พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 10 เมษายน 2558 - 16 เมษายน 2558

ข่าวทั่วไป Friday April 10, 2015 15:45 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 10 เมษายน 2558 - 16 เมษายน 2558

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 10-13 เม.ย. มีเมฆเป็นส่วนมาก โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-39 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 14-15 เม.ย. มีอากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้สภาพอากาศแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ระยะที่ผ่านมา แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณและการกระจายยังมีน้อยประกอบกับฝนที่ตกยังไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำ ซึ่งจะทำให้ต้นชะงักการ เจริญเติบโต ผลผลิตลดลงได้
  • สำหรับฝนที่ตกนอกจากจะช่วยคลายความร้อนอบอ้าว แล้วยังจะช่วยลดการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ อีกด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 11-12 เม.ย. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 เม.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ทางตอนล่างของภาค และลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย -ในช่วงนี้จะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะมีฝนฟ้าคะนอง
  • เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช ด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณหน้าดิน และรักษาอุณหภูมิดิน
  • สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต เพราะหากขาดน้ำจะ ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ส่งผลให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 11-13 เม.ย. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 เม.ย. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตก เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ระยะนี้อากาศร้อน และบางวันอาจมีฝนตก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 11-13 เม.ย. มีเมฆมากกับมีพายุฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 14-16 เม.ย. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และลมแรง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • ในช่วงวันที่ 11-13 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรสำรวจอุปกรณ์และวัสดุที่ค้ำยันและผูกยึดกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง
  • ฝนที่ตกในระยะที่ผ่านมาจะช่วยลดการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดลงไปได้ แต่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชเสียหาย ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วหากเปียกฝน เกษตรกรควรลดความชื้นก่อนนำเข้าโรงเก็บ เพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหายในโรงเก็บ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 10-11 เม.ย. มีเมฆบางส่วนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12-15 เม.ย. มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

  • สำหรับบริเวณที่มีฝนมีน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะให้ผลผลิต หากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ ถ้าขาดน้ำนานจะทำให้ผลร่วงหล่นผลผลิตลดลง
  • ฝนที่ตกจะช่วยบรรเทาสภาพอากาศที่แห้ง และลดการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเพลี้ยไก่แจ้ในทุเรียน เพลี้ยไฟในมังคุด เป็นต้น ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืชทำให้ต้นพืช ทรุดโทรม
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรหลีกเลี่ยงการปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 12-15 เม.ย. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 10-11 เม.ย. มีเมฆบางส่วนกับมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 12-15 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • สำหรับบริเวณที่มีฝนมีน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะให้ผลผลิต หากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ ถ้าขาดน้ำนานจะทำให้ผลร่วงหล่นผลผลิตลดลง
  • ฝนที่ตกจะช่วยบรรเทาสภาพอากาศที่แห้ง และลดการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเพลี้ยไก่แจ้ในทุเรียน เพลี้ยไฟในมังคุด เป็นต้น ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืชทำให้ต้นพืช ทรุดโทรม
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ควรหลีกเลี่ยงการปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ