พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 27 ตุลาคม 2557 - 02 พฤศจิกายน 2557

ข่าวทั่วไป Tuesday October 28, 2014 08:29 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 27 ตุลาคม 2557 - 02 พฤศจิกายน 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 27–30 ต.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 31ต.ค. – 2 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สัปดาห์นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจะเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หากร่างกายปรับตัวไม่ทันทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  • สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง หากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอในระยะผลิดอกออกผลจะทำให้ผลผลิตลดลง
  • ส่วนสภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคราแป้งในมะขามหวาน และโรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น หากพบควรรีบกำจัด เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังต้นอื่นๆ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 27–30 ต.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 31ต.ค. – 2 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • สัปดาห์นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจะเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน รวมทั้งจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับกันหนาวและให้ความอบอุ่นแก่ตนเองไว้ด้วย นอกจากนี้ควรเตรียมจัดทำแผงกำบังลมหนาวและอุปกรณ์หรือวัสดุสำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ไว้ให้พร้อม
  • ส่วนข้าวนาปีซึ่งอยู่ในระยะตั้งท้องและออกรวง ชาวนาต้องดูแลให้น้ำอย่างพอเพียง เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลผลิตลดลง รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนโดยเฉพาะหนอนกระทู้คอรวง ซึ่งจะกัดกินทำให้ต้นข้าวเสียหาย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 27-30 ต.ค. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 31 ต.ค.-2 พ.ย. มีเมฆเป็นส่วนมาก โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สัปดาห์นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจะเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะทางตอนบนของภาคจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรอบใหม่หลังการทำนา ควรเลือกปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้พอเพียงตลอดช่วงแล้ง
  • ส่วนผู้ที่ปลูกพืชไร่ ควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้พืชเสียหายผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • สัปดาห์นี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง สภาพอากาศที่มีความชื้นสูงชาวสวนผลไม้ และสวนยางพารา ควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้ เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • สัปดาห์นี้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรขุดลอกคูคลอง อย่าให้ตื้นเขิน เพื่อป้องกันน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ส่วนผู้ที่ปลูกไม้ผล ยางพารา กาแฟ และปาล์มน้ำมัน ควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง โดยหมั่นกำจัดวัชพืชและทำความสะอาดภายในสวนให้โล่งเตียน เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัว ไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • ส่วนผู้ที่ปลูกไม้ผล ยางพารา กาแฟ และปาล์มน้ำมัน ควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง โดยหมั่นกำจัดวัชพืชและทำความสะอาดภายในสวนให้โล่งเตียน เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัว ไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ