พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 14 พฤศจิกายน 2557 - 20 พฤศจิกายน 2557

ข่าวทั่วไป Friday November 14, 2014 15:13 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 14 พฤศจิกายน 2557 - 20 พฤศจิกายน 2557

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 14-16 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-13 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 17-20 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ในช่วงฤดูหนาว อากาศจะจมตัว เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร แต่ควรฝังให้ลึกแทน เนื่องจากควันไฟจะไม่สามารถลอยขึ้นในระดับสูงได้ แต่จะแผ่ปกคลุมบริเวณใกล้เคียง ทำให้การมองเห็นลดลง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือน อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากสัตว์หากมีความจำเป็นควรสวมถุงมือยางทุกครั้ง
  • ระยะนี้บางพื้นที่จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราน้ำค้างและราแป้ง ในพืชไร่ พืชผัก และไม้ดอก เป็นต้น ทำให้พืชเสียหาย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 14-15 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 16-20 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ช่วงที่อากาศเย็น เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งตอนกลางคืน เพราะอาจทำให้สัตว์ อ่อนแอเจ็บป่วย และตายได้
  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง ปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตร ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง
  • ส่วนข้าวนาปีที่อยู่ในระยะตั้งท้องและออกรวง ชาวนาควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอนต่างๆ เช่น หนอนกระทู้คอรวง หนอนกอ และหนอนห่อใบข้าว เป็นต้น ซึ่งจะกัดกินต้นข้าวทำให้ข้าวเสียหาย ผลลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 14-16 พ.ย. มีเมฆบางส่วนกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียสในช่วงวันที่ 17-20 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง ปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ยังคงทำได้เนื่องจากความชื้นในดินยังคงมีอยู่ แต่ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโตและผลิดอกออกผล เพราะหากพืชได้รับน้ำ ไม่เพียงพอจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง หากขาดน้ำนานจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 14-16 พ.ย. มีเมฆบางส่วนกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1- 2 เมตร ในช่วงวันที่ 17-20 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ทางตอนบนของภาคมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร

  • ทางตอนบนของภาคซึ่งสภาพอากาศ แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นทรุดโทรม ผลผลิตลดลง
  • เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
  • ส่วนทางตอนล่างของภาคปริมาณฝนจะลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อน ของพืช ทำให้ต้นพืชสียหาย หากพบควรรีบกำจัดก่อนจะระบาดเป็นบริเวณกว้าง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขึ้นมา มีเมฆบางส่วน และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 14-15 และ 18-20 พ.ย. มีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือของทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งในบางช่วงจะมีปริมาณและการกระจายของฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักได้บางพื้นที่โดยเฉพาะในช่วงที่มรสุมมีกำลังแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนานเกิน 7 วัน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศและต้นพืชตายได้
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • อนึ่ง ระยะนี้บริเวณอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจะมีคลื่นลมแรง โดยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงด ออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 14-15 และ 18-20 พ.ย. มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนานเกิน 7 วัน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศและต้นพืชตายได้
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ