พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 26 มกราคม 2558 - 01 กุมภาพันธ์ 2558

ข่าวทั่วไป Monday January 26, 2015 15:05 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 26 มกราคม 2558 - 01 กุมภาพันธ์ 2558

ภาคเหนือ

ในวันที่ 26-30 ม.ค. มีหมอกในตอนเช้า กับมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ ตอนบนของภาค อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่าง อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-10 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 31 ม.ค. – 1 ก.พ. อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • สัปดาห์นี้ทางตอนบนของภาคยังคงมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ สำหรับอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากระหว่างกลางวันและกลางคืน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ส่วนช่วงที่มีหมอกหนา เกษตรกรควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนน โดยเฉพาะรถที่ใช้ในการเกษตร หากมีความจำเป็นต้องขับขี่ในถนนหลวงควรตรวจสอบสัญญานไฟหน้าและไฟท้ายให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
  • สภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยและไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก อาคารบ้านเรือน พื้นที่การเกษตร โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนโรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 26-29 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อากาศหนาวเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า กับมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ ตอนบนของภาค อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-16 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่าง อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 17-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 ม.ค. – 1 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • สัปดาห์นี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยกลางวันอากาศร้อนส่วนกลางคืนอากาศเย็น ร่างกายอาจปรับตัวไม่ทันทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหากพบสัตว์ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่ม และทำการรักษา เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ
  • สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยและไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก อาคารบ้านเรือน พื้นที่การเกษตร โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนโรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 26-29 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 ม.ค. – 1 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • สัปดาห์นี้สภาพอากาศจะแตกต่างกันมากระหว่างกลางวันและกลางคืน โดยกลางวันอากาศร้อนส่วนกลางคืนอากาศเย็น ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับเกษตรกรที่ต้องการจะปลูกพืชรอบใหม่ ควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เช่น พืชผักสวนครัว และถั่วชนิดต่างๆ แทนการปลูกข้าวนาปรัง เนื่องจากระยะนี้และระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 26-29 ม.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ในช่วงวันที่ 30 ม.ค. – 1 ก.พ. ตอนบนของภาคมีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า ส่วนทางตอนล่างมีเมฆบางส่วน กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ และพืชผัก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นทรุดโทรมผลผลิตเสียหายได้
  • ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผลแล้ว ชาวสวนควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งกำจัดวัชพืชภายในสวน เพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากไม้ผล
  • ในช่วงที่มีหมอกจะทำให้การระบาดของโรคราดำในมะม่วงเพิ่มมากขึ้น ชาวสวนควรหมั่นสำรวจ หากพบการระบาดของโรคดังกล่าวควรฉีดพ่นด้วยน้ำหรือน้ำส้มควันไม้จะทำให้การระบาดลดลง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 26-29 ม.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 30 ม.ค. – 1 ก.พ. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • สัปดาห์นี้ภาคใต้ยังคงมีสภาพอากาศแห้ง และบริมาณฝนที่ตกมีน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชไร่ และพืชผัก ที่กำลังเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชเสียหาย
  • สำหรับสภาพอากาศแห้ง ชาวสวนมะพร้าวควรระวังการระบาดของหนอนหัวดำ แมลงดำหนาม และด้วงแรด โดยหมั่นสำรวจสภาพสวน หากพบการระบาด ควรรีบกำจัดก่อนระบาดเป็นบริเวณกว้าง
  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 26-29 ม.ค. มีเมฆบางส่วน กับมีหมอกบางในตอนเช้า ส่วนในช่วงวันที่ 30 ม.ค. – 1 ก.พ. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • สัปดาห์นี้ภาคใต้ยังคงมีสภาพอากาศแห้ง และบริมาณฝนที่ตกมีน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชไร่ และพืชผัก ที่กำลังเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชเสียหาย
  • ส่วนชาวสวนยางพาราควรทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ