พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 17 เมษายน 2558 - 23 เมษายน 2558

ข่าวทั่วไป Friday April 17, 2015 15:02 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 17 เมษายน 2558 - 23 เมษายน 2558

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 17-21 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดและมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน กับมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-41 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง และอุณหภูมิจะลดลง อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

-ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

  • สำหรับฝนที่ตกจะลดช่วยการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆลงไปได้ แต่ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ใน พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น
  • ในช่วงวันที่ 22-24 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรควรตรวจสอบวัสดุและอุปกรณ์สำหรับผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคง แข็งแรง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 17-20 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดและมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน กับมีฝนบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 21-24 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง และอุณหภูมิจะลดลง อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ในช่วงวันที่ 21-24 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง เกษตรกรไม่ควรอยู่กลางแจ้ง และปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะฟ้าคะนอง
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแลและเป็นโรคได้ง่าย
  • ส่วนบางพื้นที่แม้จะมีฝนตก แต่ปริมาณยังมีน้อยและการกระจายยังไม่ทั่วถึงประกอบกับฝนที่ตกยังไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 17-20 เม.ย. อากาศร้อนถึงร้อนจัดและมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-41 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 21-24 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง และอุณหภูมิจะลดลง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ส่วนในช่วงวันที่ 21-24 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง ผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเกิดความเสียหายเนื่องจากสภาวะดังกล่าวได้
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ให้อยู่ในสภาพมั่นคงและแข็งแรง รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งขณะฟ้าคะนอง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแลและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 17-21 เม.ย.อากาศร้อนและมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตามบริเวณชายฝั่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • สำหรับระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตเสียหาย โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล และ ผลแก่ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะเจาะและกัดกินทำให้ผลเสียหาย ผลผลิตด้อยคุณภาพ รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้ผลที่ร่วงหล่น เน่าเสียอยู่ในบริเวณสวน เพราะอาจเป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช
  • ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง เกษตรกรควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคง และแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก และต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 17-21 เม.ย. มีเมฆบางส่วนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • สำหรับฝนที่ตกจะช่วยลดความร้อนอบอ้าวลงไปได้บ้าง
  • ส่วนบริเวณที่มีฝนตกในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชสวนและพืชผัก ซึ่งจะกัดกินยอดอ่อนและใบอ่อนของพืช รวมทั้งดอกและผลอ่อนทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต การติดผลลดลง
  • ระยะนี้แม้จะมีฝนตก แต่ยังไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชควรรอให้มีฝนตกสม่ำเสมอในเดือนถัดไปแล้วค่อยลงมือปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดน้ำของพืชในระยะต้นกล้าและต้นอ่อน
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 22-24 เม.ย. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 17-21 เม.ย. มีเมฆบางส่วนกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • สำหรับฝนที่ตกจะช่วยลดความร้อนอบอ้าวลงไปได้บ้าง
  • ส่วนบริเวณที่มีฝนตกในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชสวนและพืชผัก ซึ่งจะกัดกินยอดอ่อนและใบอ่อนของพืช รวมทั้งดอกและผลอ่อนทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต การติดผลลดลง
  • ระยะนี้แม้จะมีฝนตก แต่ยังไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชควรรอให้มีฝนตกสม่ำเสมอในเดือนถัดไปแล้วค่อยลงมือปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดน้ำของพืชในระยะต้นกล้าและต้นอ่อน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ