พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 05 พฤศจิกายน 2557 - 11 พฤศจิกายน 2557

ข่าวทั่วไป Wednesday November 5, 2014 14:08 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 05 พฤศจิกายน 2557 - 11 พฤศจิกายน 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 5-7 พ.ย. มีเมฆมาก โดยมีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

-ในระยะนี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจะเปลี่ยนแปลงโดยจะมีอากาศเย็นในตอนเช้า บางวันมีฝนตก โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย

  • สำหรับเกษตรกรที่ปลูกไม้ดอกในระยะนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ราน้ำค้างและ ราแป้ง ในกุหลาบ โรคราสนิมในเบญจมาศ และดาวเรือง หากพบการระบาดของโรคควรรีบกำจัด เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังต้นอื่นๆ

-สำหรับในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนองเกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งหลีกเลี่ยงตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง นอกจากนี้ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร ในระยะต่อไป

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 5-7 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า กับมีลมแรงอุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว15-35 กม./ชม.

-ในระยะนี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจะเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน รวมทั้งจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับกันหนาวและให้ความอบอุ่นแก่ตนเองไว้ด้วย

  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ อากาศจะหนาวเย็นลง เกษตรกรควรดูแลอย่าให้สภาพน้ำเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว จนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน นอกจากนี้ควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลง อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสียได้

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 5-7 พ.ย. มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 8-11 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพราะสัตว์เลี้ยงอาจปรับตัวไม่ทันจน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรอบใหม่ในระยะนี้ ควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อยแทนการปลูกข้าวนาปรังรวมทั้งวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้มีน้ำใช้พอเพียงตลอดช่วงแล้ง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 5-6 และ 9-11 พ.ย. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง 1-2 เมตรในช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • ในระยะนี้ยังคงมีฝนตก เกษตรกรทีปลูกพืชผักสวนครัว เช่น พริก และมะเขือควรระวังและป้อง กันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยเฉพาะและโรคเน่าคอดิน
  • สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้ เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร และวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 5-7 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรในช่วงวันที่ 8-11 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • ในระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น โดยขุดลอกคูคลองอย่าให้ตื้นเขิน น้ำไหลได้สะดวกป้องกันน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เพาะปลูกและที่อยู่อาศัย

-สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรป้องกันน้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

  • ส่วนผู้ที่ปลูกไม้ผล ยางพารา กาแฟ และปาล์มน้ำมัน ควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง โดยหมั่นกำจัดวัชพืชและทำความสะอาดภายในสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8-10 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือไว้ด้วย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 5-7 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ในช่วงวันที่ 8-11 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • ในระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น โดยขุดลอกคูคลองอย่าให้ตื้นเขิน น้ำไหลได้สะดวกป้องกันน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เพาะปลูกและที่อยู่อาศัย

-สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรป้องกันน้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

  • ส่วนผู้ที่ปลูกไม้ผล ยางพารา กาแฟ และปาล์มน้ำมัน ควรระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง โดยหมั่นกำจัดวัชพืชและทำความสะอาดภายในสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ