนผู้ที่ปลูกยางพารา ในระยะนี้ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคหน้ากรีดยาง และโรคราสีชมพู เป็นต้น
  • ในช่วงวันที่ 6-7 ก.ย. บริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมง ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ